การ ใช้ คน ให้ ถูก กับ งาน

  • หน้าแรก

  • Article

  • บริหารธุรกิจ

  • “Put the right man on the right job” คัดสรรกันอย่างไร

       จากบทความที่แล้วนั้น มีเนื้อหาความเชื่อมโยงกับบทความโดยตรง เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร จากตำราหลายเล่ม พยายามสื่อให้เราเห็นความสำคัญของการ “Put the right man on the right job” การมอบหมายงาน   ให้ถูกกับบุคคล กระนั้น เราก็ต้องมองตั้งแต่กระบวนการแรก คือ การสัมภาษณ์ และคัดเลือกเข้ามาทำงาน ประเด็นสำคัญ    อยู่ที่ว่า “เราไม่ใช่ผู้เลือกเขาฝ่ายเดียว” เพราะคนที่เดินเข้ามาสมัครงาน “เขาก็เป็นผู้เลือกเราเช่นกัน” สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่เราต้องแจ้งกับบุคคลเหล่านั้น เมื่อมาสัมภาษณ์งาน 

       

       ประเด็นแรก คือ ความกระจ่างชัดในลักษณะงาน หน้าที่ขอบเขตความรับผิดชอบ และรายละเอียดของงาน ต้องสื่อ อย่างตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม หรือ มโนภาพให้ผู้สมัครคล้อยตามลักษณะงานที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์  ซึ่งอาจทำให้เขา  หลงประเด็น และเข้าใจวัตถุประสงค์ของงานผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ประเด็นนี้สำคัญยิ่งสำหรับการตัดสินใจของ        ทั้งสองฝ่าย เพื่อองค์กรจะได้เลือก “The right man” ที่ใช่ที่สุด มารับผิดชอบในงานนั้นๆ รวมถึงตัวผู้สมัครที่ต้องเลือก     “The right job” งานนี้ใช่สำหรับเขาด้วยเช่นกัน

       ประเด็นที่สอง คือ ต้องแจ้งปัญหาและอุปสรรคที่เขาต้องเจออย่างแน่นอน ในลักษณะงาน หรือตำแหน่งงานนั้นๆ เนื่องจากผู้สมัคร จะได้รับทราบว่าต้องเจอกับปัญหาใดบ้างในการทำงาน เขาสามารถที่จะยอมรับ ปรับตัว ดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้หรือไม่ เพราะเขามีสิทธิที่จะรับรู้ และตัดสินใจว่าตัวเขาเองเหมาะสมกับงานที่ต้องเจอปัญหาดังกล่าวเหล่านี้มากน้อยเพียงใด

       ประเด็นที่สาม คือ ต้องแจ้งเกี่ยวกับแรงกดดัน และลักษณะนิสัยของหัวหน้างาน เมื่อบุคคลนั้นต้องก้าวเข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของหัวหน้างาน ในส่วนงานนั้นๆที่เขาสมัคร จำเป็นอย่างมากที่เขาต้องทราบเกี่ยวกับลักษณะนิสัย อุปนิสัยใจคอของหัวหน้า กฎเกณฑ์ในการทำงานนั้นๆ เพื่อที่จะทำให้ไม่ลำบากใจกันทั้งสองฝ่าย ลดปัญหาในภายภาคหน้าให้น้อยลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดทัศนคติที่ไม่ตรงกัน และสำคัญที่สุดคือ ทำให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่ติดขัด

ทั้งสามประเด็นนี้ ชี้ชัดให้เห็นเลยว่า การที่จะ “Put the right man on the right job” ในกระบวนการคัดเลือกบุคลากรนั้นสำคัญอย่างไร? กระบวนการดังกล่าว เป็นตัวช่วยทั้ง 2 ฝ่ายในการเลือกสรร องค์กรได้พนักงานที่ใช่และเหมาะสมกับงาน และ ผู้สมัครได้งานที่ใช่สำหรับเขา การทำงานก็จะก่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และตัวบุคคลก็จะดึงศักยภาพออกมาใช้กับงานได้อย่างเต็มที่ 

บทความโดย : คุณสุดารัตน์  เพ็งขุนทด

     

ทักษะการบริหารงานที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือการจัดคนให้เหมาะกับงาน (Put the right man on the right job) ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องพูดง่ายทำยาก แต่ถ้าทำได้ จะให้ผลลัพธ์อย่างดีชนิดพลิกฝ่ามือ

                      หลักการง่ายๆ ของเรื่องนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่สำคัญ คือ คนทุกคนมีจุดเด่นในตัวเอง หากงานที่ทำ ได้ใช้จุดเด่นที่มี เขาจะประสบความสำเร็จมากและเร็วยิ่งขึ้น

                      คนหลายคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน เป็นเพราะพวกเขากำลังทำในสิ่งที่ไม่ถนัด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยพูดไว้ว่า “ถ้าเราให้ปลาปีนต้นไม้ มันคงต้องใช้เวลาทั้งชีวิต”

                      เรื่องนี้ผมมีประสบการณ์โดยตรง สมัยเรียนจบและเพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ ได้งานฝ่ายบุคคลและธุรการ ทำได้สัก 2 ปี หัวหน้าเรียกไปคุย บอกว่าผมคงไม่เหมาะกับงานที่ทำอยู่และดูทรงแล้วไม่น่าจะรุ่ง ด้วยความเป็นคนช่างพูด หัวหน้าเลยแนะนำให้ย้ายไปทำงานขาย เผอิญผมเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เลยตัดสินใจไปตามที่หัวหน้าแนะนำ ทำได้ไม่นานก็รู้เลยว่าชอบงานใหม่มาก ผลงานดีขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่ง ประสบความสำเร็จพอสมควร ทุกวันนี้เมื่อมีโอกาส ยังคงกลับไปขอบคุณหัวหน้าเป็นประจำเสมอๆ ที่มองเห็นจุดเด่นและชี้ทางสว่างให้

                    คำถามที่น่าสนใจคือ จะมีแนวทางอย่างไรให้สามารถจัดคนให้ตรงกับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้มีเทคนิคง่ายๆ มาเล่าให้ฟัง

     แนวทางเบื้องต้นประกอบไปด้วยสิ่งที่ต้องพิจารณา 3 ประการ

     1. คุณลักษณะสำคัญในการทำงาน

     2. ลักษณะเด่นของคนทำงาน

     3. ลักษณะงานที่เหมาะกับคุณสมบัติแต่ละประการ

     เริ่มต้นจากคุณลักษณะสำคัญในการทำงาน ถ้าคิดง่ายๆ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานมีแค่ 4 ประการคือ ดู - พูด - คิด - ทำ

                    จากนั้นลองพิจารณาลักษณะเด่นของคนทำงาน ว่าใครมีจุดเด่นในด้านใด

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “ดู” (ซึ่งหมายรวมถึงการฟังด้วย) มักเป็นคนละเอียด ช่างสังเกต

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “พูด” มักเป็นคนพูดเก่ง นำเสนอดี

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “คิด” มักเป็นคนช่างคิด ชอบเรียนรู้

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “ทำ” มักเป็นคนร่างกายแข็งแรง ทำงานตามสั่งได้ดี

                    เมื่อแยกคนตามจุดเด่นที่มีได้แล้ว ก็มาพิจารณาว่าแต่ละคุณลักษณะเหมาะกับงานอะไร

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “ดู” เหมาะกับงานประเภท นักบัญชี งานตรวจสอบ เป็นต้น ซึ่งต้องการความละเอียดรอบคอบในการทำงาน

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “พูด” เหมาะกับงานประเภท การบริการ งานขาย งานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งต้องการความสามารถในการสื่อสารและการนำเสนอ

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “คิด” เหมาะกับงานประเภท วางแผน งานด้านการตลาด เป็นต้น ซึ่งต้องการความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน

                    คนที่มีจุดเด่นด้าน “ทำ” เหมาะกับงานประเภท ที่ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย งานที่ต้องลงมือทำ งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เป็นต้น ซึ่งต้องการความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะในการปฏิบัติ

                    ดังนั้น หากเราสามารถจัดสรรคนให้เหมาะกับงาน ตามความถนัดของเขาแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จทั้งคนและงาน ย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

                    อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ยังหาจุดเด่นที่ชัดเจนไม่เจอ ลองหาทางช่วยพัฒนาพวกเขาดู หากพยายามแล้วยังไม่ได้ผลอยู่ดี ก็คงต้องถึงเวลาที่จะ “คอนเวิร์ส” คือ ทางใครทางมันแล้วครับ

 www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

Put the right man on the right job หมายถึงอะไร

PUT THE RIGHT MAN TO THE RIGHT JOB. “การให้คนที่เหมาะสมให้ทำงานที่เหมาะสม” . เป็นคำที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับดี ซึ่งเครื่องมือที่ทำให้เห็นได้ชัดว่างานใดหรือตำแหน่งใด ต้องการบุคลากรเช่นใดจึงจะเหมาะสมกับงานนั้น ซึ่งแต่ละงาน จะมีการระบุ Job skill profile อยู่ในตำแหน่งนั้น

การเลือกใช้คนให้ถูกกับงาน คือข้อใด *

“Put the right man on the right job” ยังคงเป็นประโยคเด็ด ที่ใช้ได้ดีอยู่เสมอเมื่อต้องวางแผนมอบหมายงานให้กับลูกน้องหรือคนในทีม เพราะการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงาน เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจและบริษัทพัฒนาก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด หรือแม้แต่การแก้ไขวิกฤตและปัญญาที่รุนแรง ก็สามารถจะคลี่คลายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ...

การใช้คนไม่ตรงกับงานคืออะไร

Non-Utilized Talent – ใช้คนไม่ตรงกับงาน คือ การที่ไม่สามารถใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ได้เต็มประสิทธิภาพ Transportation – ย้ายบ่อย คือ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือสินค้า โดยไม่จำเป็น Inventory – สต็อกบาน คือ มีการเก็บ Stock วัตถุดิบ หรือ Stock สินค้ามากเกินความจำเป็น

คำว่า Put the right man on the right job เป็นหลักการคิดของใคร และอยู่ในยุคใด

เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจได้และพยายามสรรหาบุคคลมาร่วมคณะรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ได้อ้างนักปรัชญาจีนโบราณคือขงจื้อว่า “ต้องใช้คนให้ถูกกับงาน (Put the right man on the right job)” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ปกครองต้องชาญฉลาดในการมองเห็นว่างานชนิดใดเหมาะกับคนประเภทใด โดยดูจากบุคลิกภาพ อุปนิสัย ทักษะ และศักยภาพ แต่ปัญหา ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ