ขอคืนเงินประกันสังคม อายุ 55

ก่อนหน้านี้มีประเด็นสำคัญที่ "ผู้ประกันตน ม.33" ได้เฮกันยกใหญ่ เมื่อ "ประกันสังคม" อัปเกรดใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณี "เงินชราภาพ" ที่จะให้สิทธิ "3 ขอ" ได้แก่ ขอเลือกบำเหน็จ/บำนาญ, ขอคืนเงินสะสมชราภาพ, ใช้เป็นหลักประกันเพื่อการกู้เงิน

แต่ทั้งนี้ บางคนอาจยังมีข้อสงสัยในหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับ "เงินชราภาพ" หนึ่งในนั้นคือปัญหาที่ว่า หากลาออกจากงาน และสิ้นสถานะการเป็นผู้ประกันตน ม.33 แล้ว ยังจะมีสิทธิได้เงิยชดเชย หรือเงินออมชราภาพอยู่หรือไม่?

เรื่องนี้มีคำตอบจาก "ประกันสังคม" ที่ได้เผยแพร่ผ่านเพจ "สำนักงานประกันสังคม" ระบุรายละเอียดไว้ดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

1. ลาออกจากงาน และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ม.33 จะได้เงินชราภาพไหม?

เงินสมทบในส่วนของ "เงินออมชราภาพ" สามารถยื่นเรื่องขอรับคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ประกันตนแล้วก็ตาม 

หมายความว่า หากลาออกจากงานแล้ว ไม่สามารถยื่นขอเงินที่เคยส่งเป็นเงินสมทบเข้าประกันสังคมไปก่อนหน้านั้นได้ทันที แต่จะต้องรอจนถึงอายุเกษียณตามกำหนดของประกันสังคม นั่นคือ อายุ 55 ปีบริบูรณ์ก่อน จึงจะยื่นขอเงินคืนได้ โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและระยะเวลาในการส่งเงินสมทบ

แต่ทั้งนี้ ล่าสุด.. ประกันสังคมเพิ่งจะมีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณี "เงินชราภาพ" ในหัวข้อ "การขอคืนเงินสะสมชราภาพได้บางส่วน" จากหลักการ "3 ขอ" (ประมาณ 20-30% ของเงินที่สะสมไว้) ทำให้ผู้ประกันสังคมอาจจะยื่นขอเงินชราภาพออกมาใช้ได้ก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตาม จะต้องรอประกาศใช้คำสั่งนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง 

อยากรู้ว่าตนเองได้สะสม "เงินชราภาพ" มาเป็นเวลากี่เดือนแล้ว? และมียอดเงินสะสมอยู่จำนวนเท่าไร? สามารถดูวิธีเช็กข้อมูลได้ที่นี่ : วิธีดูยอดเงินสะสม "ประกันสังคม" คำนวณเงินชราภาพง่ายๆ รู้เลยได้กี่บาท? 

2. เงื่อนไขการยื่นขอ "เงินชราภาพ" กรณีเงินบำนาญ

  • ต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39
  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

โดยจะมี "สิทธิประโยชน์" ที่ผู้ประตนมาตรา 33 ต้องรู้ กรณีเลือกขอเป็นเงินบำนาญชราภาพ มีดังนี้

  • หากจ่ายเงินสมทบครบ 180 งวดเดือน จะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 20 ของฐานค่าจ้าง (แต่ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • หากมีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ จากอัตราร้อยละ 20 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน

*หมายเหตุ : กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพแก่ทายาทตามกฎกระทรวงใหม่ คือ

จากเดิมให้ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย ปรับใหม่เป็น ให้เงิน “จำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย x จำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน เช่น หากผู้ประกันตนเคยได้เงินบำนาญชราภาพ 5,000 บาทต่อเดือน มาแล้ว 20 เดือน ก่อนเสียชีวิต ทายาทจะได้เงินที่เหลือคือ 5,000 x (60-20) = 200,000 บาท เป็นต้น

อ่านเพิ่ม : เงินช่วยเหลือทายาท ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เดิมได้ 5 หมื่นเปลี่ยนเป็น 2 แสนบาท

3. เงื่อนไขการยื่นขอ "เงินชราภาพ" กรณีเงินบำเหน็จ

  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
  • ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

โดยจะมี "สิทธิประโยชน์" ที่ผู้ประตนมาตรา 33 ต้องรู้ กรณีเลือกขอเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ (จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว) มีดังนี้

  • หากจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพมาไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่าย
  • หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับส่วนของผู้ประกันตน ส่วนของนายจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี

*หมายเหตุ : เงินบำเหน็จชราภาพ หากผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพคืน โดยจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ เช่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย, สามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย, บิดา-มารดาที่จดทะเบียนสมรสกัน หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะได้เฉพาะมารดา หรือ บุคคลอื่นที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้ให้ได้รับร่วมกับทายาทผู้มีสิทธิ

ทั้งนี้ เงื่อนไขการได้รับสิทธิ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

รับเงินประกันสังคมคืน อายุ55 ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

1.แบบคำขอรับคืนเงิน (ผู้ประกันตนเป็นผู้ยื่นคำขอ) สปส.1-23/2 (ฉบับจริง 1 ฉบับ)

ประเภทการใช้เอกสาร: ขอรับคืนเงิน (ผู้ประกันตนเป็นผู้ยื่นคำขอ) สปส.1-23/2

ตัวอย่างเอกสาร:  ดาวน์โหลด

2.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ (สำเนา 1 ฉบับ)

ประเภทการใช้เอกสาร: ขอรับคืนเงิน (ผู้ประกันตนเป็นผู้ยื่นคำขอ) สปส.1-23/2

หมายเหตุ: เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ

3.หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง (ฉบับจริง 1 ฉบับ)

ประเภทการใช้เอกสาร: ขอรับคืนเงิน (ผู้ประกันตนเป็นผู้ยื่นคำขอ) สปส.1-23/2

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ รับเงินประกันสังคมคืน อายุ55

–  จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

–  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

–  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ

–  จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

–  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

–  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

 ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

–  กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง

–  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

 ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ

–  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

–  กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

 หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

–  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

 กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย 

-สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย

-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

-สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)

-สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร

-หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

กรณีบำนาญชราภาพ รับเงินประกันสังคมคืน อายุ55

– สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ

–  สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน  ดังนี้

1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)

3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)

6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)

7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)

10) ธนาคารออมสิน

11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ

–  ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

–  เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา

–  สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

–  พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

1. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)

กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน

กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน รับเงินประกันสังคมคืน อายุ55

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ

–  ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

–  เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา

–  สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

–  พิจารณาสั่งจ่าย เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนหมายเหตุ : เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

1. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน) กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณี ชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

ประกันตนอายุ 55 ปี และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทน กรณีบำเหน็จชราภาพจะได้รับ 300 x 10 = 3,000 บาท กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ตัวอย่าง ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2547 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตน ดังนี้

ปี      จำนวนเงินสมทบ นายจ้าง ผู้ประกันตน รวม2542    850    8501,7002543  1,550  1,5503,1002544  2,300  2,3004,6002545  3,200  3,2006,4002546  4,100  4,1008,2002547  2,800  2,8005,600รวม 14,800  14,80029,600

 

วิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน รับเงินประกันสังคมคืน อายุ55

ปีเงินสมทบ      เงินสมทบสะสม x อัตราผลประโยชน์ตอบแทน2542  1,700  1,700 x 2.4%     = 40.802543  3,100  (1,700 + 3,100 = 4,800 ) x 3.7%     = 177.602544  4,600  (4,800 + 4,600 = 9,400) x 4.2%     = 394.802545  6,400  (9,400 + 6,400 = 15,800) x 4.3%     = 679.402546  8,200  (15,800 + 8,200 = 24,000) x 6.5%     = 1,560.002547  5,600  (24,000 + 5,600 = 29,600) x 2.0% x 11/12     =  542.67รวม       3,395.27

หมายเหตุ 11/12 หมายถึง ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบมาแค่ 11 เดือน ภายใน 1 ปี เงินบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ คือ 29,600 + 3,395.27 = 32,995.27บาท

3. ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ รับเงินประกันสังคมคืน อายุ55

(สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)

ตัวอย่างที่ 120% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย=20 x 13,000 ÷ 100 = 2,600ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิตการหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน  จำนวนเดือน (60 เดือน)กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนเช่น จ่ายเงินสมทบมาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น 

ตัวอย่างที่  2  ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55    ปีบริบูรณ์  และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร

1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ

=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%

=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี )

= 7.5%

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี

= 20% + 7.5% = 27.5%               ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน

= 27.5% ของ 15,000 บาท

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต

2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

= 4,125 บาท  × 10 เท่า

= 41,250 บาท

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนั้นมิได้สูญเปล่า เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่าง  การทำงานมากมายแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคง อุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกัน

เบิกเงินประกันสังคมอายุ55ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส. 2-01 หรือ SSO. 2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน แต่หากผู้ประกันตนมี ...

เงินประกันสังคม อายุ 55 ได้กี่บาท

(สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) ตัวอย่างที่ 1 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย = 20 x 13,000 ÷ 100 = 2,600.

ขอคืนเงินประกันสังคมได้ตอนไหน

โดยมีกำหนดวันโอนดังนี้ ผู้ที่ผูกบัญชีก่อนวันที่ 1 ส.ค. 2565 จะได้รับการคืนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ระหว่างวันที่ 8-11 ส.ค. 2565. ผู้ที่ผูกบัญชีก่อน 8 ก.ย. 2565 จะได้รับการคืนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ระหว่างวันที่ 14-16 ก.ย. 2565.

ขอคืนเงินประกันสังคม ก่อนอายุ 55 2565 ทำอย่างไร

ขอคืนเงินประกันสังคมก่อนอายุ 55 ปี 2565 ได้ไหม ? สำหรับการขอคืนเงินประกันสังคมก่อนอายุ 55 ปี 2565 ในผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 จะไม่สามารถทำได้ แม้จะลาออก หรือว่างงานก็ตาม โดยผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงจะสามารถขอคืนเงินประกันสังคม เงินชราภาพได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ