เงินสะสม กองทุน สํารอง เลี้ยงชีพ

การจัดสรรเงินลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดย 3 อันดับแรกของสินทรัพย์ที่มีการลงทุนมากที่สุดในปี 2560 ได้แก่ ตราสารหนี้ (54.5%) ตราสารทุน (18.5%) และเงินฝาก (14.7%) โดยการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นสามัญยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่พนักงานที่ไม่เข้าใจการลงทุน ทำให้เลือกลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้สูงถึง 90-100% ซึ่งเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ ทำให้โดยเฉลี่ยแล้วตลอดการลงทุนจะมีผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำเพียง 2-3% ต่อปีเท่านั้น เงินที่ได้รับหลังเกษียณไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพแน่นอน แต่หากลงทุนในกองทุนที่จัดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้มีความเสี่ยงและผลตอบแทนเหมาะกับแต่ละช่วงอายุ จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอดอายุการลงทุนที่สูงขึ้น


สำหรับบางบริษัทที่มีนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเลือกลงทุนในหุ้นได้ด้วย (Employee’s Choices) ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วควรจะแบ่งไปลงทุนในหุ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์ดี คําตอบคือ ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนที่คุณคาดหวังว่าจะได้จากเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายวัยเกษียณ  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวคุณเอง รวมไปถึงทางเลือกในนโยบายการลงทุนที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพของคุณมีให้เลือกอีกด้วย


อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุนควรพิจารณาจากระยะเวลาการลงทุนประกอบด้วย หากมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานก็ควรพิจารณาการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าหุ้นจะมีความเสี่ยงสูงแต่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว เพราะระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานจะลดความผันผวนของการลงทุนในตราสารทุนลงได้ การที่เรากังวลในความเสี่ยงจนมากเกินไป อาจทำให้เงินไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และอาจมีไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายยามเกษียณอายุ

คำแนะนำสำหรับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามช่วงอายุต่าง ๆ

  • ช่วงอายุ 22 – 30 ปี เป็นช่วงเริ่มต้นการทำงาน และยังไม่มีภาระมากเท่าไหร่ อีกทั้งมีระยะเวลาการลงทุนที่นาน รับความเสี่ยงได้สูง สามารถเลือกลงทุนในหุ้นได้ถึง 80 – 90% และอีก 10 – 20% ก็เลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย
  • ช่วงอายุ 31 – 45 ปี เป็นช่วงของการสร้างครอบครัว หน้าที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้สูงขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย อีกทั้งยังมีภาระต่างๆ ให้รับผิดชอบมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการรับความเสี่ยงน้อยลง ดังนั้นแนะนำให้ลงทุนหุ้นประมาณ 50% ส่วนอีก 50% ให้นำไปลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากประจำเพื่อเป็นการลดระดับความเสี่ยงของพอร์ตลง
  • ช่วงอายุ 46 – 55 ปี เป็นช่วงของการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณอายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการลงทุนที่เหลือสั้นลง ทำให้ช่วงนี้ต้องทยอยลดการลงทุนในหุ้นให้เหลือประมาณ 30 – 40% 
  • อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุที่เข้าสู่วัยเกษียณ ต้องระมัดระวังการลงทุนให้มากที่สุด เพราะไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากเหมือนวัยอื่นๆ แนะนำปรับพอร์ตการลงทุนให้เหลือการลงทุนในหุ้นประมาณ    10 – 15%


แล้วเราควรจะสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไหร่ดี?

ในเบื้องต้น หากไม่มีวินัยในการออม ไม่สามารถเก็บเงินด้วยตัวเอง หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน แนะนำสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างน้อย 10% ของเงินเดือน แต่ถ้าเป็นไปได้ขอให้ลงทุนเต็มสิทธิ์ 15% ของเงินเดือน เพราะข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ บริษัทจะหักเงินสะสมออกจากบัญชีเงินเดือนเลยทันที ทำให้เราได้ “Pay Yourself First” หรือ ได้จ่ายตัวเองก่อนนั่นเอง


เราควรเลือกสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพียงขั้นต่ำ แล้วเอาไปลงทุนที่อื่นแทนได้หรือไม่?

คำตอบคือ หากคิดว่าสามารถหาการลงทุนที่ได้อัตราผลตอบแทนคาดหวังสูงกว่าที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำได้ และมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เช่น ลงทุนได้อย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง ก็อาจเลือกเอาไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทนได้ แต่อย่าลืมว่าเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงใดๆ เราต้องมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และควรเป็นการลงทุนระยะยาว

ตอบ   กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้าง เมื่อยามลูกจ้างเกษียณหรือออกจากงาน ดังนั้น การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงจัดได้ว่าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่นายจ้าง ได้แก่ บริษัทห้างร้านและองค์กรต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่ลูกจ้างให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ทำงานกับนายจ้างนานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังถือเป็นการออมที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้าง
(1)  ลักษณะกองทุน
     เป็นกองทุนการออมเพื่อการชราภาพภาคสมัครใจ แบบกำหนดการจ่ายอัตราเงินสะสมและอัตราสมทบแน่นอน (Defind Contribution) บริหารโดยผู้จัดการกองทุนภาคเอกชน
(2)  การจัดตั้งกองทุน : ภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และ พรบ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
(3)  นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(4)  อัตราเงินสะสม / สมทบ : 2 � 15% ของค่าจ้าง
(5)  ความครอบคลุม (Coverage)
-  ลูกจ้างภาคเอกชน : ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งกองทุนด้วยความสมัครใจ
-  พนักงานรัฐวิสาหกิจ : จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 กรกฎาคม 2539
-  ลูกจ้างประจำส่วนราชการ : จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2532 ตามความใน พรบ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2530
(6)  โครงสร้างการบริหารจัดการ
 -  คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยกรรมการกองทุนฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้างดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนฯ ออกข้อบังคับกองทุน จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุน จดทะเบียนการแต่งตั้งบริษัทจัดการ ฯลฯ และอาจทำหน้าที่เหมือน Trustee (ปัจจุบันยังไม่ใช้กฎหมาย Trustee แต่อนาคตอาจกำหนดไว้เป็นทางเลือก)
-  ในการนำเงินไปลงทุน บริษัทจัดการลงทุน (ผู้จัดการกองทุน) จะทำหน้าที่นำเงินไปลงทุนภายใต้กรอบการลงทุนที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันบริษัทจัดการได้มีการกำหนดรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย (ภายใต้กรอบการลงทุน) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนได้ ตามความเหมาะสมของตนเองมากขึ้น (Employee�s Choice) รวมทั้งเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
-  การเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุน จะมีผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 แยกต่างหากจากบริษัทจัดการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินทั้งนี้บริษัทจัดการลงทุนและผู้รับฝากทรัพย์สิน ต้องมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
-  นอกจากนี้ยังมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตรวจสอบรับรองงบการเงินของกองทุนเพื่อให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล
-  การรับประกันผลตอบแทน : ไม่มี
(7)  การจัดเก็บเงิน (Collection) นายจ้างจะเป็นผู้หักเงินลูกจ้างและนำเงินสะสม / สมทบส่งบริษัทจัดการลงทุน พร้อมทั้ง Record ข้อมูลลูกจ้าง
(8)  เงินผลประโยชน์ทดแทน จะได้รับเท่ากับยอดเงินสะสม + เงินสมทบ + ผลตอบแทนของเงินสะสมและเงินสมทบ โดยได้รับเงินเป็นก้อนครั้งเดียว
(9)  สิทธิประโยชน์ทางภาษี
    (9.1)  ลูกจ้าง
    -  เงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุน สามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณเงินได้เพื่อ เสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกินปีละ 290,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี
    -  เงินก้อนที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนเมื่อเกษียณอายุหรือด้วยเหตุอื่นตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดได้แก่ ทุพพลภาพ ตาย ซึ่งประกอบด้วยเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสมและ เงินสมทบ ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี เงินก้อนที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนในกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วจะต้องเสียภาษี โดยนำเงินดังกล่าวมาแยกหรือรวมกับเงินได้อื่น เพื่อเสียภาษีก็ได้ ซึ่งกรณีทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้นำเงินดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายได้ 7,000 บาท X จำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกครึ่งหนึ่ง
    (9.2)  นายจ้าง
    -  เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างของลูกจ้าง
    (9.3)  กองทุน
    -  ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยผลประโยชน์จากการนำเงินกองทุนไปลงทุน ทั้งในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรและส่วนเกินทุน ไม่ต้องคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี ทั้งนี้ เงินก้อนที่ลูกจ้างได้รับกรณีออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างใช้จ่ายตอนเกษียณอายุแล้วและถือว่าเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง

เงินกองทุนคืออะไร

กองทุนรวม คือ การระดมเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยมารวมเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นผู้ดูแล เพื่อนำเงินไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมตามนโยบายที่ตนเองสนใจ เมื่อลงทุนแล้วจะได้รับจัดสรร “หน่วยลงทุน” เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเงินที่ ...

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้เท่าไร

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องหักกี่เปอร์เซ็นต์ ในการหักเงินสมทบนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ลูกจ้างสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน และนายจ้างสมทบเข้าเป็นประจำทุกครั้งที่จ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2-15% ตามข้อบังคับของแต่ละบริษัท เพราะฉะนั้นถ้ามองในแง่ของการลงทุนแล้ว ยิ่งเราสะสมมากเท่าไหร่ เรายิ่ง ...

กี่วัน ได้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สมาชิกจะได้รับเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สิ้นสมาชิกภาพ ตามวิธีการรับเงินที่ระบุไว้ ดังนั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน สมาชิกควรทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากมีเจ้าหนี้ขอรับเงินแทนสมาชิกหรือมีบุคคลใดขอยึดหรือหน่วงเหนี่ยวเช็คไว้ จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เงินที่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ