เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ การพยาบาล

ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

การฟื้นฟูสมรรถภาพการหายใจ โดยวิธีการระบายเสมหะ


อ.พญ.ชนัดดา  วงศ์เอกชูตระกูล                                                                                                                                                      

ทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รหัสเอกสาร PI-IMC-143-R-00

อนุมัติวันที่ 8 พฤษภาคม 2563

       ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการขับเสมหะ นอกเหนือจากการฟื้นฟูสมรรถภาพการหายใจ ที่ต้องอาศัยทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแล้ว วิธีการพื้นฐานในการระบายเสมหะสามารถทำได้โดยตัวผู้ป่วยเองหรือโดยผู้ดูแลผู้ป่วย

        วิธีการระบายเสมหะ มีทั้งการจัดท่าระบายเสมหะ, การเคาะปอด/การสั่นปอด รวมทั้งการฝึกไอ

ข้อบ่งชี้ การระบายเสมหะ

1. ผู้ป่วยที่มีเสมหะค้างอยู่ในปอด เช่น ผู้ป่วยปอดอักเสบ มีหนองในปอด หรือมีเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ มีภาวะปอดแฟบหรือมีการหายใจลำบาก

2. ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะมีเสมหะคั่งค้างในระยะยาว เช่น ผู้ป่วยติดเตียง, ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน และผู้ที่ได้รับการเจาะคอ

3. ผู้ป่วยที่ไม่มีแรงไอ หรือไอขับเสมหะออกมาได้น้อย

การจัดท่าระบายเสมหะ

        เป็นการจัดท่าของผู้ป่วย เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงของโลกในการระบายเสมหะออกมา มักทำร่วมกับการเคาะปอดและการสั่นปอด

ข้อห้ามในการจัดท่าระบายเสมหะ

1. มีอาการหายใจลำบาก หรือโรคหืดเฉียบพลัน โรคถุงลมโป่งพองแบบรุนแรง หรือภาวะลมดันในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รักษา

2. ไอเป็นเลือดจำนวนมาก
5. ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันสูงที่ยังไม่คงที่

3. ผู้ป่วยที่มีอาการขย้อนอาหาร หรือมีรูรั่วระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหาร

4. ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

6. ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดสมองหรือตา

7. ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง หรือสมองบวม

8. ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หรือหลังผ่าตัดใหม่ๆ


        การจัดท่าการระบายเสมหะในปอดมีหลายท่า ขึ้นกับตำแหน่งของเสมหะที่ค้างอยู่ในกลีบปอดแต่ละส่วน การเลือกท่าระบายเสมหะที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย จึงควรสอบถามแพทย์ประจำตัวของท่าน ให้คำแนะนำเลือกท่าการระบายเสมหะที่เหมาะสม

        ในผู้ป่วยติดเตียงมักจะอยู่ในท่านอนหงาย จึงพบเสมหะตกค้างที่ส่วนหลัง และส่วนยอดของปอดกลีบล่างได้บ่อยการจัดท่าระบายเสมหะจึงมักจัดเป็นท่านอนคว่ำโดยเริ่มจากจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ จัดให้ศีรษะตะแคงข้าง จากนั้นยกลำตัวขึ้นใช้หมอนรองใต้ท้อง และรองใต้ขาผู้ป่วยจัดให้อยู่ในท่านี้ 15-20 นาที

การเคาะปอด

        เป็นเทคนิคที่ช่วยระบายเสมหะที่ติดอยู่ตามเนื้อปอด และหลอดลมให้หลุดร่อน และระบายออกได้ง่ายขึ้น

ข้อห้ามในการเคาะปอด

1. ระบบหายใจผิดปกติ

-   ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากขั้นรุนแรง เป็นโรคถุงลมโป่งพองขั้นรุนแรง

-   ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะติดเชื้อในระบบหายใจ ระยะเฉียบพลัน หรือปอดอักเสบในระยะแรก ผู้ป่วยวัณโรคในระยะแรก

-   เพิ่งไอเป็นเลือดในปริมาณมากโดยไม่ทราบสาเหตุ

-   ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด

-   ผู้ป่วยที่มีก้อนลม หรือลิ่มเลือดในกระแสเลือดในปอด

-   ผู้ป่วยที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ไม่ได้รับการรักษา

2. ระบบเลือดและหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

-   อาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง

-   หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือเพิ่งได้รับการผ่าตัดหัวใจ

-   เกล็ดเลือด ต่ำกว่า 40,000 /ลบ.มม.

3. ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

-   มีปัญหาในพื้นที่บริเวณที่จะเคาะปอด เช่น มีแผลเปิด แผลไหม้ แผลผ่าตัดที่ยังไม่ติดดี

-   โรคมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปที่กระดูกใกล้กับบริเวณที่จะเคาะปอด หรือมีกระดูกหักในบริเวณที่จะเคาะปอด เช่น กระดูกซี่โครงหัก กระดูกหน้าอกหัก กระดูกไหปลาร้า หรือกระดูกสะบักหัก เป็นต้น

วิธีการเคาะปอด 

-    ใช้ผ้าขนหนูรองบริเวณที่จะเคาะปอด จากนั้นให้ทำมือเป็นอุ้งเหมือนรูปถ้วยเพื่อทำให้เกิดลมในอุ้งมือ


 - ใช้มือ ข้างเคาะสลับกัน โดยขยับข้อมือเคาะให้จังหวะสม่ำเสมอ ความถี่ประมาณ 2-3 ครั้งต่อวินาที ทำติดต่อกันประมาณ 3-5 นาที


วิธีการสั่นปอด 

- เหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรง มือทั้งสองข้างทาบกับบริเวณที่ต้องการสั่นปอด รอผู้ป่วยเริ่มหายใจออก จากนั้นเกร็งแขนทั้งสองข้างให้เกิดการสั่นผ่านไปยังฝ่ามือ แล้วลงไปที่ทรวงอกของผู้ป่วย


- สั่นปอดประมาณ 3-5 นาที จึงเปลี่ยนท่า หรือเปลี่ยนบริเวณที่สั่นปอด

 หลังจากเคาะปอด หรือสั่นปอดแล้ว ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะ เพื่อป้องกันเสมหะอุดกั้นบริเวณท่อหายใจส่วนต้นด้วย


การฝึกไอ

        ก่อนไอควรเริ่มด้วยการหายใจออกแบบพ่นลม ซึ่งเป็นการขับเสมหะที่อยู่ลึกๆ ให้ขึ้นมาอยู่ในคอ โดยเริ่มต้นจากท่านั่งโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อยหายใจเข้าทางจมูกแล้วอ้าปาก พ่นลมหายใจทางปากอย่างรวดเร็ว ครั้ง คล้ายการพูด ฮ่ะ ฮ่ะทำซ้ำ 2-3 ครั้ง จากนั้นหายใจเข้าลึกและเร็ว แล้วไอออกทางปาก ครั้งแนะนำให้หายใจออกแบบพ่นลม หลายๆครั้ง ก่อนที่จะไอขับเสมหะออกมา เพื่อลดอาการเหนื่อยเนื่องจากไอติดต่อกัน

สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่

• Call center : 0-5393-6900-1
• LINE Official : //lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook : //bit.ly/2Kid6X9
• Youtube : //bit.ly/3anQsH6
• Twitter : //bit.ly/3eACDJ2
• Instagram: //bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit : //bit.ly/2VqvL9D
• Website: //sriphat.med.cmu.ac.th

หรือเพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วยคิวอาร์โค้ด


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ