อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย ด้านความคิด

วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น  ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม  ทำให้การเผยแพร่่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion)
หลังการปฏิวััติอุตสาหกรรมในยุโรป  ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชียด้วยแล้ว  สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป  โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น

     

2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น  ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้่ามาเผยแพร่หรือจากการออกไปศึกษาเล่าเรียน  เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคมไทย

1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย  เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
– ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
– รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม  มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
– ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน  ส่วนวิทยาการสมัยใหม่  ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่

  2. ทางการเมือง
– 
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
– สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
– สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา  นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย  จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป

3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด

4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง  มีการชิงดีชิงเด่น  ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ

วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม ศิลปะแขนงต่างๆ บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจ จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์ ศาสนา ศิลปกรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรม
ปัจจัยที่เกื้อหนุนวัฒนธรรม
1. สอดคล้องหรือเข้ากับความประพฤติที่มีอยู่เดิม
2. อิทธิพลของศาสนา คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก
3. การเห็นคุณประโยชน์ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ ประชาชนจะรักษาและปฎิบัติตามวัฒนธรรมนั้นๆ
4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มที่ต้องรักษาวัฒนธรรมของตน บุคคลเหล่านี้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นของดีอยู่แล้ว จึงพยายามส่งเสริมและคัดค้านการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ทำลายวัฒนธรรมที่ตนเห็นว่าดี และจะสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้วัฒนธรรมที่ตนส่งเสริมนั้นดีขึ้น
5. ตัวแทนของวัฒนธรรม
6. สภาพทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไม่ขาดแคลน คนจะมีจิตใจสบาย ความปกติสุขจะเกิดขึ้น คนจะอยู่อย่างสงบหรือพยายามอยู่ให้ดีขึ้น โดยสิ่งใดดีมักจะรับไว้เ วัฒนธรรมจึงดำรงอยู่ได้ และอาจมีวัฒนธรรมที่ใหม่และดียิ่งขึ้น

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
– ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
– รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
– ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
2. ทางการเมือง
– สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
– สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
– สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป
3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบ ทุติยภูมิ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ