ข้อใดคือ ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวน 63,543.6 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2563) ในระบบเศรษฐกิจเสรีทางการตลาดนี้ ทั้งปัจเจกบุคคลและบริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลกลางจะจัดซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชน บริษัทในสหรัฐฯ จึงสามาถใช้สิทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่มากกว่ากลุ่มบริษัทที่ตั้งในประเทศคู่ค้าดังเช่นยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดสินใจในทางธุรกิจ การวางรกรากทางการลงทุน การปลดลูกจ้างพนักงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ มีข้อเสียเปรียบคือต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านกำแพงการค้าซึ่งกีดขวางการเข้าสู่ตลาดของคู่ต่อสู้

นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจโลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ระหว่างปี 2550-2552 อันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้มีการยุบตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ และบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้ที่ถึงแม้ว่าจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตามยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงานที่เรื้อรัง ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหารายได้ประชาชาติที่ลดลงในกลุ่มชนชั้นล่างและกลาง และปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงานจากการกู้ยืมเงินทางการศึกษา เป็นต้น

นโยบายทางเศรษฐกิจ


ปี 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ได้ประกาศแนวทางการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้ 3 แผนงานที่สำคัญ ได้แก่

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 4 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาวะการว่างงานเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ชาวสหรัฐฯ จำนวน 15 ล้านคนไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยได้ และมีประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกกว่า 30 ล้านคนต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยแผนงาน American Rescue Plan จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประชากรชาวสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ

  • การให้เงินช่วยเหลือทางตรงแก่ครัวเรือนชาวสหรัฐฯ
  • การขยายระยะเวลาการให้สวัสดิการจากการว่างงาน
  • การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
  • การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
  • การให้คืนเครดิตภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร
  • การให้ความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงดูบุตร

“American Jobs Plan” มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ การสร้างงาน และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยแบ่งการปฏิรูปออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับที่พักอาศัย
  • โครงสร้างการบริการและการจ้างงานด้านการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • การส่งเสริมการลงทุนเพื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิต ธุรกิจขนาดย่อม และแรงงาน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดน ยังได้เสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีควบคู่ไปกับแผนเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินตามแผนงานด้วย

“American Families Plan” มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนครอบครัวชาวอเมริกัน โดยเฉพาะครัวเรือนระดับชนชั้นกลาง ในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปฏิรูประบบภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่

ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ             หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น  การจำแนกระบบเศรษฐกิจ
การตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีหลายวิธี โดยจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปนิยมแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
1.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจเพราะจะถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ และการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารที่สมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง
2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
- ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
- เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ            - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
- รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม              คือ ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน
ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์

3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่
- รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
- ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น     -รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
- มีการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  คือ ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น เกาหลี ลาว เวียดนาม

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
- เอกชนมีเสรีภาพ
- มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
- รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
- มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา พม่า เป็นต้น

//mosszyeuei.blogspot.com/

 

ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นแบบผสม

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้ 1. เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล

ข้อใดคือลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หรือ สังคมนิยมประชาธิปไตย เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัย การผลิต วางแผน และควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภคต่าง ๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็น ผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการ ...

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คืออะไร

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่าง ๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและ ...

มีสิ่งใดบ้างที่แสดงว่าระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมระหว่างระบบทุนนิยม เสรีกับการแทรกแซงและก ากับโดยรัฐกล่าวคือ เศรษฐกิจไทยเป็นระบบที่ยอมรับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล ภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้โดยเสรีมีการแข่งขันที่ค่อนข้างเสรี หน่วยธุรกิจส่วนใหญ่ทั้งใน ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ