ประกัน สังคม ไม่ ได้ ทํา งาน

ด้วยสถานการณ์ของการประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานและลูกจ้าง โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า และสถานที่ที่ถูกสั่งปิดหรือจำกัดเวลาเปิดทำการ และทำให้ประชาชนจำนวนมากตกอยู่ในสถานะ “ว่างงาน” แต่รู้หรือเปล่าว่า คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือผู้ประกันตนเอง ก็มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยเช่นกัน

"เงื่อนไข" ของผู้ที่จะได้สิทธิประกันสังคมหรือเงินชดเชย ประกันสังคมในกรณีลาออก หรือว่างงานเพราะได้รับผลกระทบจาก " "โควิด-19"

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  • ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

  • ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน

และยังมีมาตรการขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

  • งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมและผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

ก่อนการขึ้นทะเบียนเพื่อเบิกสิทธิประกันสังคมนั้น ต้องตรวจสอบการจ่ายเงินสมทบก่อน ซึ่งเงื่อนไขคือจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน เช่น หากว่างงานในเดือนเมษายน 2563 ต้องนับระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานคือ เดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไปในช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 จากนั้นสามารถไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านภายใน 30 วัน เพื่อแสดงสิทธิ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากไปช้ากว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงานนั่นเอง

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยความที่ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดโควิด-19 คุณสามารถขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์ง่าย ๆ เพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เลย

ทั้งนี้ การพิจารณาการได้สิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิประกันสังคมให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

ช่องทางในการยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนเพื่อรับเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานมีดังนี้

และสามารถสอบถามข้อมูลสิทธิประกันสังคมได้ที่ //www.sso.go.th หรือโทร. 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา:
bangkokbiznews.com

          …เมื่อเราเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท เราได้รับการคุ้มครองจากประกันสังคมโดยอัตโนมัติ…

          …แต่เมื่อเราออกจากงาน สิทธิการเป็นผู้ประกันตนของเราก็มิได้สิ้นสุดตามไปด้วย…

          ทันทีที่เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของ บริษัท เงินเดือนของเราส่วนหนึ่งจะถูกหักเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งจะทำให้เราได้รับการคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมใน 7 กรณี คือ ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

          เมื่อเราออกจากงาน ก็ใช่ว่าสิทธิประกันสังคมของเราจะสิ้นสุดลงทันที แม้เราเจ็บไข้ได้ป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร หรือเสียชีวิต ภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากงาน เรายังได้รับ การคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมอยู่ แต่หากเรากลับเข้าไปเป็นลูกจ้างอีกครั้งหนึ่ง เราก็จะกลับมาได้รับสิทธิทั้ง 7 อย่างเช่นเดิม

          สำหรับบางคนที่ออกจากงานมาประกอบอาชีพส่วนตัว เมื่อสิทธิประกันสังคมสิ้นสุดลงหลังจาก 6 เดือนที่ออกจากงานแต่ยังต้องการได้รับสิทธิประกันสังคมต่อ เรายังสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39ได้ โดยส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท เราก็จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  1. ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ

     โดยในเงินจำนวนนี้แบ่งเป็น 144 บาท สำหรับใช้เป็นสิทธิประโยชน์ยามเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต และอีก 288 บาท เป็นเงินออมกรณีชราภาพ ซึ่งเราจะได้รับเงินออมคืนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ไม่น่าเชื่อเลยว่า เงินสมทบที่เราต้องจ่ายทุกเดือนกว่าครึ่งจะกลายเป็นเงินออมในอนาคตของเรานั่นเอง

     เริ่มเห็นความน่าสนใจของการเป็นผู้ประกันตนแล้วใช่ไหม ทีนี้เราลองมาดูคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39 กันบ้าง สำรวจตัวเองไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า ด้วยการตอบคำถามต่อไปนี้

    คุณเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนใช่หรือไม่
  1. คุณได้สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมาแล้วไม่เกิน 6 เดือนใช่หรือไม่
  2. คุณมิได้เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคมใช่หรือไม่

     หากคำตอบทุกข้อคือ ” ใช่” เตรียมหลักฐานต่อไปนี้ แล้วไปสมัครรับสิทธิด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง

    แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 (สปส.1-20)
  1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

     ตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39 ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราเท่ากันทุกเดือนเดือนละ 432 บาท ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยสามารถส่งเงินสมทบได้ 4 วิธี คือ

    จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด
  1. จ่ายเงินทางธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  2. ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารนครหลวงไทย
  3. เปิดบัญชีออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชีธนาคารกรุงไทยธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารกสิกรไทย (มีค่าธรรมเนียมในการหักบัญชีเดือนละ 10 บาท)

     หากเราไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ เราอาจสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ถ้าเราไม่อยากเสียสิทธิดังกล่าว จงอย่าขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน เพราะจะสิ้นสุดการเป็น ผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ และหากส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือน จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือน

     นอกจากการไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดแล้ว การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังสามารถสิ้นสุดลงได้เนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย คือ ผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลาออก จากมาตรา 39

     เห็นไหมว่า ถึงเราจะออกจากงาน เราก็ยังสามารถได้รับการคุ้มครองจากประกันสังคมอยู่ ด้วยเงื่อนไขที่ไม่ยากเลย หากสมาชิกท่านใดต้องการสมัครใช้สิทธิดังกล่าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506

หางานได้ง่ายผ่าน 3 ขั้นตอน (คลิกดูทีละขั้นตอนได้ทันที)

  • สมัครสมาชิกจ๊อบส์ดีบี เพื่อเริ่มหางาน
  • ฝาก Resume / Update เรซูเม่
  • หางาน ตามความต้องการได้ทันที

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การเปลี่ยนแปลงที่ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

เกษียณแล้ว ขอคืนเงินออมประกันสังคมหรือยัง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ