รากฐาน ทาง วัฒนธรรมไทย ได้แก่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัฒนธรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม อินเดีย จีน และ ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้ระบุไว้ว่า "วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มคนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจและวัตถุอย่างสันติสุขและยั่งยืน" ถึงแม้คำนิยามของวัฒนธรรมจะมีความครอบคลุม และหลากหลาย ก็ยังยังมีการเน้นมิติของ ความดีงาม และมักจะใช้เป็นข้ออ้างในการ ควบคุม และ ครอบงำ สมาชิกในสังคม

ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในทางสังคมวิทยานั้น หมายถึง ระบบความหมายและแบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมนั้นนั้นยึดถือและปฏิบัติ

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]

ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]

คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]

คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]

ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว

ดูเพิ่ม[แก้]

  • คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย
  • งานศพไทย
  • การแต่งงานแบบไทย
  • รายชื่อผีไทย
  • การไหว้
  • ชุดไทยเดิม
  • สตรีในประเทศไทย
  • กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
  • โซตัส

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Otto F. von Feigenblatt. The Thai Ethnocracy Unravels: A Critical Cultural Analysis of Thailand’s Socio-Political Unrest[ลิงก์เสีย]. Journal of Alternative Perspectives in the Social Sciences. สืบค้น 7-9-2557.
  2. ↑ 2.0 2.1 Thai Cultural Profile 2012[ลิงก์เสีย]. Tablelands Regional Council Community Partners Program. สืบค้น 7-9-2557.

  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย 
           

   พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน วิถีชีวิตของชาวไทยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  ชาวไทยร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา  ได้นำหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยตราบเท่าทุกวันนี้

            1.  พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม

            สังคมไทยมีหลักปฏิบัติและวิถีชีวิตอยู่บนหลักของพระพุทธศาสนา  ซึ่งได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน  หลักธรรมคำสอนและความเชื่อตลอดจนแนวปฏิบัติตนตามหลักศาสนาได้ซึมซาบอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทยทุกคน  จึงกล่าวได้ว่าสังคมไทยทุกระดับได้รับเอาความเชื่อทางศาสนามาเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นมา  เพื่อความเข้าใจจะได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม  ดังนี้  

            วัฒนธรรม  หมายถึงสภาพและลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามในด้านวิถีชีวิต ความคิด การปรับตัว  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  เป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงวิธีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม  ซึ่งได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา  ซึ่งมี  2  ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมด้านวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ 

วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา   

วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา มี 4  ด้านใหญ่ๆ  ได้แก่  ด้านภาษา  ด้านศิลปกรรม  ด้านประเพณี  และด้านจิตใจ

1.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านภาษาและวรรณกรรม

             ภาษาที่ใช้กันในปัจจุบันในประเทศไทย  มีแหล่งกำเนิดมาจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่  ถ้าเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้นำภาษาบาลีเข้ามา  ถ้าเป็นฝ่ายมหายาน  ได้นำภาษาสันสกฤตเข้ามาใช้  เช่น  คำที่ใช้เรียกชื่อต่าง ๆ  ชื่อคน  ชื่อเมือง  ชื่อบ้าน  และชื่อสถานที่ราชการ  เป็นต้น

            วรรณกรรมของไทยที่มาจากพระพุทธศาสนา  ได้แก่  ไตรภูมิพระร่วง ปฐมสมโพธิกถา มหาชาติคำหลวง  เป็นต้น

2.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านศิลปกรรม

            ศิลปกรรม คือ งานสร้างสรรค์ที่มนุษย์ได้จัดสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้น  ที่มีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา ได้แก่ งานจิตรกรรม  ได้แก่ การเขียนภาพ ลวดลายไทย งานปฏิมากรรม ได้แก่ การปั้น การหล่อ และการสลักรูป งานวรรณกรรม  ได้แก่ การประพันธ์ร้อยแก้ว  ร้อยกรอง  สถาปัตยกรรม  การออกแบบ  การก่อสร้าง  และนาฏศิลป์ ดุริยางศิลป์  ได้แก่  การขับร้อง  ฟ้อนรำ เป็นต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

3.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านประเพณี

            ประเพณี  คือ  แบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน  ประเพณีสำคัญ ๆ  ของไทยที่สืบทอดมาจากพระพุทธศาสนา  เช่น วันสำคัญทางศาสนา  ได้แก่  วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา     วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา ประเพณีอื่นๆ  เช่น การบวช  นาค การทำบุญเนื่องในวันต่างๆ  เช่นครบรอบวันเกิด  ครบรอบวันแต่งงาน  การทำบุญอุทิศแก่ผู้ตายและประเพณีทำบุญต่างๆ  เช่น การตักบาตร การถวายสังฆทาน  การถวายสลากภัต  การทอดผ้าป่า  การทอดกฐิน  การถวายผ้าอาบน้ำฝน  เป็นต้น

4.  วัฒนธรรมไทยที่มีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนา  ด้านจิตใจ

            คนไทยมีลักษณะนิสัยเฉพาะตัว  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เช่น ความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตา ความเคารพอ่อนน้อม  ความอดทน  รักอิสระ  รักสันโดษ  ชอบช่วยเหลือตนเอง ไม่มีการบังคับข่มเหงซึ่งกันและกัน ยิ้มง่าย  ใจดี  เป็นต้น  จนได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย

พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมทั้งด้านวัตถุและไม่ใช่วัตถุ   เห็นได้ดังนี้

1.  วัฒนธรรมด้านวัตถุทางพระพุทธศาสนา

            ได้แก่  ศิลปกรรมสาขาต่างๆ  ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย  ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ด้วยสติปัญญาซึ่งถ่ายทอดให้ทราบถึงความรู้สึกนึกคิด  ความเชื่อ  ความศรัทธา และจินตนาการที่เป็นรูปธรรมอันละเอียด  มี 4  ประเภทด้วยกัน  ได้แก่

1. สถาปัตยกรรม  ในรูปของวัดวาอาราม และปูชนียสถาน

2. ประติมากรรม ในรูปของการปั้น การหล่อ การแกะสลักพระพุทธรูป

3. จิตรกรรม  ในรูปของการเขียนภาพ  เช่น ภาพฝาผนังพระอุโบสถ  ฯลฯ

4. วรรณกรรม ในรูปของงานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

2.  วัฒนธรรมด้านไม่ใช่วัตถุทางพระพุทธศาสนา

            ได้แก่ การปฏิบัติหรือแนวความคิด  ความเชื่อ  อุดมการณ์  ศีลธรรมจรรยา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ปรัชญา  กฎหมาย  ที่รับการปฏิบัติสืบทอดกันมา  มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตและยุสมัย  ที่ได้รับมาจากพระพุทธศาสนา  ได้แก่

            1.  ภาษาและวรรณคดีต่างๆ  ภาษาในประเทศไทย  นิยมนำคำบาลีสันสกฤตมาใช้ในการตั้งชื่อคน สถานที่ เพื่อให้เกิดความหมายและเป็นสิริมงคลตามความเชื่อในคติของพระพุทธศาสนา ส่วนวรรณคดีต่างๆ  ของไทยส่วนมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา  สวรรค์  นรก  เป็นต้น

            2.  ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ  คือแบบแผนที่ปฏิบัติสิบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เช่น การเกิด การบวชนาค  การแต่งงาน  การตาย หรือวันสำคัญต่างๆ  เช่น  วันสารท  วันตรุษ  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  เป็นต้น

            3.  ลักษณะนิสัยของคนไทย ที่รับการถ่ายทอดมาจากพระพุทธศาสนา เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง  ร่าเริงแจ่มใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจไมตรี เสียสละ  เป็นต้น

            4.   กฎระเบียบของสังคม  เช่น กฎหมายเรื่องการผิดประเวณี  การลักขโมย เป็นต้น ล้วนเกิดมาจากพระพุทธศาสนา 


3.  พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ

            ประเทศไทย  ได้รับเอาวัฒนธรรมมาจากพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต  จนกลายมาเป็นรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย  พระพุทธศาสนาจึงถือว่าเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชนชาติไทย ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีวัดกระจายอยู่ทั่วไปในทุกหมู่บ้าน  ทุกชุมนุมของสังคมไทย  วัดจัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทย ทั้งมีบทบาทต่อสังคมในฐานะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทำบุญตามประเพณี  จัดกิจกรรมต่างๆ  ของชุมชน เป็นที่พบปะสร้างสรรค์เนื่องในโอกาสต่าง ๆ  ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ เห็นได้ชัด  ดังนี้

1.     ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา

2.     ประมุขของชาติไทย ทรงเป็นพุทธมามกะทุกพระองค์

3.     พระราชพิธีและรัฐพิธีต่าง ๆ มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมอยู่ด้วย

4.     กิจกรรมทางสังคมทั้งหมดของประชาชนทั่วไป จะมีพิธีกรรมทางศาสนาแทรกอยู่ด้วยเสมอ  เช่น การเกิด การขึ้นบ้านใหม่ การสมรส  และงานฉลองต่างๆ ตลอดจนงานศพ  ตั้งแต่เกิดเกิดจนตายก็ว่าได้

5.     สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในประเทศไทย  ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ได้แก่  โบสถ์ เจดีย์ วิหาร  หรือศาลาการเปรียญ  เป็นต้น

6.     รูปแบบการปฏิบัติของพระสงฆ์และจริยาวัตรต่าง ๆ  เช่นการรักษาศีล การบิณฑบาต  การนุ่งห่ม ซึ่งมีปรากฏให้เห็นเฉพาะสังคมไทย

           เอกลักษณ์ของประเทศไทย  ที่กล่าวมานี้ถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา จนกลายเป็นมรดกของชนชาติไทยตราบเท่าทุกวันนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ