ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ ตัวอย่าง

การวิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความรู้ ความเข้าใจ และจากประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชม หรือการชี้แนะผลงานนั้นๆ ทั้งนี้กาวิจารณ์จะต้องมีเหตุมีผล เพื่อที่ผู้สร้างผลงานจะได้นำไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้นโดยสุจริต

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า “วิจารณ์” ว่าหมายถึง “ให้คำตัดสินที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง” ส่วนการติชม มักใช้คำว่า วิพากษ์วิจารณ์

ศิลปวิจารณ์ คืออะไร พจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า “ศิลปะวิจารณ์คือการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานทางศิลปะซึ่งศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยให้ความเห็นตามกฎเกณฑ์และหลัการศิลปะของแต่ละสาขา ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และปรัชญาสาขาอื่น ๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบการวิจารณ์เป็นเช่นไร จะเป็นแบบการพูด การบรรยายหรือข้อเขียนใดๆ ก็ตาม ที่จะเป็นเครื่องชี้วัด และตัดสินคุณค่าในงานศิลปะ”

การแสดงความคิดเห็นทางศิลปะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับทุกคนที่จะติชมหรือเรียกว่าให้ความวิจารณ์ตามความคิดเห็นของตน แค่คำวิจารณ์ควรจะเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ใจ มิใช่เพื่อหวังผลทางการค้าหรือกลั่นแกล้ง เพราะคำวิจารณ์อาจพลิกความรู้สึกของผู้ชมงานศิลปะให้ไขว่เขวได้ คือเห็นศิลปกรรมว่าชั้นสามัญว่าดีที่สุดและเห็นศิลปะชั้นเยี่ยมที่สุดเป็นธรรมดาสามัญ ดังนั้นคำวิจารณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ศิลปะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า การวิจารณ์ที่จะให้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์นั้นมีหลักสำคัญๆ ดังนี้


    1.จิตวิจารณ์ คือ วิจารณ์ในแง่ความรู้สึก
    2.อรรถวิจารณ์ คือ ในแง่แปลความหมาย

                                              

             คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานทัศนศิลป์

1. เป็นผู้มีความรู้ในงานทัศนศิลป์
2. เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้สาขาอื่นๆ เข้ากับงานทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี3. เป็นผู้ที่มีใจกว้าง ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น


    บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจารณ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจารณ์ที่หนักและที่ยากยิ่งคือการประเมินคุณค่า เพราะการวิจารณ์ต้องทำหน้าที่เหมือนผู้พิพากษา วิพากษ์ผลงานศิลปะและเข้าไปเกี่ยวข้องกับตัวศิลปินอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดวิวาทะระหว่างผู้วิจารณ์กับศิลปินอยู่เป็นเนื่องๆ นานนับร้อยปีมาแล้วในประวัติศาสตร์สิ่งที่ยากที่สุดของผู้วิจารณ์คือการประเมินคุณค่าผลงานที่ใหม่ล้ำยุคมากและการประเมินคุณค่าผลงานที่ถูกลืมหรือสูญหายไปจากวัฒนธรรมนานแล้ว ผู้วิจารณ์จะต้องรอบคอบ รอบรู้ และมีจิตใจที่เปิดกว้าง อีกทั้งจะต้องมีมิติของทัศนะที่ลุ่มลึก

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕

๑_หลักสูตรวิชาทัศนศิลป์

๒_แผนการจัดการเรียนรู้

๓_PowerPoint_ประกอบการสอน

๔_Clip

๕_ใบงาน_เฉลย

๖_ข้อสอบประจ าหน่วย_เฉลย

๗_การวัดและประเมินผล

๘_เสริมสาระ

๙_สื่อเสริมการเรียนรู้

บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จ ากัด : 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
Aksorn CharoenTat ACT.Co.,Ltd : 142 Tanao Rd. Pranakorn Bangkok 10200 Thailand
โทรศัพท์ : 02 622 2999 โทรสาร : 02 622 1311-8 [email protected] / www.aksorn.com

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕

ศิลปวิจารณ์

จุดประสงค์การเรียนรู้

• ประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ โดยใช้ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะได้

ความหมายและความส าคัญของการวิจารณ์ศิลปะ

ความหมายของการวิจารณ์ศิลปะ

ความหมายของการวิจารณ์ศิลปะ ได้มีการให้ค านิยามหลากหลาย เช่น

• พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า ศิลปวิจารณ์ หมายถึง การวิพากษ์วิจารณ์ผลงานทางศิลปะ

ซึ่งศิลปินได้สร้างสรรค์ไว้ โดยให้ความเห็นตามกฎเกณฑ์และหลักการของศิลปะแต่ละสาขาทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และปรัชญา
สาขาอื่นๆ

• ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ.๒๕๔๑ ให้ความหมายว่า เป็นความคิดเห็น

หรือการตัดสินที่กล่าว หรือเขียนเกี่ยวกับงานศิลปะ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง หรือคุณค่าของงานศิลปะ

ความส าคัญของการวิจารณ์ศิลปะ

ความส าคัญของการวิจารณ์ศิลปะ สามารถสรุปได้ดังนี้

• ความส าคัญด้านการเรียนการสอนศิลปะ วิชาศิลปวิจารณ์จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจวิชาศิลปะมากขึ้น วิชานี้จะช่วยใหผู้เรียนฝึกการสังเกต

พิจารณาสิ่งรอบตัวและศิลปะอย่างมีเหตุผล รู้จักการวิเคราะห์ ตีความ และตัดสินสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในผลงานด้วยความมั่นใจ

• ความส าคัญด้านธุรกิจในการจัดแสดงผลงานศิลปะ เพื่อให้เกิดรายได้และเพิ่มยอดขายงานศิลปะให้สูงขึ้น หรือเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น
ความเข้าใจในคุณค่าของงานศิลปะ ผู้เป็นเจ้าของงานศิลปะ อาจต้องให้ผู้วิจารณ์ศิลปะท าหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงาน

กับคนดูผลงาน เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ดูผลงานเห็นคุณค่าของงานนั้นๆ

• ความส าคัญด้านการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน นักวิจารณ์ศิลปะจะเป็นผู้ชี้แนวทางให้แก่ศิลปิน เพื่อสะท้อนให้เห็นในสิ่งทขาดหรือ
ี่
เกิน และให้ศิลปินน าไปปรับใช้ต่อไป

• ความส าคัญด้านการสะสมผลงานศิลปะของผู้สนใจ หรือลูกค้า การที่ศิลปินมีการสร้างสรรค์ผลงานออกมามาก อีกทั้งผลงานมี

ราคาแพง ส่งผลให้นักสะสมลังเลในการเลือกซื้อผลงาน อาจจ าเป็นที่จะต้องใช้การวิจารณ์ผลงาน เพื่อตัดสินผลงานนั้นๆ ซึ่งอาจเป็น
ความคิดเห็นของตน หรือคนอื่นก็ได้ ส่วนนักวิจารณ์จะเป็นคนสุดท้ายที่จะสร้างความมั่นใจประกอบการตัดสินใจของผู้ซื้องานศิลปะ

เครื่องมือในการวิจารณ์ศิลปะ

• การวิจารณ์ศิลปะจ าเป็นที่จะต้องใช้คนเป็นเครื่องมือเพื่อวัดในผลงานของผู้อื่นในรูปงานศิลปะ ความเชื่อถือสามารถเกิดขึ้นได้

หากนักวิจารณ์มีจรรยาบรรณพื้นฐานในการปฏิบัติงาน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจารณ์งานศิลปะ ได้แก

• นักวิจารณ์ต้องมีความคุ้นเคยกับผลงานศิลปะ การสร้างความคุ้นเคยจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการศึกษางานนั้นๆ อย่างเป็นระบบ

ไม่ว่าในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านสุนทรียศาสตร์ ด้านทฤษฎีทางศิลปะ เป็นต้น

• นักวิจารณ์ต้องมีประสาทสัมผัสเชิงวิเคราะห์ คือ มีความสามารถในการโต้ตอบความหมายต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในผลงาน

ศิลปะ หรือความสามารถในการแยกแยะความรู้สึกต่างๆ ของตนที่มีต่อผลงานได้

• นักวิจารณ์ต้องมีข้อมูลและเหตุผลสนับสนุนความเชื่อของตน การวิจารณ์งานศิลปะต้องมีกระบวนการ ประกอบไปด้วย
การรวบรวมข้อเท็จจริง การเสนอหลักฐานพิสูจน์ การตัดสิน หลักเกณฑ์ วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้วิจารณ์หลีกเลี่ยงการใช้ความรู้สึก

ส่วนตัวและการล าเอียงได้

ทฤษฎีศิลปะประกอบการวิจารณ์ศิลปะ

ทฤษฎีเลียนแบบนิยม

• ทฤษฎีเลียนแบบนิยม ทฤษฎีนี้ถือว่าการวิจารณ์จะเน้นคุณค่าเชิงพรรณนา รูปแบบศิลปะจะมองจากภาพที่เห็นอย่างถูกต้อง
ชัดเจนที่สุด โดยจะให้ความส าคัญกับความเหมือนจริง พิจารณาฝีมือ ความถูกต้องตามธรรมชาติ การรับรู้ได้จากสายตาเป็นหลัก

รวมไปถึงรายละเอียดหลักการเขียนภาพต่างๆ เช่น ทัศนียภาพวิทยา กายวิภาค องค์ประกอบศิลป์ เป็นต้น

ภาพ “ดอกบัว” ผลงานของทวี นันทขว้าง

เป็นการถ่ายทอดผลงานโดยใช้สื่อจากรูปแบบธรรมชาติ ซึ่งให้คุณค่าของการแสดงออกที่เหมือนจริงตามตาเห็น

ทฤษฎีรูปทรงนิยม

• ทฤษฎีรูปทรงนิยม ทฤษฎีนี้จะเน้นคุณค่าทางศิลปะ เกี่ยวกับองค์ประกอบทางทัศนธาตุ และหลักการทางศิลปะ ในการพิจารณา
ผลงานนั้น จะดูจากการจัดภาพ การใช้หลักการทางศิลปะ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ ที่ท าให้ผลงานมีเอกภาพ การคิดค านวณ

การวางแผน การวิจารณ์ตามทฤษฎีนี้จะไม่มีการเกี่ยวโยงไปถึงชื่อเรียก หรือความหมายใดๆ ในงานทั้งสิ้น

ภาพ “Portrait of a Lady” ของโรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น ที่แสดงการจัดวางภาพมีความเป็นเอกภาพ

ทฤษฎีอารมณ์นิยม

• ทฤษฎีอารมณ์นิยมเน้นคุณค่าทางการแสดงออกของความคิด อารมณ์ และความรู้สึกที่ศิลปินถ่ายทอดจากผลงานศิลปะไปสู่ผู้มอง

ผลงาน คุณค่าทางศิลปะของการวิจารณประเภทนี้จะอยู่ที่ความคิด ความรู้สึกที่ผลงานมีต่อตนเองเป็นหลัก จะไม่สนใจเรื่องของ

องค์ประกอบรูปทรง หรือความเหมือนจริง
• นักวิจารณ์แนวอารมณ์นิยมจะสนใจผลงานศิลปะที่สอดคล้องกับชีวิต ไม่ต้องดูไปหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ บุคคล หรือ

เหตุการณ์ หากแต่ผลงานนั้นจะต้องน าเสนอความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่มีความหมายแก่ผู้ดูโดยฉับพลัน

ผลงานทัศนศิลป์แบบนามธรรมของแจ็กสัน พอลล็อค ภาพ “จินตนาการจากทะเล” ผลงานของสุชาติ เถาทอง
ที่เน้นการแสดงออกซึ่งความรู้สึก หรืออารมณ์ที่ซ่อนอยู่ภายในของบุคคล ลักษณะผลงานเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกผ่าน

ฝีแปรง ร่องรอยจากการปาดป้ายอย่างทันทีทันใด

ทฤษฎีเครื่องมือนิยม

• ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า ศิลปะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยส่งเสริมจริยธรรม ศาสนา การเมือง ตลอดจนจุดประสงค์
ี่
ต่างๆ ทางจิตวิทยา คุณค่าทางศิลปะอยู่ทผลต่อเนื่องอันเกิดจากความคิดและความรู้สึก แสดงออกผ่านผลงานศิลปะ ดังนั้น
การสร้างสรรค์ศิลปะจึงมีเป้าหมายเพื่อช่วยสังคม การเมือง และจริยธรรม

ประติมากรรมรูปนูนสูงสมัยโรมัน แกะสลักด้วยหินอ่อน

ลักษณะผลงานเน้นการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าและการท าศึกสงคราม

ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ

ี่
• การสร้างสรรค์ศิลปะกับการวิจารณ์ผลงานศิลปะ เป็นปัจจัยทมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ช่วยให้
ผู้ดูได้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงคุณค่าภายในผลงานศิลปะชิ้นนั้นได้กระจ่างขึ้น ซึ่งการรับรู้ศิลปะเชิง
สุนทรีย์กับประเด็นการรับรู้ศิลปะเชิงการวิจารณ์อาจมีความแตกต่างกันไป

• การวิจารณ์ศิลปะ มีจุดหมาย หรือท าโดยมีเจตนาด้วยถ้อยค า ภาษา (เขียน/พูด) แสดงออกมาว่า
นักวิจารณ์รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับผลงานศิลปะชิ้นนั้นในเชิงทฤษฎี ซึ่งในการวิจารณ์ การพูด หรือการ

เขียนอาจไม่เพียงพอ จึงจ าเป็นต้องใช้ทฤษฎีการวิจารณ์ทางศิลปะเป็นเครื่องมือในการวิจารณ์งาน

ทฤษฎีเหตุผลในการวิเคราะห์แบบมีจุดหมายของ มอนโร ซี เบียร์ดสลีย์

เหตุผลในการวิเคราะห์งานของมอนโร เบียร์สลีย์ มี ๔ ข้อ

• เหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างสรรค์งานศิลปะ เป็นต้นเหตุของการเกิดขึ้นของผลงาน เช่น
ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความจริงใจของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง การวิเคราะห์ความเข้าใจเป็นสิ่งที่ยากหากดูแต่

เพียงผลงานเท่านั้น ดังนั้นนักวิจารณ์ต้องใช้ข้อมูลอื่นๆประกอบด้วย เพราะหากยิ่งรู้เบื้องลึกของการสร้างสรรค์ผลงานมากเทาใด


ยิ่งช่วยให้การวิจารณ์ได้ผลมากเทานั้น

• เหตุผลจากความรู้สึก เป็นความรู้สึก อารมณ์ ที่ผู้วิจารณ์ได้รับจากผลงานศิลปะนั้นๆ ใช้ภาพเป็นศูนย์กลางในการวิจารณ์ ไม่ใช้

นักวิจารณ์เป็นศูนย์กลาง การวิจารณ์จึงต้องใช้ความรอบคอบในการรับรู้ภาษาศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อให้ผู้ดูเข้าใจ

เรื่องราวตามจุดประสงค์

• เหตุผลอย่างมีจุดหมาย การวิจารณ์ด้วยเหตุผลข้อนี้ค่อนข้างมีน้ าหนักและมีความน่าเชื่อถือมาก เนื่องจากมีหลักการและระบบ


สัมพันธ์สอดคล้องกับการประเมินอย่างมีสุนทรียภาพ เป็นแนวการวิจารณ์ที่มีหลักและมีระบบ สามารถน าไปใช้กับการวจารณ์
ศิลปะจนกระทั่งการสร้างงานศิลปะได้ ซึ่งมอนโร เบียร์สลีย์ได้ให้ข้อแนะน าในเหตุผลข้อนี้ โดยสามารถใช้เกณฑ์การพิจารณา
ตัดสินผลงานศิลปะ ได้ดังนี้

๑ เกณฑ์การพิจารณาแบบทั่วไป เป็นการวิจารณ์ที่พิจารณาถึงการบรรยาย วิเคราะห์ ตีความผลงานศิลปะ โดยยึดหลักการ

๓ ข้อ ได้แก่

๑ หลักที่ว่าด้วยเรื่องเอกภาพ คือ บรรยายถึงความสอดคล้องระหว่างรูปทรง โครงสร้างอย่างครบถ้วนในผลงาน

๒ หลักที่ว่าด้วยเรื่องความลึกซึ้ง คือ การบรรยายถึงความมุ่งมั่นในแนวความคิด การสร้างสรรค์ พร้อมกับ
น าเสนอผลงานที่ชัดเจน

๓ หลักที่ว่าด้วยเรื่องความโดดเด่น คือ บรรยายให้เห็นพลังที่ซ่อนอยู่ในงานศิลปะ สื่อถึงคุณค่าในการแสดงออก
ด้านต่างๆ โดยต้องให้เหตุผลการรับรู้ในคุณค่าเชิงนามธรรมให้ผู้อื่นเข้าใจได้อีกด้วย

๒ เกณฑ์การพิจารณาแบบเฉพาะ เกณฑ์ข้อนี้จะพิจารณาถึงผลงานศิลปะที่มีกระบวนแบบรูปทรง อันเป็นลักษณะที่พิเศษ

มีคุณลักษณะแปลกแตกต่างไม่เหมือนใคร การวิเคราะห์ไม่สามารถอาศัยทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์แบบผลงานศิลปะทั่วไปได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ