อนุภาคของฝุ่นคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร


Q1.1: ฝุ่นละออง PM2.5 คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร?

A1.1: ฝุ่นละออง (Particle Matter) หมายถึง อนุภาคของแข็งหรือหยดละอองของเหลวที่แขวนลอยในบรรยากาศ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ บางชนิดมีขนาดใหญ่จนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ฝุ่นจากโรงโม่หิน ฝุ่นจากโรงไม้ แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น ซึ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก แบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) PM2.5 ประกอบด้วยคำว่า PM ที่ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ PM10 และ PM2.5 ส่วนตัวเลข 2.5 นั้น มาจาก ขนาดของฝุ่น มีหน่วยเป็นไมครอน

ดังนั้น PM2.5 ก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ลอยในอากาศได้นานและไกลถึง 1,000 กิโลเมตร และอาจมีสารพิษที่เกาะมาด้วย หากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ล่องลอยอยู่ในอากาศปริมาณมาก จะเห็นท้องฟ้าเป็นสีหม่น หรือเกิดเป็นหมอกควัน

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่ควบคุมได้และปัจจัยควบคุมไม่ได้ ดังนี้

ปัจจัยที่ควบคุมได้ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
กิจกรรมของมนุษย์:
  • การเผาในที่โล่ง เช่น เผาเศษวัสดุการเกษตร เผาขยะ
  • การจราจร
  • การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม
  • การก่อสร้างอาคาร
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้เตาปิ้งย่างที่ทำให้เกิดควัน
  • สถานประกอบการต่าง ๆ เช่น อู่ซ่อมรถ พ่นสีรถ
  • สภาพอุตุนิยมวิทยา:
  • อากาศเย็นและแห้ง ความกดอากาศสูง
  • สภาพอากาศนิ่ง ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่แพร่กระจาย ฝุ่นละอองแขวนลอยได้นาน
  • ทั้งนี้ สาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็กมีความแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิดในแต่ละพื้นที่

    1) พื้นที่ภาคเหนือ มักเกิดจากปัญหาไฟป่าและการลักลอบเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัชพืช การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรประกอบกับภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะและมีภูเขาล้อมรอบ ซึ่งในช่วงหน้าแล้งอากาศแห้ง ความกดอากาศสูง ทำให้เกิดสภาวะอากาศปิด ความรุนแรงของปัญหาจึงเพิ่มขึ้น

    2) ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาคต่าง ๆ มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนน และเครื่องยนต์ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงการติดเครื่องยนต์ขณะจอดอยู่กับที่ โดยเฉพาะในช่วงที่การจราจรหนาแน่นและติดขัด ทำให้เกิดการสะสมตัวของมลพิษทางอากาศในปริมาณมาก

    นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ ในบ้านเรือนหรือกิจกรรมชุมชน เช่น การจุดเตาถ่านในบ้านเรือน การปิ้งหรือย่างอาหาร ทำให้มีการสะสมมลพิษทางอากาศในปริมาณสูงขึ้น ทำให้เป็นอันตรายโดยเฉพาะในห้องที่ไม่มีช่องระบายอากาศ รวมถึงปฏิกิริยาเคมีในอากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซต์ของไนโตรเจน (NOX) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศเกิดเป็นฝุ่นละเอียดได้

    (แหล่งที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)


    ฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งทางตรง
    และทางอ้อม

    ฝุ่นละอองคือ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด กระแทก จนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวกระจายตัวอยู่ในอากาศ และตกลงสู่พื้น ซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาคฝุ่น แหล่งกำเนิดของฝุ่นจะแสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษของฝุ่นด้วย เช่น แอสเบสตอส ตะกั่ว ไฮโดรคาร์บอน กัมมันตรังสี

    ฝุ่นแบ่งตามขนาดเป็น 2 ส่วนคือ ฝุ่นขนาดใหญ่ และฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่า PM10(ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา)

    (**ไมครอนเป็นหน่วยวัด โดย 10,000 ไมครอน เท่ากับ 1 เซนติเมตร)

    ประเภทของฝุ่นละออง

    1.ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate : TSP) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ฟืน แกลบ จะมีสารพิษที่เป็นอินทรียสารและอนินทรียสารเป็นส่วนประกอบ ฝุ่นชนิดนี้มีอนุภาคขนาดเล็ก มักพบเจอในภายในและภายนอกอาคาร

    2.ฝุ่นหยาบ (Particulate Matter : PM10) มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน เช่น ฝุ่นที่เกิดจากถนนที่ไม่ได้ลาดยาง หรือโรงงานบดหิน

    3.ฝุ่นละเอียด (Particulate Matter : PM 2.5) มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เกิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม

    ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

    ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

    แหล่งที่มาที่สำคัญของฝุ่นละออง

    แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    1.ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle)

    เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติ ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ดิน ทราย ละอองน้ำ เขม่าควันจากไฟป่า ฝุ่นเกลือจากทะเล

    2.ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)

    การคมนาคมขนส่ง

    -รถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่ทำให้เกิดฝุ่น หรือดินโคลนที่ติดอยู่ที่ล้อรถ ขณะแล่นจะมีฝุ่นตกอยู่บนถนน แล้วกระจายตัวอยู่ในอากาศ

    -ไอเสียจากรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลปล่อยเขม่า ฝุ่น ควันดำ ออกมา

    -ถนนที่สกปรก มีดินทรายตกค้างอยู่มาก หรือมีกองวัสดุข้างถนนเมื่อรถแล่นจะทำให้เกิดฝุ่นปลิวอยู่ในอากาศ

    -การก่อสร้างถนนใหม่ หรือการปรับปรุงผิวจราจร ทำให้เกิดฝุ่นมาก

    -ฝุ่นที่เกิดจากยางรถยนต์ และผ้าเบรก

    การก่อสร้าง

    -การก่อสร้างหลายชนิดมักมีการเปิดหน้าดินก่อนการก่อสร้าง ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นได้ง่าย เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง การปรับปรุงสาธารณูปโภค

    -การก่อสร้างอาคารสูง ทำให้ฝุ่นปูนซีเมนต์ถูกลมพัดออกมาจากอาคาร

    -การรื้อถอน ทำลาย อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง

    โรงงานอุตสาหกรรม

    -การเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ฟืน แกลบ เพื่อนำพลังงานไปใช้ในการผลิต

    -กระบวนการผลิตที่มีฝุ่นออกมา เช่น การปั่นฝ้าย การเจียรโลหะ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ

    ผลกระทบของฝุ่นละอองต่อสภาพบรรยากาศทั่วไป

    ฝุ่นละอองจะลดความสามารถในการมองเห็น ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นอนุภาคของแข็งที่ดูดซับและหักเหแสงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่น และองค์ประกอบของฝุ่นละออง

    ผลกระทบของฝุ่นละอองต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้าง

    ฝุ่นละอองที่ตกลงมา นอกจากจะทำให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะแก่บ้านเรือน อาคาร สิ่งก่อสร้างแล้ว ยังทำให้เกิดการทำลายและกัดกร่อนผิวหน้าของโลหะ หินอ่อน หรือวัตถุอื่นๆ เช่น รั้วเหล็ก หลังคาสังกะสี รูปปั้น

    ผลกระทบของฝุ่นละอองต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

    นอกจากฝุ่นละอองจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อระบบหายใจเมื่อเราสูดเอาอากาศที่มีฝุ่นละอองเข้าไป โดยอาการระคายเคืองนั้นจะเกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง โดยฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ร่างกายจะดักไว้ได้ที่ขนจมูก ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กนั้นสามารถเล็ดลอดเข้าไปในระบบหายใจ ทำให้ระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง

    แนวทางในการลดปัญหาเรื่องฝุ่นละออง

    -การควบคุมที่แหล่งกำเนิด เช่น การติดตั้งระบบกำจัดฝุ่นละอองในโรงงานอุตสาหกรรม

    -ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรม

    -ป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากรถบรรทุกหิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง ด้วยการคลุมผ้าใบให้มิดชิด

    -การก่อสร้างอาคารต้องป้องกันไม่ให้ฝุ่นปลิวออกมาจากตัวอาคารโดยใช้ผ้าใบคลุม และล้างทำความสะอาดล้อรถที่วิ่งเข้าออกบริเวณก่อสร้างทุกครั้ง

    -การก่อสร้างถนน ต้องลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นด้วยการพ่นละอองน้ำให้พื้นเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา

    -ปรับปรุงมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น คุณภาพอากาศในบรรยากาศมลพิษที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียที่ปล่อยออกจากยานพาหนะ

    -เข้มงวด กวดขันยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐาน

    สังเกตระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองได้อย่างไร

    หากอยู่บนถนน สามารถมองเห็นรถยนต์ข้างหน้าได้ไกลไม่เกิน 100 เมตร มองเห็นเสาไฟได้ไม่เกิน 3-4 ต้น มองออกไปไม่เห็นยอดภูเขา

    ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเราได้นั้น คือฝุ่นที่นักวิชาการเรียกว่า PM 10 และ PM 2.5 ฝุ่นละออง PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่า PM 10 เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้เข้าไปจะส่งผลต่อสุขภาพเราดังนี้

    1.อาจทำให้มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก จนถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บคอ ไอแบบมีเสมหะ มีไข้หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือหายใจมีเสียงดังหวีดเนื่องจากการหดตัวของหลอดลม

    2.ปอดเป็นพังผืดจากการระคายเคืองเรื้อรัง

    3.โรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม จะซ้ำเติมให้การทำงานของหัวใจแย่ลง จนเกิดหัวใจวายได้

    4.ผลการวิจัย (อ้างอิงจาก EPA) พบว่า หากร่างกายได้รับการสัมผัส PM 2.5 ปริมาณมากและสัมผัสเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในเด็ก (เช่น หอบหืด) มีผลต่อน้ำหนักเด็กแรกเกิดที่ลดลง และตายก่อนวัยอันควร

    5.มะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีส่วนผสมของสารบางอย่าง เช่น Arsenic, Nickel Chromate, Poly aromatic hydrocarbon (PAH) และสารกัมมันตรังสี เมื่อสัมผัสกับเนื้อปอด อาจทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ และถ้าสารดังกล่าวมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ จะไปสู่อวัยวะต่างๆ นอกปอด และอาจทำให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

    อาการแพ้ฝุ่นละออง

    ระคายเคืองหรือแสบตา ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ภูมิแพ้กำเริบหรือแสบจมูก ระคายเคืองผิวหนัง อึดอัดแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ หรือเด็กที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเสี่ยงที่จะมีอาการทรุดหนัก

    หากปล่อยสะสมไว้นานๆ ก็จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงจนเกิดเป็นโรคร้าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดแข็งจากภาวะฝุ่นจับปอด (Pneumoconiosis) และฝุ่นละอองอาจเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองหรือระบบเลือด ยิ่งเพิ่มความรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เป็นโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด

    วิธีป้องกันและเอาตัวรอดจากฝุ่นละออง

    1.ปิดประตูหน้าต่าง ไม่ให้ฝุ่นเข้ามาในตัวอาคาร

    2.ดื่มน้ำมากๆ

    3.กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำสะอาด แล้วบ้วนทิ้ง วันละ 3-4 ครั้ง ห้ามกลืน

    4.เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องออกแรงมากๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกายในที่แจ้ง

    5.สวมหน้ากากอนามัยชนิดกรอง 3 ชั้น เมื่อต้องพบเจอมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจะช่วยป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอนได้ ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน หรือใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก

    6.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด ควรเตรียมยา และอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัว

    7.งดสูบบุหรี่

    8.ปลูกต้นไม้สูงรอบบ้าน สามารถช่วยกรองอากาศและผลิตออกซิเจน

    9.หากมีอาการผิดปกติหลังสูดดมหมอกควัน เช่น หายใจไม่ออก หรือระคายเคืองแสบตา ควรรีบไปพบแพทย์

    การจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไร้ซึ่งความเจ็บป่วยได้นั้น ไม่สามารถทำได้เพียงแค่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมาจากการรอบรู้ รู้จัก ป้องกัน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงมีสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี เช่นเดียวกับการป้องกันตัวเองไม่ให้ฝุ่นละอองเล็กๆ มาทำร้ายความบริสุทธิ์ของปอดเราได้

    หากมีข้อสงสัยด้านการปฏิบัติตัว เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422, สายด่วนกรมอนามัย 0-2590-4359 และสายด่วนกระทรวงสาธารณสุข 1669

     

    ที่มา :      -รวบรวมจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร

    อนุภาคของฝุ่นคืออะไรเเละมีความสำคัญอย่างไร

    ฝุ่นละอองคือ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ลองลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด กระแทกจนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวกระจายตัวอยู่ในอากาศ และตกลงสู่พื้น ซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาคฝุ่น แหล่งกำเนิดของฝุ่นจะแสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษของฝุ่นด้วย เช่น แอสเบสตอส ...

    ฝุ่นละอองมีอะไรบ้าง

    แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle) เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติ ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ดิน ทราย ละอองน้ำ เขม่าควันจากไฟป่า ฝุ่นเกลือจากทะเล 2. ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)

    Particulate Matter มีอะไรบ้าง

    PM2.5 คืออะไร? คำว่า PM ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 ส่วนตัวเลข 2.5 นั้นมาจากหน่วย 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตรนั่นเอง

    ประโยชน์ของฝุ่นละอองมีอะไรบ้าง

    ฝุ่นอีกแบบหนึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น 'อณู' ของชีวิตนะครับ มันคือพวกสปอร์ของราทั้งหลาย การที่มันมีขนาดเล็กจิ๋วมาก ทำให้เดินทางไปกับลมได้สะดวก จึงเป็นตัวช่วยให้โลกเกิดความอุดมสมบูรณขึ้นมา ดังนั้นใครที่แพ้พวกสปอร์หรือละอองเกสรดอกไม้ ก็อย่าไปถือโทษโกรธเคืองมันเสียทั้งหมดเลยนะครับ เพราะจริงๆ สิ่งเหล่านี้ก็มีประโยชน์ของมันอยู่

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ