สื่อเก่าและสื่อใหม่มีอะไรบ้าง

สื่อ เป็นช่องทางในการนำเสนอเนื้อหาของสารต่างๆ ที่มีมานานมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข่าว, ความบันเทิง รวมไปถึงโฆษณาต่างๆ สื่อเปรียบเสมือนตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารหรือผู้บริโภค

โดยสมัยก่อนสื่อที่มีอิทธิพลและความน่าเชื่อถือ หรือที่เราเรียกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น หนังสือพิมพ์,วิทยุ, สื่อโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสื่อในลักษณะการสื่อสารแบบด้านเดียว สื่อถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากของการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ โดยมีบทบาทที่สำคัญคือ แจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ นำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ

แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายๆ คนคงจะคิดว่าสื่อดั้งเดิมอย่างสื่อ Offline ต้องหายไปแล้วแน่ๆ จนหลายคนถึงกับทิ้งสื่อเก่าแล้วหันไปให้ความสนใจกับสื่อใหม่อย่างสื่อออนไลน์เป็นหลัก

โดยบทบาทของสื่อใหม่ในปัจจุบันสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้มากกว่าเดิม จากสื่อเก่าที่เป็นการสื่อสารแบบ One Way (การสื่อสารทางเดียว) ในตอนนี้เราสามารถโต้ตอบกันผ่านสื่อได้แล้ว ยกตัวอย่าง เช่น การไลฟ์ เป็นต้น นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนของวงการสื่อไทยเลยก็ว่าได้

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีแบรนด์ๆ หนึ่งตัดสินใจใช้พื้นที่สื่อเก่าอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ในการทำการตลาด ซึ่งพอหลายๆ คนอ่านถึงตรงนี้แล้วก็อาจเกิดความสงสัยกันใช่ไหมว่า ทำไมถึงยังใช้สื่อออฟไลน์ คนจะเห็นเยอะหรอ จะคุ้มกับเงินที่เสียไปหรือไม่ วันนี้จึงมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากทาง ‘ไทยรัฐ’ มาฝากกันค่ะ

หากใครมีโอกาสได้เปิดอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในนั้นมีโฆษณาสินค้าอยู่ตัวหนึ่ง ที่ได้ทำการเหมาพื้นที่โฆษณาบนหนังสือพิมพ์ไปถึง 5 หน้าเต็มๆ ในฉบับเดียวกัน ซึ่งไม่ได้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยนัก หลายคนอาจจะคิดว่าทำไมแบรนด์ถึงตัดสินใจลงโฆษณารูปแบบเช่นนี้บนสื่อออฟไลน์

ในมุมมองของทีมงาน RAiNMaker มองว่า สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังคงเป็นสื่อหนึ่งที่ Mass อยู่ในปัจจุบัน ที่ยังสามารถเข้าถึงคนไทยได้ทั้งประเทศ แม้จะมีสื่อออนไลน์เข้ามาแทนที่ก็ตาม เพราะหลักของการโฆษณาจริงๆ แล้วไม่ควรมองช่องทางเป็นที่ตั้งอย่างเดียว

แต่ควรมองที่กลุ่มเป้าหมายของเราด้วยเช่นกัน มองถึงวัตถุประสงค์และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมกับสินค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราให้มากที่สุด ต้องรู้จักเลือกใช้สื่อมาผสมผสานกันให้เหมาะสมที่สุด

ยกตัวอย่างกรณีของยาสีฟันคอลเกต ที่ตัดสินใจใช้พื้นที่สื่อออฟไลน์ในการโฆษณาสินค้า โดยลักษณะการเล่าเรื่องของแบรนด์จะเป็นการค่อยๆ ร้อยเรียงเรื่องราวของเนื้อหาให้เรารู้สึกอยากเปิดไปอ่านต่อ มีการตั้งคำถามให้ชวนคิดอยู่เรื่อยๆ

โดยแบรนด์ไม่ได้มีการนำเสนอขายสินค้าโดยตรง เพียงแต่มีการใช้โทนสีและคำพูดที่ช่วยตอกย้ำให้ผู้ที่พบเห็นสามารถจดจำได้เพียงเท่านั้น แต่ถึงแม้จะใช้สื่อออฟไลน์ ทางคอลเกตก็ยังคงใส่ความเป็นออนไลน์แฝงลงไปด้วย นั่นก็คือ เราสามารถสแกน QR เพื่อติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมต่อได้นั่นเอง

เพราะฉะนั้นไม่มีคำตอบไหนที่ถูกที่สุด ว่าควรใช้สื่อแบบไหนดีกว่ากัน แต่อยู่ที่วัตถุประสงค์และสิ่งที่เราต้องการมากกว่า หากเรามีการวางแผนที่ดี ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทไหน ก็สามารถตอบโจทย์เราและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพให้กับเราได้อย่างแน่นอน

                ซึ่งสอดคล้องกับ ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์  (2551: 43) กล่าวถึงคุณลักษณะของสื่อใหม่ว่า สื่อใหม่เป็นสื่อที่ตอบสนองความต้องการสารสนเทศได้ตามความต้องการ เปิดรับสารของผู้รับสารมากที่สุด เพราะสื่อใหม่สามารถสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบรรจุเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารได้อย่างเป็นระบบ มีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการง่าย อันจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในงานเผยแพร่ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารได้มากกว่า อีกทั้งยังใช้คุณสมบัติของระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผสมผสานสื่อต่าง ๆ ที่เรียกว่าสื่อผสมผสาน

ในประเทศไทยนั้นการเข้าถึงสื่อใหม่ของสังคมเมืองกับสังคมชนบทยังแตกต่างกันมาก ซึ่งนั่นคือสิ่งที่สื่อเก่ามีความได้เปรียบกว่าสื่อใหม่ ด้วยความที่สื่อเก่าเป็นสื่อที่มีมาก่อนและเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้คนมานาน  “ความผูกพัน” ของผู้คนกับสื่อเก่ายังคงมีอยู่ อาจกล่าวได้ว่าสื่อเก่านั้นยังคง “เข้าถึง” กลุ่มคนในสังคมชนบทได้ง่ายกว่าสื่อใหม่ ด้วยบริบทที่ว่าผู้คนที่จะเข้าถึงสื่อใหม่นั้นจำเป็นต้องเรียนรู้กระบวนการต่างๆในการใช้สื่อใหม่มาก รวมถึงเรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” ที่ต้องจ่ายให้กับ เทคโนโลยีสื่อใหม่ก็สูงกว่าสื่อเก่าอีกด้วย

จริยธรรมของผู้สร้าง “เนื้อหา” ในสื่อใหม่ที่ “น้อยกว่า” และตรวจสอบ “ความถูกต้อง” ได้ยากกว่าในสื่อเก่า

ในปัจจุบันนั้นสื่อใหม่  โดยเฉพาะสื่อออนไลน์อย่างอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันของผู้คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทางด้านการรับรู้ข่าวสาร ข้อมูล ความบันเทิงเพลิดเพลินต่างๆ สำหรับตัวนิสิตเองนั้นต้องการเสนอมุมมองของสื่อออนไลน์ในด้านของจริยธรรมการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลของผู้ที่จัดทำสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน เนื่องจากตัวนิสิตเองนั้นมีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดกับสื่อออนไลน์มาเป็นระยะเวลาหลายปีจากการเป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ต่างๆ นิสิตมองว่าในปัจจุบันการจดทะเบียนเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ในไทยมีความง่ายและรวดเร็ว ทำให้เว็บไซต์ต่างๆเกิดขึ้นมามากมายและการตลาดจากเว็บไซต์หรือ E-commerce เองก็เติบโตขึ้นมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

ผู้คนพึ่งพาสื่อออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะการจับจ่ายใช้สอยของใช้ เสื้อผ้า หรือแม้กระทั่ง “ยา” ในที่นี้นิสิตต้องการหยิบยกถึงยาประเภท ยาลดความอ้วนและอาหารเสริม โดยอ้างอิงถึงข่าวดังเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่แล้ว ที่มีเด็กสาวคนหนึ่งต้องเสียชีวิตจากการรับประทานยาลดความอ้วนที่สั่งจากทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งตัวนิสิตเองเป็นผู้หนึ่งที่เคยได้เห็นข่าวสารข้อมูลของตัวยาชนิดที่เด็กผู้หญิงรายนี้รับประทานมามากหลากหลายเว็บไซต์ ว่ายาตัวนี้นั้นมีสรรพคุณดีอย่างไร ลดได้เร็วแค่ไหน และบางเว็บไซต์ยังมีสลาก อ.ย. รวมไปถึงเอกสารการรับรองว่ายามีคุณภาพและไม่อันตราย และได้เห็นยอดของการสั่งซื้อที่มากมายมหาศาล แต่หลังจากเกิดกรณีการเสียชีวิต เว็บไซต์ใหญ่ๆที่ขายส่งยาก็ปิดหายไป บางเว็บไซต์ก็ทำการตั้งรหัสผ่านและแจกเฉพาะลูกค้ารายใหญ่เท่านั้น

ซึ่งจากกรณีนี้จะเห็นได้ชัดว่า ผู้คนที่มีโอกาสได้ “สร้าง” สื่อออนไลน์ขึ้นมาในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งไร้ซึ่งมนุษยธรรมและจรรยาบรรณไปเสียแล้ว หวังแต่เพียงผลประโยชน์และรายได้ของตนโดยไม่คำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของผู้อื่น โดยไม่เพียงแต่นำเสนอสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้แต่ยังนำเสนอสิ่งที่เป็นเท็จเพื่อหลอกผู้คนโดยอาศัยช่องทางการเปิดรับสื่อออนไลน์ของผู้คนที่มีมากขึ้น  การตรวจสอบที่ยากและใช้เวลานานทำให้คนทำสื่อประเภทนี้มีมากมายในปัจจุบัน  ไม่เพียงแต่เว็บไซต์ประเภท E-commerce เท่านั้น เว็บไซต์ประเภท ข่าวหรือการบันเทิงต่างๆ บางเว็บไซต์ในปัจจุบัน ก็ขาดจริยธรรมการนำเสนอข่าวที่ดี  ไม่ว่าจะการนำข่าวมาเสนอผิดๆ ขาดแหล่งที่มา หรือบางครั้งก็ก็อปนำเอาจากแหล่งข่าวอื่นมาโดยไม่ใส่เครดิตและเกิดความผิดเพี้ยนไปของเนื้อหา

นอกจากนั้นการเปิดให้แสดงความคิดเห็นต่างๆก็มีอิทธิพลต่อผู้ที่เข้ามาอ่านข่าวนั้นๆ ซึ่ง ผู้สร้างควรที่จะต้องทำการตรวจสอบและคอยระแวดระวังจัดการกับความคิดเห็นต่างๆที่จะส่งผลเสีย แต่ความเป็นจริง เว็บไซต์ของไทยแม้แต่เว็บที่จำนวนผู้เข้าชมติดอันดับต้นๆของประเทศก็ยังปล่อยปละละเลยการให้ความสำคัญของกระดานแสดงความคิดเห็นนี้ไป ซึ่งในมุมมองของนิสิตที่หยิบยกนำเอามาว่าเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งนั้นเพราะนิสิตศึกษาจากตนเองว่าบางครั้ง “ความคิดเห็น”ที่ปรากฏอยู่ในหน้าของข่าวนั้นมีอิทธิพลต่อเราจริงๆถึงแม้จะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจริงเท็จแค่ไหนก็ตาม ถึงแม้ว่าการรับรู้ข่าวสารต่างๆทางสื่อออนไลน์และการซึมทราบนำเอาไปใช้จะขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ข่าวสารนั้นๆ แต่สำหรับนิสิตแล้ว ผู้สร้าง คือผู้ที่มีความสำคัญและสามารถจัดการการนำเสนอ ควบคุม ดูแล สามารถคัดสรรสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง เผยแพร่ให้กับผู้คนที่ใช้สื่อออนไลน์ได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสื่อออนไลน์ในมุมมองของนิสิตในปัจจุบันนั้น ผู้สร้างสื่อออนไลน์ จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องของจรรยาบรรณการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อสังคมสื่อออนไลน์ ผู้ใช้ และผลสืบเนื่องต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นข้อเสียของสื่อใหม่ที่จริยธรรมของผู้สร้าง “เนื้อหา” ในสื่อใหม่นั้นน้อยกว่าและตรวจสอบ ความถูกต้องได้ยากกว่าในสื่อเก่า

สิ่งที่สื่อใหม่ “มีดี” กว่าสื่อเก่า

มิติ ข้อจำกัดเชิงเวลาที่หายไป

ข้อจำกัดเชิงเวลาที่หายไปของสื่อใหม่ที่ทำให้ผู้คนไม่ต้องยึดติดกับข้อจำกัดทางเวลา ทุกคนสามารถย้อนไปดูข่าวหรือคลิปข่าวย้อนหลังได้หลายปี โดยสามารถเลือกวันและช่วงเวลาได้อย่างสะดวกผ่านทางเว็บไซต์ ทำให้การเกิดขึ้นของเว็บไซต์ข่าวโดยเฉพาะเว็บไซต์ข่าวที่เกิดจากตัวองค์กรสิ่งพิมพ์สร้างขึ้นเองก็มีเกิดขึ้นสูงมาก ก่อให้เกิด “ฐานข้อมูล” ของข่าวสารขนาดใหญ่ ทำให้มีการเกิดขึ้นของโปรแกรมที่ช่วยรวบรวมข้อมูลข่าวแบบ Update real-time อย่าง Newscenter

( คือบริการข้อมูลข่าวสารแบบทันเหตุการณ์ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีเนื้อหาที่หลากหลาย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ อาทิ หนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ฉบับต่างๆ นิตยสารรายเดือน สำนักข่าวทั้งในและต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนข่าวประชาสัมพันธ์จากองค์กรต่างๆ เป็นต้น

นิวส์เซ็นเตอร์มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถสืบค้นข้อมูลในลักษณะข้อความเต็ม(Full-text search) ผู้ใช้สามารถกำหนดคำค้นเป็นภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษ รวมทั้งสามารถกำหนดวันและเวลาย้อนหลังได้อีกด้วย โดยนิวส์เซ็นเตอร์สามารถให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำในเวลาอันรวดเร็วและตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการ) – //www.iqnewscenter.com/login.aspx

ที่ช่วยให้ผู้คนหรือนักข่าวเองสามารถรับข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบเป็นหมวดหมู่สามารถหาข่าวย้อนหลังได้หลายปี ด้วยการอาศัย keyword ในการค้นหา

รวมถึงสื่อใหม่ช่วยให้เรารับข่าวแบบ Real-time ได้ ด้วยการเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ถ่ายสดส่งตรง ไม่ว่าจะทางโทรทัศน์ เว็บไซต์ หรือแม้แต่การ Tweet บน Twitter

การผลิตซ้ำที่ช่วยลดต้นทุน-เพิ่มกำไร ทางธุรกิจโดยใช้สื่อใหม่

          “เนื้อหา” เพียงชุดเดียว สามารถถูกนำไปผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆได้มากในสื่อใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การนำ “เนื้อหาข่าว” ไปทลงเป็นข่าวใน Website เช่น “เมื่อไทยรัฐนำข่าวข่าวหนึ่งไปลงในหนังสือพิมพ์แล้ว เว็บมาสเตอร์ของเว็บไทยรัฐออนไลน์ก็จะนำข่าวนั้นไปลงในเว็บไซต์อีกทางหนึ่ง โดยที่ทั้งหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ของไทยรัฐก็ต่างได้ผลประโยชน์จากสปอนเซอร์โฆษณาทั้งสองทาง” นำไปสู่ การรายงานข่าวบน TV , หรือ Clip VDO บน Youtube ด้วยอีก

อาจสรุปได้ว่า

สื่อเก่า : ความถูกต้องแม่นยำสูง ตรวจสอบได้ง่าย / เข้าถึงกลุ่มคนได้หลายระดับมากกว่า / ยังต้องยึดติดกับขีดจำกัดทางเวลา Updateแบบreal-timeเลยไม่ได้เพราะต้องมีกระบวนการทางการผลิต

สื่อใหม่ : ความถูกต้องแม่นยำน้อยกว่า ตรวจสอบได้ยาก / เข้าถึงกลุ่มคนชนชั้นกลางขึ้นไป แต่เข้าถึงได้ทั่วโลก / ทำลายขีดจำกัดด้านเวลา สด ใหม่ รวดเร็ว

สื่อเก่า หรือ สื่อดั้งเดิม มีอะไรบ้าง

การใช้สื่อดั้งเดิมที่กล่าวถึง ก็ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์/นิตยสาร ป้ายโฆษณาทั้งขนาดใหญ่ (Billboard) และขนาดเล็ก (Cutout ) รวมถึงป้ายผีทั้งหลายที่ติดกับตามข้างทาง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสื่อประเภท Mass Media คือ เข้าถึงผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย จำนวนมาก ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้น หากต้องการสื่อสารกับคน ...

สื่อใหม่ (New Media) มีอะไรบ้าง

สื่อใหม่ (New media) หมายถึง ระบบการสื่อสารหรือเชื่อมต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของ เครือข่ายระดับโลก ได้แก่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) บริการระดับเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web: WWW) บริการข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์ (Commercial on-line Service) เป็นต้น (สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ, 2545)

ข้อใดคือสื่อแบบดั้งเดิม

สื่อดั้งเดิมคือสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ มีรูปแบบการให้ข่าวแบบกระจายข่าว เมื่อมาถึงยุคออนไลน์ การรับรู้ข่าวสารเปลี่ยนไปมาก มีการสร้างเครือข่ายสังคม การเชื่อมโยงระหว่างกันจนเป็นกลุ่ม เปลี่ยนวิธีการรับข่าวสารมาเป็นวิธีการบอกซึ่งกันและกัน สนทนากัน และพูดคุยรับข่าวสารแบบด่วนทันใจ ในยุคเครือข่ายสังคมจึงเป็นวิธีการรับ ...

สื่อ Media มีกี่ประเภท

โดยปกติทั่วไปมีการแบ่งประเภทของสื่อกันไว้หลายประเภทและหลายหลักเกณฑ์ (criteria) ได้สรุป ไว้ดังนี้ 1. แบ่งตามวิวัฒนาการ ได้แก่ สื่อประเพณี (traditional media) สื่อมวลชน (mass media) สื่อเฉพาะ กิจ (specializedmedia) 2. แบ่งตามบทบาทหน้าที่ทางสังคม ได้แก่ สื่อข่าวสาร (information media) สื่อการศึกษา (educationmedia) สื่อ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ