จรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีอะไรบ้าง

จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศๅ from Watinee Poksup

การมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน มีรายละเอียดดังนี้ 1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ 2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต 5.ไม่ทำลายข้อมูล 6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต 7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ 8.การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ 9.ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน 10.ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา) 11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ

ความหมายของกฎหมายและจริยธรรม ความหมายของกฎหมาย คือ “กฎระเบียบ ข้อบังคับที่ สถาบันผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศตราขึ้นใช้บังคับรวม ทั้งกฎระเบียบข้อบังคับที่เกิดจากจารีตประเพณี ที่ได้รับ การยอมรับนั บถือจากสังคม หรือจากบุคคลทั่วไปที่อยู่ รวมกันในสั งคมเพื่อใช้กับบุคคลทุกคนในการบริหาร ประเทศหากไม่ปฏิบัติตาม” สรุปความหมายของจริยธรรม คือ “แนวทางปฏิบัติ ของคนในสังคม ซึ่งบุคคลผู้นั้ นควรยึดถือในการดำรง ชีวิต และการทำตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ และมีความสงบ สุขต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม”

กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย คณะรัฐมนตรี อนุมัติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิ กส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นผู้ร่าง มีการกำหนดกฎหมายที่จะร่างทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ 1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิ กส์ 2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิ กส์ 3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ 4. กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ 6. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการ เข้าใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ขั้น ตอนการป้องกันจะช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสกัดกั้นไม่ให้ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ถูกเข้าใช้งานโดยผู้ที่ไม่ได้รับ สิทธิ์ ส่วนการตรวจสอบจะทำให้ทราบได้ว่ามีใครกำลัง พยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในระบบหรือไม่ การบุกรุกสำเร็จ หรือไม่ ผู้บุกรุกทำอะไรกับระบบบ้าง รวมทั้งการป้องกัน จากภัยคุกคาม (Threat) ต่างๆ

จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้ าทางเทคโนโลยีและความนิ ยมใช้อินเทอร์เน็ ตอย่างแพร่ หลาย ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูล ส่วนตัวแบบออนไลน์ ได้จำนวนมาก ความไว้วางใจในระบบสารสนเทศก็ มีมากขึ้นทำให้มีความเสี่ ยงในการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย ประโยชน์ ของการมีจริยธรรม 1. ประโยชน์ ต่อตนเอง ภาคภูมิใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นคนดี 2. ประโยชน์ ต่อสังคม สบสุข ปรองดอง สามัคคี 3. ประโยชน์ ต่อประเทศชาติ ความเจริญรุ่งเรือง สามัคคี ความพัฒนา 4. ประโยชน์ ต่อองค์กรธุรกิจ ยกระดับมาตรฐานขององค์กร 5. ประโยชน์ ต่อการดำรงรักษาไว้ซึ่งจริยธรรม เผยแพร่ รักษาจริยธรรม ไปสู่ รุ่นต่อไป

หลักประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับการทำหน้าที่ของบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับมาตรฐานที่ดีงามอันเป็นที่ยอมรับของสังคม

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง

หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น

  1. ความเป็นส่วนตัว
    • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเอง
      ในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กร และหน่วยงานต่างๆ
  2. ความถูกต้อง
    • ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะบันทึกข้อมูลเก็บไว้รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองได้
  3. ความเป็นเจ้าของ
    • เป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
  4. การเข้าถึงข้อมูล
    • การเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์ มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (บัญญัติ 10 ประการ)

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น
2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการผู้อื่น
3. ไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ
6. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คำนึงถึงผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้นกับสังคม
10. ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมารยาท

ที่มา: ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ และคณะ. (2561). หนังสือเรียน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. อัษรเจริญทัศน์ อจท. กรุงเทพมหานคร 

จรรยาบรรณ ใน การ ใช้ เทคโนโลยี มี อะไร บาง

เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ ดังนี้คือ 1) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2) ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3) ต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5) ต้องไม่ใช้ คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6 ...

จรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีกี่ประเภท

จรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.
ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ.
ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง.
ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต.
ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต.
ไม่ทำลายข้อมูล.
ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต.

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเด็น

υ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะ ตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย υ 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) υ 2.ความถูกต้อง (Accuracy) υ 3.ความเป็นเจ้าของ (Property) υ 4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ