รักษาโรคกระเพาะ ด้วย ตัว เอง

กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อยและกรดที่เข้มข้น สำหรับใช้ในการย่อยอาหาร ดังนั้น ผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงต้องมีกลไกในการปรับสภาพให้ทนต่อกรดและน้ำย่อย จึงไม่ทำให้เกิดแผลในภาวะปกติ

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastriti)s และแผลในกระเพาะอาหาร

  1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังหรืออาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (Chronic gastritis and/or peptic ulcer)
  2. ยาแก้ปวดข้อและกระดูก หรือยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ซึ่งจะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผลได้ หากมีการใช้ยากลุ่มนี้ยาจะไปทำลายชั้นผิวของกระเพาะอาหารเช่นกัน
  3. การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารรสจัดบ่อยๆ จะทำให้เกิดการกัดกร่อนทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เนื่องจากจะทำให้มีกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ
  4. ความเครียดก็เป็นสาเหตุให้เกิดการกระตุ้น ให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้
  • ปวดจุกแน่นท้องที่บริเวณลิ้นปี่ หรือแสบท้อง ท้องอืด มีลมในท้องมาก เรอบ่อย หรือแน่นขึ้นไปที่หน้าอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน (ในกรณี ที่มีอาการมากขึ้น และไม่ได้รับการรักษา)
  • อาการปวดอาจสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวแล้วปวด หรืออิ่มแล้วปวด บางรายมีอาการปวดแสบท้องตอนกลางคืนบ่อยๆ
  • อาการแทรกซ้อน จากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด การรั่วทะลุของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีอาการเหมือนอาหารไม่ย่อย ท้องอืดมาก รู้สึกอิ่มตลอด รับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ

การรักษา

การรักษาด้วยยา

  • Antacid เป็นยาตัวแรกที่ใช้มานาน เพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น และป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร โดยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารสามารถทานยาได้ตลอดเวลา ออกฤทธิ์ระยะสั้น
  • Histamine receptor antagonists โดยจะช่วยยับยั้งการหลั่งกรด การรักษาด้วยยานี้จะได้ผลเมื่อใช้นานประมาณ 1 เดือน
  • Proton pump inhibitors เป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันแต่มีราคาที่ค่อนข้างแพง มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตกรดและช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นหายได้เร็วขึ้น
  • Mucosal protective agents มีผลในการเคลือบแผลทำให้หายได้เร็วขึ้น ไม่ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร
  • การรักษา H.pylori เมื่อมีการตรวจพบจะพิจารณาให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์

การปฏิบัติตัว

  • รับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งได้เคี้ยวอาหารให้ช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียด
  • รับประทานอาหารระหว่างมื้อ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที เพราะเพิ่มการหลั่งกรดในช่วงกลางคืน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการแน่นท้องหรือมีลมในกระเพาะอาหารมาก
  • งดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ – การดื่ม Alcohol ลดภาวะเครียด
          ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมาน และสารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ทั้งยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ ดังนั้นใครเป็นโรคกระเพาะอาหารก็กินฝรั่งบรรเทาอาการได้เลยค่ะ

ใครที่เป็นโรคกระเพาะคงจะรู้ดีว่าเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก แล้วยังสามารถกลับมาเป็นได้เรื่อย ๆ อีกด้วย จึงอยากพาทุกคนมารู้จักโรคกระเพาะให้ดีขึ้น ทั้งยังมีอาหารดี ๆ มาแนะนำให้ลองทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะกัน

โรคกระเพาะ คือ ภาวะผิดปกติที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ท้องอืดแน่น เกิดขึ้นเพราะมีแผลในกระเพาะอาหารโดยมีสาเหตุจากมาจากความผิดปกติของกรดในกระเพาะที่เพิ่มขึ้น โรคกระเพาะจัดเป็นโรคหนึ่งใน “โรคที่ไม่ใช่โรค” แต่เป็นอาการที่เกิดจากพฤติกรรมชีวิตที่ผิด ๆ นั่นเอง ทั้งยังไม่สามารถรักษาให้หายด้วยยา แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อาหารที่จะช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะ

1) กล้วยน้ำว้า

ในผลกล้วยนั้นมีน้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เกลือแร่วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ มากมาย ทั้งยังช่วยเร่งสมานแผลในกระเพาะอาหารอีกด้วย

2) กระเทียม

มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้ดีเทียบเท่ายาเพนนิซิลิน สเต็ปโตไมซิน และอีริธโธไมซิน แถมยังใช้กับแบคทีเรียดื้อยาได้อีกด้วย ฉะนั้นการกินกระเทียมสดจึงดีที่สุด

3) ว่านหางจระเข้

สมุนไพรยอดฮิตที่หาได้ง่าย นอกจากจะมีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบแล้ว ยังมีสารไกลโคโปรตีนที่สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะและอาการกรดไหลย้อนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

4) ขมิ้นชัน

สมุนไพรไทยที่คนไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์กันนานแล้ว นอกจากจะใช้ทำอาหารได้หลากหลาย ยังมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียดได้ด้วย จึงนิยมนำขมิ้นมาใช้สมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร

นอกจากจะรับประทานอาหารเหล่านี้แล้ว อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

"โรคกระเพาะอาหาร" (Gastritis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย อาจมีทั้งที่อาการไม่รุนแรง ไปจนถึงมีอาการรุนแรงจนทำให้ต้องหยุดงานหรือพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้น หากไม่อยากนั่งทนทรมานเพราะอาการปวดท้อง เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้ให้ดีขึ้นอีกสักนิดกันดีกว่า จะได้ระมัดระวังและดูแลป้องกันตัวเองได้อย่างถูกวิธี

โรคกระเพาะอาหาร คืออะไร 

โรคกระเพาะอาหาร หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะ เกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลัน ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรังทำให้เกิดแผล ซึ่งหากละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่รักษา อาจมีภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เป็นแผลทะลุ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร 

ในสภาวะปกติภายในกระเพาะอาหารจะมีความเป็นกรดสูง ผลิตกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและฆ่าเชื้อโรคที่ปะปนเข้าไปในอาหาร ขณะเดียวกันก็จะสร้างเมือกที่เป็นเยื่อบุบาง ๆ ช่วยป้องกันผนังของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจากกรด เมื่อกรดที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหารเกิดเสียความสมดุล ก็อาจส่งผลต่อการทำลายเยื่อบุบริเวณกระเพาะอาหารซึ่งมีความต้านทานกรดได้ไม่ดี โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคที่พบมาก ได้แก่

  • การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori)

หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า H.pylori จากอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อน หรือเกิดจากการติดเชื้อจากคนสู่คน โดยเชื้อชนิดนี้คงทนต่อความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารมากกว่าเชื้อชนิดอื่น เมื่อไม่มีการรักษาจึงทำให้เชื้อยังคงอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น จนเกิดความระคายเคือง ก่อให้เกิดแผลหรือการอักเสบบริเวณกระเพาะอาหารได้ง่ายหรือเรียกว่ากระเพาะอาหารอักเสบนั่นเอง

  •  การรับประทานยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด

เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโปรเฟน หรือ ยาไดโคลฟีแนค ซึ่งล้วนเป็นตัวยาที่ต้องกินหลังอาหารทันที สร้างความระคายเคืองให้กับเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้กรดที่หลั่งจากกระเพาะอาหารกัดกร่อนเยื่อบุกระเพาะอาหารจนเกิดแผล

นอกจากนี้การเกิดโรคกระเพาะอาหารยังเป็นผลมาจากพฤติกรรม โรคเรื้อรัง หรือภาวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น

  • การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การอดอาหาร

  • รับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ

  • ดื่มสุราหรือคาเฟอีนในปริมาณมากและการสูบบุหรี่

  • มีก้อนเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นได้ทั้งเนื้อดีและเนื้อร้าย

  • ภาวะความเครียด

ซึ่งเกิดได้จากการประสบอุบัติเหตุรุนแรง การผ่าตัดใหญ่ หรือความเครียดสะสมในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติได้

  • การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตชนิดอื่น

  • ผู้ที่เป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง

เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่พบได้น้อย

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกปวดเฉียบพลันหรือเป็นๆ หายๆ ตั้งแต่ใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการปวดอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร
  • มักมีอาการปวดแสบ จุกแน่น ก่อนหรือหลังมื้ออาหาร เหมือนที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าหิวก็ปวด อิ่มก็ปวด
  • อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก ไม่อยากอาหาร
  • เรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • หากมีแผลบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นมักปวดท้องหลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง และจะปวดมากขึ้นในช่วงบ่าย เย็น ตอนดึก อาการจะดีขึ้นทันทีหลังรับประทานอาหาร ดื่มนม หรือรับประทานยาลดกรด

หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นมากกว่า 1–2 สัปดาห์ รวมทั้งอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือมีอาการในช่วงการรับประทานยาสามัญในกลุ่มยาแก้ปวด โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูกต่าง ๆ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

วิธีการรักษาและป้องกันเบื้องต้นของโรคกระเพาะอาหาร 

การรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้นเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย เมื่อทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะมาจากสาเหตุใดแพทย์จะสามารถประเมินการรักษาที่เหมาะสม โดยวิธีการรักษาจะมี 2 วิธีหลักๆ ได้แก่

  1. การรักษาด้วยยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหากมีการติดเชื้อ โดยแบ่งประเภทของยาที่ใช้รักษาได้หลายกลุ่ม ดังนี้
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เช่น ยาคลาริโธรมัยซิน ยาอะมอกซิซิลลิน
  • ยาลดกรด ช่วยให้กรดในกระเพาะอาหารเกิดความสมดุลและช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ยายับยั้งการหลั่งกรดและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ที่มีฤทธิ์หยุดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยากลุ่มโปรตอน ปั๊ม อินฮิบิเตอร์ เช่น ยาลดกรด ยาแลนโซพราโซล และ ยาในกลุ่มยับยั้งฮิสตามีนชนิดที่ 2 ที่ไปหยุดการทำงานของเซลล์ในกระเพาะอาหารให้ผลิตกรดลดลง ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ที่ช่วยเคลือบเยื่อบุและแผลที่เกิดภายในกระเพาะอาหารจากกรด เช่น ยาซูครัลเฟต หรือยาไมโซพรอสทอล
  • ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เพื่อช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้

     2. การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น ผ่าตัดกรณีที่มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร, ปรับอาหาร, ออกกำลังกาย

ทั้งนี้การรักษาที่สำคัญที่สุดของโรคกระเพาะอาหาร คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่อาจปะปนเข้าไปในร่างกาย
  • เลือกรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อโรค
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลาในปริมาณที่พอดีทุกมื้อ เพื่อให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเป็นไปตามปกติ
  • รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของทอด อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงหรือมีไขมันมาก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ เพราะอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย เพื่อลดภาวะความเครียดที่มีส่วนกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารให้มากขึ้น
  • ผู้ที่รับประทานยาในกลุ่มบรรเทาอาการปวด โดยเฉพาะยาแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ไม่ควรละเลย ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยรับประทานอาหารที่สะอาด ตรงเวลา เป็นต้น ซึ่งหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและรักษาอย่างตรงจุดต่อไป และเพื่อความอุ่นใจในการรักษา การมีประกันสุขภาพจากซิกน่า ที่ครอบคลุมการรักษาโรคกระเพาะอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและหายขาดจากโรคกระเพาะอาหารได้อย่างเด็ดขาดนั่นเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ