ตัวอย่าง recommendation letter จาก หัวหน้า งาน ภาษา อังกฤษ

มารู้จัก Recommendation Letter และ ใครบ้าง คือ Best recommender

Recommendation Letter หรือ Letter of Recommendation คือ จดหมายที่แนะนำ ประวัติ คุณสมบัติตัวเอง เพื่อใช้เป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญ ที่มหาวิทยาลัยใช้พิจารณาในการตอบรับเข้าเรียนต่อในระดับปริญญา จดหมายนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่า เราจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาให้เข้าเรียน โดยเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่นๆ

Best recommender นั้นส่วนใหญ่ จะประกอบด้วย หัวหน้างาน อาจารย์ ที่ปรึกษา และศิษย์เก่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • Boss หัวหน้างานของเรา ตั้งแต่ President, Vice President, Supervisor, Manager เนื้อหาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ตลอดจน performance ของเราในฐานะที่เราเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง
  • Professor or Advisor ในขณะที่เราเป็นนิสิต หรือ นักศึกษา เรามีประวัติด้านการเรียน วิชาใดบ้างที่โดดเด่น เรามีผลงาน award อะไร มีโอกาสได้เชิญให้เข้าฝึกงาน หรือประกวดแผนโครงการอะไรบ้าง รวมถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือ Thesis วิทยานิพนธ์ของเรา สิ่งเหล่านี้ควรมีความเกี่ยวข้องกับ สาขา วิชาที่จะสมัครเข้าเรียน นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายถึง กิจกรรม โครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย คณะ ภาควิชา สาขาที่เราได้สำเร็จการศึกษามา จนตัวนี้ควรจะลงรายละเอียดและบ่งบอก ถึงชื่อโครงการ ชื่อผลงาน ชื่อรางวัล ชื่อวิทยานิพนธ์ ด้วย
  • Alumni คือ บรรดาศิษย์เก่าที่มีความรู้จักกับเรา ทั้งในฐานะญาติ คนรู้จัก รุ่นน้องร่วมการศึกษา รุ่นน้องร่วมหน่วยงาน ศิษย์เก่าจะรู้จักมหาวิทยาลัยที่เค้าจบการศึกษามาเป็นอย่างดี เค้าย่อมที่จะมองเห็นความเป็นไปได้ว่า เราจะมีความเหมาะสม และมีโอกาสในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่เค้าจะเขียนจดหมายแนะนำตัวให้มาก น้อยแค่ไหน

ความสำคัญของ Recommendation Letter

มี ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะขออย่างน้อย 2 ฉบับขึ้นไป เราควรให้ความสำคัญตามสาขาที่ต้องการ เช่น หลักสูตร MBA or Entrepreneur นั้นจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์อย่างน้อยสุด 3 ปีขึ้นไป ฉะนั้นผู้รับรองในการเขียนแนะนำตัวให้เรา สมควรที่จะเป็นหัวหน้างาน ประธานบริษัท ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลงาน ประวัติ ความสามารถในการทำงานของเรา อย่างลืมว่า ผู้ที่ทำการคัดเลือกเราไม่ได้รู้จักเรามาก่อน เพราะด่านแรกๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่ GPA, TOEFL/IELTS, GMAT/GRE Score ที่ขึ้นกับระดับคะแนน แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงคุณสมบัติของเรา จดหมาย Recommendation Letter จึงเปรียบเสมือนหน้าตาของผู้เข้าสมัครว่าจะมี บุคลิก คุณสมบัติ ที่ตรงกับที่มหาวิทยาลัยกำลังต้องการรับเข้าเรียนหรือไม่

สิ่งที่ต้องพึงระวังที่สุด นั้น เราจะได้ไม่ให้ เกิดความผิดพลาด ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น

  • ผู้เขียนจดหมายให้เรา ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และไม่รู้จักเราเป็นอย่างดี
  • จดหมาย จำเป็นเสมอ ที่จะต้องระบุ คณะ สาขา และชื่อมหาวิทยาลัยที่จะสมัครเข้าเรียน
  • แบบฟอร์ม ที่มหาวิทยาลัยระบุมา ซึ่งปกติ จะมีใบปะหน้า recommendation ที่สอบถ้าถึงคุณสมบัติ ทักษะของเราโดยให้ทำการประเมิน แบบ 5 scales และจะต้องมี ลายเซนต์ตรงกับในจดหมายแนะนำ

ตัวอย่าง ของ Recommendation Letter ที่ดี ส่วนใหญ่ที่สะสมจากระยะเวลา 15 ปี ที่มีพี่ศิษย์เก่านำตัวอย่างมาให้ เพื่อให้น้องๆได้พัฒนาการเขียนที่ดีต่อไปมากขึ้น

น้องสามารถติดต่อขอรับ ได้ที่ Email : or LINE ID: dr.purit or Tel. 080.478.7722 หรือผ่าน Message ทาง www.facebook.com/torcheducation

Academic Intensive English Program, Alumni, Amarican Language Center, Boss, Boston, Columbia University, CONDITIONAL ADMISSIONS, GMAT, GRE, IELTs, IEP, language, Letter of Recommendation, Master of Business Administration, Professor, Recommendation Letter, San Francisco, study abroad, study usa, torch education, united state of america, USA, เรียนต่อที่ USA, เรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา, เรียนภาษา, เรียนภาษาที่อเมริกา

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com วันนี้เรามาดูเรื่องเอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องใช้เวลาสมัครเรียนต่อต่างประเทศไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม นั่นคือจดหมายแนะนำจากอาจารย์ค่ะ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีปัญหาพอสมควรเพราะมีน้องๆ หลายคนถาม พี่พิซซ่า เข้ามาว่าอาจารย์ไม่รู้จะเขียนยังไงดี ตัวน้องเองก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน ฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับจดหมายแนะนำกันดีกว่าค่ะ

    

การเขียนจดหมายแนะนำตัวนั้นมีขึ้นเพราะสถาบันที่น้องๆ อยากเรียนต่ออยากรู้ว่าน้องเป็นคนยังไง และอยากได้ข้อมูลจากมุมมองของผู้สอนในสถาบันเก่าของน้องค่ะ นี่จะเป็นคะแนนอีกส่วนที่สำคัญมากกับการเรียนต่อของน้อง ถ้าจดหมายแนะนำจากอาจารย์เขียนออกมาได้ดี สนับสนุนให้น้องได้เรียนต่อ และรวมข้อดีของน้องที่เหมาะกับหลักสูตรที่จะเรียนต่อแล้ว น้องก็จะโดดเด่นเตะตาคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาใหม่มากขึ้นเลยทีเดียว


ปัญหาที่หลายคนพบ

1. อาจารย์เขียนจดหมายแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้
     ปัญหานี้มีทางแก้ไม่ยากเลย ให้อาจารย์ท่านเขียนจดหมายแนะนำเป็นภาษาไทยมาแทนก็ได้ค่ะ แล้วน้องค่อยเอาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่นที่จำเป็น) หรือจะส่งร้านรับแปลก็ได้ จากนั้นก็นำฉบับแปลกลับมาให้อาจารย์ลงชื่อรับรอง

2. อาจารย์บอกว่าเขียนเองมาเลยเดี๋ยวเซ็นให้
     วิธีนี้บอกเลยว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องค่ะ เพราะจดหมายแนะนำที่ดีควรเป็นสิ่งที่เล่าเรื่องน้องผ่านสายตาอาจารย์ ไม่ใช่ให้เราอวยตัวเอง ดังนั้นเวลาเลือกอาจารย์ที่จะขอจดหมายแนะนำ ให้น้องๆ เลือกโดยพิจารณาว่าอาจารย์รู้จักน้องระดับไหนและอาจารย์น่าจะสามารถเขียนจดหมายแนะนำให้น้องได้หรือไม่ ถึงอาจารย์ไม่ถนัดภาษาอังกฤษก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ เขียนเป็นภาษาไทยแล้วเอาไปแปลแบบข้อแรกก็ได้ แต่สิ่งที่ถูกต้องคืออาจารย์ท่านต้องเป็นคนเขียนเองเท่านั้นค่ะ

3. ไม่รู้จะเขียนรูปแบบยังไง
     อันนี้ต่างจากการไม่รู้จะเขียนยังไงนะคะ ถ้าแบบนั้นก็ต้องหาอาจารย์ท่านอื่นแทน เพราะอาจารย์ท่านนั้นอาจไม่รู้จักน้องมากพอที่จะเขียนให้ได้ค่ะ แต่อันนี้คือการไม่รู้ว่าจะเขียนฟอร์มยังไง ต้องขึ้นต้นลงท้ายจดหมายแบบไหน ใส่ที่อยู่มุมไหนมั้ย มหาวิทยาลัยส่วนมากจะมีแบบฟอร์มการเขียนจดหมายแนะนำของตัวเองให้ดาวน์โหลดอยู่แล้วค่ะ แต่ถ้ามหาวิทยาลัยไม่มีรูปแบบกำหนดมาให้ ก็สามารถหา template ตัวอย่างได้จากอินเทอร์เน็ตเลย โดยน้องๆ ต้องส่งแบบฟอร์มหรือเทมเพลตไปให้อาจารย์ด้วยนะคะ

4. เกรงใจอาจารย์ ไม่กล้าขอให้เขียนให้
     การที่เราขอให้อาจารย์เขียนจดหมายแนะนำให้นั้น ที่จริงแล้วอาจารย์ดีใจนะคะ เพราะมันเป็นการบอกว่าเรานับถืออาจารย์ท่านนั้นมากขนาดไหน ทั้งที่เราเรียนหนังสือมาก็เจออาจารย์เป็นร้อยท่าน แต่จดหมายแนะนำที่สำคัญกับอนาคตของเราสุดๆ เราเลือกให้อาจารย์ท่านนี้เป็นผู้เขียนให้ อาจารย์จะรู้สึกยินดีอยู่ลึกๆ ค่ะ แต่เราก็ต้องขอให้เหมาะสมนะคะ ควรขอก่อนวันที่จะสมัครอย่างน้อย 2 เดือน และไม่ควรเป็นช่วงใกล้สอบหรือช่วงตรวจข้อสอบเพราะอาจารย์จะยุ่งมาก ยิ่งถ้าเป็นอาจารย์ที่เป็นที่รักของนักเรียนทุกคน และคิดว่าเพื่อนๆ ก็คงขอจดหมายจากอาจารย์ท่านนี้เช่นกันก็ยิ่งต้องขอล่วงหน้านานเข้าไปอีกค่ะ เดี๋ยวอาจารย์จะเขียนไม่ทัน


คำแนะนำสำหรับการเขียนจดหมาย

ข้อมูลที่สถานศึกษาที่น้องจะเรียนต่อต้องการจากจดหมายแนะนำมีอยู่ 2 ข้อหลักค่ะ นั่นคือ 1. คุณสมบัติ ทักษะ ข้อดี และศักยภาพของน้อง 2. อะไรที่ทำให้น้องเหมาะเรียนต่อในหลักสูตรนั้นๆ แต่ถ้าจะเขียนโต้งๆ ทีละข้อไปเลยมันก็จะไม่ออกมาเป็นจดหมายแนะนำที่ดีและน่าอ่าน ดังนั้นอาจารย์ก็ต้องเขียนออกมาคล้ายเรียงความเหมือนกันค่ะ แบ่งเป็นย่อหน้าต่างๆ ทั้งบทนำ เนื้อหา และสรุป พี่จะแนะนำแนวทางการเขียนแต่ละย่อหน้าให้ดูคร่าวๆ นะคะ ไม่จำเป็นต้องทำตามนี้ก็ได้ค่ะ

    

ย่อหน้าบทนำ - แนะนำตัวเองว่าอาจารย์เป็นใคร รู้จักน้องได้ยังไง รู้จักมานานแค่ไหน ข้อมูลรวมๆ ของทักษะและความสามารถอันโดดเด่นของน้อง ซึ่งจะยกตัวอย่างให้ละเอียดมากขึ้นในย่อหน้าถัดๆ ไป

        

ย่อหน้าเนื้อหา - ส่วนนี้จะมีหลายย่อหน้าด้วยกัน โดยปกติจะอยู่ที่ 2-3 ย่อหน้าค่ะ เป็นส่วนที่ยกตัวอย่างทักษะต่างๆ ของน้องที่พูดไปแล้วในย่อหน้าแรกให้ละเอียดมากขึ้นสมมติมีพูดไว้ว่าน้องเป็นคนเก่งด้านภาษา สามารถพูดและเขียนได้ดีมากๆ ย่อหน้าตรงนี้ก็ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ทำให้เห็นว่าน้องเป็นอย่างนั้นจริงๆ เช่น ตอนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์น้องพูดได้ชัดเจนเข้าใจง่ายมาก คนตั้งใจฟังทั้งหอประชุม สามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้อย่างดี แถมน้องยังเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์โรงเรียนเคยทำสกู๊ปใหญ่มาแล้วอะไรประมาณนี้

ส่วนอีกย่อหน้าหนึ่งของส่วนเนื้อหาก็เอาไว้ยกตัวอย่างข้อดีที่ไม่เกี่ยวกับวิชาเรียนโดยตรงเช่น เป็นคนใส่ใจคนอื่น มีอารมณ์ขัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง เปิดใจรับข้อมูลใหม่เสมอ แล้วยกตัวอย่างว่าเวลาทำงานกลุ่มน้องช่วยเหลืองานเสมอ รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องรับบทเป็นผู้นำหรือผู้ตาม ยอมรับความผิดพลาดของตัวเองและปรับปรุงตัวได้โดยร่าเริงค่ะ

          

ย่อหน้าสรุป - สรุปว่าข้อดีนั้นนี้ทำให้อาจารย์ยินดีที่จะขอแนะนำน้องให้กับหลักสูตรของสถานศึกษานั้น เพราะน้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเรียนที่นั่น และอาจารย์เชื่อว่าน้องจะทำได้ดีทั้งในการเรียนและในอนาคตต่อจากนั้นแน่นอน ก่อนปิดท้ายว่าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่ออาจารย์ได้ทาง...

     **ย้ำว่าไม่ต้องแบ่งตามนี้เป๊ะๆ นะคะ อาจารย์บางท่านเริ่มพูดเรื่องข้อดีของนักเรียนในข้อหน้าที่ 2 เลยก็ได้ค่ะ หรือจะมีจำนวนย่อหน้าต่างจากนี้ก็ได้**


ตัวอย่างจดหมายแนะนำ

     อย่างไรก็ตามอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเขียนตามสเต็ปแบบนี้เป๊ะๆ นะคะ เพราะเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน อาจารย์แต่ละท่านก็ต่างกัน เมื่อจับคู่กันแล้วยิ่งทำให้มีเรื่องราวไม่เหมือนใครเข้าไปอีก จดหมายแนะนำที่มีเรื่องราวเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองจึงเป็นจดหมายที่น่าอ่านมากที่สุดค่ะ

เขียน recommendation letter ยังไง

หลักในการเขียนจดหมายแนะนำ (Letter of Recommendation).
ใช้รูปแบบการเขียนคล้ายๆ กับการเขียนจดหมายธุรกิจ ระบุชื่อผู้รับพร้อมที่อยู- ... .
เขียนสรุปเกี่ยวกับผู้แนะนำประมาณ 2 บรรทัดสั้นๆ ระบุตำแหน่ง ความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์กับผู้สมัคร.

Letter of recommendation สำคัญไหม

Recommendation letters คือจดหมายหรือเอกสารรับรองจากอาจารย์ และอีกฉบับหนึ่งจะสามารถขอจากหัวหน้างานในบริษัทที่เราทำงานอยู่ โดยเอกสารชิ้นนี้จะมีความสำคัญมากต่อการสมัครเรียนต่อ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราให้กับคณะกรรมการแอดมิสชั่นของมหาวิทยาลัย อย่างเป็นกลางและน่าเชื่อถือที่สุด

Recommendation letter มีอายุกี่ปี

Tips การเขียน Letter of Recommendation – จดหมายรับรองควรมีอายุไม่เกิน 2 ปี – ควรเป็น letter head ของมหาวิทยาลัยที่เราจบหรือบริษัทที่เราทำงาน และต้องมีลายเซ็นของผู้รับรองด้วย อันนี้สำคัญมากนะ ตอนขอจดหมายรับรองให้แจ้งผู้รับรองไปเลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเพื่อไปขอใหม่อีกรอบ

ใคร เขียน letter of recommendation

ที่สำคัญสุดๆ เลยก็คือ Recommendation Letter นั้นเราไม่สามารถเขียนเองได้ การให้ครอบครัว ญาติ หรือเพื่อนร่วมงานเขียนก็ไม่เหมาะสมเหมือนกัน คนที่เราควรขอให้เขียนจดหมายให้ควรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นายจ้าง หรือคนที่มีตำแหน่งสูงกว่า ถึงอย่างนั้นก็ควรจะเป็นคนที่สนิทสนมหรือรู้จักเราดีประมาณนึง และเรารู้ว่าเค้าจะสามารถเขียนถึงเรา ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ