การพัฒนาตนเองตามหลัก นันทนาการ

วิชานันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

รหัสวิชา 30000-1610

หน่วยที่ 2
นันทนาการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ครูตะวัน ชัยรัต
วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่

หน่วยที่ 2
นันทนาการและการพัฒนาคุณภาพชีวิต

กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมหนึ่ง
ที่สามารถพัฒนามนุษย์ทั้งทางด้านร่างกายและ
จิตใจ ตั้งแต่เป็นเยาวชน จนเจริญเติบโตเป็น
ประชากรที่ดีของประเทศชาติ การเข้าร่วม
กิจกรรมนันทนาการจะทำให้พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

ความหมายของคุณภาพชีวิต
คุณภาพชีวิต QUALITY OF LIFE คือ

การดำรงชีวิตของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสม
ตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคมหนึ่ง ในช่วง
เวลาหนึ่งๆ องค์ประกอบของความเป็นพื้นฐาน
ที่เหมาะสม มีอาหารที่เพียงพอ มีเครื่องนุ่งห่ม
มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีสุขภาพร่างกายและ
สุขภาพจิตที่ดี ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้ง
ได้รับการบริการพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งทาง
เศรษฐกิจและสังคม เพื่อประกอบการดำรงชีพ
อย่างยุติธรรม

UNESCO ได้ให้ความหมายของ
“คุณภาพชีวิต” เป็นความรู้สึกของการอยู่
อย่างพอใจต่อองค์ประกอบต่างๆ ของชีวิตที่มี
ส่วนสำคัญมากที่สุดของบุคคล

กล่าวโดยสรุป “คุณภาพชีวิต” หมายถึง
การดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสุข
มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมที่
ตนอยู่ได้อย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถเผชิญ
ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถ
ใช้ศักยภาพส่วนบุคคลสร้างสรรค์พัฒนาตนเอง
และสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

กิจกรรมนันทนาการถือเป็นส่วนสำคัญ
ที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ทั้งในด้าน
สุขภาพ บุคลิกภาพ และลักษณะนิสัย
ตลอดจนช่วยพัฒนาเยาวชนและสังคมได้ ดังนี้

1. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

2. มีแรงจูงใจในการทำางานให้สำเร็จ
3. มีค่านิยมที่ดี
4. มีเหตุผลเชิงจริยธรรม
5. มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์
6. มีสุขภาพและสมรรถภาพดี
7. มีความคาดหวังในอนาคต

พฤติกรรมที่เกิดจากกิจกรรมนันทนาการ
นันทนาการเป็นกระบวนการที่จะใช้

กิจกรรมในเวลาว่างช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของบุคคลในสังคม ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ
และจำเป็นอย่างหนึ่งของชีวิต ซึ่งโดยปกติ
บุคคลจะใช้เวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในการ
ศึกษาเล่าเรียนหรือทำงาน 8-10 ชั่วโมง
ต่อจากนั้นจะใช้เวลาปฏิบัติภารกิจในชีวิต
ประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร พักผ่อน
และเวลาที่เหลือจึงเป็นช่วงเวลาว่าง ซึ่งโดย
ส่วนใหญ่แต่ละบุคคลจะมีเวลาว่าง 2-4 ชั่วโมง
ต่อวัน

กิจกรรมนันทนาการจึงมีบทบาทสำคัญ
ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอารมณ์
และจิตใจ หากกล่าวโดยสรุปแล้ว การเข้าร่วม
กิจกรรมนันทนาการจะทำให้เกิดพฤติกรรม
ดังนี้

1. พฤติกรรมพื้นฐานทางสังคม
(SOCIAL BEHAVIORS) เป็นการสร้าง
มนุษยสัมพันธ์ของชุมชน เช่น กิจกรรมเต้นรำ
งานเลี้ยงสังสรรค์

2. พฤติกรรมเกี่ยวข้องผูกพัน
(ASSOCIATIVE BEHAVIORS) เป็นการ
ส่งเสริมผู้ที่มีส่วนร่วมหรือสมาชิกกลุ่มให้มี
ความผูกพัน สนใจร่วมงานกันในชุมชน เช่น
ชมรมท่องเที่ยวไทย กลุ่มอนุรักษ์โบราณวัตถุ

3. พฤติกรรมแข่งขัน
(COMPETITIVE BEHAVIORS) เป็นการช่วย
ส่งเสริมสภาพการณ์การแข่งขัน การประกวด
หรือทดสอบความสามารถ กิจกรรมสร้าง
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของมนุษย์ เช่น เกม กีฬา
การประกวดความสามารถต่างๆ

4. พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย
ทักษะความสามารถ (RISK BEHAVIORS)
โดยธรรมชาติมนุษย์ต้องการกิจกรรมที่เสี่ยง
อันตราย และท้าทายความสามารถ หรือ
พิสูจน์ความสามารถเพื่อความเป็นเลิศ เช่น
กระโดดร่ม ปีนเขา ล่องแก่ง แข่งเรือ

5. พฤติกรรมบุกเบิกค้นหา
(EXPLORATORY BEHAVIORS)
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการบุกเบิกค้นหา ได้แก่
การท่องเที่ยว การเดินป่า การตั้งค่ายพักแรม
การไต่เขา การผจญภัยใต้น้ำ

6. พฤติกรรมทดแทน (ส่งเสริม)
(VICARIOUS BEHAVIORS) เป็นกิจกรรมที่
ช่วยเสริมสร้างความรู้สึกและประสบการณ์
ทดแทนได้ เช่น กิจกรรมประเภทอ่าน พูด
เขียนในวรรณกรรม รายการโทรทัศน์ การจัด
รายการวิทยุ นาฏศิลป์และศิลปกรรม

7. พฤติกรรมที่มีสิ่งกระตุ้นทาง
ประสาทสัมผัส (SENSORY STIMULATION)
เป็นกิจกรรมทางสังคมและนันทนาการพิเศษ
ต่างๆ ส่วนใหญ่จะส่งเสริมกิจกรรมสังสรรค์
กิจกรรมที่มีสิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น
ดนตรี เกม กีฬา

8. พฤติกรรมการแสดงออกทางร่างกาย
(PHYSICAL EXPRESSION) เป็นกิจกรรม
ประเภทเกมกีฬา กิจกรรมเข้าจังหวะ แอโรบิก
การเต้นลีลาศ ระบำ รำฟ้อน

ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ
นอกสถานศึกษา

ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
1. กิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยว
ทัศนศึกษา การท่องเที่ยว ทัศนศึกษาเป็น
กิจกรรมนันทนาการที่บุคคลและชุมชนให้ความ
สนใจ และนิยมเลือกปฏิบัติในช่วงเวลาว่างหรือ
เวลาอิสระมากที่สุดประเภทหนึ่ง เพราะเป็น
กิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ที่มีรูปแบบที่น่าสนใจและหลากหลาย ได้แก่
กิจกรรมทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ท้องถิ่น การเมือง ศาสนา วิทยาศาสตร์
การศึกษาชีวิตสัตว์ป่า การอนุรักษ์ธรรมชาติ

2. กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง หรือ
กิจกรรมนอกเมือง เป็นกิจกรรมที่มีความหลาก
หลายซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีโอกาสใกล้ชิด
ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ส่งเสริมให้เกิดการ
พัฒนาการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
แหล่งนันทนาการกลางแจ้ง เช่น สนามกีฬา
สระว่ายน้ำ ค่ายลูกเสือ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ หรือ
ศูนย์ชุมชน

3. กิจกรรมนันทนาการการบริการอาสา
สมัคร เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องคุณธรรม
จริยธรรม การให้และการรับ การร่วมมือของ
ชุมชน อาสาสมัครเป็นการให้บริการโดย
ปราศจากค่าตอบแทน เป็นการเสริมสร้างทักษะ
และสร้างคุณภาพชีวิต อีกทั้งยังเป็นการพัฒนา
ชุมชนและประเทศชาติโดยอาศัยแรงงาน
ความร่วมมือของกลุ่มหน่วยงานเอกชน ชุมชน
และองค์กรธุรกิจที่จะต้องจัดบริการชุมชน

รูปแบบกิจกรรมนันทนาการบริการ
อาสาสมัคร เช่น

1. การพัฒนาชุมชน วัด โรงเรียน โบราณ
สถาน โบราณวัตถุ

2. กิจกรรมลูกเสือ
3. กีฬาที่จัดโดยสโมสร สมาคมกีฬา
4. กิจกรรมศิลปะชุมชน ศิลปหัตถกรรม
พื้นบ้าน
5. ศูนย์เยาวชนส่งเสริมพัฒนาเยาวชน
การบริการอาสาสมัครชุมชน
6. สมาคมและมูลนิธิที่เป็นองค์กรเอกชน
อาสาสมัคร เช่น สมาคม Y.M.C.A.

หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
โดยมีหลักการในการเลือกเข้าร่วม

กิจกรรมดังนี้
1. ความชื่นชอบและความสนใจ

ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการควรเลือก
เข้าร่วมในกิจกรรมที่ตนเองมีความชื่นชอบและ
สนใจ จะทำให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้อย่าง
ต่อเนื่อง มีความสุขเกิดความพึงพอใจ ไม่เบื่อ
หน่ายได้โดยง่าย เช่น หากชื่นชอบและสนใจ
ประวัติศาสตร์ก็เข้าร่วมในกิจกรรมเที่ยวชม
แหล่งโบราณสถาน เป็นต้น

2. ความรู้ ความสามารถ
และความถนัด ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
นันทนาการควรเลือกที่ตนเองมีความรู้
ความสามารถ และมีความถนัดจะทำาให้
ประกอบกิจกรรมนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่และ
ประสบผลสำเร็จ เช่น หากมีความสามารถทาง
ด้านศิลปะก็เข้าร่วมกิจกรรมสอนศิลปะเด็กใน
ชุมชน เป็นต้น

3. สุขภาพ ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
นันทนาการควรเลือกเข้าร่วมในกิจกรรมที่
เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง จะช่วยส่งเสริม
ให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ใน
ทางตรงกันข้าม หากเลือกเข้าร่วมในกิจกรรมที่
ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเองก็จะทำให้
เสียสุขภาพหรือเกิดอันตรายได้ เช่น หากมีโรค
ประจำตัวก็ควรเลือกเข้าร่วมกิจกรรม
นันทนาการที่ไม่ต้องออกแรงมากจนเกินไป
ควรเป็นกิจกรรมเบาๆ ผ่อนคลายความ
ตึงเครียด เช่น เข้าร่วมชมรมศิลปหัตถกรรม
พื้นบ้าน เป็นต้น

4. เพศและวัย ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
นันทนาการควรเลือกเข้าร่วมในกิจกรรมที่
เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง เช่น
เพศชายเป็นเพศที่มีความแข็งแรง ชอบกิจกรรม
ที่ท้าทายผาดโผน ก็ควรเลือกกิจกรรม เช่น
เดินป่า แข่งขันกีฬาฟุตบอลของชุมชน
อาสาสมัครช่วยก่อสร้างศูนย์เยาวชนในชุมชน
เป็นต้น ส่วนเพศหญิงเป็นเพศที่มีความ
เรียบร้อยนุ่มนวล ละเอียดอ่อน ก็ควรเลือก
กิจกรรม เช่น ประดิษฐ์ดอกไม้ อาสาสมัครใน
ศูนย์ดูแลเด็กเล็กในชุมชน เป็นต้น

5. สังคมและวัฒนธรรม ผู้ที่จะเข้าร่วม
กิจกรรมนันทนาการควรเลือกเข้าร่วมใน
กิจกรรมที่เหมาะสมและคำนึงถึงสภาพสังคม
และวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นหรือชุมชน
นั้นๆ เช่น เข้าร่วมอาสาสมัครทำความสะอาด
วัดก็ควรแต่งกายให้เรียบร้อย มิดชิด
ทะมัดทะแมง เป็นต้น

6. สภาพแวดล้อม เวลา และสถานที่
ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการควรเลือก
เข้าร่วมในกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในสภาพแวดล้อม
เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เป็นอุปสรรค
ต่อการปฏิบัติกิจกรรมหรือเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพ เช่น แข่งขันกีฬากลางแจ้งในช่วงเวลา
ที่แดดไม่ร้อนจัด ล่องแพในฤดูร้อนที่ไม่มีพายุฝน
หรือนํ้าป่าไหลหลาก

7. ค่าใช้จ่าย ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
นันทนาการควรเลือกเข้าร่วมกิจกรรม
นันทนาการที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจหรือ
ฐานะความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวเพื่อ
ความสะดวกในการเข้าร่วมและประโยชน์ที่จะ
ได้รับเป็นสำคัญ เนื่องจากบางกิจกรรมมีค่าใช้
จ่ายสูง เช่น การทัศนศึกษาต่างประเทศ การ
เล่นกีฬากอล์ฟ การเล่นไวโอลิน หรือเปียโน
โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมนันทนาการให้มีความ
สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของตนเอง เช่น
การท่องเที่ยวในประเทศ เป็นต้น

8. ความพร้อมของเครื่องมือและ
อุปกรณ์ ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
ควรเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการโดย
พิจารณาในเรื่องของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่
ต้องใช้เพื่อประกอบกิจกรรมด้วย ทั้งนี้เพื่อความ
สะดวกและปลอดภัยในการปฏิบัติ เช่น
การล่องแก่ง จำเป็นต้องสวมใส่เสื้อชูชีพเพื่อ
ป้องกันอุบัติเหตุจากการจมนํ้าในกรณีที่เกิดเหตุ
ฉุกเฉิน การเล่นเครื่องเล่นที่ต้องคาดเข็มขัด
นิรภัย เป็นต้น

9. ประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการควรเลือก
เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่มีประโยชน์ทั้งต่อ
ตนเองและสังคมส่วนรวมด้วย เช่น กิจกรรม
อาสาสมัครช่วยเหลือพัฒนาชุมชน กิจกรรม
บำเพ็ญประโยชน์ช่วยดูแลคนชรา อาสาสมัคร
ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะในชุมชน
อาสาสมัครช่วยเก็บขยะในงานกิจกรรมที่จัดขึ้น
ของชุมชน เป็นต้น

10. ความปลอดภัยในด้านต่างๆ
ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการควรเลือก
เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่มีความปลอดภัย
มีการป้องกันอันตรายอย่างรัดกุมและขณะ
ปฏิบัติก็ต้องไม่ประมาทด้วย เช่น ในกิจกรรม
การปีนผาจำลองจะต้องได้รับการฝึกฝนและ
ดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ฝึกสอนและจะต้องมีการ
สวมใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันที่ได้
มาตรฐานและปลอดภัย เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ