เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน 2563

สภาพัฒน์ฯ คาดเศรษฐกิจไทยปี 65 โต 4% ส่งออก-รายจ่ายรัฐคือ ปัจจัยหนุน

21 กุมภาพันธ์ 2022

ที่มาของภาพ, Getty Images

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 1.6% ปรับตัวดีขึ้นจากที่เคยติดลบ 6.2% ในปี 2563 ขณะที่คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวในช่วง 3.5-4.5% เนื่องจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า รวมทั้งการลงทุนภาครัฐ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวเปิดเผยในการแถลงรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 4/2564 (21 ก.พ.) ว่า ปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมากลับมาเป็นบวก มาจากด้านการใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น 18.8% การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 0.3% และการลงทุนรวมเพิ่มขึ้น 3.4% แต่ในส่วนสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งฯ ลดลง 14.4% และ 2.9% ตามลำดับ

รวมทั้งปี 2564 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 232,176 บาทต่อคนต่อปี

  • เอชเอสบีซีระบุเศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้นหากนักท่องเที่ยวจีนยังไม่กลับมา
  • ไอเอ็มเอฟ เตือนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ตั้งรับธนาคารกลางสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย
  • 7 เหตุผลที่ทำให้ค่าครองชีพกำลังสูงขึ้นทั่วโลก
  • สภาพัฒน์ฯ เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ติดลบ 0.3% เชื่อภาพรวมการเติบโตทั้งปียังคงเป็นไปตามเป้าหมาย

ในส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากจาก การส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัว 4.9% การอุปโภคบริโภคขยายตัว 4.5% และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.8% ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว 4.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของจีดีพี

นายดนุชา ยอมรับว่าในปีนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เดิมเคยทำรายได้เข้าหลักของประเทศยังคงไม่สามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยคาดว่าทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในประเทศราว 5 ล้านคน สร้างรายได้ราว 4.2 แสนล้านบาท

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

ทั้งนี้ การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ระบุว่า มาจากข้อมูลและสมมติฐานอยู่บนสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น แต่จำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตยังคงทรงตัวในระดับต่ำและไม่เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุข และยังไม่มีการระบาดระลอกใหม่จากไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าระดับในปัจจุบัน และการกระจายวัคซีน โดยเฉพาะเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมสัดส่วนประชากร โดยในปีนี้รัฐบาลได้สั่งซื้อวัคซีนมาไว้แล้วรวมอย่างน้อย 90 ล้านโดส

5 ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจปี 2565

แม้ว่าภาพเศรษฐกิจที่สภาพัฒน์คาดการณ์ไว้จะมีแนวโน้มที่ดี แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของไทยได้ จากการรายงานของสภาพัฒน์ฯ ได้สรุป 5 ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

1. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่จะมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน

2. การเพิ่มขึ้นของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก

ที่มาของภาพ, Getty Images

3. ภาระหนี้สินครัวเรือนและธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์หรือความต้องการในประเทศ รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ ในขณะเดียวกันแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

4. ปัญหาชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ โดยเฉพาะปัญหาการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ยังไม่ดีขึ้นจากปี 2564 ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางทะเลยังสูง

5. ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินของโลก จากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ นโยบายทางการเงินของประเทศที่เป็นตลาดหลักของไทย รวมถึงความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจ

สาระสำคัญช่วงหนึ่งของเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ในส่วนแนวทางจัดการเศรษฐกิจในปีนี้ นอกจากเรื่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด การสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาฟื้นตัว การกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวในประเทศ การจัดการดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนแล้ว หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คือ การขับเคลื่อนการส่งออกและดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ พร้อมกับเร่งรัดให้มีการลงทุนจริง โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย

ที่มาของภาพ, Getty Images

นายดนุชากล่าวว่า แม้ว่าการส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มไปได้ดีอยู่ แต่เริ่มที่จะมีสัญญาณของการทำสงครามการค้า ซึ่งจะส่งผลต่อข้อจำกัดในการส่งออกของไทยในระยะถัดไป จึงต้องมีการหาตลาดใหม่เพิ่มเติมโดยเฉพาะตลาดในภูมิภาค เพื่อลดความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจจะเกิดขึ้นหรือมาตรการที่เกิดขึ้นจากสงครามการค้าที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดไป โดยเฉพาะเรื่องการใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงทางการค้าที่ได้ลงนามไปแล้ว การเร่งรัดกระบวนการพิจารณาในการตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อขยายการส่งออกของเราให้ทันเทียมกับเพื่อนบ้าน

"เฉพาะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศด้วย เพราะเขาจะมองดูว่าประเทศไทยมีกรอบข้อตกลงทางการค้าอะไรอยู่บ้าง และมีตลาดขนาดไหน ซึ่งถ้าเราสามารถที่จะตัดสินใจเข้าสู่การเจรจากรอบ CPTPP ก็จะช่วยทำให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น สำหรับนักลงทุนต่างประเทศจะเข้ามาลงทุนในไทย" นายอนุชา กล่าว

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

บรรดารัฐมนตรีด้านการค้าถ่ายรูปหมู่ร่วมกันหลังลงนามในข้อตกลง CPTPP ที่กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2018

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับความตกลงการค้า CPTPP หรือที่มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม มีเพียง 7 ประเทศที่ให้สัตยาบันเข้าร่วม ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และเวียดนาม

  • CPTPP : ระหว่างโอกาสทางธุรกิจกับชีวิตเกษตรกรและการเข้าถึงยารักษาโรค
  • CPTPP : ความตกลงทางการค้าใหม่ คนไทยจะได้หรือเสียประโยชน์จากเมล็ดพันธุ์-การเข้าถึงยา

สำหรับการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องถึงข้อดีและข้อเสียจากสังคม รวมไปถึงกระแสคัดค้านหลายครั้งในรอบหลายปีที่ผ่านมา และเรื่องนี้ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง แต่กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า "เครือข่ายต่อต้าน CPTPP" ก็ออกมาคัดค้านอยู่เสมอ

ประเด็นสำคัญของการคัดค้าน CPTPP โดยภาคประชาสังคมได้ตั้งข้อสังเกตไว้ คือ การเข้าร่วมความตกลงนี้ยังมีประเด็นที่อ่อนไหวหลายประการ รวมถึงการที่ไทยต้องแก้กฎหมายบางฉบับ ซึ่งภาคประชาชนกังวลว่าจะเกิดกระทบต่อภาคเกษตร ระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะ ประเด็นเรื่องสิทธิในเมล็ดพันธุ์พืช การคุ้มครองสิทธิบัตรยา รวมถึงการคุ้มครองการลงทุนให้ต่างชาติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ