กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์มีอะไรบ้าง

2 คำถามนี้ มักจะได้รับคำตอบที่ว่า…..(เสียงแอร์)….. หรือก็คือไม่มีใครตอบกลับมาซึ่งมันไม่แปลกครับที่เราจะไม่มั่นใจว่าเราเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดในสมัยที่เรายังเป็นเด็ก แต่เมื่อเราโตขึ้นสิ่งแวดล้อมและระบบการศึกษาไม่ได้กระตุ้นให้เราใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสภาพแวดล้อมก็ไม่เอื้ออำนวยเช่นกัน

“Like a muscle, your creative abilities will grow and strengthen with practice.”
-Tom Kelley

ข่าวดีของเราก็คือ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็นเหมือนกล้ามเนื้อครับ มันเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได ้และวันนี้ผมจะขอมาเล่า เรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์กับทักษะในศตวรรษที่ 21" ได้อ่านกันครับ

ความคิดสร้างสรรค์ คืออะไร

“Creativity is the ideation of a thought, while innovation is the realization of the idea.” -Robin Fogarty

หากให้อธิบายง่าย ๆ ความคิดสร้างสรรค์ คือ ทักษะที่เราสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่มีมาประยุกต์และสร้างเป็นไอเดียจำนวนมาก ที่ทั้งใหม่และสามารถแก้โจทย์/ปัญหาได้จริง

Information Versus Knowledge remix by Ron Letkeman (Inspired by Hugh MacLeod)

ซึ่งแปลว่าหากเราไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เราคงไม่สามารถที่จะนำทักษะและความรู้ต่าง ๆ ที่เรามีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน หากเกิดปัญหาที่ซับซ้อนหรือเป็นปัญหาใหม่ที่เราไม่เคยเผชิญหน้า เราก็อาจจะไม่สามารถคิดไอเดียเพื่อผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ และสุดท้ายโลกใบนี้จะแต่สิ่งอะไรเดิม ๆ คงน่าเบื่อมากเลยนะครับ

“Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited, whereas imagination embraces the entire world, stimulating progress, giving birth to evolution.” -Albert Einstein

ทำความรู้จัก “ความคิดสร้างสรรค์” ให้มากขึ้น

จากความหมายของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ที่อธิบายไปด้านบน ทุกคนอาจจะยังไม่เห็นภาพนะครับ ว่ามันเป็นอย่างไร มันจะออกมาในรูปแบบไหน และเราจะพัฒนามันได้อย่างไร วันนี้ผมขอชวนทุกคนทำความรู้จักและสนิทสนมกับ “ทักษะความคิดสร้างสรรค์” ผ่านมุมมองจากทฤษฎี 4Ps of Creativity กันครับ

ึ่4P’s Model of Creativity (Rhodes, 1961), Picture by Sparclt

จากทฤษฎี 4Ps of Creativity ได้อธิบายความสร้างสรรค์โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านได้แก่ Person, Press, Process, และ Product

PERSON หรือ “คน” ในที่นี้ก็คือตัวเรานี่แหละ ที่เป็นคนคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งในบริบทของ 4Ps of Creativity จะอธิบายถึงลักษณะนิสัยของเราที่จำเป็นและเกื้อหนุนต่อความคิดสร้างสรรค์ และในวันนี้ผมขอสรุปออกมาเป็น 3 ลักษณะนิสัยที่สำคัญดังนี้

  1. “อยากรู้อยากเห็นหรือชอบเรียนรู้สิ่งใหม่” เพราะจากที่อธิบายแต่แรก ไอเดียที่สร้างสรรค์เกิดจาก “ความรู้” และ “ประสบการณ์” นำมาประยุกต์และสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานหรือไอเดียใหม่ ซึ่งแปลว่ายิ่งเราเรียนรู้หรือสร้างประสบการณ์มากและหลากหลาย เราจะสามารถคิดไอเดียที่เจ๋งและโดดเด่นได้เช่นกัน
  2. “ไม่ยึดติดและปรับตัว” ลักษณะนิสัยนี้จะช่วยให้เราตื่นตัวพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และคิดไอเดียอะไรใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสิ่งรอบข้างอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถเริ่มต้นฝึกฝนได้ง่ายมาก คือการถามตนเองว่า “ที่เป็นอยู่นี้ดีแล้วหรอ และสามารถทำให้ดีขึ้นได้ไหม ?” ซึ่งความหมายของลักษณะนิสัยนี้ ยังหมายถึงการไม่ติดอยู่กับกรอบหรือระเบียบแบบแผน และสามารถอยู่กับความไม่แน่ไม่นอนได้
  3. “ความกล้าและความมั่นใจ” หมายถึง ความกล้าที่จะคิด กล้าที่จะลอง และถ่ายทอดไอเดียของตัวเองออกมาโดยที่ไม่กลัวจะถูกผู้อื่นตัดสิน ซึ่งความกล้านี้จะช่วยให้เราสามารถฝึกฝนและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดี และสำหรับความมั่นใจนั้นคือความมั่นใจในไอเดียของตนเองจนพัฒนามันออกมาสุดยอดผลงาน แต่ในทางกลับกันอย่าลืมรับฟัง Feedback จากคนอื่น ๆ เพื่อที่จะนำไปปรับเพื่อให้ผลงานเราดียิ่งขึ้น

“Creativity is allowing yourself to make mistakes. Art is knowing which ones to keep” -Scott Adams

PRESS หรือ “สภาพแวดล้อม” ที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ นี้มีลักษณะอย่างไร ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ สำหรับนักเรียน ผมขอยกตัวอย่าง “ห้องเรียนที่มีครูจอมเหี๊ยบ” หรือถ้าผู้ใหญ่คงจะเป็น “ห้องประชุมที่มีหัวหน้าจอมโหด” คุณคิดว่าบรรยากาศภายในห้องมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง (นึกภาพตามนะครับ) ห้องนี้มักจะเย็นเป็นพิเศษ และเสียงแอร์จะค่อนข้างดัง (ไม่มีใครพูด) อึดอัดไหมครับ

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ สนามเด็กเล่น สวนสนุก สวนสาธารณะ หรือ ห้องส่วนตัวของเรา ที่เรารู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกเป็นตัวของตัวเอง และสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็แปลว่าเราก็สามารถพรั่งพรูไอเดียของตัวเองได้อย่างมากมาย

PROCESS หรือ “กระบวนการ” คิดสร้างสรรค์ ในปัจจุบันได้มีเครื่องมือให้สามารถได้เลือกใช้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น Lateral Thinking, Divergent Thinking, และ Creative Problem Solving เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ สถาบัน P21 หรือ The Partnership for 21st Century Learning ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สรุปหัวใจของกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่

  1. “ไอเดียจำนวนมาก” หรือการคิดไอเดียจำนวนมากในช่วงการระดมสมองอย่างคล่องตัว ทุกๆคนผลัดกันคิดผลัดกันพูดไอเดียของตนเองอย่างไม่ขาดตอน
  2. “ไม่ติดกรอบ” น่าจะเป็นคำที่ทุกคนได้ยินกันบ่อย ซึ่งกรอบในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องหลุดออกนอกโลก นอกจักรวาล หรือเหมือนอยู่ในหนัง Sci-Fi นะครับ แต่อาจจะเป็นแค่การหลุดจากบริบท เงื่อนไข หรือกฎระเบียบที่มีอยู่ หลุดจากบริบทของสถานที่หรือ Industry ที่เราที่อยู่ ก็ได้
  3. “ลงรายละเอียด” หรือการแยกองค์ประกอบ สิ่งของ/สถานที่/ สถานการณ์ ยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ เหมือนการที่เราสามารถแยกได้ว่า อาหารจานนี้ มีวัตถุดิบมีกรรมวิธีอย่างไร และสามารถดัดแปลง นำวัตถุดิบหรือวิธีการอื่นมาประกอบ และสร้างเป็นเมนูอาหารจานใหม่ได้
  4. “ใหม่และแตกต่าง” ในกระบวนการระดมสมองหรือคิดสร้างสรรค์ เรามักจะสนับสนุนในคนคิดไอเดียอะไรที่ใหม่และแตกต่าง เพื่อให้ได้ไอเดีย “เจ๋ง ๆ ” มาใช้พัฒนาหรือแก้ปัญหาที่แก้ได้ยาก

PRODUCT หรือ “ผลลัพท์” ที่ได้จากการกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของเราซึ่งสิ่งนั้นจะเป็นไอเดีย วิธีการแก้ปัญหา สินค้า หรืออะไรก็ได ้แต่ในคำนิยาม “Creativity” สิ่งนั้นจะต้อง “เป็นสิ่งใหม่” หรือ “มีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง” และ “สร้างคุณค่า” ให้กับคนกลุ่มนั้น

สิ่งที่ผมอยากจะให้สังเกตก็คือคำว่า “ให้กับคนกลุ่มนั้น” คำนี้แปลว่า ผลงานของคุณ อาจจะ Creative หรือไม่ Creative ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานที่ ผู้คน และยุคสมัย ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าจะพูดถึง รถยนต์ ในอดีตอาจจะเป็นสิ่งที่ล้ำมากเลยก็ได้ แต่กลับกัน หากพูดถึงในปัจจุบันคงเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป

5 วิธีง่าย ๆ ในการเริ่มต้นฝึกความคิดสร้างสรรค์

จะเห็นนะครับว่า จริง ๆ แล้วเราสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างง่าย ๆ โดยเริ่มต้นจากอุปนิสัยของเราเอง หรือเวลาที่เราคิดไอเดียอะไรไม่ออก เราก็สามารถเปลี่ยนสถานที่ ซึ่งมันจะช่วยให้เราสามารถปลดปล่อยไอเดียที่แปลกใหม่และแตกต่างได้แล้วเช่นกัน วันนี้ผมมี 5 วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้คุณพัฒนาทักษะ “ความคิดสร้างสรรค์” ในตัวเองกันครับ

  1. ปลดปล่อยความเป็นตัวเอง ก่อนอื่นเลยคือการอนุญาตให้เรานั้นเป็นตัวเอง ฟังแล้วอาจดูยาก แต่มันง่ายมากครับ เริ่มต้นจากการพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เราชอบ ที่เราสามารถเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าใครจะคิดหรือตัดสินเราอย่างไร เพราะความกลัวนี้คือ อุปสรรคชิ้นใหญ่ ของความคิดสร้างสรรค์
  2. หาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ลองออกไปท่องเที่ยวเปิดประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ลองอ่านหนังสือในเรื่องที่ไม่เคยอ่าน ดูรายการทีวี/ออนไลน์ ที่ไม่เคยดู หรือทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการที่เราจะนำมาสรรค์สร้างเป็นไอเดียที่แปลกใหม่
  3. ฝึกนิสัยการตั้งคำถาม หนึ่งในนิสัยของคนที่อยากรู้อยากเห็น คือ ชั่งซักถาม เพื่อให้เราได้ทราบถึงข้อมูล และได้เข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างถ่องแท้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถคิดไอเดียได้อย่างตอบโจทย์ แต่คนเรามักจะกลัวที่จะตั้งคำถาม เชื่อผมเถอะครับ หากเจอสิ่งใดที่สงสัย ลองถามผู้รู้ดูอย่างเหมาะสมและถูกกาลเทศะ ไม่มีใครว่าร้ายเราอย่างแน่นอน
  4. ผิดพลาดได้ไม่เป็นไร คุณเคยทำอะไรผิดพลาดไหมครับ แล้วคุณทำอย่างไรหลังจากนั้น บางคนอาจจะโดนว่า บางคนอาจจะโทษตนเองหรือคนอื่น แต่จริงๆแล้วมันไม่มีอะไรเลย ข้อผิดพลาดกลับทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองต่อไป ก็เหมือนกับการคิดไอเดีย หากเรากลัวที่จะผิดพลาดแล้วไม่นำเสนอไอเดียนั้นออกมา เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า ไอเดีย ใดเป็นไอเดียที่ดี หรือไอเดียของเรามีจุดที่ให้พัฒนาอย่างไรต่อไป
  5. แลกเปลี่ยนเรื่องราวกับผู้อื่น การสนทนาพูดคุยกับผู้อื่น ก็ช่วยสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของเราได้เช่นกัน การที่เราแลกเปลี่ยนเรื่องราวกับผู้อื่นบ่อย จะช่วยลดความกลัวในการสื่อสาร และยังเสริมทักษะการสื่อสารของเราให้ดียิ่งขึ้น และนอกจากนี้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ยังทำให้เราได้เรียนรู้มุมมองใหม่ ๆ อีกด้วยนะครับ
“ความคิดสร้างสรรค์” ในศตวรรษที่ 21

Picture by BBC Focus Magazine

ในศตวรรษที่ 21 โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากมายและรวดเร็ว ซึ่งเราเห็นได้จากเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นทุกปี อาทิเช่น แว่นตา VR, รถยนต์ไฟฟ้า, สมองกล และหุ่นยนต์อัจฉริยะ ในทางกลับกัน สิ่งที่เราคุ้นเคยกำลังจะหายไปเช่นกัน ผลการวิจัยระบุว่า 65% ของเด็กที่เรียนอยู่ในตอนนี้จะต้องทำงานในอาชีพที่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้น พูดง่ายๆก็คือโลกหมุนเร็วมากจนทำให้

“สิ่งที่เด็กเรียนอยู่ในตอนนี้ อาจจะไม่เหลืออาชีพนั้นให้ทำในอนาคตแล้ว”

แล้วอย่างนี้ ลองนึกภาพดูนะครับ หากเราไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เราไม่สามารถนำสิ่งที่เราเรียนรู้ในตอนนี้ไปประยุกต์ใช้กับอาชีพในอนาคต เราไม่สามารถคิดสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือนำเสนอผลงานที่โดดเด่นออกมาได้ และหากเกิดปัญหาใหม่ ๆ หรือปัญหาที่ซับซ้อน เราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร

สถาบัน P21 จัดให้ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็นทักษะที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในศตวรรษที่ 21 หรือเรียกได้ว่าเป็น “ THE PREMIER SKILL OF THE 21ST CENTURY”

(สามารถอ่านบทความ 21st Century Skills เพิ่มเติมได้ตาม Link นี้เลยครับ)

โอกาสดี ๆ สำหรับเด็กรุ่นใหม่

ที่ BASE Playhouse เราได้ออกแบบคอร์ส Creativity in Action หนึ่งใน 21st Century Skills Series เพื่อให้น้องที่คิดว่า “ตัวเองไม่มีไอเดีย”, “ไม่มั่นใจในความคิดของตนเอง” หรือ “อยากจะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น” ได้มาเรียนรู้และฝึกทักษะ “ความคิดสร้างสรรค์” ผ่านกิจกรรมอันหลากหลาย ผสมผสานกับรูปแบบของเกม (Gamification) ซึ่งรับรองได้ว่า น้อง ๆ จะได้ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์อย่างสนุกสนาน และกลับไปพร้อมความมั่นใจ ว่าฉันนี่แหละ “เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ