ลาออกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

ทุกเดือนที่เงินเดือนเราออก ถ้าเราดูสลิปเงินเดือนจะเห็นว่าเงินเดือนเราถูกหักไป 750 บาททุกเดือน ซึ่งมันก็คือประกันสังคมนั่นเอง

พี่ทุยเชื่อว่าหลายๆคนลืมไปแล้วว่าเงินที่เราจ่ายไปทุกๆเดือนนั้นมันมีส่วนที่เรียกว่าประกันว่างงานอยู่ด้วย ถ้าใครกำลังจะลาออกแล้วยังไม่ได้สมัครงานประจำที่ใหม่ พี่ทุยแนะนำว่าให้ไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานก็ได้เงินไม่น้อยเหมือนกัน อย่างน้อยก็ได้ค่ารถค่าข้าวล่ะ (ฮ่า)

อีกอย่างนึงสำหรับคนที่ไม่ได้สมัครงานที่ไหนต่อ พี่ทุยแนะนำว่าให้ลองสมัครเข้าประกันสังคมมาตรา 39 เป็นสิทธิ์สำหรับคนที่เคยอยู่มาตรา 33 มาแล้วเท่านั้น (มาตรา 33 ก็คือที่เราจ่าย 750 บาททุกเดือนเนี้ยแหละ) หลังจากที่ย้ายเข้ามาตรา 39 เราจะจ่ายเหลือเพียงเดือนละ 432 บาทแล้วรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาท แล้วเราจะยังได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ผลประโยชน์ที่ได้เทียบกับเงิน 432 บาท พี่ทุยบอกได้เลยว่าคุ้มเว่อร์!

สำหรับบริษัทไหนที่มี “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” (Provident Fund – PVD) อย่าลืมดูตรงนี้ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่หลายๆคนลืมแล้วก็ขี้เกียจจัดการมากที่สุด กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือเงินก้อนหนึ่งที่ตัวเองสะสมไว้ในแต่ละเดือนจากเงินเดือนตัวเองและจากทางนายจ้างสมทบให้ และนำมาลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับที่ทำงานใหม่ใครที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถ้านโยบายที่ใหม่ถูกใจพี่ทุยแนะนำให้ย้ายเข้าที่ใหม่ได้เลย หรือจะคงเงินไว้ที่เก่าก็ได้ แต่จะต้องเสียค่าคงเงินไว้รายปี

แต่ก็จะยังมีอีก 2 ทางเลือก
ทางเลือกแรก คือเอาออกมาเลย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่เราต้องมีการเสียภาษีด้วย

ทางเลือกที่ 2 คือการย้าย PVD เข้า RMF ไปเลย (สำหรับคนที่ไม่อยากเสียภาษี เสียค่าคงเงิน ไม่ได้ทำงานที่อื่นหรือที่ทำงานใหม่ไม่มี PVD ให้) แล้วถือตามเงื่อนไขของ RMF ไปเลยก็ไม่ต้องเสียภาษีใดๆเลย แต่ต้องบอกว่าไม่ใช่ทุก บลจ. ที่เราสามารถย้ายเข้าไปได้ เพราะบางที่ก็ยังไม่เปิดให้บริการ ตอนนี้มีเด่นๆก็ของ TMBAM ที่เปิดให้เราสามารถย้าย PVD เข้า RMF มีโปรโมชั่นสำหรับคนที่โอนย้ายเข้ามาด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือมี RMF ให้เลือกถึง 18 กองทุนตั้งแต่กองทุนรวมตลาดเงิน ตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้นล้วน ทั้งในและนอกประเทศรวมไปถึงกองทุนรวมทางเลือกต่างๆก็มีให้เราเลือกย้ายเข้าไปได้

ผู้ลงทุนควรศึกษาคู่มือการลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

เป็นที่ทราบกันดีว่า หากเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น ลาออกจากงาน โอนย้ายกองทุน เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต เงินที่อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมาชิกกองทุนจะได้รับนั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือข้อบังคับของแต่ละกองทุน ดังนั้น จึงควรตรวจสอบเงื่อนไขหรือข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน

1. ส่วนเงินสะสมและผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินส่วนนี้เป็นส่วนที่ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจ่ายสะสมเข้ากองทุนทุกเดือน รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินสะสม เมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง จึงทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินส่วนนี้เต็มจำนวนในทุกกรณี
2. ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ เงินส่วนนี้เป็นส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน เมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง เงินส่วนนี้จะได้คืนเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือข้อบังคับของแต่ละกองทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะกำหนดตามอายุงานหรือจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานระยะยาว

ตัวอย่าง

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 10%

อายุงานตั้งแต่ 1 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 20%

อายุงานตั้งแต่ 2 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 40%

อายุงานตั้งแต่ 3 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 50%

อายุงานตั้งแต่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 80%

อายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินสมทบ 100%

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไข โดยเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ในส่วนของเงินสะสมจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ในส่วนของผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินสมทบจะต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี โดยเงื่อนไขแบ่งเป็น 3 กรณีตามอายุและจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กรณีที่ 1 ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี และอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่า 5 ปี

กรณีนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยต้องนำเงินที่ได้ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ ผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินสมทบ ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามปกติ

ตัวอย่าง

  1. เงินสะสม = 500,000 บาท
  2. ผลประโยชน์จากเงินสะสม = 50,000 บาท
  3. เงินสมทบ = 500,000 บาท
  4. ผลประโยชน์จากเงินสมทบ = 50,000 บาท

นำส่วนที่ 2+3+4 = 50,000 + 500,000 + 50,000 = 600,000 บาท ไปรวมกับเงินได้อื่นในปีนั้นเพื่อคำนวณภาษี

กรณีที่ 2 ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี และอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

สามารถเลือกได้ว่า จะนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อยื่นภาษีหรือจะแยกคำนวณภาษีต่างหาก โดยการแยกคำนวณภาษีจะหักค่าใช้จ่ายแบบพิเศษ มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นำ 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน ขณะที่ ส่วนที่ 2 ให้นำเงินได้หักด้วยส่วนที่ 1 เหลือเท่าไหร่ให้คูณ 50% แล้วนำเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 2 ส่วนนี้ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สุทธิขั้นแรก 150,000 บาท)

ตัวอย่าง

สมมติ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมา 10 ปี เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้แก่ ผลประโยชน์จากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากเงินสมทบ ซึ่งต้องนำไปรวมเพื่อเสียภาษี เท่ากับ 600,000 บาท (ใช้ตัวเลขตัวอย่างเดียวกับกรณีที่ 1)

ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 1 :  7,000 x 10 = 70,000 บาท

ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 : (600,000 – 70,000) x 50% = 265,000 บาท

เงินได้สุทธิ = 600,000 – 70,000 – 265,000 = 265,000 บาท นำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  

กรณีที่ 3 : เกษียณอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) และอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีทั้งจำนวน

คำแนะนำ  

สำหรับผู้ที่ออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี (กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2) มีทางเลือกให้อีก 3 วิธี เพื่อลงทุนต่อจนกว่าอายุจะครบ 55 ปี เพื่อเข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี  

  1. คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ซึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้ที่ 500 บาทต่อปี
  2. โอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่
  3. โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF for PVD

Checklist วางแผนออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนเกษียณ

  1. คำนวณแผนเกษียณ หากเงินเกษียณยังไม่พอและยังออมไม่เต็มสิทธิ อาจพิจารณาเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสะสม
  2. ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อบังคับกองทุน
  3. ดูข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นประจำทุกปี เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุน
  4. ทำประมาณการเงินที่จะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยจำนวนเงินที่จะได้รับของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุปัจจุบัน อายุเกษียณ เงินเดือน อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน เพดานเงินเดือน อัตราเงินสะสม อัตราเงินสมทบ และผลตอบแทนจากการลงทุน
  5. ปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับแผนเกษียณ ผลตอบแทนที่คาดหวัง และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง เช่น ปรับน้ำหนักเงินลงทุน โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เนื่องจากเป็นช่วงใกล้จะเกษียณ จึงเหลือระยะเวลาในการออมน้อย ควรลดความเสี่ยงลง
  6. ศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีและทางเลือกในการจัดการเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเกษียณ

สำหรับผู้ที่สนใจ สำรวจเงินออมหรือวางแผนเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้มีเงินออมก้อนโตไว้ใช้ในยามเกษียณ สามารถใช้โปรแกรมคำนวณ “วางแผนเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่ 

หรือผู้ที่สนใจ เรียนรู้เทคนิคเพิ่มเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และวิธีการสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวเพื่อเป้าหมายเกษียณได้อย่างมีความสุข สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

ลาออกจากงานได้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหม

จัดการเงินสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรเมื่อลาออกจากงาน? ตามขั้นตอนแล้วสมาชิกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืน เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ คือ ออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน และเสียชีวิต โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวน พร้อมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม

ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ยังไง

ลาออกหรือย้ายงานจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรให้เคลียร์?.
1. ฝากไว้กับ บลจ. เดิมก่อน ... .
2. ย้ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ ... .
3. โอนเงินเข้าไปซื้อกองทุน RMF สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ... .
4. เปลี่ยนสภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเงินสด.

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กี่วัน ได้

สมาชิกจะได้รับเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สิ้นสมาชิกภาพ ตามวิธีการรับเงินที่ระบุไว้ ดังนั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน สมาชิกควรทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากมีเจ้าหนี้ขอรับเงินแทนสมาชิกหรือมีบุคคลใดขอยึดหรือหน่วงเหนี่ยวเช็คไว้ จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เงินที่ ...

ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยไม่ลาออกจากงานเสียภาษีอย่างไร

หากสมาชิกลาออกจากกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงาน สมาชิกจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเงินส่วนที่เป็นเงินสะสมเท่านั้น โดยสมาชิกจะต้องนำเงินกองทุนอีก 3 ส่วนไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (คลิก เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ