พรบ ความปลอดภัย 2554 มาตรา 22

PPE (ตอนที่ 2)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมช เชี่ยวชาญ

          จุลสารฉบับที่แล้วได้ กล่างถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “PPE” (ความหมายและชนิด) มาพอสังเขปแล้ว ฉบับนี้ขอสืบเนื่องเนื้อหาเกี่ยวกับ PPE เพื่อเพิ่มความเข้าใจต่ออีกฉบับ 

ความสำคัญและข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ PPE

          ในการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยทั่วไป พบว่า สถานประกอบกิจการหลาย ๆ แห่งมักนำ “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล”  หรือ  PPE มาใช้เป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมและป้องกันอันตรายจากการทำงานให้กับผู้ปฎิบัติงานอยู่เสมอ ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการแก้ไขปัญหาด้วย PPE มีข้อดี คือ สามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่า และอาจใช้งบประมาณไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยวิธีทางวิศวกรรม เป็นต้น ดังนั้น PPE จึงเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

          ถึงแม้ PPE จะมึความสำคัญและมีความจำเป็น (เฉพาะในบางสถานที่ บางสถานการณ์ ไม่ใช่ทุกสถานที่ ทุกสถานการณ์) จึงอยากฝากข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ PPE ไว้ให้ตระหนักและใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้

1. การแก้ไขปัญหาโดยการใช้ PPE  ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด
          เนื่องจากการใช้ PPE เป็นการแก้ไขปัญหาที่ตัวบุคคล ตามหลักวิชาการแล้ว การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การแก้ไขปัญหาหรือควบคุมอันตรายที่แหล่งกำเนิด และ/หรือทางผ่านโดยใช้มาตรการทางวิศวกรรม (ENGINEERING CONTROLS) เช่น การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร (MACHINE GUARDING) หรือมาตรการทางการบริหารจัดการ (ADMINISTRATIVE CONTROLS) เช่น การปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เป็นต้น ในกรณีไม่สามารถแก้ไขปัญหา และ/หรือการแก้ไขด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น ยังปลอดภัยไม่เพียงพอ จึงจะพิจารณาการแก้ไขปัญหาด้วย PPE

          ดังนั้น ก่อนพิจารณาการเลือกใช้ PPE ในการแก้ปัญหาทุกครั้ง ต้องพยายามทบทวนหาแนวทางการการควบคุมอันตรายที่แหล่งกำเนิด/ทางผ่านก่อนเสมอ(มิใช่คิดอะไรไม่ออกก็ใช้ PPE เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก เพราะเหตุผลอะไรจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป) ถ้าสามารถควบคุมอันตรายที่แหล่งกำเนิด/ทางผ่านได้แล้ว ความจำเป็นที่ต้องใช้ PPE ก็จะลดลง ดังนั้น การใช้  PPE จึง เหมาะสำหรับบางสถานที่ บางสถานการณ์ ดังนี้

1) ใช้ในงานชั่วคราว เช่น งานการก่อสร้างต่าง ๆ  งานซ่อมบำรุง ฯลฯ
2) ใช้ในกรณีเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ทันท่วงทีก่อน เช่น ใช้ในช่วงที่กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาที่แหล่งกำเนิด/ทางผ่านอยู่ (โดยทั่วไปการแก้ไขปัญหาโดยใช้มาตรการทางวิศวกรรม มักต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขพอประมาณ ดังนั้น ก่อนทื่การดำเนินการแก้ไขปัญหาจะลุล่วงแล้วเสร็จ ต้องตระหนักเสมอว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ อยู่  จีงจำเป็นต้องใช้ PPE เป็นการชั่วคราวในช่วงเวลานั้นก่อน)          
3) ใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การรั่วไหลของสารเคมี ฯลฯ
4) ใช้เป็นมาตรการเพิ่มเติม เสริมความปลอดภัยร่วมกับการใช้มาตรการด้านอื่น ๆ

2.  การแก้ไขปัญหาโดยการใช้ PPE มักมีข้อจำกัดตามมาเสมอ

          ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เปรียบเสมือนกับเหรียญที่มีสองด้านเสมอ การใช้ PPE ก็เช่นเดียวกัน  การที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ PPE มักมีข้อจำกัดตามมา ที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสวมใส่ PPE รู้สึกไม่สุขสบายเมื่อสวมใส่ และ/หรือทำให้การปฏิบัติงานไม่สะดวกโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกก่อนจะคุ้นเคยเป็นนิสัย (ถ้าใครเคยต้องสวมใส่ PPE ในการปฏิบัติงาน คงเข้าใจความรู้สึกนี้เป็นอย่างดี) จากข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผลที่ตามมา คือ ผู้ปฏิบัติงานหลาย ๆ คนยังไม่ตระหนัก ไม่ให้ความสำคัญ และไม่ยอมสวมใส่ PPE ทั้ง ๆ ที่ทุกอย่างก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง    ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเองต้องพิจารณาหามาตรการเพิ่มเติมต่าง ๆ ทั้งเชิงบวก เชิงลบ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สรุปง่าย ๆ หากพิจารณาทบทวนรอบครอบแล้วว่าจำเป็นจริง ๆ ต้องใช้ PPE ในการแก้ปัญหา แล้วต้องเตรียมใจว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าจะต้องไปรบกับเรื่องของคนให้สวมใส่ ดังนั้น ต้องเตรียมมาตรการรองรับไว้ด้วย

          ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดมิได้มีเจตนาว่าไม่ควรใช้ PPE ในการแก้ปัญหา ยังเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการใช้ PPE สำหรับบางสถานที่ บางสถานการณ์ในชีวิตความเป็นจริงทางการปฏิบัติอยู่  เพียงแต่ต้องการฝากข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและตระหนักก่อนการใช้ PPE [หากเป็นไปได้ ก่อนการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบกิจการอื่น ๆ ผู้ประกอบการต้องนำเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปร่วมเป็นประเด็นพิจารณาเพิ่มนอกเหนือจากประเด็นอื่น ๆ (เช่น เรื่องเศรษฐศาสตร์  วิศวกรรม เป็นต้น)อย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มต้น ในการออกแบบโรงงาน กระบวนการผลิต การเลือกใช้เครื่องจักรต่าง ๆ แล้ว ปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ต้องมาแก้ไขภายหลัง น่าจะลดลง และส่งผลดีต่อผู้ปฏิบัติงานในที่สุด  (แนวคิดในเรื่องนี้มีหน่วยงานภาครัฐ คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีหน้าที่ในการอนุญาตให้จัดตั้งโรงงาน ออกกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือ  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 เรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2552 อย่างไรก็ตาม ได้บังคับใช้เฉพาะกับโรงงานที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 12 ประเภทเท่านั้น)

กฎหมายประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับPPE

          เนื่องจาก PPE มีความสำคัญและเป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมและป้องกันอันตรายจากการทำงาน ทำให้ภาครัฐ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการออกกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ PPE หลายหน่วยงาน และหลายฉบับ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เนื่องจากมีหน้าที่โดยตรงในการดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการต่าง ๆ (ซึ่งหมายรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมด้วย) รายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554  ในปัจจุบัน พรบ. ฉบับนี้เป็นกฏหมายแม่บทของการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ PPE กำหนดไว้ในหมวด 2 การบริหาร การจัดการและการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 22 ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาการทำงาน ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานนั้นจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว (นอกจากนี้ ในหมวด 1 บททั่วไป มาตรา 7 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ พรบ. นี้กำหนดให้นายจ้างต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนื่งที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น [นั่นย่อมหมายรวมถึงการจัดดำเนินการเกี่ยวกับ PPE ด้วย] สำหรับบทกำหนดโทษของมาตรา 22 กำหนดไว้ในมาตรา 62 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนี่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

2. กฏมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง PPE ในปัจจุบัน (พ.ย. 2555) กฏหมายลำดับรอง หรือกฏหมายลูกจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ PPE มีอยู่ 1 ฉบับ คือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ.2554 (รายละเอียดของเนื้อหาเป็นการกำนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มอก. , ISO,  EN,   AS/NZS,   ANSI,    JIS,   NIOSH, OSHA, NFPA ทั้งนี้ให้เหมาะสมกับชนิด หรือประเภทของงานที่ลูกจ้างทำ)
นอกจากนี้ ยังมีกฏหมายลำดับรอง หรือกฏหมายลูกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ซึ่งอดีตเคยเป็นกฏหมายแม่บท) ที่ปัจจุบันยังมีผลบังคับใช้ตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 (มาตรา 74 กำหนดว่า ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติตาม พรบ. ฉบับใหม่ ให้นำกฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับโดยอนุโลม) อยู่อีกหลายฉบับ กฎหมายลำดับรองเหล่านี้ เป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะเรื่อง (ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ PPEสอดแทรกอยู่ในกฏหมาย) ได้แก่

1) กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ. ศ.2547
2) กฏกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ. ศ.2547
3) กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ. ศ.2547
4) กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง  พ.ศ.2549
5) กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ. ศ.2551
6) กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2552
7) กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2554
(หมายเหตุ รายะเอียดของกฏหมายแต่ละฉบับ สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่สำนักความปลอดภัยแรงงาน เว็บไซต์ //www.oshthai.org)

…………………………………………………..

เอกสารอ้างอิง

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงาน อาชีวอนามัยและ  ความปลอดภัย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม : การ ควบคุม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  
Occupational Safety and Health Administration.  (2003). Personal Protective Equipment, OSHA 3151-12R.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ