อาการ เดี๋ยว ดี เดี๋ยว ร้าย

บางเวลารู้สึกมีความสุขกับทุกเรื่องที่ทำ แต่บางเวลากลับรู้สึกดำดิ่ง หดหู่ หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต ใครเป็นแบบนี้ไม่ควรละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า...คุณเข้าข่าย “ไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้ว

ไบโพลาร์ เป็นโรคที่เกี่ยวกับสารเคมีในสมอง สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามภาวะของอารมณ์ ความเครียด ความทุกข์ ความสูญเสีย แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งสองแบบของไบโพลาร์จะเปลี่ยนแปลงไปมา สลับกันอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต ทั้งในเรื่องการงาน เรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และปัญหาที่เกิดจากภาวะจิตใจ ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจจะมีโรคซึมเศร้าแทรกได้

 

คุณวีรวิชญ์ เหล่าวีระธรรม นักสุขภาพจิต ประจำแอปฯ หมอดี ได้ให้คำแนะนำสำหรับการสังเกตจุดเริ่มต้นของ “ไบโพลาร์” ไว้ว่า...
สัญญาณเตือนไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว มีดังนี้

1. ช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania episode) 
- ร่าเริง หรือคึกเป็นพิเศษ
- รู้สึกมั่นใจตัวเอง
- ไม่หลับ ไม่นอน
- สมาธิสั้น
- พูดเร็ว พูดเยอะ
- แรงเยอะ บ้าพลัง

 

2. ช่วงซึมเศร้า (Depression episode)
- คิดช้า ไม่มีสมาธิ
- คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย
- ท้อแท้ สิ้นหวัง หดหู่
- ไม่อยากเจอใคร
- นอนไม่หลับ
- หมดไฟ ไม่มีเป้าหมายในชีวิต

 

เมื่อไหร่ที่สังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างแล้วพบว่าเสี่ยงมีอาการแบบนี้ อาจจะเป็นไบโพลาร์ได้ โดยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมา สลับกันอย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อปรึกษาพูดคุย และทำการรักษาที่ถูกต้อง เช่น รับยา หรือรับการบำบัดทางจิตใจ 

 

นอกจากนี้ สาเหตุของโรคไบโพลาร์ ยังอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และจากสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือ ความเครียดในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้โรคแสดงอาการ รวมถึงอาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน 

 

อาการของโรคไบโพลาร์จะสลับไปมา ระหว่างอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ กับ อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดๆ ในช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยมักเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย มองทุกอย่างในแง่ลบ บางรายมีความคิดอยากตาย ซึ่งอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายจริงๆ ได้ สำหรับช่วงเวลาขึ้น-ลงของอารมณ์ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์นั้น ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว อาจเป็นภายในหนึ่งวัน สัปดาห์ เดือน หรือ ปีก็ได้

ความแปรปรวนของฮอร์โมน ก็สามารถส่งผลกระทบกับสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน วัยรุ่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนไม่คงที่ จึงมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเกิดอารมณ์แปรปรวน

การรับประทานยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถส่งผลในด้านลบกับอารมณ์ได้เช่นกัน รวมทั้งการใช้สารในทางที่ผิด อาจทำให้เกิดการเสพติด ซึ่งเป็นอาการทางจิต

ภาวะสุขภาพอื่นๆ เช่น อาการที่ส่งผลกระทบต่อปอด ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ และระบบประสาทส่วนกลาง สามารถทำให้เกิดอาการอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน

ตัวกระตุ้นทั่วไปที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน

ไม่ว่าอารมณ์แปรปรวนจะสาเหตุมาจากอะไรก็ตาม อารมณ์แปรปรวนสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ด้วยบางปัจจัย เช่น ความเครียด ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต อาหาร รูปแบบการนอนหลับ และยา ควรจดสิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่คุณเกิดอารมณ์แปรปรวน เพื่อช่วยให้หมอสามารถบ่งชี้ตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่อคุณได้

ควรขอความช่วยเหลือจากหมอเมื่อไร

บางคนอาจมีอารมณ์ที่รุนแรง โดยที่ทุกอย่างปกติดี หากอารมณ์ของคุณไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอะไร อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอารมณ์แปรปรวนต่อเนื่องยาวนาน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณ นั่นอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพของคุณ เช่น หากอารมณ์ของคุณทำให้คุณเป็นอันตราย หรือทำร้ายตัวเอง คุณก็ควรจะปรึกษาหมอได้แล้ว

โรคไบโพลาร์ หรือ Bipolar Disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์เด่นชัด โดยมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยากตาย หรืออาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครึกครื้น พูดมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงด้านเดียว กรณีอารมณ์ครื้นเครง หรือมีอาการสองด้านก็ได้

 

อาการไบโพลาร์

1. อารมณ์คลุ้มคลั่ง (Manic Episode)

  • รู้สึกคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง บางครั้งคิดว่าตนเองเป็นใหญ่ 

  • ไม่หลับไม่นอน กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข

  • พูดมาก พูดไม่หยุด

  • คิดฟุ้งซ่าน จะทำโน่นทำนี่ คิดทำการใหญ่โต

  • วุ่นวาย กิจกรรมมาก อาจใช้จ่ายผิดปกติมาก

  • สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย

 

2. อารมณ์เศร้า (Depressive Episode) 

  • ซึมเศร้า

  • หมดความสนใจและความเพลิดเพลินลงมาก

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือน

  • ไม่หลับหรือหลับมากไป

  • อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง

  • รู้สึกผิดหรือไร้ค่า ร้องไห้ง่าย

  • สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้

  • คิดอยากตาย หรือการฆ่าตัวตาย

 

รักษาไบโพลาร์

  • พบจิตแพทย์ เพื่อเข้ากระบวนการบำบัดใจ จะได้รับยาและกระบวนการบำบัดตามการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น จิตบำบัดชนิดต่าง ๆ

    “โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้ผู้ป่วยเกิดการแสดงออกของอารมณ์ที่ผิดปกติเป็นสองขั้วคือซึมเศร้ามาก และคึกคักพุ่งพล่านมาก จึงเรียกโรคโบโพล่าร์ว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว” ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวซึม อย่างที่หลายๆ คนชอบเข้าใจกัน

    โรคไบโพล่าร์สังเกตได้อย่างไร
    ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะไม่รู้ตัวเองในช่วงที่เป็น เพราะอาการของไบโพล่าร์มี 2 ระยะ คือ 

    • ระยะพุ่งพล่านหรือที่เรียกว่า มาเนีย (Manic Episode) มีอาการคิดเร็ว ทำเร็ว มั่นใจในตัวเอง นอนน้อย เพราะอยากออกไปทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย อารมณ์พุ่งพล่าน ใช้เงินเยอะ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยและคนรอบข้างเข้าใจว่าเป็นแค่นิสัยไฮเปอร์ ไม่ได้ผิดปกติหรืออะไร และอาจเป็นแบบนี้อยู่นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน
    • แต่หลังจากนั้น อาการจะกลับตาลปัตรเข้าสู่ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) ทีนี้ล่ะ ผู้ป่วยจะเป็นตรงข้ามกับระยะมาเนียทุกอย่าง คือท้อแท้เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ รู้สึกตัวเองไร้ค่า สิ้นหวัง อ่อนเพลีย อยากฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง และอาจเป็นอาการซึมเศร้าอยู่นานติดต่อกันเป็นเดือน แล้วจึงกลับไปคึกคักเหมือนช่วงมาเนียอีกครั้ง
    ดังนั้นเมื่อไหร่ที่สังเกตตัวเอง หรือคนรอบข้างมีอาการแบบนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะในระยะพุ่งพล่านอาจก่อหนี้สินมากมายจากการใช้เงินแบบไม่ยั้ง ลงทุนฟุ่มเฟือย สะเปะสะปะ และหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับคนอื่น และในช่วงซึมเศร้าอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือมีความคิดฆ่าตัวตายได้
    สาเหตุของโรคไบโพลาร์

    มีสาเหตุ และปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือมีสารเคมีบางอย่างในสมองผิดปกติไป ซึ่งอาการของโรคไบโพลาร์จะเกิดขึ้นเมื่อมีสารสื่อประสาทนอร์อะดรีนาลีน เซโรโทนิน และโดปามีน ในระดับที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งจะทำให้มีอารมณ์ดี อยู่ในภาวะร่าเริงผิดปกติ และจะมีภาวะซึมเศร้า เบื่อหน่าย สลับกันไป นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากพันธุกรรม ผู้ป่วยไบโพลาร์มักมีญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ โดยเฉพาะญาติสายตรง อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ป่วยได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกที่กระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจ เช่น ความผิดหวัง ความเสียใจอย่างรุนแรงหรือฉับพลัน การเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นต้น

    “โรคไบโพล่าร์” รักษาถูกทาง ก็หายได้

    เนื่องจากนี่เป็นโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ การรักษาไบโพล่าร์หลักๆ จึงจำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์จะให้ทานยาเพื่อปรับอารมณ์ให้คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดของไบโพล่าร์ที่ผู้ป่วยเป็น แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ผู้ป่วยเกิดโรคไบโพล่าร์นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ และจิตแพทย์ยังสามารถแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ให้กับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ และที่สำคัญที่สุดคือการทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง ห้ามหยุดยาเอง หรือลดยาโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม และต้องเริ่มกระบวนการรักษาใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าป่วยควรหันมาดูแลตัวเอง ห้ามอดนอน ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหา ลดความเครียด และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ห้ามใช้สารเสพติด สุรา ร่วมด้วย

    สิ่งที่คนใกล้ชิดต้องเข้าใจและทำให้ได้

    ญาติมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาและปฏิบัติตามแผนการรักษาเพราะผู้ป่วยทางจิตมักไม่รู้ตัวเอง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือคนรอบข้างที่รู้และเข้าใจ มีวิธีรับมือที่ช่วยบรรเทาอาการและผลร้ายที่เกิดขึ้น สิ่งที่คนใกล้ชิดผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ต้องทำก็คือ

    จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีอาการทางจิต

    อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยจิตเวช หรือคนที่เข้าข่ายมีความผิดปกติทางจิตใจ อาจสังเกตได้ ดังนี้.
    แยกตัวออกจากสังคม มีพฤติกรรมเก็บตัวมากกว่าปกติ.
    เหม่อลอยบ่อย ๆ พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง อาจมีลักษณะถามอย่างตอบอย่าง เป็นต้น.
    ความคิดไม่ปะติดปะต่อ.
    พูดจาผิดแปลกไป อาจมีการพูดภาษาแปลก ๆ คำศัพท์แปลก ๆ ออกมา.

    โรคไบโพล่าร์มีกี่ระยะ

    ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ จะมีช่วงที่อารมณ์ผิดปกติ โดยมีช่วงซึมเศร้า(depressive episode) สลับกับช่วงที่อารณ์ดี หรือคึกคักมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) ซึ่งขออธิบายแยกเป็นช่วง ๆ คือ ช่วงอารมณ์ดีมากกว่าปกติ หรือเมเนีย (mania) ผู้ป่วยจะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

    Bipolar 1 vs 2 ต่างกันอย่างไร

    อาการบอกอารมณ์แปรปรวน อาการที่พบมีได้ทั้งสองขั้ว แต่บางคนอาจเกิดเพียงขั้วเดียวก็ได้คือ คึก (Mania) โดยไม่มีประวัติอาการซึมเศร้าเลย (ทั้ง 2 แบบเช่นนี้เรียกว่าเป็น Bipolar I Disorder) อีกส่วนหนึ่งมีอาการเศร้าเป็นส่วนใหญ่มีอาการคึกน้อย ๆ (Hypomania) ในบางครั้ง (เรียกว่าเป็น Bipolar II disorder)

    โรคไบโพล่ารักษายังไง

    การรักษา โรคไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาเป็นหลัก โดยแพทย์จะให้ยาทางจิตเวชเพื่อปรับสารสื่อประสาทและควบคุมอารณ์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมภายในเวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ