อาการ เส้นเลือด หัวใจตีบ ระยะ เริ่ม ต้น เป็น แบบ ใด Pantip

สวัสดีค่ะ วันนี้อยากมาแชร์ประสบการณ์คุณแม่ป่วยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่ตอนนี้อาการค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วค่ะ

ขอเล่าก่อนว่าคุณแม่เราอายุ 76 เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ เป็นคนสุขภาพแข็งแรง มีป่วยตามประสาคนแก่บ้าง พวกความดัน ปวดเข่า ปวดขาประมาณนี้ แต่ไม่เคยมีอาการเกี่ยวกับหัวใจเลยค่ะ (เรามารู้ทีหลังว่าความดันนี่แหละ คือต้นเหตุหนึ่งของหลอดเลือดหัวใจตีบ) จนช่วงปลายก.ย.ปีที่แล้ว เราเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติอย่างแรก คือ คุณแม่จะชอบจับหน้าอกกับจับท้องเวลากินอิ่มหรือเวลาขึ้นลงบันได พอถามก็ตอบแค่อิ่มกับเหนื่อยเฉยๆ นั่งพักเดี๋ยวก็หาย แต่เราเห็นว่าอาการมันไม่ใช่แค่เหนื่อย เพราะบางทีแกจะมีเบ้หน้า แล้วก็ต้องหยุดพักระหว่างเดินขึ้นบันไดนานผิดปกติ บางทีมีหอบหายใจแรงๆ เราเริ่มเป็นห่วงเลยเอ่ยปากจะพาไปหาหมอ ตอนแรกแกไม่ยอมไป บอกแต่ไม่เป็นไรๆๆ

หลังจากนั้นอีกประมาณอาทิตย์นึง อาการคุณแม่ก็ค่อยๆ ชัดเจนขึ้นค่ะ คือ เริ่มหายใจไม่ออก หายใจลำบาก นอนๆ อยู่ก็ตื่นกลางดึกเพราะนอนราบไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจแรงๆ ปกติจะออกไปเดินเล่นหน้าบ้านทุกเช้า-เย็น ก็กลายเป็นไม่ลุกไปไหน นั่งอยู่ที่เดิมเป็นวันๆ เหมือนว่าแค่ขยับตัวก็เหนื่อยแล้วค่ะ นอกจากการออกแรงแล้ว การพูดก็ช้าลง พูดแล้วเหนื่อย อึดอัด แน่นหน้าอก เราเลยปรึกษากับพี่สาวเพื่อพาคุณแม่ไปรักษาค่ะ

ผลตรวจสรุปว่าคุณแม่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เส้น แต่ยังอยู่ในระยะแรก คุณหมอจึงแนะนำให้รักษาด้วยการใช้ยาเพื่อขยายหลอดเลือด และไปพบหมอตามนัดเพื่อติดตามอาการ ช่วงนั้นก็ประคับประคองอาการได้พอสมควร หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน เรากับพี่สาวก็พาคุณแม่ไปรักษากับโรงพยาบาลทางเลือกแห่งหนึ่งเพื่อรักษาควบคู่ไปกับการใช้ยา ซึ่งคุณหมอที่รับเคสก็แนะนำให้คุณแม่เข้าคอร์ส ECP ค่ะ เป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำให้รู้สึกว่าไม่อันตราย รักษามาหลายเคสแล้วได้ผลดี เครื่องนี้จะช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการรัดที่ขา (คล้ายๆ ตอนวัดความดัน) เครื่องจะส่งคลื่นไฟฟ้ากระตุ้นหลอดเลือดให้ทำงานสอดรับกับการเต้นของหัวใจ หมอบอกว่ามันจะช่วยเพิ่มเส้นเลือดใหม่ๆ ระบบการไหลเวียนเลือดก็จะดีขึ้น แต่ก่อนเข้าทำ ECP จะต้องตรวจร่างกายเบื้องต้น เค้าจะให้เข้าเครื่อง ABI วัดอายุกับความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และ EKG วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เหมือนเป็นการประเมินอาการก่อนเข้าทำ ECP ค่ะ

เคสคุณแม่เราต้องเข้าคอร์ส 35 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาไม่นานค่ะ ที่สำคัญคุณแม่บอกว่าไม่รู้สึกเจ็บเลย สบายมากๆ และไม่มีผลข้างเคียงอะไรหลังทำเลยค่ะ  หลังจากนั้นเราก็พาคุณแม่ไปรักษาตามหมอนัดเรื่อยๆ ช่วงครั้งที่ 10 อาการคุณแม่ค่อยๆ ดีขึ้น ปัจจุบันนี้เดินเองได้แล้ว ดีใจมาก แอบถ่ายรูปไว้ทุกครั้ง จนตอนนี้ขึ้นลงบันไดได้เอง ออกมาเดินเล่นได้เหมือนปกติแล้ว ฝันที่อยากไปเที่ยวต่างประเทศคงอีกไม่นาน จากตอนแรกคิดว่าหมดหวังแล้ว ตอนนี้ก็ยังไปพบหมอเรื่อยๆ นะคะ เพื่อทำอย่างต่อเนื่องมา 30 ครั้งแล้ว ตอนนี้ติดตามอาการ มันดีขึ้นจริงๆ เลยอยากมาแชร์ว่ามันมีวิธีการรักษาแบบนี้ด้วย ที่ไม่ต้องผ่าตัด

โชคดีที่คุณแม่เรายอมให้พาไปรักษาง่ายๆ (ดื้อแค่ช่วงแรก) เลยยังทันเวลา แม่กลัวการผ่าตัดด้วย ดีใจที่คุณหมอแนะนำการรักษานี้ คุณหมอก็ยังมีแนะนำอีกว่าการตรวจสุขภาพช่วยได้นะคะ เพราะพวกโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคที่นำไปสู่โรคหัวใจ พวกความดันเอย ไขมันอุดตันเอย ยิ่งเจอเร็วก็ยิ่งรักษาได้เร็ว ปัจจุบันนี้แม่ดีขึ้นมากแล้ว ดีใจมากๆ ค่ะตอนเห็นแกเดินได้เองแบบไม่เหนื่อยง่ายเหมือนเมื่อก่อน

โรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบตัน ส่วนใหญ่มากกว่า 95% มาจากการอักเสบ การเสื่อมของหลอดเลือดซึ่งใช้เวลานานนับสิบๆ ปี
       ความเสื่อมจะมากหรือน้อยนั้นต่างกันตามสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ ความดันโลหิต สูงเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุหรี่ ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ถ้าหลอดเลือดในหัวใจเริ่มตีบแคบเกิน 50% จะเริ่มมีอาการเหนื่อยเมื่อออกแรงมากขึ้น พอพักก็หาย และถ้าตีบเกิน 75% อาจมีอาการแม้อยู่เฉยๆ นอกจากนี้ บางสถานการณ์อาจมีการปริแตกของตระกรัน (Plaque) ในหลอดเลือดแดง เกล็ดเลือด และปัจจัยแข็งตัวของเลือดจะเข้ามาอุดทำให้หลอดเลือดหัวใจเส้นนั้นเกิดตีบตันฉับพลัน มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเป็นมากขึ้นก็หอบเหนื่อย (เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว) หรือหัวใจหยุดเต้น เรียกกลุ่มอาการอันตรายนี้ว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน (ACS: Acute Coronary Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะเร่งด่วนทางหัวใจที่ต้องรักษาฉับพลัน คนทั่วไปอาจเรียกว่า Heart Attack (อาการโรคหัวใจอันตรายฉับพลัน)
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
      ในอดีตโรคนี้มักเจอในผู้ชายวัยกลางคน และหญิงวัยทอง แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในอายุน้อยลงๆ อาจเป็นเพราะสถานการณ์ทุกวันนี้มีความเครียดสูง การแข่งขันกันมาก การเร่งรีบ พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลเร่งให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่พบเห็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันในอายุ 30 ปีกว่าๆ มากขึ้น บางคนมี Heart Attack เสียชีวิตระหว่างขับรถในขณะที่อายุ 48-49 ปีเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงของอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้: อายุ เพศชาย มีประวัติบิดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อน 55 ปี หรือมารดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี
  • ปัจจัยที่แก้ไขได้: ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูง สูบบุหรี่ อ้วนลงพุง (ผู้ชายวัดเส้นรอบสะดือ>36 นิ้ว ผู้หญิงวัดได้>32 นิ้ว) การไม่ออกกำลังกายบุคลิกเคร่งเครียดตลอดเวลา


การควบคุมปัจจัยเสี่ยง

  • หยุดสูบบุหรี่เด็ดขาด (ยังช่วยรักษาโรคอื่นด้วย)
  • ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า หรือเท่ากับ 130/85 สำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรมีความดันน้อยกว่า หรือเท่ากับ 130/80 และสำหรับผู้ที่เป็นไตเสื่อมควรมีความดันน้อยกว่า หรือเท่ากับ 125/75 (มีไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าวันละ 1 กรัม)
  • ควบคุมเบาหวาน< 130 mg% เมื่ออดอาหาร 6 ชม. และให้เบาหวานเฉลี่ย 3 เดือน (HbA1c) < 7%
  • ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล< 200 mg%, ไตรกลีเซอร์ไรด์< 150 mg%, แอลดีแอล (ไขมันร้าย)< 100 mg%, เฮชดีแอล (ไขมันดี)> 40 mg% (ชาย) และ> 45 mg% (หญิง)
  • ควบคุมน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (BMI) < 25 หรือให้เส้นรอบสะดือ< 36 นิ้ว (ชาย) < 32 นิ้ว (หญิง)
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค> 30 นาที มากกว่า 5 ครั้ง/สัปดาห์
  • รู้จักพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียดตลอดเวลา

 อาการเส้นเลือดหัวใจตีบ
      เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง ร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้ายบางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคออาการเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง นั่งพักจะดีขึ้นในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้ จากอาการที่กล่าวมาข้างต้น หากเกิดความสงสัยว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นได้จาก 2 กรณี คือ เกิดจากการขาดเลือดเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการอุดตันของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างกะทันหัน

หากเป็นการขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบ คือมีอาการขณะออกแรง หรือออกกำลังกาย ให้หยุดการออกแรง หรือออกกำลังกายที่มากจนทำให้เกิดอาการ และพบแพทย์โดยเร็ว แต่ไม่ถึงกับฉุกเฉิน แต่หากเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการอุดตันของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างกะทันหัน คือมีอาการในขณะพัก หรืออยู่เฉยๆ โดยมีอาการค่อนข้างมาก ให้พบแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยด่วนทั้งนี้ กล้ามเนื้อหัวใจจะตายเกือบทั้งหมดภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้าเราแก้ไขได้ก่อน 4-6 ชั่วโมง จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะในปัจจุบันมียาฉีดที่สามารถละลายก้อนเลือดที่ไปอุดตันหลอดเลือดได้ผลดีมาก ฉะนั้น ถ้ามีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน 4-6 ชั่วโมงนอกจากนี้ ภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตีบเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
      ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหลายวิธี เช่น การทำบายพาส โดยการนำเส้นเลือดจากบริเวณอื่นมาต่อเชื่อมจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปยังหลอดเลือดหัวใจใต้จุดที่มีการอุดตัน การใช้บอลลูนเข้าไปขยายหลอดเลือด และการใช้ขดลวดตาข่ายค้ำยันหลอดเลือดที่มีการอุดตัน อย่างไรก็ตาม ในรายที่พบหลอดเลือดอุดตันแล้ว การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นเพียงการประคับประคองอาการเท่านั้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการป้องกัน ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเลิกสูบบุหรี่ ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หมั่นออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารให้มีไขมัน แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงมากขึ้น

การทำผ่าตัดบายพาสโรคเส้นเลือดหัวใจตีบปัจจุบัน มี2วิธี คือ

  1. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือ แบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ” มีข้อดี คือใช้ปริมาณเลือดในการผ่าตัดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัด รวมถึงการดมยาสลบ ตลอดจนระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ
  2. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด
อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
      เป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสชาติไม่จัดจนเกินไป ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูง มีส่วนประกอบของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่ำ (low glycemic index) และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยไขมันที่รับประทานควรมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว นอกจากนี้ ควรเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีผัก ผลไม้ อาหารกลุ่มธัญพืช และกากใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันภาวะท้องผูก และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ อีกทั้ง ไม่ควรรับประทานผลไม้ และอาหารที่มีรสจัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ หัวใจ

อาการ เส้นเลือด หัวใจตีบ ระยะ เริ่ม ต้น เป็น แบบ ใด

อาการหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันค่อนข้างมากจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมากจนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย หายใจหอบ เหนื่อย เหงื่อแตกใจสั่น

โรคหลอดเลือดหัวใจมีลักษณะอย่างไร

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บแน่นหน้าอก มักมีอาการแน่น อึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก อาจมีอาการปวดร้าวไปกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย มักเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังและหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการเมื่ออยู่เฉย ๆ เหนื่อยง่ายหายใจถี่ นอนราบไม่ได้ บวม

สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากการที่เส้นเลือดเสื่อมสภาพ เนื่องจากมีการสะสมของไขมัน และหินปูน ทำให้เกิดการอุดตันจนเลือดไหลผ่านไม่สะดวก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น, พันธุกรรม, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, รับประทานอาหารไขมันสูง, ไม่ออกกำลังกาย ...

หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตันจะเกิดผลอย่างไร

หลอดเลือดหัวใจตีบตันที่เกิดขึ้น คือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยงให้เพียงพอต่อการทำงานปกติ ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดขึ้นได้ และถ้าหากมีการอุดตันโดยลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจแขนงใดแขนงหนึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่มีอันตรายเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ บางครั้งเกิดขึ้นรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วหรือใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ