พระสาวกสาวิกาต่อไปนี้

อัครสาวก แปลว่า สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม หมายถึง พระสารีบุตร (เป็นอัครสาวกเบื้องขวา) และพระมหาโมคคัลลานะ (เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย)

อีกนัยหนึ่ง
คำว่า "อัคร" มีความหมายถึง "ตุลา" แปลว่า ตราชู, ประมาณ, เกณฑ์วัด, มาตรฐาน, ตัวแบบ, แบบอย่าง
สาวกหรือสาวิกา ที่พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องว่าเป็นตราชู หรือเป็นแบบอย่างในพุทธบริษัทนั้นๆ อันสาวกและสาวิกาทั้งหลาย ควรใฝ่ปรารถนาจะดำเนินตาม หรือจะเป็นให้ได้ให้เหมือน คือ
      ๑. ตุลา สำหรับภิกษุสาวกทั้งหลาย ได้แก่ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ
      ๒. ตุลา สำหรับภิกษุณีสาวิกาทั้งหลาย ได้แก่ พระเขมา และพระอุบลวรรณา
      ๓. ตุลา สำหรับอุบาสกสาวกทั้งหลาย ได้แก่ จิตตคฤหบดี และหัตถกะอาฬวกะ
      ๔. ตุลา สำหรับอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลาย ได้แก่ ขุชชุตตราอุปาสิกา และเวฬุกัณฏกี นันทมารดา

พระสาวกและพระสาวิกา ที่พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องว่าเป็น “ตุลา” นี้ ในที่ทั่วไปมักเรียกกันว่า พระอัครสาวกและพระอัครสาวิกา เป็นต้น แต่พระพุทธเจ้าเองไม่ทรงใช้คำเรียกว่า “อัครสาวก” เป็นต้นนั้น โดยตรง แม้ว่าคำว่า “อัครสาวก” นั้นจะสืบเนื่องมาจากพระดำรัสครั้งแรกที่ตรัสถึงพระเถระทั้งสองท่านนั้น คือ เมื่อพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากสำนักของสัญชัยปริพาชกแล้ว นำปริพาชก ๒๕๐ คน มาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเวฬุวัน ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นทั้งสองท่านนั้นกำลังเข้ามาแต่ไกล ก็ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า (วินย.๔/๗๑/๗๗) “ภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนที่มานั่น คือ โกลิตะ และอุปติสสะ จักเป็นคู่สาวกของเรา เป็นคู่ที่ดีเลิศ ยอดเยี่ยม (สาวกยุคํ ภวิสฺสติ อคฺคํ ภทฺทยุคํ)”, คำเรียกท่านผู้เป็น ตุลา ว่าเป็น “อัคร” ในพระไตรปิฎก ครบทั้ง ๔ คู่ มีแต่ในพุทธวงส์ โดยเฉพาะโคตมพุทธวงส์ (ขุ.พุทธ.๓๓/๒๐๖/๕๔๕) กล่าวคือ
      ๑. อัครสาวก ได้แก่ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ
      ๒. อัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมา และพระอุบลวรรณา
      ๓. อัครอุปัฏฺฐากอุบาสก ได้แก่ จิตตะ (คือ จิตตคฤหบดี) และหัตถาฬวกะ (คือ หัตถกะอาฬวกะ)
      ๔. อัครอุปัฏฺฐิกาอุบาสิกา ได้แก่ (เวฬุกัณฏกี) นันทมารดา และอุตตรา (คือขุชชุตตรา)

อัครอุปัฏฺฐากอุบาสกนั้น ในอปทานแห่งหนึ่ง (ขุ.อป.๓๓/๗๙/๑๑๗) และในอรรถกถาธรรมบทแห่งหนึ่ง เรียกสั้นๆว่า อัครอุบาสก และอัครอุปัฏฺฐิกาอุบาสิกา เรียสั้นๆ ว่า อัครอุบาสิกา(แต่ในที่นั้น อรรถกถาธรรมบท ฉบับอักษรไทยบางฉบับ, ธ.อ.๓/๗ เรียกเป็นอัครสาวก และอัครสาวิกา เหมือนอย่างในภิกษุและภิกษุณีบริษัท ทั้งนี้ น่าจะเป็นความผิดพลาดในการตรวจชำระ)

พระสาวกสาวิกาที่เป็น “อัคร” นั้นแทบทุกท่านเป็นเอตทัคคะในด้านใดด้านหนึ่งด้วย คือ พระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก, พระมหาโมคคัลลานะ เป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์, พระเขมา เป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก, พระอุบลวรรณา เป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์, จิตตคฤหบดีซึ่งเป็นอนาคามี เป็นเอตทัคคะในด้านเป็นธรรมกถึก, หัตถกะอาฬวกะ ซึ่งเป็นอนาคามี เป็นเอตทัคคะทางสงเคราะห์บริษัท คือชุมชนด้วยสังคหวัตถุสี่, ขุชชุตตรา ซึ่งเป็นโสดาบัน ผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทา (ได้เสขปฏิสัมภิทา คือปฏิสัมภิทาของพระเสขะ) เป็นเอตทัคคะในด้านเป็นพหูสูต

เว้นแต่เวฬุกัณฏกีนันทมารดา (เป็นอนาคามินี) ที่น่าแปลกว่าไม่ปรากฏในรายนามเอตทัคคะซึ่งมีชื่อนันทมารดาด้วย แต่เป็นอุตตรานันทมารดา ที่เป็นเอตทัคคะในทางชำนาญฌาน (และทำให้ยังสงสัยกันว่า“นันทมารดา” สองท่านนี้ แท้จริงแล้ว จะเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่)

นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่ง “อัคร” ที่ยอมรับและเรียกขานกันทั่วไปอีก ๒ อย่าง คือ อัครอุปัฏฐาก ผู้เฝ้ารับใช้พระพุทธเจ้าอย่างเยี่ยมยอด ได้แก่พระอานนท์ (“อัครอุปัฏฐาก” เป็นคำที่ใช้แก่พระอานนท์ ตั้งแต่ในพระไตรปิฎก,ที. ม.๑๐/๕๕/๖๐; พระอานนท์เป็นเอตทัคคะถึง ๕ ด้าน คือ ด้านพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐาก) และอัครอุปัฏฐายิกา คือ อุบาสิกาผู้ดูแลอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าอย่างเยี่ยมยอด ได้แก่ วิสาขามหาอุบาสิกา (นางวิสาขาซึ่งเป็นโสดาบัน เป็นเอตทัคคะผู้ยอดแห่งทายิกา คู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งก็เป็นโสดาบัน และเป็นเอตทัคคะผู้ยอดแห่งทายก, แต่พบในอรรถกถาแห่งหนึ่ง, อุ.อ.๑๘/๑๒๗, จัดเจ้าหญิงสุปปวาสา โกลิยราชธิดา ซึ่งเป็นเอตทัคคะผู้ยอดแห่งประณีตทายิกา ว่าเป็นอัครอุปัฏฺฐายิกา)

พระสารีบุตร

พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะมีสหายคนหนึ่งชื่อว่า โกลิตะ เป็นบุตรของนายบ้านโกลิตคามซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกัน เที่ยวด้วยกันและศึกษาศิลปวิทยาร่วมกัน วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวชมมหรสพในเมืองเห็นความไร้สาระของมหารสพเกิดความเบื่อหน่ายในการเสพสุขสำราญจึงปรึกษากันแล้วชวนกันพร้อมกับบริวารบวชเป็นปริพพาชกอยู่ในสำนักสัญชัย เวลัฏฐบุตร เพื่อศึกษาธรรมแต่ยังมิได้บรรลุธรรมพิเศษเป็นที่สุดที่พอใจ จึงนัดหมายกันว่าผู้ใดได้บรรลุธรรมพิเศษก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่ผู้อื่น ขณะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระอัสสชิซึ่งเป็นองค์หนึ่งในจำนวนปัญจวัคคีย์ได้เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกำลังบิณฑบาตอยู่ อุปติสสะได้พบท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงติดตามไปเมื่อพระอัสสชิฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงได้เข้าไปถามถึงข้อปฏิบัติ พระอัสสชิได้แสดงธรรมให้ฟังสั้น ๆ ว่า “สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุ จะดับไปก็เพราะเหตุดับ”อุปติสสะได้ฟังเกิดดวงตาเห็นธรรม คือ เข้าใจแจ่มแจ้งสิ้นความสงสัยบรรลุโสดาบัน เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่พระเวฬุวันจึงนำธรรมที่ตนได้ฟังไปเล่าถ่ายทอดให้โกลิตะผู้เป็นสหายฟัง โกลิตะเมื่อฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกัน จึงไปลาอาจารย์สัญชัย พร้อมทั้งบริวารพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ขอบวชเป็นพระสาวกพร้อมทั้งบริวาร พระพุทธเจ้าประทานบวชให้ทั้งหมด เมื่อบวชแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอบรม บริวารทั้งหมดได้สำเร็จอรหันต์ก่อน ส่วนอุปติสสะ ได้บำเพ็ญธรรมต่อมาอีก 15 วันจึงได้สำเร็จอรหันต์พระสารีบุตรได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุอื่นในทางปัญญา เป็นผู้มีคุณธรรมดีเด่นด้านปัญญา เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาพระสารีบุตรนิพพานวันเพ็ญกลางเดือน 12 นิพพานก่อนพระโมคคัลลานะ 15 วัน และก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ 7 เดือน ก่อนนิพพานท่านได้เทศนากล่อมเกลาจิตใจของบิดามารดาจของท่านให้กลับใจมานับถือพระพุทธศาสนาจนเป็นผลสำเร็จ

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้มีปัญญาเลิศ สามารถเข้าใจพระธรรมคำสอนของพรพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งและอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างดียิ่ง แม้เรื่องยากเพียงไรก็ตาม ก็สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย เมื่อมีพระสงฆ์สาวกจะทูลลาไปต่างเมือง พระพุทธเจ้ามักตรัสให้ไปลาและรับฟังโอวาทจากพระสารีบุตรด้วย

2. เป็นผู้มีขันติเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยมไม่คิดร้ายใคร ไม่โกรธหรือคิดตอบโต้ใคร ๆ เช่น ท่านถูกพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งทราบว่า ท่านไม่โกรธและมีความอดทน ย่องไปทุบข้างหลังจนท่านเซไปข้างหน้า ท่านก็ไม่เหลียวมอง ทำให้พราหมณ์เกิดความสำนึกผิดและขอขมาท่าน

3. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ พระสารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ท่านนับถือพระอัสสชิเป็นพระอาจารย์องค์แรกของท่าน เมื่อรู้ว่าพระอัสสชิอยู่ในทิศใด เวลาจะนอนท่านจะหันศีรษะไปทางทิศนั้น นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ยอดกตัญญูรู้คุณแม้เพียงเพราะพรามหณ์แก่ชื่อว่าราธะซึ่งเคยตักข้าวใส่บาตรท่านทัพพีท่านก็จำได้และเมื่อราธพราหมณ์ประสงค์จะบวชแต่ไม่มีใครรับรองให้บวช ท่านก็กราบทูลพระพุทธเจ้าขอรับหน้าที่บวชให้

4.เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พระสารีบุตร เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก ถึงแม้จะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีปัญญาเทียบเท่าพระองค์ ท่านก็ไม่เคยลืมตนท่านอ่อนโยนต่อทุกคน ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวท่านจึงเป็นที่รักของเพื่อนพระสาวกด้วยกันเป็นอย่างมาก

YouTube Video

 นางวิสาขา

            นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี บิดาชื่อ ธนัญชัย มารดาชื่อ สุมนาเทวี เมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เมืองสาเกต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองพาราณสี เมื่อนางวิสาขามีอายุได้ 7 ขวบ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่ออายุได้ 16 ปี นางได้แต่งงานกับชายหนุ่มชื่อ ปุณณวัฒน ซึ่งเป็นลูกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี

            นางวิสาขา มีคุณสมบัติที่พรั่งพร้อมด้วยเบญจกัลยาณี หมายถึงลักษณะงดงามพร้อมทั้ง 5 ประการ ได้แก่

            ผมงาม คือ ผมดำสลวยเป็นเงางาม

            เนื้องาม คือ เหงือกงามและริมฝีปากงาม

            กระดูกงาม คือ ฟันขาวงามเป็นระเบียบ

            ผิวงาม คือ ผิวเกลี้ยงเกลางามไม่มีไฝฝ้า และ

            วัยงาม คือ มีความงามเหมาะสมกับวัยของตน

            วันหนึ่งนางวิสาขาได้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระที่คฤหาสน์ของตน ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกมาฉันอาหาร นางวิสาขาได้ส่งคำเชิญไปยังมิคารเศรษฐีบิดาสามีของตนซึ่งยังไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาให้มาร่วมทำบุญ เมื่อมิคารเศรษฐีได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมซึ่งไม่เคยฟังมาตลอดชีวิต ฟังจบก็สำเร็จอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

นางวิสาขาเป็นผู้ริเริ่มการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุผู้เข้าพรรษา เพราะนางทราบว่าภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนไม่เหมาะสม ดูประหนึ่งชีเปลือย จึงขออนุญาตพระพุทธเจ้าถวายผ้าอาบน้ำฝน ต่อมาจึงเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนมาถึงทุกวันนี้
            นางวิสาขาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านการถวายทาน มีอายุยืนยาวถึง 120 ปี มีบุตรชาย 10 คน บุตรสาว 10 คน เป็นสาวิกาที่อุปถัมถ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่งคู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า

เป็นผู้มีความเชื่อฟังบิดา มารดา และมีความซื่อสัตย์มั่นคงต่อสามี

เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาในครอบครัวได้

เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อถือของบิดาสามี ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา

YouTube Video


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ