สามพันโบก ชื่อทางภูมิศาสตร์

เปิดมุมมองด้วยดวงตาจากอวกาศไป กับGISTDA...ครั้งใหม่ที่จะทำให้เราใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น >> โพสนี้เรามาเฉลยภาพจากโพสที่แล้ว...

Posted by GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) on Friday, October 23, 2020

สามพันโบก คือ การเกิดพ็อตโฮ (Pothole) เกิดบนท้องสะดือทะเลเดิม ที่มีร่องกระแสน้ำตัดกัน ทำให้เกิดการหมุนวนซ้ำๆ ตลอด บางแห่งเกิดจากพายุหมุนกลางมหาสมุทร ทำให้เกิดกระแสน้ำหมุนวน กระแสน้ำหมุนเอาเม็ดทราย เปลือกหอย ซากประการัง ขูดผิวดินและหินที่อ่อน ใช้เวลานับล้านปี จึงเกิดเป็นหลุมตามที่เห็น

เมื่อประมาณ 300 ล้านปีที่แล้ว เปลือกโลกชมพูทวีปและมหาสมุทรอินเดียเกิดการเคลื่อนตัวครั้งใหญ่ ทำให้แผ่นท้องทะเลพลิกดันมา เป็นอิสานและไทย ทั้งประเทศรอบๆ โดยมีขอบทะเลเดิมคือ แม่น้ำโขงในปัจจุบัน  

นอกจากพ็อตโฮแล้ว ยังมีภูเขาเกลือ และสุสานหอยต่างๆ ใต้พื้นดินอิสาน รวมทั้งแก๊สน้ำมันจากซากสัตว์ทะเลโบราณ ทำให้ยืนยันได้ว่า อีสานและพื้นที่โดยรอบคือ พื้นท้องทะเลเดิมนั่นเอง

ตั้งแต่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ราวๆ เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป จนถึงฤดูแล้ง “สามพันโบก” จะโพล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำกลางลำน้ำโขง โชว์ความสวยงามวิจิตรตระการตา ซึ่งหินดังกล่าวจะมีลักษณะและรูปทรงที่แตกต่างกันไป และด้วยชั้นหินที่กินพื้นที่กว้างใหญ่มาก จึงดูคล้ายกับแกรนด์แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกา จนมีผู้ขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า “แกรนด์แคนยอนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล”

และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัว สามพันโบกก็จะถึงเวลาพักผ่อน ซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติด้วยสายน้ำโขงที่มาปกคลุม เป็นช่วงอำลาสามพันโบก ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะค่อยๆ สูงขึ้นทุกวันจน สามพันโบกจมหายไปในที่สุด

การเดินทางไปสามพันโบก จากตัวจังหวัดอุบล วิ่งตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล ไปยัง อำเภอโพธิ์ไทร ด้วยระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังบ้านสองคอนเข้าไปหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร 

นอกจากนี้ ยั่งสามารถเดินทางได้ด้วยรถโดยสารประจำทาง อุบล-เขมราฐ ลงที่ สองคอน หลังจากนั้นก็โทรแจ้งให้รีสอร์ทขับรถมารับ (เสียค่าใช้จ่ายแล้วแต่ตกลง) หรือ อาจจะอาศัยโบกรถของชาวบ้านมาลงแถวนั้น

        "สามพันโบก" ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี  อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ "สามพันโบก" ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ ถูกกัดเซาะกลาย

เป็นแอ่งและหลุดมากมาย โดยผลงานของแม่น้ำโขงที่กัดเซาะแก่งหินนี้ ในช่วงฤดูน้ำหลากทุกๆปี ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดเป็นแอ่งมากมายมากกว่า 3,000 โบก และฝั่งตรงข้างที่ห่างไปไม่

กี่เมตรก็เป็นฝั่งของประเทศเพื่อนบ้านของไทยเรานั้นคือประเทศลาว นอกจากจะมาเที่ยว สามพันโบกได้เห็นความงามของธรรมชาติแล้ว ยังได้เห็นวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งโขง

ทริปนี้ Palanla จะพาทุกคนไปเที่ยวกันถึงสุดเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคอีสานตอนล่างและมีพรมแดนติดกับประเทศลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างสองประเทศเอาไว้ จังหวัดอุบลราชธานีมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความสวยงามมากมาย และมีสถานที่ที่น่าสนใจอีกหลายแห่งทั้งทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ซึ่งถ้ามีเวลาว่างสักสองสามวัน อยากให้ลองมาเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานีดูสักครั้ง แล้วจะพบว่าที่นี่เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่น่าไปท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ

สามพันโบก แก่งหินที่เกิดการเซาะกัดของน้ำในแม่น้ำโขงจนเกิดเป็นหลุมหรือโบกหลายพันโบกที่มีรูปร่างต่าง ๆ บนสันดอนกว้างใหญ่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร เป็นศิลปกรรมที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้อย่างสวยงาม ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว คือ ปลายฤดูหนาวและฤดูร้อนซึ่งน้ำจะลดทำให้มองเห็นโบกได้ชัดเจน ความสนุกสนาน คือ การตามหาโบกและจินตนาการความสวยงามของโบกต่าง ๆ บริเวณใกล้เคียงสามพันโบกจะมีหาดสลึง แก่งสองคอน ปากบ้อง หินผาศิลาเลข หาดหงส์ ชมวิถีชีวิตการประมงริมฝั่งโขง ตั้งอยู่ในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

สามพันโบก 

สามพันโบกเกิดจากการที่น้ำในลำน้ำโขงกัดเซาะแผ่นหินราบมาหลายพันปี เกิดเป็นหลุมหรือแอ่งที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกไป  คนในพื้นที่จะเรียกหลุมหรือแอ่งนี้ว่า โบก ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีหลุมในลักษณะนี้มากมายเป็นพัน ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อว่า สามพันโบก หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์ หรือตามแต่จินตนาการของผู้ชม

สามพันโบก เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพานตอนปลายเป็นแนวหินทรายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่กั้นระหว่างประเทศไทยและลาว เกิดเป็นสันดอนขนาดใหญ่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร และเกิดเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ สูงประมาณ 3-7 เมตร กว้าง 20 เมตร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง

การเดินทางไปท่องเที่ยวสามพันโบก สามารถเดินทางไปได้ทั้งทางบกและทางน้ำ คือ สามารถขับรถไปชมความงามของสามพันโบกอย่างเดียว รถสามารถวิ่งเขาไปถึงและมีที่จอดรถไว้บริการ หรือหากต้องการชมบรรยากาศและศึกษาวิถีชีวิตโดยรอบสามพันโบก จะนิยมลงเรือที่หาดสลึง ปากกะกลาง ตำบลสองคอน โดยสารเรือล่องไปตามลำน้ำโขงระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งก็จะได้พบกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่

หาดสลึง

หาดสลึง เป็นจุดลงเรือเพื่อล่องชมแม่น้ำโขง ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดลง จะมองเห็นหาดทรายสีขาวที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มาของชื่อ “หาดสลึง” มีเรื่องเล่ากันมาว่า สมัยก่อนการคมนาคมยังจำเป็นต้องใช้เรือในการสัญจรและการค้าขาย มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่านายหลาง มักจะมาจอดเรือที่หาดแห่งนี้ทุกปีในช่วงเดือนเมษายน เมื่อนายหลางเดินลงบนหาดทรายโดยไม่สวมรองเท้า จะรู้สึกได้ถึงความร้อนระอุ จนเกิดความคิดท้าทายไว้ว่า ถ้าใครสามารถวิ่งจากหัวหาดไปจนถึงท้ายหาดได้โดยไม่สวมรองเท้าและไม่หยุดพัก ซึ่งเป็นระยะทางกว่า 860 เมตร จะได้รางวัลจากนายหลางเป็นเงิน 1 สลึง  ชาวบ้านจึงขนานนามหาดแห่งนี้ว่า “หาดสลึง” และที่บริเวณนี้ปัจจุบันได้จัดให้มีบริการต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยวและเหมาะสำหรับการเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการล่องเรือชมแม่น้ำโขง

ปากบ้อง

ปากบ้อง หรือ ช่องแคบ เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก ลักษณะเหมือนคอขวด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร เป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ช่วงที่แม่น้ำโขงลดระดับลงในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมิถุนายน ชมวิถีชีวิตการทำประมงริมแม่น้ำโขง ซึ่งจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “ตักปลา” โดยใช้กระชอนตักที่ริมฝั่งโขง นอกจากนั้นก็มีการใช้กระชอน แห เบ็ดราว ปลาที่หาได้ เช่น ปลากด ปลาเอิน ปลาคัง ปลาเนื้ออ่อน ซึ่งจะอาศัยตามตลิ่ง โขดหิน และทราย ช่วงเดือนมิถุนายน น้ำโขงจะขุ่นและไหลเชี่ยว จะเป็นช่วงที่ปลาขึ้น ซึ่งชาวประมงจะหาปลาได้เยอะ ชาวบ้านสองคอนจะมีประเพณีการตักปลา เป็นประเพณีที่น่าสนใจที่นักท่องเที่ยวและคนต่างถิ่นนิยมเข้าไปชมการจับปลาที่ว่ายจากเวินน้ำกว้างที่จะแหวกว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปวางไข่เป็นจำนวนมาก

ผาวัดใจ

ผาวัดใจ เป็นชะง่อนผาหินทรายที่ยื่นออกไปในลำน้ำโขงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความท้าทายสามารถขึ้นไปกระโดดหน้าผาเพื่อวัดใจได้ และเป็นจุดถ่ายภาพที่สวยงามจุดหนึ่ง

แก่งสองคอน

แก่งสองคอน มีลักษณะเป็นเกาะหินขนาดใหญ่อยู่กลางลำน้ำโขง เรียกว่า หินหัวพะเนียง มีรูปร่างคล้ายใบไถ หรือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถ ทำให้สายน้ำแยกออกเป็นสองสายหรือสองคอน ซึ่งในภาษาถิ่น คอน แปลว่า แก่ง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบ้าน และตำบลสองคอน บริเวณนี้น้ำจะไหลแรง และมีน้ำวน

 

หินผาศิลาเลข

หินผาศิลาเลขเป็นร่องรอยประวัติศาสตร์สมัยที่ฝรั่งเศสรุ่งเรืองในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำมาใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างหลี่ผีไปเวียงจันทน์ จะมีการแกะสลักตัวเลขไว้ที่หน้าผาหิน เพื่อบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ เนื่องจากบริเวณนี้ช่วงที่น้ำหลากจะมีแนวหินโสโครกจำนวนมาก ทำไว้กว่า 200 ปีแล้ว หินผาศิลาเลขอยู่ก่อนถึงหาดหงส์

ลานหินปะการังน้ำจืด

ลานหินปะการังน้ำจืด เกิดจากการกัดเซาะของน้ำเต็มไปทั่วทั้งบริเวณมีลักษณะคล้ายปะการัง

ลานหินสี

ลานหินสีเป็นหินที่มีลักษณะเงามัน ลื่น สันนิษฐานว่าเป็นหินของลูกอุกกาบาตที่ตกบริเวณนี้ หินมีน้ำหนักมากกว่าปกติ เมื่อแตกจะแตกออกเป็นแผ่น เมื่อโดนแดดเผาจะมีผิวมันวาวขึ้น

หินแจกัน

หินแจกัน มีลักษณะรูปร่างคล้ายแจกันสลักอยู่บนโขดหิน

หาดหงส์

หาดหงส์ เป็นเนินทรายแม่น้ำโขงที่เกิดจากการพัดพาของน้ำและนำตะกอนทรายมาทับถมกันจนลักษณะพื้นที่เป็นพื้นทรายกว้างคล้ายกับทะเลทราย เมื่อแสงของดวงอาทิตย์กระทบกับทรายสีขาวจะเกิดความระยิบระยับสวยงาม ข้างหลังเป็นหน้าผาทราย มีแอ่งน้ำเล็ก ๆ ระยะหลังนี้บริเวณหาดหงส์จะมีหญ้าขึ้นปกคลุมมาก เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลง มีเวลาที่น้ำท่วมน้อยเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น ทำให้หญ้าบริเวณนั้นยังไม่ตาย จึงเกิดขึ้นปกคลุมหาดหงส์บดบังความสวยงามไปอย่างมาก แต่ถ้าเมื่อใดที่น้ำในแม่น้ำโขงมาก น้ำท่วมถึงบริเวณหาดหงส์นานสามเดือนหญ้าจะตาย เกิดเป็นหาดหงส์ที่สวยงาม

ชมรมเรือนำเที่ยว หาดสลึง

ชมรมเรือนำเที่ยว หาดสลึง ตั้งอยู่ที่บ้านปากกะลาง ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร เกิดขึ้นจากการที่สามพันโบกมีชื่อเสียงขึ้นมา มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาชมกันอย่างมากมาย ชุมชนและหน่วยงานทางราชการจึงได้จัดให้มีเรือนำเที่ยวขึ้น เพื่อส่งเสริมและบริการนักท่องเที่ยวในการเที่ยวชมสามพันโบก และแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงในลำน้ำโขง ซึ่งได้รับอนุญาตและรับรองมาตรฐานจากกรมเจ้าท่าและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแล้ว ชมรมเรือนำเที่ยวนี้ได้ผ่านการอบรมการช่วยเหลือทางน้ำ การอบรมการเป็นผู้นำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ มีการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการ สมาชิกที่เข้ามาร่วมในชมรมมี 16 ราย ซึ่งเงื่อนไขการเข้าชมรมนอกจากจะมีเรือและขับเรือได้แล้ว จะต้องรู้จักร่องน้ำต่าง ๆ สามารถเป็นมัคคุเทศก์ได้

การท่องเที่ยวในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวสามพันโบกนี้ ผู้คนจะนิยมมาชมความสวยงามของธรรมชาติในช่วงฤดูน้ำลด ตั้งแต่เดือนธันวาคม-พฤษภาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ และช่วงวันหยุดยาว ผู้ที่มาเที่ยวชมควรเตรียมพร้อมพกร่ม หมวก หรืออุปกรณ์กันร้อนต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอากาศร้อนและแดดแรง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชมคือ 15.00-18.00 น. นอกจากการได้ชื่นชมความสวยงามของสถานที่ต่าง ๆ ชมวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขง ในบริเวณสามพันโบกและพื้นที่โดยรอบแล้ว การไปเที่ยวสามพันโบกยังมีความท้าทายอีกอย่าง นั้นคือ ในการตามหาโบกที่มีรูปร่างต่าง ๆ และการสร้างสรรค์จินตนาการจากหินและโบกที่มีรูปร่างต่าง ๆ อีกด้วย

ที่ตั้ง สามพันโบก

บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ สามพันโบก

15.795562, 105.395251

บรรณานุกรม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). หาดสลึง, 21 กันยายน 2560. //thai.tourismthailand.org/สถานที่ท่องเที่ยว/หาดสลึง–3296

นายสัญจร ตะลอนทัวร์. (2556). มหัศจรรย์ลำน้ำโขง สามพันโบกอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เที่ยวเมืองไทย.

สามพันโบก” เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบใด

ลักษณะทางธรณีวิทยามีลักษณะเป็นแก่งหิน ส่วนใหญ่เป็นหินทราย หินทรายปนกรวด และหินกรวดมนของหมวดหินภูพานที่ถูกกัดเซาะโดยน้ำ เป็นเวลานับล้านปี จนกลายเป็นพื้นที่ที่มีประติมากรรมธรรมชาติอันแปลกตาได้แก่ เกาะ แก่ง หลุม รู แอ่ง โพรง เพิงผา โขดหิน แนวหิน เสาหิน พื้นหิน และลักษณะแปลกประหลาดของธรรมชาติอีกมากมาย

ทำไมถึงชื่อสามพันโบก

สาเหตุที่เรียกที่นี่ว่าสามพันโบก เพราะบริเวณนี้เป็นแก่งหินที่มีหลุมมีบ่อโผล่ขึ้นมากมายนับได้กว่า 3,000 หลุม จึงเป็นเหตุให้เรียกที่นี่ว่า สามพันโบก (โบกภาษาอีสานแปลว่าหลุม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี

การเกิดสามพันโบกที่จังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่าอะไร

สามพันโบก เป็นแก่งหินหรือกุมภลักษณ์ที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง จนชาวบ้านเรียกว่า แกรนแคนยอนน้ำโขง ซึ่งจะปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณ ...

สามพันโบกอยู่ที่อำเภออะไร

สามพันโบก” ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า หมู่ที่ 4 ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะเป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งเกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ จนทำให้แก่งหินเหล่านี้กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง และคำว่า “แอ่ง” ในภาษาอีสานหรือภาษาลาวจะเรียกว่า “โบก” จึงเป็นที่มาของคำว่า “สามพันโบก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ