ผู้ไร้ความสามารถ มีอะไรบ้าง

จากกรณีเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ เผยแพร่คำสั่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคําสั่งให้ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ผู้ร้อง เนื่องจากศาลไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องแล้วเห็นว่า หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มีหลอดเลือดสมองอุดตัน และมีภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจําวันได้ตามปกติด้วยตนเอง เข้าลักษณะเป็นบุคคลวิกลจริต และไม่สามารถประกอบกิจการงานใดๆ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28

ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่งศาล “ม.ร.ว.ถนัดศรี” เป็นคนไร้ความสามารถ

“หมึกแดง” แจง ลูกๆเห็นพ้อง ตามคำแนะนำหมอ ขอศาลสั่งให้ “ม.รว.ถนัดศรี” เป็นคนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถ มาตรา 28
คือ “บุคคลวิกลจริต” ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหลักเกณฑ์การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

1. เป็นบุคคลวิกลจริต การเป็นคนวิกลจริตนั้นกฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีอาการลักษณะอย่างไร แต่โดยทั่วไปเข้าใจว่าต้องมีอาการ “บ้า” โดยมีลักษณะดังนี้

1) เป็นอย่างมาก กล่าวคือ มีอาการไม่ปกติ สติไม่สมบูรณ์ โรคทางจิต (disease of mind) หรือจริตวิกลอย่างมาก ไม่มีความรู้สึกผิดชอบว่าตนได้พูดหรือทำอะไร เช่น insanity lunatics imbecility หรือ feeble-mindedness แต่ไม่จำเป็นต้องมีอาการร้ายแรงถึงขั้นทำอันตรายต่อบุคคลอื่น

2) เป็นประจำ อาการวิกลจริตหรือบ้าต้องมีลักษณะติดตัว หรือ มีอาการประจำ แต่ไม่ต้องถึงขนาดที่มีอาการบ้าต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา อาจมีบางเวลาที่หายจากอาการบ้าและมีอาการปกติก็ได้ การมีอาการปกติบางครั้งบางคราวนี้ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายเพราะอาจมีบุคคลอื่นถือโอกาสในขณะที่มีอาการบ้าหรือวิกลจริตเข้าทำนิติกรรมอันจะทำให้เกิดความเสียหาย

2. ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

การที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถ จะต้องมีการยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนวิกลจริตนั้น อันได้แก่

1) คู่สมรสของ ได้แก่ สามี หรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของคนวิกลจริต การเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายพิจารณาจากการจดทะเบียนสมรส ถ้ามิได้จดทะเบียน สมรสแม้อยู่กินฉันท์สามีภริยาก็ไม่เป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย

2) ผู้บุพการี ได้แก่ บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ตามความเป็นจริง

3) ผู้สืบสันดาน ได้แก่ลูก หลาน เหลน ของผู้วิกลจริตตามความเป็นจริง

4) ผู้ปกครอง คือ ผู้ใช้อำนาจปกครองแทนบิดามารดาของผู้เยาว์

5) ผู้พิทักษ์ คือ ผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่คนเสมือนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมที่กฎหมาย หรือ ศาลกำหนดห้ามมิให้ทำโดยลำพังตนเอง กรณีที่จะมีผู้พิทักษ์ได้แก่ ที่คนวิกลจริตนั้นเคยถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาก่อน และต่อมาความวิกลจริต เป็นอย่างมากถึงขนาดที่ผู้พิทักษ์ต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ เพื่อที่คนวิกลจริตจะได้รับความคุ้มครองมากขึ้นนั่นเอง

6) ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ ได้แก่ บุคคลซึ่งปกครองดูแลบุคคลวิกลจริตตามความเป็นจริง

7) พนักงานอัยการ (Public Prosecutor) หมายถึง เจ้าพนักงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง

ข้อสังเกต

1) บุคคลวิกลจริตไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งให้ตนเองเป็นคนไร้ความสามารถได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้ ต่างกับการขอถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่ง คนไร้ความสามารถสามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งได้ตามมาตรา 31

2) ผู้สืบสันดานอาจร้องขอต่อศาลให้บุพการีเป็นคนไร้ความสามารถได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการซึ่งเรียกว่า คดีอุทลุม เพราะการร้องขอตามมาตรา 28 นี้เป็นคดีไม่มี ข้อพิพาท ไม่เป็นการฟ้องบุพการ

ผลของการเป็น คนไร้ความสามารถ

1. ต้องจัดอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล

ถ้ายังไม่สมรส และยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้นั้นย่อมอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ตามมาตรา 1566 ดังนั้นบิดามารดาจึงเป็นอนุบาล ยกเว้นศาลใช้ดุลพินิจตั้งบุคคลอื่นเป็น ผู้อนุบาล ในกรณีเช่นนี้ถือว่าคำสั่งตั้งผู้อนุบาลเช่นนั้นมีผลเป็นการเพิกถอนผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองที่เป็นอยู่ในขณะนั้นด้วย ตามมรตรา 1569/1 วรรคแรก

ถ้าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ศาลอาจตั้งผู้ปกครองให้ได้ ตามมาตรา 1585, 1586 ผู้ปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลผู้เยาว์ตามมาตรา 1569

ถ้าคนไร้ความสามารถบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ยังไม่สมรส ผู้อนุบาลได้แก่ บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดา ตามมาตรา 1569/1 วรรคสอง ผู้อนุบาลได้แก่ บิดามารดาหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1569 ยกเว้นแต่ ศาลเห็นว่าไม่ควรให้บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุบาล ศาลอาจสั่งให้ผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลได้ ตามมาตรา 1569/1 วรรคสอง

ในกรณีที่คนไร้ความสามารถสมรสแล้ว ผู้อนุบาลได้แก่ คู่สมรส ตามมาตรา 1463

ยกเว้นในกรณีที่มีเหตุสำคัญ และผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ศาลจะตั้งบุคคลอื่น เช่น บิดา มารดา หรือ บุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาลก็ได้ ตามมาตรา 1463 เช่น คู่สมรสไม่ให้ความอุปการะคู่ สมรสฝ่ายที่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจัดการทรัพย์สินเสียหายถึงขนาด เป็นต้น

2. ความสามารถในการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถกฎหมายถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมดังนั้นจึงทำนิติกรรมใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น นิติกรรมอันคนไร้ความสามารถกระทำลงการนั้นเป็น “โมฆียะ” ดังนั้นผู้อนุบาลจึงอนุญาตหรือให้ความยินยอมให้คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมไม่ได้ หากคนไร้ความสามารถประสงค์จะทำนิติกรรมต้องให้ผู้อนุบาลท าแทนเท่านั้น ตามมาตรา 29 “การใดๆอันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระท าลง การนั้นเป็นโมฆียะ” แม้นิติกรรมบางชนิดเป็นเรื่องต้องทำโดยเฉพาะตัว เช่น การรับรองบุตร 7 ผู้อนุบาลย่อมไม่มีอำนาจทำแทนได้

นอกจากนี้ถ้าเป็นนิติกรรมบางประเภทตาม มาตรา 1574 ผู้อนุบาลจะทำแทนไม่ได้หากผู้อนุบาลประสงค์จะทำนิติกรรมเหล่านั้นแทนคนไร้ความสามารถต้องขออนุญาตศาลก่อนจึง จะกระทำได้ตามมาตรา 1598/15 มาตรา 1598/18 นิติกรรมอันคนไร้ความสามารถกระทำลงมีผลเป็นโมฆียะ บุคคลดังต่อไปนี้จะบอก ล้างหรือให้สัตยาบันตามมาตรา 175

(1) ผู้อนุบาล

(2) คนไร้ความสามารถเมื่อพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ

การสิ้นสุด การเป็นคนไร้ความสามารถ

ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุด คนไร้ความสามารถนั้นเองหรือบุคคลใดๆตามมาตรา 28 คู่สมรส สามารถร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้นได้

คนไร้ความสามารถสามารถทำอะไรได้บ้าง

การเป็นคนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถนั้นกฎหมายจำกัดสิทธิไว้มิให้ทำนิติกรรมได้โดยลำพังเลย นิติกรรมทั้งปวงที่คนไร้ความสามารถทำตกเป็นโมฆียะ ซึ่งรวมถึงพินัยกรรมด้วย หากคนไร้ความสามารถต้องการทำนิติกรรมแล้ว บุคคลที่เรียกว่า "ผู้อนุบาล" จะทำแทนเขาเอง

คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถมีความแตกต่างกันอย่างไร

คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริต ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกผิดชอบ มีอาการผิดปกติทางจิต ควบคุมสติไม่ได้ และขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง เช่น โรคสมองฝ่อ โรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง สมองพิการ จิตไม่ปกติเป็นการถาวร ฟั่นเฟือน ประสาทหลอน บกพร่อง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ...

บุคคลไร้ความสามารถ สมรสได้ไหม

มาตรา ๑๔๔๙ “การสมรสจะกระทํามิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็น บุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึงศาลสังให้เป็นคนไร้ความสามารถ” มาตรา ๑๔๙๖ “คําพิพากษาของศาลเท่านันทีจะแสดงว่า การ สมรสทีฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๔๙ มาตรา ๑๔๕๐ และมาตรา ๑๔๕๘ เป็น โมฆะ”

คนไร้ความสามารถซื้อของได้ไหม

คนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรม ได้ไหม คนไร้ความสามารถไม่สามารถทำนิติกรรมได้เองเลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีอีกฝ่ายจะรู้หรือไม่ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นคนไร้ความสามารถ เพราะตามกฏหมายถือว่ามีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากคนไร้ความสามารถกระทำการใดไปจะถือเป็นโมฆียะ ปพพ. ม. 29.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ