แหล่งเงินทุนภายนอก มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันธุรกิจรูปแบบใหม่ๆได้เกิดขึ้นอย่างมากมายและมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าการดำเนินธุรกิจได้นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนอันมหาศาลในการหมุนเวียนและขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งหลายๆคนอาจสงสัยกันว่าเงินทุนดังกล่าวที่ว่านี้ มันมีที่มาได้อย่างไร และการได้มาซึ่งแหล่งเงินทุนนั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

แหล่งเงินทุนคืออะไร

แหล่งเงินทุน คือ แหล่งหรือที่มาของเงินทุน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งทรัพย์สินที่อยู่ในรูปแบบของที่ดิน เงินสด หรือแม้กระทั่ง ตึกและอาคาร ที่กิจการนั้นจะสามารถนำมาลงทุนหรือเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำกำไรต่อธุรกิจได้

แหล่งเงินทุนมีที่มาอย่างไร

แหล่งเงินทุนนั้นมีที่มาได้จากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป เช่น เงินทุนที่ได้มากจากเจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุนโดยใช้ปัจจัยของตัวเองในการแบกรับความเสี่ยง เงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน ผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนในกิจการนั้น ๆ นอกจากนี้การได้มาซึ่งเงินทุนอาจได้รับมาจากการกู้ยืมจากทางธนาคาร หรือการกู้ยืมนอกระบบ แต่หากพิจารณาถึงรูปแบบขององค์กรขนาดใหญ่แล้ว แหล่งเงินทุนอาจจะได้รับจากการแบ่งหุ้นของบริษัทออกและนำออกจำหน่ายออกสู่สาธราณะ จึงเห็นได้ว่าเงินทุนนั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ทุกองค์กรไม่สามารถทอดทิ้งและละเลยได้ แต่หาก

แหล่งเงินทุนนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น คือ การจัดหาเงินทุนเพื่อนำเงินมาขับเคลื่อนการดำเนินกิจการที่มีเป้าหมายเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ กล่าวคืออาจเป็นการใช้จ่ายสำหรับค่าจ้างพนักงาน หรือการดำเนินกิจการตามฤดูกาล ซึ่งมีระยะเวลาในการจัดหาและชำระหนี้คืนไม่เกิน 1 ปี
  2. แหล่งเงินทุนระยะยาว มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป อาจเป็นการลงทุนที่มีระยะเวลาในการคืนทุนที่มากกว่า 1 ปี เช่น การลงทุนในการซื้อเครื่องจักมาดำเนินกิจการ ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องจักนั้นมีราคาและมูลค่าที่ค่อนข้างสูงแต่ก็มีความคุ้มค่าในด้านการลงทุน และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพต่อการทำกำไรได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้อาจสามารถนำเงินทุนมาลงทุนในการขยายฐานการผลิตโดยอาจลงทุนในด้านสิ่งปลูกสร้าง โรงงาน โกดังเป็นต้น

บทสรุปแหล่งเงินทุน

ดังนั้นเมื่อเห็นความสำคัญของแหล่งเงินทุนแล้ว การวางแผนในการใช้เงินทุนก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยืดระยะเวลาการใช้ทุนออกไปได้ และยังป้องกันสภาวะกิจการฝืดเคืองอีกด้วย ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์ช่วง Covid 2019-2023 หรือประมาณปี 2566 ด้วยแล้ว การหาเงินทุนนั้นอาจทำได้ยากยิ่งขึ้น เมื่อมีแหล่งเงินทุนที่ดีก็ควรรักษาไว้ให้ดีและใช้อย่างประหยัด จนกว่าจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคที่เป็นปัจจัยทางแวดล้อมภายนอกขององค์กรไปได้ แต่การบริหารความเสี่ยงที่ดีก็จะเป็นส่วนช่วยให้สามารถเอาชนะวิกฤตที่เกิดจากปัจจัยภายในได้เช่นกัน แต่หากไม่สามารถฝ่าฟันไปได้ก็อาจจำเป็นต้องอาศัยจากแหล่งเงินทุนนอกระบบมาเป็นตัวช่วยในการหมุนเวียน ซึ่งแน่นอนว่าอัตราดอกเบี้ยในการชำระเงินคืนก็จะสูงตามไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจึงควรศึกษาทิศทางของตลาดให้ดี เพื่อไม่ให้ความผิดพลาดที่อาจตามมาจนก่อนให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ในที่สุด

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งการบริโภคของประชาชนในประเทศการใช้จ่ายของภาครัฐการนำเข้าและส่งออกสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนก็ถือเป็นอีกหนึ่ง ปัจจัยที่มีความสำคัญผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยนับได้ว่าเป็นกลไกหลักเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศแม้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านั้นจะมีสินค้าและบริการที่ดีเพียงใด แต่กลับประสบปัญหาคล้ายกันในเรื่องเงินทุนดำเนินงานบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่อง การจัดหาเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านั้น

โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) การกำหนดความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการ

2) แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ

1. การกำหนดความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการ

การวางแผนและการสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการเพื่อให้อยู่รอดได้นั้น จะต้องมีการวางแผนทางการเงินที่ดีผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับคําถามทางการเงินที่สำคัญๆ เช่น ต้องการเงินเพื่อเริ่มต้นกิจการหรือใช้เป็นเงินทุนในการดําเนินงานของธุรกิจที่กําลังประกอบการอยู่เป็นจำนวนเท่าใด จะหาเงินทุนมาได้จากที่ใดจะใช้เงินทุนอย่างไร สามารถหาเงินทุนมาเพิ่มได้อย่างไรในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จะจ่ายเงินคืนให้กับผู้ให้กู้ยืมหรือจะจ่ายคืนผลตอบแทนส่วนที่เหลือให้กับผู้นําเงินมาลงทุนอย่างไร เป็นต้น ความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ เงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจและเงินทุนในการดําเนินงาน โดยความต้องการสองประเภทแรกมุ่งที่ระยะเวลาก่อนการเริ่มต้นดําเนินงาน ในขณะที่เงินทุนในการดําเนินงานอาจเป็นที่ต้องการ ณ จุดใดๆ ก็ได้ในระหว่างช่วงชีวิตธุรกิจ

ความต้องการเงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ

ความต้องการเงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจประกอบไปด้วยความต้องการเงินทุนเพื่อนําไปใช้จ่าย ดังนี้

1. เงินทุนที่จะนำมาใช้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเริ่มแรกซึ่งมีจำนวนมากที่สุด คือ เป็นเงินมัดจำการเช่าและการซ่อมแซมหรือการออกแบบร้านขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการดําเนินงาน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีอยู่จำนวนหนึ่งและอาจเป็นจำนวนมากจึงต้องมีการประมาณและวางแผนเตรียมไว้เนื่องจากค่าใช้จ่ายจำนวนนี้เกิดขึ้นก่อนที่ธุรกิจจะมีรายได้

2. เงินทุนที่จะนำมาใช้เป็นค่าอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ที่ต้องการเพื่อดำเนินการธุรกิจ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงานเครื่องจักรเฉพาะด้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ

3.เงินทุนที่จะนํามาซื้อสินค้าคงเหลือช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ธุรกิจจะต้องมีวัสดุและสินค้าคงเหลือก่อนเริ่มต้นดําเนินงาน ในขณะที่ผู้จําหน่ายบางคนให้เครดิตการค้าหรือสินค้าคงเหลือที่ต้องการมาให้ก่อน แต่ผู้จำหน่ายส่วนใหญ่ต้องการได้รับชําระเงินจากกิจการที่เปิดใหม่เมื่อได้ส่งสินค้ามาให้

4.เงินทุนเพื่อนำมาใช้ในการขอใบอนุญาต เช่น ค่าใบอนุญาตและการขออนุญาต ค่าธรรมเนียมวิชาชีพ และค่าใช้จ่ายที่ต้องชําระก่อนใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการขออนุญาตตามที่กำหนดไว้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่างๆ ที่ต้องชําระก่อน เช่น ค่าประกันภัย ค่าสาธารณูปโภคเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ค่าบริการทางด้านกฎหมายและการบัญชี ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้งบริษัท เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของความเป็นเจ้าของและความเชี่ยวชาญของเจ้าของเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีจำนวนมากพอสมควรที่จะต้องรวมไว้เพื่อทำการวางแผนความต้องการเงินทุน

ความต้องการเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ

นอกเหนือจากความต้องการเงินทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจแล้วเงินทุนที่ธุรกิจต้องการอีกประเภท คือ เงินทุนเพื่อทำให้ธุรกิจเริ่มต้นได้ เพื่อใช้ในการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ เช่น การจ่ายค่าจ้างแรงงาน การส่งเสริมการตลาด วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ที่ต้องตกแต่งใหม่ และรายการอื่นๆ ที่แตกต่างกันซึ่งจะต้องจัดซื้อมา ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการเปิดกิจการ ค่าใช้จ่ายประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อเริ่มต้นธุรกิจและจะไม่เกิดขึ้นอีกในปีต่อไป

ความต้องการเงินทุนในการดําเนินงาน

ตลอดชีวิตของธุรกิจจะต้องมีความต้องการจัดหาเงินทุนเป็นบางโอกาสผู้ประกอบการอาจต้องการที่จะรักษา เสถียรภาพของธุรกิจ ใช้เพื่อขยายการดําเนินงาน หรือช่วยให้ธุรกิจสามารถดําเนินงานได้ตลอดเวลาที่เกิดปัญหาในการดําเนินงานการบริหารจัดการเงินสดที่ทุกธุรกิจต้องประสบ คือการพยายามจัดการปัญหาการหมุนเวียนของเงินสด เพื่อช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดในช่วงที่เผชิญกับความตกต่ำ และเพื่อการขยายตัวทางการเงินธุรกิจเกือบทุกแห่งจะต้องเคยประสบกับปัญหาการหมุนเวียนของเงินสดที่คล้ายกันก็คือ เงินสดรับไม่เพียงพอกับเงินสดจ่ายและธุรกิจจะต้องอาศัยเงินสดสํารองหรือการจัดการหาเงินจากภายนอกเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ในกรณีที่ลักษณะเช่นนี้กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แล้วก็อาจจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจใหม่นั่นคือ ความสมดุลระหว่างการก่อหนี้กับการลงทุนของเจ้าของธุรกิจนอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องมีการวางแผนความต้องการเงินทุนในอนาคต เพื่อใช้ในการขยายงานของธุรกิจ โดยอาจต้องกู้ยืมเพื่อนําไปจัดซื้ออุปกรณ์ ที่ดิน สินค้าคงคลัง แรงงาน และอื่นๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้น

2.แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ

เมื่อผู้ประกอบการทราบความต้องการเงินทุนที่จะต้องใช้ในการจัดตั้งธุรกิจ เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ และเงินทุนในการดําเนินงานแล้วผู้ประกอบการย่อมต้องจัดหาเงินทุนที่ต้องการมา ซึ่งปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.เงินทุนระยะสั้น ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน เงินทุนระยะสั้นอาจใช้เวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือไม่เกิน 1 ปี

2.เงินทุนระยะยาว ซึ่งใช้ในการจัดซื้อหรือจัดหาสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่จำเป็นต้องใช้เป็นจำนวนเงินที่มาก หรือมีอายุเกินกว่า 1 ปี

แหล่งเงินทุนระยะสั้น

การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีขอบข่ายกว้างขวาง จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ลำพังเงินทุนของผู้ประกอบการเองย่อมไม่เพียงพอผู้ประกอบการจึงมักจะต้องหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

1.เครดิตการค้า (Trade Credit) เป็นการให้เครดิตหรือสินเชื่อระหว่างผู้ผลิตและผู้จําหน่าย ผู้สั่งสินค้ามาจําหน่ายที่มีฐานะมั่นคงเชื่อถือได้ ผู้ผลิตอาจให้เครดิตโดยส่งสินค้าให้ก่อนแล้วกําหนดให้ชําระภายหลัง เครดิตที่ให้ อาจให้ 30 วัน 60 วัน หรือมากกว่านับเป็นแหล่งสำคัญยิ่งของเงินทุนระยะสั้น

2.ธนาคารพาณิชย์ เงินที่ผู้ประกอบการอาจกู้จากธนาคารพาณิชย์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เงินที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันมักให้แก่ลูกค้าของธนาคารที่มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง มีความเชื่อถือได้สูงและมีประวัติทางการเงินดี เงินกู้อีกประเภทหนึ่งคือเงินกู้ที่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยทั่วไปแล้วนิยมใช้โฉนดที่ดิน อาคาร หรือเครื่องจักร มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้

3. การใช้เอกสารเครดิต (Credit Instruments) เอกสารเครดิตที่ใช้กันมากในการหาเงินทุนระยะสั้น ได้แก่ การจ่ายตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่เจ้าหนี้หรือการจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ทำให้ลูกหนี้ชะลอการชําระหนี้ไปได้ระยะหนึ่ง หรือนําเช็คไปแลกเงินจากนายทุนเอกชนโดยเขียนวันที่ไว้ล่วงหน้าก็จะได้เงินมาเป็นทุนหมุนเวียนชั่วระยะเวลาหนึ่ง

4. การกู้ยืมเงินโดยใช้สินค้าค้ำประกัน ผู้ประกอบการค้าที่มีสินค้าอยู่ในคลังสินค้าอาจขอกู้เงินจากธนาคารโดยใช้สินค้าค้ำประกันธนาคารอาจขอให้นําสินค้าไปไว้ในคลังสินค้าของธนาคารหรือคลังสินค้าสาธารณะ โดยแยกสินค้าที่ใช้ค้ำประกันไว้ต่างหากจากสินค้าอื่นๆในกรณีที่ผู้ประกอบการฝากสินค้าไว้กับคลังสินค้าและมีใบรับรองคลังสินค้าเป็นหลักฐานก็อาจนําใบฝากสินค้านั้นไปจำนำกับสถาบันการเงินได้โดยการสลักหลังใบรับฝากสินและไม่ต้องส่งมอบสินค้าที่จะจำนำแต่อย่างใด

แหล่งเงินทุนระยะยาว

แหล่งเงินทุนระยะยาวมักใช้ไปในการลงทุนซื้อที่ดิน อาคาร เครื่องจักร หรือขยายกิจการ เงินทุนประเภทนี้ต้องใช้เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวที่ใช้ประโยชน์ยาวนาน แหล่งเงินทุนระยะยาวมีดังนี้

เงินทุนส่วนของผู้เป็นเจ้าของเอง ซึ่งอาจเป็นเจ้าของคนเดียวหรือผู้ถือหุ้น การประกอบการลักษณะเจ้าของคนเดียวและห้างหุ้นส่วนเงินทุนระยะยาวส่วนใหญ่มักจัดหามาจากเงินออมส่วนบุคคลมากกว่าที่จะหามาจากแหล่งอื่นๆ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการที่ขนาดกิจการเล็กและลักษณะการประกอบการทั้งสองมีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวมากกว่าการประกอบการในรูปแบบอื่นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินจึงค่อนข้างมีข้อจํากัดทำให้เกิดปัญหาเมื่อต้องการเงินทุนเป็นจำนวนมาก ส่วนบริษัทจํากัดมีการจัดหาเงินทุนได้โดยออกหุ้นทุน หุ้นทุนของบริษัทอาจเป็นการขายหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิก็ได้

กําไรสะสม ซึ่งเป็นการกันกําไรไว้ในแต่ละปีรวมกันเป็นแหล่งเงินทุนอีกแหล่งหนึ่งของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการประกอบการแบบเจ้าของคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีการเจริญเติบโตที่ไม่รวดเร็วเหมือนกับการประกอบการแบบบริษัทจํากัด การหักกําไรไว้เป็นทุนสะสมสำหรับการดำเนินหรือการลงทุนต่อไปเป็นวิธีที่ได้รับการให้ความสำคัญและถูกนำมาใช้อยู่โดยทั่วไป

การขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ เป็นวิธีการจัดหาเงินทุนระยะยาวและสามารถทำได้ของการประกอบการในรูปแบบบริษัทมหาชนจํากัดเท่านั้น

          * หุ้นกู้ (Debenture) เป็นตราสารที่บริษัทมหาชนจํากัดออกเพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ บริษัทจะต้องจ่ายผลตอบแทน           เป็นดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด ผู้ถือหุ้นกู้จะได้เงินต้นคืนครบถ้วนเมื่อสิ้นสุดอายุตามระบุในเอกสาร หุ้นกู้มักมีสภาพคล่องในการซื้อขายไม่มากนัก ส่วนใหญ่          ซื้อขายโดยผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือผู้ลงทุนระยะยาว

เงินกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ ที่มีระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน เป็นต้น

การเช่าสินทรัพย์ระยะยาว แทนที่จะลงทุนซื้อ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ก็อาจใช้วิธีการเช่า ทำให้กิจการสามารถประหยัดเงินลงทุนระยะยาวได้การจัดหาแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการทั้งระยะสั้นและระยะยาวดังกล่าว สรุปได้ว่าเป็นการจัดหาแหล่งเงินทุนจาก 2 แหล่งที่สำคัญ คือ

การจัดหาแหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ (Equity) เป็นการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายในธุรกิจ ซึ่งได้มาจากกําไรจากการดําเนินงาน

ที่เก็บสะสมไว้ในกิจการ หรือการจัดหามาจากแหล่งภายนอกธุรกิจ ได้แก่ เงินทุนที่ได้จากการออกหุ้นจําหน่าย

การจัดหาแหล่งเงินทุนโดยการก่อหนี้ (Debt) เป็นการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกธุรกิจ โดยการกู้ยืมเงินจากบุคคลภายนอกซึ่งอาจเป็นการกู้ยืมระยะสั้นหรือระยะยาว

ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุน

เมื่อผู้ประกอบการต้องการจัดหาเงินทุนมาใช้ในกิจการ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาว่า จะเลือกใช้วิธีการในการจัดหาเงินทุนมาใช้เพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดและมีต้นทุนต่ำ โดยผู้ประกอบการควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้

ความเหมาะสม (Suitability) ผู้ประกอบการจะต้องทราบว่าเงินทุนที่ต้องการจัดหานั้นจะนําไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดเพื่อให้การจัดหาเงินทุนเหมาะสมกับลักษณะสินทรัพย์ที่จะนําไปลงทุนนั้น เช่น ถ้าไปลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ควรจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ระยะยาว หรือการออกหุ้นทุน ถ้าเป็นการลงทุนในหมุนเวียน ควรจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ระยะสั้น

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) การจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ ทำให้กิจการมีความเสี่ยงทางการเงินเกิดขึ้น เนื่องจากกิจการมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่ว่าการดําเนินงานของกิจการจะประสบผลกําไรหรือขาดทุนหากกิจการดําเนินงานมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชําระหนี้ดังกล่าว อาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องยึดทรัพย์หรือล้มละลายได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาความสามารถในการชําระหนี้ของกิจการก่อนตัดสินใจจัดหาเงินทุนโดยวิธีการก่อหนี้ควบคู่กันไปด้วย

การควบคุม (Control) การจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้นั้น เจ้าหนี้จะไม่มีสิทธิในการควบคุมการบริหารงานของกิจการ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการต้องการจัดหาเงินทุนโดยที่ผู้ถือหุ้นเดิมยังคงต้องการมีส่วนในการควบคุมกิจการอยู่เท่าเดิม ก็ควรจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้แทนการออกหุ้นสามัญ

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทุน (Capital Structure Changes) ผู้ประกอบการจะเลือกใช้วิธีการจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้หรือจากส่วนของเจ้าของ ต้องพิจารณาโครงสร้างของทุนในขณะนั้นว่า มีสัดส่วนอย่างไร กล่าวคือ ถ้ากิจการใดมีสัดส่วนหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของอยู่เป็นจำนวนมาก หากต้องการจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้อาจทำไม่ได้ เพราะเมื่อผู้ให้กู้พิจารณางบการเงินจะเห็นว่ากิจการมีภาระผูกพันในการจ่ายชําระหนี้มากแล้วจึงไม่ให้กู้อีก หรือในทางตรงกันข้ามถ้ากิจการใดมีสัดส่วนของเจ้าของมากกว่าสัดส่วนของหนี้สิน การจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้จะทำได้ง่ายกว่า

ระยะเวลาในการจัดหาเงินทุน (Timing) ในการจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุนคือดอกเบี้ยด้วย ผู้ประกอบการควรเลือกจังหวะเวลาในการก่อหนี้ให้เหมาะสม เพื่อให้เสียดอกเบี้ยต่ำที่สุดเช่น ในช่วงที่เศรษฐกิจกําลังเจริญรุ่งเรืองอัตราดอกเบี้ยจะสูง การจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้จะเสียดอกเบี้ยสูงกว่าในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว

อ้างอิงจาก : เอกสารการสอนชุดวิชา 32449 การสร้างธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (Business Building and Entrepreneurship) หน่วยที่ 5 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

แหล่งเงินทุนมาจากที่ใดบ้าง

โดยส่วนใหญ่มาจาก 4 แหล่งใหญ่ๆ คือ แหล่งเงินทุนของตัวเอง ( Founder, Family, Friend ) การหาผู้ร่วมทุนหรือจากนักลงทุน ( Investor, Venture Capital ).
แหล่งเงินทุนของตัวเอง ... .
หาผู้ร่วมทุน หรือหาเงินจากนักลงทุน ... .
กู้ยืมจากสถาบันการเงิน ... .
เงินทุนจาก Creative Source..

ข้อใดคือแหล่งเงินทุนภายใน

แหล่งเงินทุนภายใน หรือ แหล่งเงินทุนภายในกิจการ คือ แหล่งเงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาได้เอง สามารถสร้างเงินทุนได้เองจาก รายได้ หักค่าใช้จ่ายจนกลายเป็นเงินทุนสะสม หรือการลงทุนเพิ่มของเจ้าของกิจการเอง โดยไม่ใช่เป็นการจัดหาจากบุคคล กิจการ หรือสถาบันอื่นๆ ภายนอกกิจการ

แหล่งเงินทุน แยกประเภทเป็นอะไรบ้าง *

ประเภทของแหล่งเงินทุน มีอะไรบ้าง.
1.1 แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่เกิดขึ้นอัตโนมัติ (Spontaneous Financing) แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่เกิดขึ้นอัติโนมัติ หมายถึง เงินทุนที่เกิดขึ้นเองจากการขายสินค้าและบริการ ได้แก่ ... .
1.2. แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นอัตโนมัติตามยอดขาย (Non-Spontaneous Financing).

แหล่งเงินทุนระยะสั้น มีอะไรบ้าง

ประเภทแหล่งเงินทุนระยะสั้น 1. เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตามการด าเนินงานธุรกิจ (Spontaneous Financing) 1.1. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals)ไม่มีต้นทุนทางการเงิน เพราะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย 1.2. สินเชื่อทางการค้า (Trade Credit) คือ รายการเจ้าหนี้การค้า เกิดจากการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ใหญ่ที่สุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ