คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี คืออะไรบ้าง

  • พระอัญญาโกณฑัญญะ

 พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา เกิดในตระกูลพราหมณ์ของตระกูล “โทณวัตถุ” ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อว่า โกณฑัญญะ ได้ศึกาจนจบไตรเพทชั้นสูงและวิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 5 วัน บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายต่างพิจารณาตรวจดูพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะอย่างละเอียด มีความเห็นว่าถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะ พยากรณ์ศาสตร์ ได้ทำนายเป็น 2 นัย เหมือนกันทั้งหมดว่า “พระราชกุมารนี้ ถ้าเป็นฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าออกผนวชจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก”

ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ได้ตรวจดูและทำนายเพียงกรณีเดียวว่า “จะต้องออกผนวชและได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน” และท่านตั้งใจว่าหากยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตาม

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชและทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม โกณฑัญญะพราหมณ์ จึงได้ชวนพราหมณ์ที่ร่วมกันทำนาย 4 คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิรวมเป็น 5 คน เรียกว่า “ปัญจวัคคีย์”ออกบวชติดตามคอยเฝ้าปรนนิบัติรอว่าเมื่อพระพุทธเจ้าบรรลุธรรมแล้วจะได้สั่งสอนตนด้วย

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าคงไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษได้ จึงพากันละทิ้งไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ที่เคยอุปัฏฐาก จึงเสด็จไปยัง “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” เมื่อจบพระธรรมเทศนา โกณฑัญญะได้รู้ธรรมตามพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ทรงทราบจึงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญญะ” แปลว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” เพราะพระดำรัสที่ว่า “อัญญาสิ” คำว่า “อัญญา” จึงเป็นคำนำหน้าชื่อท่านว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” ตั้งแต่นั้นมา

คุณธรรมที่ถือเป็นแบบอย่าง

พระอัญญาโกณฑัญญะมีคุณธรรมที่ถือเป็นแบบอย่างหลายประการ  ดังนี้

  1. เป็นผู้มีความเชื่อมั่น คือเชื่ออย่างไร ก็ทำตามที่เชิญอย่างนั้น  เช่น  เชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องเสด็จออกผนวชและได้ตรัสรุอย่างแน่นอน  จึงรอคอยวันเวลา  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชจึงได้ชักชวนเพื่อน  ๆ  อีก  4  คน  ออกผนวชตาม  เป็นต้น
  2. เป็นผู้ที่สันโดษและชอบอยู่ในที่สงัด กล่าวคือ พระอัญญาโกณฑัญญะไม่ชอบอยู่ใกล้หมู่บ้านและเมือง  ชอบอยู่ตามวัดป่า  แม้บั้นปลายชีวิตท่านยังกราบลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ในวัดป่าฉัททันต์และนิพพานที่นั่น
  3. เป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิตมาก คือ นอกจากจะมีอายุมากแล้วพระอัญญาโกณฑัญญะยังผ่านเหตุการณ์ต่าง  ๆ   มาอย่างชัดเจน  จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าดีเด่นด้านรัตตัญญูภาพ                                   
  • พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุธศาสนา ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รู้รัตตัญญู ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเวทหะ พระประยูรญาติถวายพระนามว่า “โคตรมี” ทรงเป็นพระภคิณีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) จึงเป็นทั้งพระมาตุจฉาและพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ

พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูติเจ้าชายสิทธัตถะได้เพีบง 7 วัน ก็เสด็จสวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมีผู้มีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาให้การเลี้ยงดูต่อมา โดยได้สถาปนาไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และได้ประสูติพระโอรสและพระราชิดานามว่า “นันทกุมาร” และ “รูปนันทา”

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชและบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาและพระน้านาง ยังพระบิดาดำรงอยู่ในพระอนาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผล

คุณธรรมที่คุณควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี  มีคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างหลายประการ  ดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีความอดทนและตั้งใจ คือ แม้จะรู้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเป็นพระภิกษุณี  ก็ไม่ย่อท้อ  อดทนรอคอยเวลาและจังหวะ  ประกอบกับมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะบวช  ในที่สุดก็ได้บวชเป็นภิกษุณีสมประสงค์
  2. เป็นผู้ที่มีความเพียรพยายาม คือ แม้จะบวชเมื่อมีอายุมากแล้ว  แต่ก็ไม่ละความเพียรพยายาม  ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมจนสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์
  3.  เป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม คือ หลังจากบวชแล้วท่านได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สถานบันพระภิกษุณีหลายประการ  เช่น  ท่านเห็นว่าระเบียบในทางวินัยปฏิบัติเหมาะสมกับพระภิกษุสงฆ์  แต่มีปัญหาสำหรับพระภิกษุณีสงฆ์  จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความสะดวกและเหมาะสมกับพระภิกษุณี
  4.  เป็นผู้ที่ทีประสบการณ์ในชีวิตมาก คือ นอกจากมีอายุมากแล้ว  พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรียังผ่านโลกและเหตุการณ์ต่าง  ๆ  มาอย่างชัดเจน  จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าดีเด่นด้าน  รัตตัญญูภาพ     
  • พระเขมาเถรี

 พระเขมาเถรี ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้มีปัญญาพระนางเกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ ได้นามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรืองรองดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งกรุงราชคฤห์เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันวันใกล้กรุงราชคฤห์นั้น พระนางทราบว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องโทษในรูปสมบัติ ดังนั้น พระนางซึ่งเป็นผู้หลงมัวเมาในรูปโฉมของพระนาง

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อทราบความก็ทรงดำริว่า “เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระศาสดา แต่พระอัครมเหสีของเรานี้กลับไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า”พระองค์จึงคิดหาอุบายด้วยการให้กวีผู้ฉลาดประพันธ์บทกวีพรรณนาถึงความงามของพระวิหารเวฬุวัน แล้วรับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ

หลังจากพระนางได้สดับคำพรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปชม จึงขอตามเสด็จพระเจ้าพิมพิสารเพื่อไปชมพระราชอุทยานทั้งวัน แต่ฝ่ายพวกราชบุรุษทั้งหลายได้นำพระนางไปยังสำนักพระพุทธเจ้าทั้ง ๆ ที่ พระนางไม่ประสงค์จะไปพระพุทธเจ้าได้เนรมิตนางเทพอัปสรที่มีความงดงามยิ่งกำลังถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลังพระนางเขมาเถรีเห็นนางเทพอัปสรเหล่านั้นถึงกับตะลึงในความงามและดำริในใจว่า “สตรีนี้งามปานเทพอัปสร แม้เราจะเป็นข้าทาสหญิงรับใช้ของนางก็ยังไม่คู่ควรเลย” พระนางยืนเพ่งดูสตรีเหล่านั้นอยู่ ในบัดนั้นพระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานให้สตรีที่แสนสวยมีร่างกายที่เปลี่ยนไป ค่อย ๆ แก่ลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหญิงชรา หนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มนอนกลิ้งกับพื้นพระนางเขมาเถรีได้เห็นดังนั้นจึงเกิดสติและตระหนักว่า “หญิงที่สวยงามปานนี้ยังแก่ชราเสื่อมไปได้ ตัวเราเองก็คงเป็นเช่นนั้นแน่” ขณะที่พระนางกำลังดำริอยู่นี้ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมโปรดจนพระนางเขมาเถรีได้บรรลุพระอรหัตตผล ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง”พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน หากฆราวาสบรรลุพระอรหันต์แล้ว จะต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียในวันนั้น เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นอรหันต์ได้ พระนางจึงเสด็จกลับพระราชวังเพื่อทรงขออนุญาตพระเจ้าพิมพิสารออกผนวช ซึ่งพระองค์ก็ทรงอนุญาต โดยให้ประทับบนวอทองและนำไปอุปสมบทในสำนักของภิกษุณีสงฆ์เมื่อพระนางเขมาเทวีอุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัยจนแตกฉาน  และสามารถแสดงธรรมได้วิจิตรพิสดาร  พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องพระภิกษุณีเขมาว่า  เป็นพระภิกษุณีที่เลิศในทางปัญญา และได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าเป็น  พระอัครสาวิกาเบื้องขวา 

พระภิกษุณีเขมาได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ได้บำเพ็ญกิจที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาเป็นเวลาพอสมควร  จนมีคำต่อท้ายชื่อว่า  พระเขมาเถรี  และท่านก็ได้นิพพานในเวลาต่อมาตามอายุขัย  

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

พระเขมาเถรีมีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างหลายประการ  ดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีเหตุผล เช่น พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายล้วนไม่มีอะไรที่แน่นอน  ไม่มีแก่นสาร  แม้แต่รูปร่างสวยโสภาของพระนาง  จนทำให้พระนางบรรลุโสดาบัน  และได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในที่สุด                 
  2. เป็นผู้ที่มีปัญญา สามารถเข้าใจพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าได้รวดเร็วและมีความสามารถแสดงธรรมได้วิจิตรพิสดาร ทำให้คนที่มาฟังธรรมหรือสนทนาธรรมเกิดความลึกซึ้งในพระพุทธศาสนา  ละเว้นความชั่ว  ประพฤติความดี  และทำจิตใจให้ผ่องใส  ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า  เป็นพระภิกษุที่เลิศในทางปัญญา  และได้การแต่งตั้งให้เป็นพระอัครสาวิกาเบื้องขวา
  3. เป็นผู้ที่มีไหวพริบปฏิภาณ สามารถโต้ตอบปัญหาได้ฉับไวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ซึ่งคุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากครั้งหนึ่ง  พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าไปซักถามปัญหาที่ลึกซึ้งตอบให้เข้าใจยาก  แต่ด้วยไหวพริบพระเขมาเถรีสามารถโต้ตอบปัญหา  และยกอุปมาอุปไมยให้พระเจ้าปเสนทิโกศลสดับฟังจนเข้าใจแจ่มแจ้ง          
  •  พระเจ้าปเสนทิโกศล

  พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นโอรสของพระเจ้ามหาโกศล  ผู้ครองนครองสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล ทรงศึกษาศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับไปครองราชย์สมบัติ ณ กรุงสาวัตถี

วันหนึ่งขณะที่ประทับยืนบนปราสาท พระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุสงฆ์หลายพันรูปไปฉันภัตตาหารในคฤหาสน์ของอนาถบิณฑิก ได้เกิดพระราชประสงค์จะถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นทรงนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุให้มาฉันภัตตาหารในพระราชวังตลอด 7 วัน พระเจ้าปเสนทิโกศลยังได้กราบทูลพระพุทธเจ้าขอให้ส่งพระภิกษุไปฉันภัตตาหารในพระราชวังเป็นประจำ

พระจริยาวัตรที่ควรนับถือเป็นแบบอย่างของพระเจ้าปเสนทิโกศล

  1. ทรงเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พยายามหาทางขวานขวายเพื่อให้ได้เข้าใกล้พระพุทธศาสนาและพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ2. เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เห็นได้จากเมื่อพระเจ้าปเสนทิโกสลทรงทราบว่านางวาสภขัตติยาไม่ได้อยู่ในวรรณะเดียวกับพระองค์ก็ทรงโกรธ รับสั่งให้ริบเครื่องบำรุงตามแบบกษัตริย์ทั้งแม่และลูก แต่เมื่อได้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสแนะนำชี้แจงว่าโคตรของบิดาย่อมสำคัญกว่า นางวาสภขัตติยาและวิฑูฑภะก็มีพระบิดาเป็นกษัตริย์ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยและทรงเชื่อในคำชี้แจงของพระพุทธเจ้า จึงสั่งให้คืนเครื่องบำรุงแก่พระมเหสีและพระโอรส
  2. เป็นผู้ฝักใฝ่ในการทำบุญและส่งเสริมให้พสกนิกรได้ทำบุญด้วย เห็นจากการที่พระองค์ทรงจัดให้มีการแข่งขันทำบุญ รวมไปถึงการขอให้พระเจ้าพิมพิสารทรงส่งคนมีบุญไปอยู่แคว้นดกสลซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้มีบุญไม่มากอยู่ โดยพระเจ้าพิมพิสารได้ส่ง “ธนัญชัยเศรษฐี” ไปอยู่ในแคว้นดังกล่าว

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างหลายประการ  ดังนี้

  1. ทรงเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ กล่าวคือ ในสมัยทรงเป็นพระราชกุมาร  ทรงสนพระทัยในการศึกษามาก  ทรงฉลาดและมีไหวพริบ  เมื่อทรงศึกษาจบสามารถแสดงศิลปวิทยาที่ได้ทรงศึกษามาจนเป็นที่พอพระทัยของพระบิดา  ต่อมาก็ทรงได้รับการอภิเษกให้เป็นพระราชาตั้งแต่บิดาทรงยังมีพระชนม์อยู่              
  2. ทรงเป็นผู้ที่หนักแน่นในเหตุผล คือ ทรงเชื่อฟังผู้ที่มีเหตุผลดีกว่า  เมื่อทรงตัดสินพระทัยผิดในบางครั้งได้รับการทักท้วงจากพระนางมัลลิกา  หรือพระพุทธเจ้า  ก็ทรงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  
  3. ทรงเป็นผู้ไม่ถือตน แม้จะทรงเป็นถึงพระมหากษัตริย์ปกครองแคว้นที่เป็นมหาอำนาจแต่ก็ทรงปฏิบัติพระองค์คล้าย ๆ  กับสามัญชน  เสด็จไปที่ใดอย่างธรรมดาไม่มีพิธีรีตอง  จึงทราบความเป็นอยู่ของราษฎร  และความเป็นไปในราชอาณาจักร
  4. ทรงมีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง โดยทรงมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยทรงเอาพระทัยใส่และให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์  พระภิกษุณี  และเหล่าสามเณรสามเณรี  เป็นอย่างดีตลอดพระชนม์ชีพ
  • นันทิวิสาลชาดก

ความเป็นมา พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภคำเสียดสีของภิกษุเหล่าฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า มนุญฺญเมว ภาเสยฺย ดังต่อไปนี้

สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกัน พากันด่าว่าเสียดสีภิกษุที่มีศีลบริสุทธิ์ ด่าด้วยอักประการต่าง ๆ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันกราบทูลความนั้นแด่พระพุทธเจ้า ๆ จึงรับสั่งให้ภิกษุฉัพพัคคีย์มาเฝ้า ตรัสถาม เมื่อทราบความจริงแล้วจึงทรงตำหนิโทษ แล้วตรัสสอนว่า ขึ้นชื่อว่าคำหยาบมีแต่จะทำความพินาศให้แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ไม่ชอบใจคำหยาบเช่นเดียวกัน แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า ดังนี้

ในอดีตกาลพระเจ้าคันธารราชครองราชสมบัติในนครตักสิลาแคว้นคันธารพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นโคของพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งได้มาตั้งแต่ที่โคนั้นเป็นโคหนุ่มและตั้งชื่อว่านันทิวิสาลพราหมณ์ได้ให้ความรักและเลี้ยงดูโคนันทิวิสาลอย่างดีประดุจเป็นบุตรคนหนึ่ง เมื่อโคเติบใหญ่ขึ้นก็มีความคิดว่า พราหมณ์ได้ให้การอุปถัมภ์เลี้ยงดูตนเป็นอย่างดียิ่ง สมควรจะทำการตอบแทนบ้าง วันหนึ่ง โคนันทิวิสาลจึงแจ้งความประสงค์แก่พราหมณ์และให้พราหมณ์ไปท้าพนันโควินทกเศรษฐีว่าโคนันทิวิสาลสามารถลากเกวียนที่ผูกติดต่อกันไปได้ต้องร้อยเล่มเกวียน พราหมณ์จึงไปท้าพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์พันหนึ่ง เมื่อตกลงกันแล้วเขาจึงเอาเกวียนบรรทุกด้วยทราย กรวดและก้อนหินเต็มทั้งร้อยเล่มแล้วตั้งเป็นแถวผูกเชือกขันชะเนาะให้ติดเนื่องกันเป็นคันเดียว เสร็จแล้วก็อาบน้ำให้โคนันทิวิสาล ประพรมด้วยกระแจะจันทร์เจิมและคล้องด้วยพวงมาลัยที่คอ เทียมโคตัวเดียวที่แอกเกวียนเล่มแรก ส่วนตนเองก็ขึ้นนั่งที่แอกเกวียน แล้วยกปฏักขึ้นตวาดด้วยคำหยาบเป็นต้นว่า เฮ้ยเจ้าโคโกง เจ้าจงลากไป เฮ้ยเจ้าโคโกง เจ้าจงพาไปให้ได้ โคนันทิวิสาลได้ยินเช่นนั้นจึงคิดว่าท่านพราหมณ์นี้เรียกเราผู้ไม่โกงเลยว่าเป็นผู้โกง จึงยืนเฉยเสีย พราหมณ์จึงแพ้พนันเศรษฐีจำต้องนำทรัพย์หนึ่งพันมาให้ เมื่อกลับถึงบ้านก็นอนเศร้าโศกอยู่ ส่วนโคนันทิวิสาลเมื่อกลับมาถึงบ้านเห็นพราหมณ์เศร้าโศกเช่นนั้น จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า ท่าน
พราหมณ์ ตลอดเวลาที่เราอยู่ที่นี้ ท่านให้ได้การเลี้ยงดูเราอย่างดี และเราก็ไม่เคยกระทำความเดือดร้อนรำคาญใด ๆ ให้แก่ท่าน ไฉนท่านจึงกล่าวว่าเราเป็นผู้โกงไปได้ เอาเถอะ ท่านจงไปท้าพนันกับเศรษฐีอีกครั้งหนึ่งและอย่าเรียกเราว่าเป็นโคโกงอีกเลย พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงไปท้ากับเศรษฐีด้วยทรัพย์เป็นทวีคูณ เมื่อถึงวันที่กำหนดได้ผูกเกวียนร้อยเล่มให้ติดเป็นเล่มเดียวกัน ประดับตกแต่งโคแล้วเทียมเข้าที่แอกเกวียนเล่มต้นนั้น เมื่อเทียมเสร็จแล้วจึงขึ้นนั่งที่เอกเกวียนแล้วลูบหลังโคพร้อมกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ จงลากไป พ่อมหาจำเริญ จงฉุดไปเถิด ฝ่ายโคนันทิวิสาลได้ยินเช่นนั้น ก็สามารถลากเกวียนร้อยเล่มนั้นจากเกวียนที่อยู่ท้ายสุดไปตั้งอยู่ที่ตรงเกวียนเล่มต้นตั้งอยู่ได้ ทำให้พราหมณ์ชนะพนันเศรษฐีได้ทรัพย์ถึงสองพันและ
มหาชนเป็นอันมากก็ได้ให้ทรัพย์แก่โคนันทิวิสาลและทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของพราหมณ์เช่นเดียวกันคติธรรมจากนันทิวิสาลชาดก บุคคลเมื่อจะพูดเจรจากับใคร ๆ ควรจะพูดเจรจาแต่คำที่เว้นโทษ 4 ประการ ได้แก่ พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ ควรพูดด้วยถ้อยคำที่อ่อนหวาน น่าชอบใจ ไพเราะเสนาะโสต น่ารักใคร่เท่านั้น

  • สุวรรณหังสชาดก

      ความเป็นมา พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุณีชื่อถุลลนันทา ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ ดังต่อไปนี้

อุบาสกคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี ปวารณากระเทียมกับภิกษุณีสงฆ์ไว้ และสั่งกำชับคนเฝ้าไร่ว่าหากภิกษุณีทั้งหลายพากันมาจงถวายให้รูปละสองสามกำเถิด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกภิกษุณีเมื่อต้องการกระเทียมก็จะพากันไปที่บ้านหรือไร่ของเขาคราวหนึ่งมีวันมหรสพกระเทียมในเรือนของอุบาสกหมดลงภิกษุณีชื่อว่าถุลลนันทาพร้อมด้วยบริวารพากันไปที่เรือนของอุบาสกเมื่ออุบาสกนิมนต์ให้ไปเอากระเทียมที่ไร่ จึงพากันไปไร่ขนกระเทียมไปอย่างไม่รู้ประมาณ ถูกคนเฝ้าไร่ต่อว่า ต่อมาถูกพวกภิกษุณีด้วยกัน และพวกภิกษุทั้งหลายติเตียน และเมื่อความทราบถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงตำหนิ แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่าในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้สมรสกับหญิงสาวคนหนึ่ง ได้มีธิดาสามคนชื่อ นันทา นันทวดี และสุนันทา ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้ทำไปเกิดเป็นหงษ์ทอง และมีญาณระลึกชาติได้ หงษ์ทองได้เห็นความลำบากของนางพราหมณีและพวกธิดามีประการต่าง ๆ ก็คิดสงสาร จึงบินไป ณ ที่นั้น เกาะที่ท้ายกระเดื่องพร้อมกับสลัดขนทองให้หนึ่งขนแล้วบินหนีไป นางพราหมณีพร้อมธิดาก็นำขนทองนั้นไปขายเลี้ยงชีวิต หงษ์ทองก็มาเป็นระยะ ๆ สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขนและนางก็ได้นำไปขายเป็นประจำตลอดมา จนมีฐานะมั่งคั่งขึ้นมีความสุขความสบายตามสมควรอยู่มาวันหนึ่งนางได้ปรึกษากับลูก ๆ และเห็นว่าขึ้นชื่อว่าพวกดิรัจฉานรู้จิตใจได้ยาก หงษ์ทองอาจจะไม่มาสลัดขนในที่นี้อีก จำเป็นที่จะต้องจับหงษ์ทองมาถอนขนให้หมด เมื่อลูก ๆ ไม่ตกลง แต่เพราะนางมีความโลภมาก ครั้นวันหนึ่งเมื่อหงษ์ทองมาสลัดขนให้ก็ได้รวบหงษ์ทองนั้นไว้พร้อมกับถอนขนออกจนหมดแต่เพราะหงษ์ทองมิได้ปลงใจให้ทำให้ขนเหล่านั้นจึงเป็นเหมือนขนนกยางไปเสียหมด
หงษ์ทองเมื่อถูกถอนขนไปจนหมดก็ไม่สามารถกางปีกบินได้ นางจึงเอาใส่ตุ่มใหญ่เลี้ยงไว้ ขนที่งอกขึ้นใหม่ก็กลายเป็นขาวไปหมด ครั้นเมื่อขนขึ้นเต็มที่แล้วหงษ์ตัวนั้นก็จึงบินหนีไปพระพุทธเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ถุลลนันทามีความปรารถนาใหญ่ แม้ในครั้งก่อนก็มีความปรารถนาใหญ่เหมือนกัน และเพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุณีฉันกระเทียม ภิกษุณีใดฉันกระเทียม ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

    คติธรรมจากสุวรรณหังชาดก ได้แก่ บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีสิ่งนั้น ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้โลภมาก มิได้เป็นที่รักเจริญใจ แม้แก่มารดาบังเกิดเกล้า ไม่อาจจะยังผู้ที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่อาจยังผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ไม่อาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้บังเกิด หรือลาภที่เกิดแล้วก็ไม่อาจกระทำให้ยั่งยืนได้

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของพระมหาปชาบดีเถรีมีอะไรบ้าง

ครุธรรม ๘ ประการนั้น คือ ๑. ภิกษุณีแม้จะมีพรรษา ๑๐๐ ก็ต้องกราบไหว้พระภิกษุซึ่งบวชในวันนั้น ๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ ๓. ภิกษุณีจงไปถามวันอุโบสถ และฟังโอวาทจากภิกษุ ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษา แล้วต้องปวารณาสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้งสามคือ โดยได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย

พระมหาปชาบดีเถรีมีคุณธรรมข้อใดเด่นชัดที่สุด

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น จึงทรงสถาปนาพระนางนำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ ราตรีนาน

พระนางประชาบดีโคตมีมีศักดิ์เป็นอะไรกับเจ้าชายสิทธัตถะ

เมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตแล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมาพระเจ้าสุโธนะได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายนันทะ และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนาม ...

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในด้านใด

พระมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราชธิดาแห่งโกลิยะ เป็นพระมาตุจฉาของพระโคตมพุทธเจ้า เพราะเป็นพระขนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา และเป็นภิกษุณีรูปแรก ทรงได้เรียนกรรมฐานและทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ