อุปกรณ์เก็บข้อมูล (Storage Device)มีอะไรบ้าง

          ปัจจุบันในยุคที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ล้วนแล้วจะต้องมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ลงในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำได้โดยผ่านทางอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าชนิดต่าง ๆ เมื่อนำข้อมูลไปประมวลผลแล้ว ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก คือ แรม (RAM) แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลที่อยู่ภายในแรมก็จะถูกลบทิ้งไป ทำให้ไม่สามารถเรียกข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้อีก ดังนั้น เมื่อข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว และถูกนำไปไว้ในหน่วยความจำหลัก ถ้าเราต้องการที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อีกในอนาคต จะต้องทำการย้ายข้อมูลหน่วยความจำหลักไปเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device) โดยจะมีสื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำรองหลายชนิด ได้แก่ ฟลอปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี หน่วยความจำชนิดแฟลช เป็นต้น

          เนื่องจากสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองมีหลายชนิด จึงมีการสร้างเว็บบล็อกขึ้นมา เพื่อนำความรู้มาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน และใช้เป็นเครื่องมือแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรอง รวมทั้งบอกถึงประวัติความเป็นมาของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ประเภทของอุปกรณ์แต่ละชนิด การใช้งานและเก็บรักษา ในการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บบล็อกนั้นจะสามารถใส่รายละเอียดข้อมูลที่เราสนใจเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้และให้ผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันสามารถนำไปเป็นแหล่งความรู้ได้

          ในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1970 (ตรงกับ พ.ศ. 2513 ถึง 2522) นักวิจัยของบริษัทฟิลิปส์ ได้ใช้เทคโนโลยีของแผ่นเลเซอร์ดิสค์ มาทดลองสร้างแผ่นออฟติคอลสำหรับเก็บเสียงแต่เพียงอย่างเดียว โดยเริ่มแรกใช้วิธีการเข้ารหัสเสียงแบบ wideband FM และแบบ PCM ในระบบดิจิทัลในเวลาต่อมา ช่วงปลายทศวรรษ ฟิลิปส์ โซนี่ และบริษัทอื่น ๆ แสดงต้นแบบของแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอล

          ในปี พ.ศ. 2522 ฟิลิปส์ และ โซนี่ ตัดสินใจร่วมมือกัน จัดตั้งทีมวิศวกรร่วมซึ่งมีภารกิจออกแบบแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอลแบบใหม่ สมาชิกที่สำคัญของทีมคือ Kees Immink และ Toshitada Doi หลังจากทดลองและถกเถียงกันหนึ่งปี ทีมงานได้ออกมาตรฐานเรดบุ๊ค ซึ่งเป็นมาตรฐานของคอมแพ็กดิสก์ ฝ่ายฟิลิปส์สนับสนุนในเรื่องกระบวนการผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตเลเซอร์ดิสค์ ฟิลิปส์ยังสนับสนุนวิธีการมอดูเลตแบบ EFM ซึ่งสามารถบันทึกเสียงได้มาก และทนต่อรอยขูดขีด หรือรอยนิ้วมือ ขณะที่โซนี่สนับสนุนวิธีรหัสแก้ข้อผิดพลาด (error correction) CIRC ในเอกสาร Compact Disc Story ที่บอกเล่าโดยสมาชิกหนึ่งของทีม ให้ข้อมูลถึงที่มาของการตัดสินใจทางเทคนิคจำนวนมาก รวมถึงการเลือกของความถี่การสุ่ม ระยะเวลาในการเล่น และเส้นผ่าศูนย์กลางแผ่นดิสค์ ฟิลิปส์ได้บรรยายไว้ว่า คอมแพ็กดิสก์”ถูกประดิษฐ์ร่วมกันโดยกลุ่มคนมากมายทำงานร่วมกันเป็นทีม”(“invented collectively by a large group of people working as a team.”)

          คอมแพ็กดิสก์ออกวางตลาดในปลายปี พ.ศ. 2525 ในเอเซีย และต้นปีถัดมาในที่อื่น ๆ เหตุการณ์นี้มักถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติเสียงดิจิตอล แผ่นดิสค์เสียงแบบใหม่นี้ได้รับการยอมรับและคำชื่นชมในคุณภาพเสียง จากเดิมที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบันทึกเสียง การใช้คอมแพ็กดิสก์ได้ขยายไปยังด้านอื่น ๆ สองปีต่อมา ใน พ.ศ. 2527 มีการออก แผ่นซีดีรอม (หน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว) ด้วยแผ่นแบบนี้เราสามารถเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ แผ่นซีดีที่ผู้ใช้สามารถเขียนเองได้ หรือ แผ่นซีดีอาร์ (CD-R) ก็ได้ปรากฏสู่สายตาต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2533 และกลายเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์และเพลงในปัจจุบัน ซีดีแบบต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมาก โดยภายในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียวมีการจำหน่ายแผ่นซีดีเพลง ซีดีรอม ซีดีอาร์ ทั่วโลกกว่าสามหมื่นล้านแผ่น

          เป็นอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์  คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ  และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์  มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็กพกพาได้สะดวก  ความจุข้อมูลของหน่วยความจำแบบแฟลชมีให้เลือกหลายขนาด  ซึ่งขนาดความจุมากจะมีราคาแพงขึ้นตามลำดับการใช้งานต้องนำส่วนยูเอสบีของหน่วยความจำแบบแฟลชเสียบที่ช่องพอร์ตยูเอสบีที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นรอจนหน้าคอมพิวเตอร์ปรากฏสัญลักษณ์หน่วยความจำแบบแฟลชที่เชื่อมต่อไว้ แล้วจึงบันทึกข้อมูลลงไป  หน่วยความจำแบบแฟลชมีชื่อเรียกหลายอย่าง  เช่น แฮนดีไดร์ฟ (Handy Drive)  ยูเอสบีไดร์ฟ (USB Drive)  ทัมบ์ไดร์ฟ (Thumb drive) เป็นต้น

JBot by Jutiphan. เทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ 2560.
แหล่งที่มา : //th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีสารสนเทศ. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

Teerayuth Thanakornyingyong. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล(Data Storage Device). ปีที่ 2557.
แหล่งที่มา : //sites.google.com/site/hardwaersahrabsux/xupkrn-cad-keb-khxmul-data-storage-device. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

Chonthicha Aiamkham. Storage. ปีที่ 2556.
แหล่งที่มา : //sites.google.com/site/computer015065/hardware/storage.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

Anuwat Sutthiwong. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบต่างๆ. ปีที่ 2559.
แหล่งที่มา : //sites.google.com/site/anuwatkrab/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1-khxmphiwtexr-phun-than/1-4-xupkrn-banthuk-khxmul-baeb-tang.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

ศิรินุช ใจศีลธรรม. หน่วยเก็บข้อมูล. ปีที่ 2559.
แหล่งที่มา : //sirinuj.net/webdream/TechnoUnit_37.html.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

Phongput Thuenlue. Western Digital (Thailand) company Limited. ปีที่ 2555.
แหล่งที่มา : //august-thank.blogspot.com/p/western-digital-thailand-company.html.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

ทีมงาน TechTalkThai. WD เปิดตัว 8TB SSD, 12TB HDD และรองรับ 18 ล้าน IOPS ในขนาด 2U สำหรับ Data Center และองค์กร. ปีที่ 2559.
แหล่งที่มา : //www.techtalkthai.com/wd-announces-8tb-ssd-and-12tb-hdd-with-upto-18-million-iops-in-2u/. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด. toshiba. ปีที่ 2560.
แหล่งที่มา : //www.toshiba.co.th/product/Storage.html#portableharddrive.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

ศุภนาถ ศิริพงศ. ซีเกท หนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ. ปีที่ 2555.
แหล่งที่มา : //www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/778-img.pdf.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

SanDisk. ความเป็นมาของนวัตกรรมของเรา. ปีที่ 2560.
แหล่งที่มา : //th.sandisk.com/about/company/history.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

คิงสตัน (Kingston). แนะนำการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊กเพื่อการอัพเดต. ปีที่ 2554.
แหล่งที่มา : //www.kingston.com/th.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

Laem. แนะนำการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊กเพื่อการอัพเดต. ปีที่ 2554.
แหล่งที่มา : //notebookspec.com/แนะนำการเลือกซื้อฮาร์ด/58360/.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

clubnotebook. 5 ขั้นตอนการพิจารณาก่อนเลือกซื้อแฟลชไดรฟ์ไว้คู่กาย. ปีที่ 2556.
แหล่งที่มา : //notebookspec.com/5-ขั้นตอนการพิจารณาก่อนเ/177902/.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560.

          เพราะปัจจุบันนี้แฟลชไดร์ฟเปรียบเหมือนกับออกซิเจนเป็นปัจจัยสำคัญของการเก็บงาน และข้อมูลต่างๆ นอกจากขนาดที่เล็กแต่สามารถเก็บงานได้เยอะแล้ว ยังสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังง่ายต่อการถ่ายโอนข้อมูลอีกด้วย ดังนั้นเมื่ออยากใช้งานแฟลชไดร์ฟให้นานๆ เราจึงควรรู้จักวิธีดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

1. หลีกเลี่ยงจากน้ำและความชื้น อย่างที่รู้กันอยู่แล้ว ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิดนั้น จะไม่สามารถทำงานได้ เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ หรือความชื้น แฟลชไดร์ฟเองก็เช่นกัน ดังนั้นการดูแลรักษาที่ดี จึงไม่ควรให้แฟลชไดร์ฟโดนน้ำหรือเก็บให้ห่างจากความชื้นนั่นเอง เพื่อป้องกันการนำไปใช้งานแล้วเกิดไฟฟ้ารัดวงจร
2. ไม่เป็นคนขี้ลืม และหายเป็นประจำ
การดูแลรักษาแบบง่ายๆที่คุณก็สามารถทำได้คือ ไม่เป็นคนขี้ลืม เพราะหากคุณเป็นคนขี้ลืม มักจะชอบทำหายเป็นประจำ คุณอาจจะทิ้งแฟลชไดร์ฟไว้ที่ไหนก็ได้ และทำให้หายได้ จนต้องเสียเวลาออกตามหา หรืออาจจะเสียเงินซื้อใหม่ก็เป็นได้ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ข้อมูลภายใน ที่อาจจะสูญหายไปด้วยนะคะ
3. ไม่วางไว้ใกล้ความร้อน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์นั้น หากเก็บไว้ใกล้กับบริเวณที่มีความร้อนสูง จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานต่างๆลดลง แฟลชไดร์ฟเองก็เช่นกัน หากเก็บไว้ในบริเวณที่มีความร้อนจะทำให้ยุการทำงานเสื่อมลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรเก็บให้ห่างจากวัตถุที่มีความร้อน เพราะอาจจะทำให้เสื่อมสภาพ และเสียได้ง่ายๆ
4. ก่อนถอดออกจากคอมพิวเตอร์ ควรทำการปิดไฟล์ก่อน  การดูแลรักษาแฟลชไดร์ฟง่ายๆ ที่หลายๆคนมักมองข้ามคือเมื่อจะถอดออกจากคอมพิวเตอร์ ควรจะมีการปิดไฟล์ต่างๆจากแฟลชไดร์ฟก่อน เพราะหากถอดออกมาทันที นอกจากจะทำให้ไฟล์งานเสียหายแล้ว อุปกรณ์เก็บไฟล์งานก็จะเสียได้เช่นกัน เพราะอาจจะเกิดการกระชากไฟฟ้า และทำให้ข้อมูลเสียหาย
4. สแกนไวรัสอยู่บ่อยๆ การสแกนไวรัสอยู่บ่อยๆ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแลรักษาแฟลชไดร์ฟไว้ เพราะเป็นการป้องกัน และกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่มีอยู่ ให้หายไป และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ควรป้องกันด้วยการลงโปรแกรมแสกนไวรัส เพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

  1. ทำความสะอาดแผ่นให้ถูกวิธี: เมื่อต้องทำความสะอาดแผ่นจากรอยเปื้อน ควรใช้ผ้านุ่มสะอาด ผ้าเช็ดแว่นตาจะดีที่สุด เช็ดแผ่นเบาๆ โดยเช็ดจากด้านในกลางแผ่นออกด้านนอก ในแนวรัศมีของแผ่น ไม่ควรเช็คในลักษณะทิศทางเส้นรอบวงและไม่ควรใช้สารละลายใดก็ตาม ในการทำความสะอาดแผ่น ซึ่งอาจทำให้แผ่นเสียหายได้
  2. เก็บแผ่นใส่กล่องทุกครั้ง: ควรเก็บแผ่นไว้ในกล่องหรือใส่ซองทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อป้องกันฝุ่นและหลีกลี่ยงการวางสิ่งของอื่นทับแผ่นโดยตรง

หยิบจับให้ถูก : ให้เลือกจับบริเวณขอบแผ่นหรือใช้นิ้วที่ถนัดสอดรูตรงกลางแผ่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยนิ้วมือ โดยไม่ได้ตั้งใจ

เลี่ยงการสัมผัสผิวแผ่น : ไม่ควรสัมผัสผิวของแผ่นทั้ง 2 ด้าน ดังนี้

ด้านบันทึกข้อมูล หรือ ด้านสะท้อนแสง : ไม่ควรทำให้เกิดรอยใดๆ ทั้งสิน เนื่องจากรอยที่เกิดขึ้นอาจมีผลทำให้แผ่นบริเวณนั้นไม่สามารถอ่านได้หรือเกิดการสะดุดระหว่างการอ่าน

ด้านลวดลาย หรือ สกรีนแผ่น (Label) : หลายคนมองข้าม คิดว่าด้านบันทึกข้อมูลของแผ่นสำคัญกว่าด้านสกรีนแผ่น แต่ความจริงแล้วด้านสกรีนแผ่น ก็สำคัญไม่แพ้กันเนื่องจากด้านนี้เป็นด้านที่ข้อมูลได้ถูกบันทึกอยู่ใกล้บริเวณนี้ที่สุด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุของแข็ง ขูดขีด บริเวณนี้เลย

งดแผ่นเทปกาว : ไม่ควรนำแผ่นเทปกาว หรือวัสดุใดก็ตามแปะบนพื้นผิวแผ่น เนื่องจากจะทำให้แผ่นเสียความสมดุล ในขณะที่เครื่องอ่านแผ่น ทำให้แผ่นอ่านได้ลำบากแม้จะเพียงเล็กน้อย และเทปกาวมีผลทำให้เกิดรอยหรือหลุดร่อนตามเทปกาว

ดูแลรักษาแผ่น DVD ให้ดี : เมื่อเกิดรอยจะทำให้การเขียนไรท์แผ่นผิดพลาด ส่วนแผ่นที่ไรท์เสร็จแล้วควรเก็บไว้ในกล่อง ซองพลาสติก หรือกระเป๋าใส่แผ่น จะช่วยยืดอายุแผ่นซีดีได้นานขึ้น

ปากกาที่ใช้ในการเขียนหน้าแผ่น : ควรใช้ปากกาสำหรับเขียนแผ่นซีดีโดยเฉพาะ ห้ามใช้ปากกาลูกลื่นหรือปากกามีคม เด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้แผ่นเสียหาย

เก็บรักษาในอุณหภูมิที่พอเหมาะ : ควรเก็บแผ่นไว้ในสถานที่และอุณหภูมิที่เหมาะสม ควรอยู่ระหว่าง -5 ถึง 55 C หรือประมาณ 23 ถึง 131 F ไม่ควรเก็บใกล้ความชื้นและไม่ควรให้แผ่นสัมผัสความร้อนจากแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน

  1. เก็บแผ่นในกล่องหรือซองเพื่อป้องกันความสกปรกจากฝุ่นละออง รอยนิ้วมือ น้ำ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้อาจเกิดความผิดพลาดในการอ่านข้อมูลได้
  2. ถ้ามีความสกปรกบนแผ่น ให้ใช้น้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดสำหรับการใช้แผ่นซีดีโดยเฉพาะ ห้ามใช้น้ำยาล้างกระจกหรือสารละลายต่างๆ เป็นอันขาด แล้วใช้ผ้านุ่ม สะอาดๆ เช็ดจากส่วนกลางออกไปยังขอบแผ่น และไม่ควรเช็ดในลักษณะวงกลม
  3. ถ้าต้องการเขียนข้อความบนแผ่นให้ใช้ปากกาปลายสักหลาดเขียนได้ แต่ห้ามใช้ปากกาลูกลื่น เพราะจะทำให้เกิดรอยบนแผ่นได้
  4. ไม่ติดสติกเกอร์บนแผ่นซีดีถึงแม้จะเป็นด้านที่มีชื่อแผ่นก็ตาม

          แผ่นดิสก์มีความละเอียดมาก จึงควรมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ เพราะ ถ้าแผ่นดิสก์ชำรุด หรือมีความสกปรก จะส่งผลกระทบต่อข้อมูล ที่บันทึกไว้หรือกำลังจะบันทึกไหม และที่สำคัญคือ จะสร้างความเสียหายให้แก่หัวอ่านดิสก์ด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จึงควรระมัดระวังดูแลเอาใจใส่ โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ระมัดระวังอย่าให้มือไปถูกบริเวณที่เป็นแม่เหล็กของแผ่นดิสก์ เพราะไขมันบริเวณผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่บันทึกข้อมูล
2. อย่าใช้แรงกดปากกาเกินไป ขณะเขียนที่แผ่นป้ายชื่อของแผ่นดิสก์
3. อย่าให้แผ่นดิสก์อยู่ใกล้ บริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กมากๆ เช่นเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบน MONITO หรือเครื่องโทรศัพท์แบบหมุน
4.อย่าบิดหรืองอแผ่นดิสก์เล่นเป็นอันขาด
5. อย่าให้แผ่นดิสก์มีรอยขูดขีด หรือถูกของเหลวเช่นน้ำ ดังนั้นเมื่อใช้แผ่นดิสก์เสร็จแล้วพยายาม เก็บไว้ในซองบรรจุให้เรียบร้อย
6.ควรเก็บแผ่นดิสก์ไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าทิ้งไว้หน้ารถให้ตากแดดนานๆ

โดยปกติพื้นในฮาร์ดดิสก์ของเราถูกใช้ในการจัดเก็บไฟล์ไว้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Windows) ไฟล์โปรแกรมทำงาน (เช่น โปรแกรม MS-Word MS-Exel) ไฟล์เกมส์ ไฟล์งาน (เช่น รูปภาพ ไฟล์เอกสาร Word หรือ Exel) ไฟล์เพลง mp3 ฯลฯ ซึ่งไฟล์เหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฮาร์ดดิสของเรา ยิ่งเราติดตั้งโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเสียพื้นในฮาร์ดดิสก์ไปเรื่อยๆ อันนี้ยังไม่นับไฟล์งาน ไฟล์รูปภาพและไฟล์เพลง ต่างๆ ที่ได้บอกไปแล้ว

ซึ่งสามารถตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสในเครื่องของเราได้ด้วยวิธีการ ดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer

  1. คลิกเมาส์ขวาที่ไดรฟ์ C: หรือ D: (เป็นไดรฟ์ของฮาร์ดดิสที่ใช้เก็บข้อมูล) แล้วคลิก (ซ้าย) ที่เมนู Propreties
    3. สีน้ำเงินคือพื้นที่ที่ถูกใช้ไป ส่วนสีชมพูคือพื้นที่ที่ว่างอยู่ หลัก การมีอยู่ว่า จำเป็นต้องเหลือพื้นที่สีชมพูไว้อย่างน้อย 10 % ของฮาร์ดดิสก์ ไม่งั้นเครื่องจะทำงานช้าลง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลบไฟล์หรือ โปรแกรมออกจากเครื่องไปบ้าง แต่ก่อนที่จะลบข้อมูลดัง กล่าว ขอแนะนำให้ลบ“ ไฟล์ขยะ ”(Temp files) ออกไปก่อน และวิธีการดูแลฮาร์ดดิสก์ ขั้นต้น แนะนำตามวิธีดังต่อไปนี้
  2. การสแกนไวรัส
    – สแกนไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน Flash Drive
    – สแกน Drive ทุกๆ Drive อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง
    – ในการเสียบ Flash Drive ทุกครั้งห้าม Double Click โดยเด็ดขาด   เมื่อสแกนไวรัสแล้ว ให้คลิกขวาเลือก Open หรือ Explore
    2. การลบไฟล์ขยะ (Temp files)
                Temp files เรียกได้ว่าเป็นไฟล์ ขยะที่เกิดจากการเปิดใช้งานมาก ไม่มีประโยชน์ใดๆทุกครั้งที่เปิดวินสโดวส์จะมีการสร้าง Temp files นามสกุล .tmp ขึ้นมาเรื่อยๆซึ่งวินโดวส์ก็ไม่ได้ใช้งานไฟล์ประเภทนี้อีก โดยปกติเมื่อเราใช้ windows ไปนานๆไฟล์ขยะต่างๆ หรือไฟล์ที่ระบบปฏิบัติการโหลดไว้เพื่อใช้งานชั่วคราว ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรจะมีการเคลียร์ Temp files เพื่อลดปริมาณขยะ ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ค่ะ ว่าแล้วก็มาลบไฟล์ขยะกันเลยดีกว่า เราเรียกวิธีการลบไฟล์ขยะนี้ว่า “Disk Cleanup” บางทีการทำ Disk Cleanup อาจทำให้เราได้พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสคืนกลับมา โดยที่ไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานเลยก็ได้ ขั้นตอนการทำ Disk Cleanup มีดังนี้
  3. คลิกที่เมนู Start แล้วไปที่เมนู Program / Accessories / System Tools / คลิกที่เมนู Disk Cleanup
    2. คลิกเลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิกปุ่ม OK
    3. ถึงตรงนี้ให้รอสักครู่ค่ะ ( ใครที่ไม่ได้ทำ Disk Cleanup มาก่อน อาจต้องรอนานหน่อยนะ )
    4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบให้คลิกปุ่ม OK
    5. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยัน
    6. แสดงสถานะการลบไฟล์ขยะให้รอสักครู่จนกว่าหน้าต่างนี้จะหายไป

หลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 6 ขั้นตอนนี้แล้ว ให้ลองกลับไปตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสดูอีกครั้งตามที่ได้แนะนำไว้เมื่อตอนต้นของบทความ เชื่อว่าน่าจะได้พื้นที่ว่างกลับมาอีกพอสมควรพื้นที่ว่างที่ได้กลับมาอาจทำให้บางคนไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานในเครื่อง โดยเฉพาะกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านที่ไม่เคยทำ Disk Cleanup มาก่อน ก็จะได้พื้นที่ว่างกลับมาเยอะจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว

  1. การใช้งาน Scan Disk   สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP
    1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties
    2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now…
    3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start
    4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk
    5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OKหมายเหตุ

หมายเหตุ   ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ  Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น

  1. การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP
    1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties
    2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now…
    3. คลิกที่ Defragment
    4. จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน
    5. เมื่อเครื่อง Defragment เสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบถ้าต้องการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของการ Defragment ให้คลิกที่ View Report ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Close

          หนึ่งในสื่อบันทึกข้อมูลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนั้น นอกจาก External Harddisk ที่มีความจุมากแล้วก็มีแฟลชไดรฟ์ที่หลายๆ คนเลือกใช้เพราะความสะดวกในการพกพาและมีความจุหลากหลายขนาดให้เราเลือกซื้อได้ แต่เวลาจะเลือกซื้อแฟลชไดรฟ์กันสักทีนั้นควรคิดถึงเรื่องใดบ้างนั้น ทางทีมงานมีวิธีการง่ายๆ 5 ขั้นตอนมาฝากกันในบทความนี้ครับ

  1. เลือกความจุที่ต้องการกันก่อนโดยคำนึงถึงว่าเราเน้นเอาไปเก็บไฟล์ประเภทไหน ซึ่งถ้าเป็นไฟล์เอกสารทั่วไปและมีไฟล์รูปภาพอยู่บ้างล่ะก็ แฟลชไดรฟ์ขนาด 8 GB ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้ามีไฟล์หนังหรือไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ล่ะก็ แนะนำให้หาความจุที่ 16 GB ขึ้นไป จะได้ไม่ต้องขนถ่ายไฟล์ทีละหลายๆ รอบให้เสียเวลา
  2. ดูสักนิดว่าพอร์ตเชื่อมต่อเป็นแบบไหนซึ่งในปัจจุบันนี้แฟลชไดรฟ์ยังถูกผลิตออกมาโดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็น USB 2.0 เป็นหลัก และมีมาตรฐาน USB 3.0 อยู่บ้าง แต่ยังไม่แพร่หลายนัก โดยนิยมนำมาใช้ในแฟลชไดรฟ์ที่มีความจุสูงๆ ตั้งแต่ 16 GB ขึ้นไป ซึ่งถามว่าจำเป็นหรือไม่? ก็ขึ้นอยู่กับประเภทไฟล์ที่เราบันทึกเช่นกัน ถ้ามีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากก็แนะนำเป็น USB 3.0 ไปเลย แต่ถ้าเป็นเพียงไฟล์เล็กๆ เช่นไฟล์เอกสารหรือไฟล์ภาพจำนวนไม่มากล่ะก็ USB 2.0 ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว
  3. ขนาดและดีไซน์เป็นอย่างไร? เรื่องนี้นับเป็นความชอบโดยส่วนตัวเฉพาะบุคคลว่าชอบแบบไหน ดีไซน์อย่างไร โดยแฟลชไดรฟ์นั้นจะมีหลากแบบหลายดีไซน์ทีเดียว ซึ่งตอนนี้จะมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
  4. ประกันแฟลชไดรฟ์ยาวนานแค่ไหน? เรื่องของเสียแล้วใครจะรับผิดชอบเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ใครๆ ก็ใส่ใจ เพราะแฟลชไดรฟ์นั้นก็เงินของเราทั้งนั้นและข้อมูลเองก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งถ้าเก็บภาพถ่ายความทรงจำดีๆ เอาไว้ หรือจะเป็นไฟล์เอกสารสำคัญของบริษัทเอาไว้แล้วเกิดเสียหายในช่วงประกันก็ยังพอส่งให้ทางบริษัที่เป็นผู้รับประกันเป็นคนรับผิดชอบได้
  5. ราคาคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปหรือเปล่า? ปัจจัยสุดท้ายนี้เป็นเหมือนตัวกำหนดทุกสิ่งเมื่อจะเลือกซื้อสินค้าจริงๆ ซึ่งถ้าเรามีงบประมาณไม่เกิน 500 บาทก็อาจจะได้แฟลชไดรฟ์ขนาด 16 GB แต่เป็น USB 2.0 มาใช้งาน แต่ถ้าเพิ่มขึ้นเป็น 1,000-2,000 บาทก็จะเพิ่มเป็นแฟลชไดรฟ์ความจุ 32-64 GB และใช้มาตรฐานเชื่อมต่อเป็น USB 3.0 ได้ โดยทางทีมงานแนะนำให้รอช่วงงาน Commart หรือช่วงลดราคาพิเศษของห้างไอทีต่างๆ แล้วค่อยหาซื้อก็จะได้ในราคาที่ถูกลงจากเดิมอีกมาก หรือจะใช้วิชาส่วนตัวพูดคุยกับคนขายก็ได้ไม่ผิดกติกา

สำหรับห้าขั้นตอนที่ทางทีมงานแนะนำนั้นเป็นเหมือนไกด์ไลน์ง่ายๆ สำหรับมือใหม่ที่ต้องการมองหาแฟลชไดรฟ์มาใช้ส่วนตัวสักอันหนึ่ง ซึ่งจะนับแล้วในตอนนี้ แฟลชไดรฟ์เองก็มีความจุและมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ แฟลชไดรฟ์ความจุ 512 GB อาจจะเพิ่มเข้ามาเป็นเพดานความจุมาตรฐานสูงสุดแทน 64 GB ก็ได้ ใครจะไปรู้

  1. ขนาด

ขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่พูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องของความจุครับ แต่เป็นขนาดสัดส่วนของฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปแล้วฮาร์ดดิสก์ที่หาซื้อได้ทั่วๆ ไปจะมีอยู่สองขนาดใหญ่ๆ คือ 3.5 นิ้ว และ 2.5 นิ้ว ที่จริงยังมี 1.8 นิ้ว ด้วย แต่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มักเอาไว้ใช้กับเครื่องที่มีขนาดเล็ก หรือเน้นน้ำหนักให้เบาที่สุด ย้อนกลับมาที่ขนาดที่ว่าไว้กันบ้าง ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว จะใช้กันในเครื่องพีซีตั้งโต๊ะ ส่วนขนาด 2.5 จะใช้ในโน๊ตบุ๊กนั้นเอง ดังนั้น ถ้าจะซื้อก็หาซื้อตัวที่มันเล็กๆ แบนๆ ซึ่งถ้าเรามองราคาเทียบกับความจุแล้วอาจจะคิดว่าราคาเท่ากัน แต่จริงๆ ไม่เท่าเพราะความเร็วของฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว นั้นจะช้ากว่านั้นเองครับ

  1. ความเร็ว

สำหรับความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนทั่วไปนั้นจะอยู่ที่ 5400 RPM สำหรับขนาด 2.5 นิ้ว และ 7200 RPM สำหรับขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนคำว่า RPM ย่อมาจาก Round Per Minute หรือ รอบต่อนาที ยิ่งความเร็วสูงเท่าไร ฮาร์ดดิสก์ก็สามารถหมุนหาข้อมูลได้เร็วเท่านั้น เราสามารถคิดความเร็วของ RPM ออกมาเป็น เฮิรตซ์ (Hz) ได้นะครับ เพราะ Hz หมายถึง 1 ครั้งต่อวินาที 1 RPM จึงเท่ากับ 1/60 Hz นั้นเอง ดังนั้น พูดเป็นภาษาคนก็หมายความว่า ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊กของคุณทำงานที่ความเร็ว 90 Hz เท่านั้น “ช้าโคตร” แต่การมีฮาร์ดดิสก์ที่ทำงานได้เร็วขึ้นก็หมายถึง ราคาที่สูงขึ้น ความจุที่น้อยลง และมันก็กินไฟมากขึ้นด้วย

  1. ความจุ

ความจุของฮาร์ดดิสก์โน็ตบุ๊กทุกวันนี้ ค่อนข้างใหญ่มากแล้วนะครับ บางเครื่องติดตั้งขนาด 640 GB มาให้แล้ว บางเครื่องติดตั้งแบบ 7200 RPM มาให้ด้วย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนมากนัก แต่ถ้าเป็นเครื่องที่เก่าแล้ว หรือเครื่องแบบเน็ตบุ๊ก ที่ได้ฮาร์ดดิกส์มา 250 GB หรือ 320 GB ก็โอเคที่จะซื้อมาเปลี่ยน ความจุที่เห็นว่ามีขายในบ้านเราต้องนี้ก็มี 250 GB, 320 GB, 500 GB, 640 GB และ 1 TB

  1. Solid State Drive

รายท่านคงทราบกันแล้วถึงฮาร์ดดิสก์ โน๊ตบุ๊คแบบใหม่ที่เราเรียกว่า SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงมาก ลักษณะคล้ายๆ Flash Drive ที่เราใช้ๆ กัน มีตัวควบคุมเป็นจุดสำคัญในการสั่งงานการไหลของข้อมูล ยี่ห้อที่มีขายในบ้านเราก็เช่น Intel, Kingtons, Corsair ราคาก็ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของตัวควบคุมด้วยครับ ณ ตอนนี้ 40 GB ของ Intel ก็ประมาณ 3,000 บาทแล้ว เหมาะจะเอาไว้เป็นไดรฟ์หลักที่ลงโปรแกรมโดยเฉพาะ เพื่อให้การโหลดข้อมูลทำได้เร็วมากขึ้น

ข้อจำกัดของการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ในโน็ตบุ๊ค

  1. ฝาด้านล่างของโน๊ตบุ๊ค ถ้าคุณพลิกเครื่องไปดูข้างใต้ จะเห็นว่าบางเครื่องมีการทำช่องใหญ่ๆ ให้เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ได้ง่ายๆ บางเครื่องเปลี่ยนได้แต่แรม บางเครื่องออกแบบไม่ดี ซวยมากๆ เปลี่ยนอะไรไม่ได้เลย นอกจากจะรื้อเครื่องออกมาทั้งหมด เรื่องของเครื่องก็ต้องไปดูกันเอาเองนะครับ ว่าเครื่องไหนทำได้แค่ไหน
  2. ความเร็วหรือความจุ ฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คต้องเข้าใจอยู่อย่างว่า มันต้องทำให้ประหยัดพลังงานด้วยในระดับหนึ่ง ดังนั้น ถ้าคุณอยากจะได้ฮาร์ดดิกส์ที่มีความเร็วสูงๆ ก็จะเหลือตัวเลือกให้ไม่มาก รวมทั้งขนาดสูงสุดก็อยู่ประมาณ 500 GB เท่านั้น จะให้ยอดเยี่ยมแบบฮาร์ดดิสก์พีซีที่ตัวใหญ่กว่าก็คงจะไม่ไหว ที่เห็นมีผูกขาดในบ้านเราก็ Western Digital รุ่น Scorpio Black ที่หาซื้อค่อนข้างง่าย ส่วนของเจ้าอื่นก็พอมีครับ แต่จะหายากหน่อย
  3. พอร์ต ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ โน็ตบุ๊กจะเป็นพอร์ต SATA หมดแล้ว ถ้าเครื่องคุณเก่าจริงๆ จนเป็น IDE อาจจะหาของมาเปลี่ยนยาก ต้องเดินตามร้านขายคอมดูครับ

ทั้งหมดก็เป็นข้อแนะนำง่ายๆ เบื้องต้นสำหรับคนที่คิดจะซื้อฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนนะครับ จริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ส่วนใหญ่ก็จะเปลี่ยนให้ใหญ่ขึ้นหรือเร็วขึ้น บางคนก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็น SSD เลย สำหรับฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช่ประโยชน์นะครับ เพราะเราสามารถซื้อกล่องมาต่อได้ กลายเป็นฮาร์ดดิสก์พกพาได้อีกตัว ราคามีตั้งแต่ 400 กว่าบาทจนเกือบพัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของกล่องตัวนั้นๆ ครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ