ภาษี อากร กับ การ ส่งเสริม การ ขาย

หลักสูตร

“จัดการภาษีครบวงจร จากการทำ Sale Promotion พร้อมการวางแผนภาษีส่งเสริมการขาย”

หัวข้อสัมมนา

1. วิเคราะห์จุดดีจุดด้อย ของSale Promotion แต่ละวิธีเพื่อนำมาปรับใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับกิจการ Sale Promotion แบบไหนที่ทำแล้วได้ผล ไม่ล้าสมัย นำมาใช้ได้จริง ฝ่ายการตลาด/ฝ่ายบัญชีจะรู้ได้อย่างไรว่าส่งเสริมการขายแบบไหนได้ผลมากที่สุดและเหมาะกับองค์กร

2. หัวใจของการทำ Sale Promotion ในแง่ภาษี

3. ภาระภาษีที่ต้องพบจากการทำ Sale Promotion
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

4. สุดยอด!!! เทคนิคการจัดการเส้นแบ่งระหว่าง
- ส่งเสริมการขายกับการให้โดยเสน่หา
- ส่งเสริมการขายกับค่ารับรอง
- ส่งเสริมการขายกับการบริจาค

5. เทคนิคการวางแผนค่าใช้จ่ายแฝงที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งเสริมการขาย

6. เทคนิคการทำส่งเสริมการขายที่ต่ำกว่าราคาทุน ทำได้หรือไม่

7. เทคนิคการตัด STOCK สินค้าที่นำไปใช้ในการส่งเสริมการขายทำอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

8. เทคนิคการวางแผนภาษีซื้อ ภาษีขาย จากการส่งเสริมการขายที่เป็นประโยชน์กับกิจการ
จุดบอดที่ฝ่ายการตลาด/ฝ่ายบัญชีต้องทราบ

9. เทคนิคการการออกใบกำกับภาษี ออกอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
บอกจุดที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

10.เทคนิคการคำนวณฐานภาษีและมูลค่าของสินค้าที่จะนำไปส่งเสริมการขาย สิ่งที่ผู้ทำ Sale Promotion ไม่ควรละเลย

11.Top Case Studies ปัญหาจริงที่ทุกกิจการมักต้องประสบจากการทำ Sale Promotion เช่น
- ส่วนลดการค้า/ส่วนลดเงินสด ความแตกต่างของภาระภาษีที่มีความสำคัญต่อการทำ Sale Promotion
- สรรพากรมีวีธีการดูอย่างไรว่าเป็นส่วนลดการค้า หรือส่วนลดเงินสด
- ปัญหาการออกใบกำกับภาษีใบลดหนี้ใบเพิ่มหนี้และเอกสารทางการเงิน จากการทำ Sale Promotion
- ปัญหาการทำ Sale promotion กับตัวแทน
- Sale promotion แบบไหนถือเป็นรายได้ของลูกค้า/ผู้รับรางวัล

12.แนวทางการแก้ปัญหาของฝ่ายการตลาด/ฝ่ายบัญชีจากการทำ Sale Promotion

13.เตรียมรับมือการตรวจสอบ Sale Promotion จากสรรพากร
- Sale Promotion รูปแบบใดที่สรรพากรมักบวกกลับ
- หลักฐานที่จะนำมาพิสูจน์ว่าอย่างไรเป็นส่งเสริมการขาย
- เอกสารหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องที่สรรพากรจะขอดูในประเด็นส่งเสริมการขาย

14.สรรพากรประเมินอะไรได้บ้างจากการส่งเสริมการขาย

15.เทคนิคการเจรจา/ชี้แจง เมื่อสรรพากรตรวจสอบ

16.เทคนิคการวางแผนการทำ Sale Promotion แบบมืออาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงและช่วยประหยัดภาษี
- วิธีการทำให้ของขวัญ ของชำร่วยที่เกินสมควร เป็นการส่งเสริมการขาย
- การทำ Sale Promotion ด้วยการแถมบริการ ทำไม่ได้จริงหรือ?
- วิธีการขอรางวัลจากสปอนเซอร์/บริษัทคู่ค้า อย่างไรไม่ต้องถูกหักภาษี

17. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ส่งเสริมการขาย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายและการโฆษณา

  • Print

  • Share

  • Dark

    Light

เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายและการโฆษณา

ข้อเท็จจริง

บริษัท บ. เป็นเจ้าของชื่อและเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ ได้มีการส่งเสริมการขายและ โฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ตามข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ จะต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

1. กรณีการแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย

1.1 กรณีบริษัทฯ แจกผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ให้กับลูกค้าโดยตรงในแต่ละรายจำนวน เท่ากันและบางรายจำนวนไม่แน่นอน ให้ประจำทุกเดือนหรือตามแต่ร้องขอ หรือแจกสินค้าดังกล่าว ให้กับภัตตาคาร สวนอาหาร หรือร้านค้า เพื่อให้ทำการส่งเสริมการขายแทนบริษัทฯ หรือแจกสินค้า ให้ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง

1.2 กรณีลูกค้าย่อยในต่างจังหวัดจัดงาน และบริษัทฯ ได้ขอยืมผลิตภัณฑ์ของผู้แทน จำหน่ายในจังหวัดนั้นๆ ให้ลูกค้าย่อย และภายหลังบริษัทฯ ได้คืนผลิตภัณฑ์ให้กับผู้แทนจำหน่าย

1.3 กรณีบริษัทฯ แจกสินค้า เช่น หมวก เสื้อ พวงกุญแจ เป็นต้น ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย และผู้แทนจำหน่ายนำไปแจกให้แก่ลูกค้าย่อย

2. กรณีบริษัทฯ ให้อุปกรณ์หรือสินค้าแก่บริษัทต่างๆ เพื่อจัดงาน หรือเพื่อใช้ในการประกอบการ ถ่ายทำภาพยนตร์โดยแลกเปลี่ยนกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ ของบริษัทฯ

3. กรณีบริษัทฯ ให้เงินหรือสินค้าแก่ส่วนราชการ เอกชน สถานศึกษา หรือบุคคลทั่วไป โดยบริษัทฯ ได้ลงรายการทางบัญชีเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ชื่อและเครื่องหมายการค้า


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 77/1(8)(9)(10) และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

แนววินิจฉัย

1. ตามข้อ 1.1 บริษัทฯ แจกสินค้าซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อส่งเสริมการขาย ให้แก่ผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 เว้นแต่ การแจกสินค้า เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการ ที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะ นำไปขายต่อ ไม่อยู่ ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. ตามข้อ 1.2 บริษัทฯ ยืมผลิตภัณฑ์ของผู้แทนจำหน่ายให้ลูกค้าย่อย และภายหลังบริษัทฯ ได้คืน ผลิตภัณฑ์ให้กับผู้แทนจำหน่าย เข้าลักษณะเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง ตามมาตรา 650 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือเป็นการขายสินค้า ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด และเมื่อบริษัทฯ คืนผลิตภัณฑ์ ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย ถือได้ว่าผู้คืนโอนกรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ให้ยืม ถือเป็นการขายสินค้า จึงไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกัน และเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ให้ยืมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ยืม ตามมาตรา 82(1) และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร การคืนผลิตภัณฑ์ก็ เช่นเดียวกัน เมื่อบริษัทฯ คืนผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้แทนจำหน่าย ตามมาตรา 82(1) และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ผู้ขายต้องออกใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ ตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร

3. ตามข้อ 1.3 บริษัทฯ แจกสินค้า เช่น หมวก เสื้อ พวงกุญแจ เป็นต้น ให้แก่ ผู้แทนจำหน่ายและ ผู้แทนจำหน่ายนำไปแจกให้แก่ลูกค้าย่อย มีภาระการหักภาษี ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นเดียวกับ ข้อ 1.1 อย่างไรก็ตาม หากการแจกสินค้าหรือให้ของขวัญเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณี เฉพาะมูลค่าของสินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะ ทำนองเดียวกัน ของขวัญของชำร่วยที่มีชื่อ ชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ ปรากฏอยู่ โดยของขวัญหรือของชำร่วยดังกล่าวต้องเป็นสิ่งของที่พึงให้กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไปและต้อง มีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร บริษัทฯ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535

4. ตามข้อ 2. และข้อ 3. บริษัทฯ ให้อุปกรณ์หรือสินค้าแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างๆ เพื่อจัดงานหรือเพื่อใช้ในการประกอบการถ่ายทำภาพยนตร์โดยแลกเปลี่ยนกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และการที่บริษัทฯ ให้เงินหรือสินค้าแก่ผู้รับ โดยบริษัทฯ ได้ลงรายการทางบัญชีเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ชื่อและเครื่องหมายการค้า เข้าลักษณะเป็นการจ่าย เงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าโฆษณา บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าโฆษณาให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้ นิติบุคคลมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 2.0 ตามข้อ 10 ของ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวล รัษฎากร สำหรับภาษีซื้อที่บริษัทฯ ถูกเรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ให้บริการโฆษณา ภาษีซื้อดังกล่าวบริษัทฯ มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/1154 ลงวันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2550

การ ส่งเสริม การ ขาย เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไหม

การแจกหรือให้สินค้าเป็นของรางวัลไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีเงื่อนไขดังนี้ ต้องเป็นการแจกให้ผู้รับบริการในแต่ละวัน มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ

ค่าส่งเสริมการขายเสียภาษีอย่างไร

ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ ...

ค่าส่งเสริมการขายหักค่าใช้จ่ายได้ไหม

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็นใบลดหนี้ คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะใบลดหนี้ เพื่อลดยอดมูลค่าลูกหนี้ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ออกใบลดหนี้นั้น

เงินสนับสนุน มีภาษีไหม

อุดหนุนหรือเงินสนับสนุนเป็นการตอบแทน กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการตาม มาตรา 77/1(8) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ