สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทย 2563

“การสูบบุหรี่และดื่มสุราของคนไทยในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แต่ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน 15-24 ปี พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพใน 2 เรื่องนี้ ยังค่อนข้างทรงตัว”

จากผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบสัดส่วนคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 23.0 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2554 และลดลงเหลือร้อยละ 19.1 ในปี 2560 เช่นเดียวกับสัดส่วนของผู้ที่ดื่มสุรา ที่ลดลงในช่วงปีสำรวจเดียวกันจากร้อยละ 32.7 เป็น 31.5 และ 28.4 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการรณรงค์ลด-เลิกบุหรี่และเหล้า ของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆ ที่ทำงานอย่างหนักในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องบุหรี่และเหล้าโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน (15-24 ปี) เป็นความท้าทายและจุดเน้นที่ต้องรณรงค์ ป้องกัน และเฝ้าระวัง กันต่อไป เนื่องจาก พบว่าสัดส่วนของวัยรุ่นและเยาวชนในกลุ่มอายุนี้ที่สูบบุหรี่และดื่มเหล้า ยังค่อนข้างทรงตัว ไม่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่แสดงแนวโน้มการลดลงที่ชัดเจน โดยมีสัดส่วนของผู้ที่สูบบุหรี่ในช่วงปี 2547 ถึง 2560 ขึ้นลงอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 15-17 (ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 15.4) เช่นเดียวกับสัดส่วนของผู้ที่สูบบุหรี่ที่อยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 22-25 (ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 23.9)

เมื่อนำข้อมูลผลการสำรวจในปี 2560 มาพิจารณาเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน (15-24 ปี) พบว่า ในภาพรวมของประชากรกลุ่มนี้ มีสัดส่วนผู้ที่สูบบุหรี่ “เป็นประจำ” ถึงร้อยละ 12.3 (หรือประมาณ 1 ใน 8 โดยในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนชาย มีสัดส่วนที่สูบบุหรี่เป็นประจำถึงร้อยละ 23.9 หรือเกือบ 1 ใน 4) สัดส่วนผู้ที่ดื่มสุรา  “สม่ำเสมอ” (หรือ ดื่มอย่างน้อย 1-2 วัน ในทุกสัปดาห์) คิดเป็นร้อยละ 7.2 ของวัยรุ่นและเยาวชนทั้งหมด (เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนชายมีสัดส่วนที่ดื่มสม่ำเสมอถึงร้อยละ 13.3)

​เมื่อจำแนกตามภูมิภาค วัยรุ่นและเยาวชนที่สูบบุหรี่เป็นประจำคิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดใน “ภาคใต้” ถึงร้อยละ 16.3 และ ต่ำที่สุดใน “ภาคเหนือ” ที่ร้อยละ 7.7 ขณะที่ การดื่มสุราสม่ำเสมอกลับมีสัดส่วน สูงที่สุดในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน “ภาคเหนือ” ที่ร้อยละ 9.6 และ ต่ำที่สุดใน “ภาคใต้” ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและชี้ให้เห็นว่า การทำงานรณรงค์ และสนับสนุนการลดเลิกบุหรี่และเหล้าในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ควรต้องกำหนดจุดเน้นในการทำงานที่แตกต่างกัน ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคใต้ จุดเน้นอาจจะเป็นที่ปัญหาการสูบบุหรี่ แต่สำหรับภาคเหนือ อาจจะต้องให้ความสำคัญกับปัญหาการดื่มสุรามากกว่าในภูมิภาคอื่น ๆ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในเรื่องบุหรี่และเหล้า รวมถึง ตัวชี้วัดสุขภาพในมิติต่าง ๆ ของวัยรุ่นและเยาวชนไทย สามารถติดตามได้ใน “รายงานสุขภาพคนไทย 2563 สองทศวรรษปฏิรูปการศึกษาไทย ความล้มเหลวและความสำเร็จ”

เผยผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 64 พบคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 8 หมื่นคน ไม่ใช่ 2 ล้านกว่าคนตามที่กล่าวอ้าง 62% รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาอันตรายเท่ากัน อีก 26.7% รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมนำผลสำรวจใช้กำหนดนโยบายควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป


เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ผศ.ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่พบว่า ประชากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,742 คน คิดเป็นอัตรา 0.14 % ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวนทั้งหมด 57 ล้านคน เป็นคนที่สูบทุกวัน 40,724 คน และสูบแบบไม่ทุกวัน 38,018 คน  โดยผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 24,050 คน อายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่   อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง  47,753 คน ขณะที่คนไทยที่รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา 26.7% เชื่อว่าอันตรายน้อยกว่า 11.3% และเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดามีอันตรายเท่ากัน 62.0% ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนและอัตราคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพประชากร ปี 2564 ที่เก็บข้อมูลจากทั้งสิ้น 73,654 ครัวเรือนทั่วประเทศ ครอบคลุมประชากรตัวอย่าง 164,406 คน นับเป็นการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา



ผศ.ดร.ศรัญญา กล่าวต่อว่า นอกจากสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่แล้ว ยังครอบคลุมพฤติกรรมการดื่มสุรา การกินอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในการกำหนดนโยบายควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดเรื้อรัง ที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 4 ปัจจัยที่ทำการสำรวจในครั้งนี้ โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ จำนวนและอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า รวมอยู่ในอัตราและจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วประเทศ ที่เท่ากับ 17.4% และจำนวนคนสูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน



ด้าน ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีพียงไม่กี่การสำรวจ และล้วนเป็นการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กในประชากรกลุ่มเฉพาะ  ขณะที่เครือข่ายที่รณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่ล่าสุดออกข่าวว่า มีคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ประเมินเกินจริงไปเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ มีหลักฐานชัดเจนว่า เครือข่ายรณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่ายผู้บริโภคนิโคตินนานาชาติ (International Network of Nicotine Consumer Organizations : INNCO) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2016 ก่อนที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริส จะวางตลาดบุหรี่ไฟฟ้าชนิดใช้ความร้อนโดยไม่มีการเผาไหม้ยี่ห้อโอคอส ในปี 2017 โดยองค์กรดังกล่าว รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อโลกปลอดควันบุหรี่ (Foundation for a Smoke Free World) ซึ่งตั้งขึ้นและให้ทุนสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ฟิลลิป มอร์ริส ที่ขายทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าไอคอส และกำลังพยายามวิ่งเต้นที่จะให้ยกเลิกกฏหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยผ่านฝ่ายต่างๆ


 “รายงานความคืบหน้าการระบาดของยาสูบระดับโลก ขององค์การอนามัยโลกที่เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่เจาะลึกเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ระบุชัดเจนว่า บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าและเครือข่าย ได้มีการรณรงค์ให้ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่นอันตรายน้อยกว่าและช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ธรรมดา ซึ่งเป็นข้ออ้างที่รายงานองค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานจากฝ่ายที่เป็นกลาง สนับสนุนข้ออ้างของบริษัทบุหรี่และเครือข่ายรณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า จึงอยากขอให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้กำหนดนโยบายของประเทศ ใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่มาจากเครือข่ายที่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่ผลิดและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า”        ดร.พญ.เริงฤดี กล่าว


 


อ้างอิง


WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products: //www.who.int/publications/i/item/9789240032095


Successful countering of tobacco industry efforts to overturn Thailand's ENDS ban: //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33229463/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ