อาจารย์เฉลิมชัยเป็นศิลปินด้านใด

“มุ่งมั่น ฝึกฝน ทำการบ้าน และมีความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของโลก”
นี่คือแนวคิดเชิงบวกที่ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปีพ.ศ.2554 ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย และสำหรับเป้าหมายต่อไปที่ต้องการเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของโลกด้วยการสร้างสรรค์วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย หรือ White Temple ให้เป็นดัง “ทัชมาฮาล” เมืองไทย ที่นักเดินทางจากทั่วโลก “ต้องมาชื่นชมก่อนตาย” ดูเหมือนใกล้สำเร็จเข้ามาทุกทีแล้ว “ฅนคิดบวก” พาไปหาคำตอบถึงเบื้องหลังความสำเร็จในเรื่องนี้

::: สร้างงานเพื่อแผ่นดิน :::

          ก่อน อ.เฉลิมชัยจะสร้างสรรค์วัดร่องขุ่นให้งดงามเหนือคำบรรยายได้ ย้อนกลับไปเมื่อ 30ปีที่แล้ว ในยุคที่วงการศิลปะเมืองไทยเฟื่องฟูถึงขีดสุด ท่านเป็นหนึ่งในศิลปินระดับแนวหน้าที่ผลงานจิตรกรรมไทยประเพณีของท่านมีความโดดเด่นมาก จนในเวลาต่อมาท่านคิดการณ์ใหญ่ด้วยการออกแบบก่อสร้าง “วัดร่องขุ่น” ขึ้นที่บ้านเกิดในจังหวัดเชียงรายเมื่อปีพ.ศ.2540 โดยมุ่งหวังให้เป็นดัง “เมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้” จากแรงบันดาลใจ 3ประการด้วยกันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

“ชาติ” เพื่อให้เป็นสมบัติแผ่นดิน
“ศาสนา” เพื่อดำรงพระพุทธศาสนาไว้ 
“พระมหากษัตริย์” เพื่อถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลที่ 9


::: มนุษย์จะยิ่งใหญ่ได้ต้องบริหารจัดการเป็น :::

          ตามแนวคิดของอ.เฉลิมชัยท่านคิดว่ามนุษย์เราจะยิ่งใหญ่ได้ต้องบริหารจัดการชีวิตตัวเองได้ดี โดยเริ่มจากวางแผนเป็นขั้นตอน มุ่งมั่นจริงจัง และถึงกับใช้ชีวิตตัวเองเป็นเดิมพัน

          “บนโลกใบนี้ไม่มีใครพบความสำเร็จแบบฟลุคๆ จะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ และความทุ่มเทแทบทั้งสิ้น” 

          อ.เฉลิมชัยไม่ปฏิเสธว่า ตนมีความปรารถนาจะเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งไม่ได้ทำเพื่อตนเอง แต่เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเผยแพร่เกียรติยศไปสู่ทั่วโลก เพราะด้วยแนวคิดเช่นนี้ก็ทำให้มนุษย์เราเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ได้ “อย่าบอกว่าทำไม่ได้ ในโลกนี้ทำได้ทุกอย่าง เพียงแต่ไม่กล้าทำกันเอง จึงไม่พบความสำเร็จ คนที่พบความสำเร็จระดับโลกได้ ต้องมีความคิดที่กล้าหาญเกินกว่ามนุษย์ทั่วไป”

          จุดเริ่มต้นนั้นอยู่ที่ “ความคิด” ซึ่งต้องคิดว่าไม่ยาก และต้องเตรียมพร้อมรับความลำบาก ต้องมีความอุตสาหะ และเสียสละ 

          อ.เฉลิมชัยเล่าว่าตัวท่านได้ผ่านทางวิบากแสนสาหัสมาแล้ว ซึ่งใครก็ตามที่เป็นเช่นนี้ จะไม่เจอวิบากกรรมอีกเลยในชีวิตจวบจนวันตาย เพราะความทุกข์ยาก ได้สั่งสอนและบีบคั้นจนเอาชนะได้ ดังนั้นในวัยที่ยังหนุ่มสาว แข็งแรง จงสู้ และจะไม่มีวันตาย “ไม่มีวันจะไม่สำเร็จหากเราสู้ ต่อให้เลือดโทรมกายเท่าไหร่ก็ตาม ต่อให้กำลังจะตาย จงฟื้นขึ้นมาด้วยพลังข้างในตัวเรา เพราะความจริงแล้วความอดทนอดกลั้นของคนเราสูงกว่าการอดข้าวเสียอีก ความยโสทรนง และความมุ่งมั่นทุ่มเท ในโลกนี้มีแต่คนอ่อนแอ และหวั่นไหวเท่านั้นที่ไม่สามารถเดินไปสู่เป้าหมายได้”

::: เส้นทางแผนชีวิต :::

          คนที่ต้องการเป็นที่สุดในอาชีพนั้นๆ จำเป็นต้องเรียนรู้องค์ประกอบทุกอย่างที่นำไปสู่ความยิ่งใหญ่ ไม่ใช่สิ่งที่เรียนเพียงอย่างเดียว ต้องอยู่ที่การบริหารจัดการชีวิตตัวเอง และบริหารจัดการผลงานออกไปสู่สาธารณชน รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์ และรสนิยม “ความยิ่งใหญ่ของคนเราต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง และต้องมีความพร้อมอย่างที่สุด ขาดอะไรไม่ได้เลย ต้องเก่งทุกด้าน และรู้จักจังหวะ เมื่อเกิดวิกฤตก็ทำให้เป็นโอกาส มีความเฉลียวฉลาด โดยเฉพาะความฉลาดทางอารมณ์ที่ต้องเรียนรู้ และฝึกฝนตั้งแต่เด็ก ซึ่งหมายถึงการยับยั้งชั่งใจตนเอง และการรู้จักหาจังหวะเวลาในการผลักดันผลงานไปสู่แต่ละขั้น จึงจะได้ชื่อว่าเป็นความสูงสุดของมนุษย์”

          ความฉลาดในความหมายของอ.เฉลิมชัย ประกอบคุณสมบัติที่ว่าด้วยการเป็นผู้เปิดโลกกว้าง มีวิสัยทัศน์ยอมรับทุกอย่าง และไม่นินทาผู้อื่น ซึ่งหากมีคุณสมบัติเหล่านี้ก็เท่ากับมีพื้นฐานที่ดีสู่การเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้ “สังคมไทยเราอ่อนแอ ดังนั้นเราต้องเรียนรู้สังคม เราจะสู้กับสังคมโลกได้ เราต้องปรับพื้นฐานของเราด้วยการเป็นคนดีมีคุณธรรม ติดดิน และทุ่มเทชีวิตให้ชาติ และศาสนา ต้องเป็นบุคคลดีงามที่สุดเท่านั้นจึงจะได้รับการยอมรับสรรเสริญ นี่เป็นสิ่งง่ายที่สุด เพราะสังคมไทยกระหายคนดีมาก เราจึงโหยหาคนดี

::: ต้อง “เอาชนะ” :::

          อ.เฉลิมชัยเกิดวันที่ 15กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณพ่อฮั่วชิว แซ่โค้ว ​(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นไพศาล) และคุณแม่พรศรี อยู่สุข​ พื้นเพเป็นชาวเชียงราย ชีวิตวัยเด็กเกเร ไม่ชอบเรียนหนังสือ  แต่ชอบวาดรูปมาก “เตี่ยบอกให้วาดรูป เดี๋ยวให้เงินหนึ่งสลึง” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นกุศโลบายที่เตี่ยต้องการให้ลูกชายอยู่เฝ้าบ้าน “พี่ชายเราก็ชอบวาดรูป พี่เราวาดได้หนึ่งบาท เราเลยเอาอย่างบ้าง พอวาดแล้วชอบ และได้รับคำชมจากเตี่ย เราเหมือนมีตัวตนขึ้นมา และต้องการจะเอาชนะพี่ชายให้ได้ จึงมุ่งมั่นตั้งใจฝึกฝนเขียนภาพทุกวัน ไม่ถึง 20วัน เราก็เอาชนะได้จริงๆ เพราะพี่ชายเรานานๆ จะเขียนภาพสักครั้ง”

          รูปแรกที่อ.เฉลิมชัยวาดคือ รูปลายไทยบนกล่องไม้ขีดไฟ ทั้งราชรถ พญานาค และหนุมาน จนได้เพิ่มรางวัลจากหนึ่งสลึงเป็นหนึ่งบาท ต่อมาเห็นอากงแปะรูปที่เขียนด้วยสีถ่ายบนฝาบ้าน จึงไปนำถ่านหุงข้าวมาตำ แล้วใช้สำลีแทนพู่กัน เริ่มฝึกแบบนี้มาตั้งแต่อายุ 11ขวบ จากนั้นเมื่ออากงพาเข้าไปในตัวเมืองเชียงราย เกิดไปภาพคัทเอาท์หน้าโรงภาพยนตร์ ก็เกิดแรงกระตุ้นจะเอาชนะอีก จึง “ครูพักลักจำ” ด้วยการขอเข้าไปทำงานเล็กๆ น้อยๆ ช่วยล้างผ้าใบบ้าง วิ่งซื้อโอเลี้ยง ซื้อข้าวมันไก่บ้าง เพื่อจะได้คลุกคลีอยู่กับช่างเหล่านั้น           

          “ครอบครัวเราไม่สนับสนุนนะ เพราะที่บ้านค้าขาย เตี่ยต้องการให้ทำบัญชี แต่เราดื้อเอง เราชอบวาดรูป เราบอกว่าถ้ามาห้ามเรา ก็เอาชีวิตเราไปเลย เรายอมแลกกับความตาย ใช้ความตายเป็นตัวตัดสิน เป็นที่ตั้งมาตลอด ในที่สุดเตี่ยก็ยอมเราคิดแบบนี้มาตั้งแต่เด็กเลย”

           ความคิดในวัยเด็กของอ.เฉลิมชัยคือการไม่คิดเหมือนคนอื่น เพราะขณะที่หลายคนคิดว่าความสำเร็จของคนเราเพราะมีโชค มีบุญวาสนา แต่อ.เฉลิมชัยคิดว่าต้องอาศัยองค์ประกอบใดบ้าง และถ้าต้องการเป็นอย่างเขา เราต้องทำอย่างไร “นี่คือจุดเริ่มต้นของคำว่าคิดเป็น ถ้าคิดเป็นแล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาขวางความคิดเราได้เลย จากนั้นก็ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร”


 

::: ต้อง “คิดเป็น” :::

         เมื่อฝึกเขียนภาพแล้ว อ.เฉลิมชัยก็ตั้งเป้าหมายจะต้องเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยความมุ่งมั่นเดียวคือ “ต้องชนะทุกอย่าง” ซึ่งแรงบันดาลใจคือ “อากง” นั่นเอง ท่านเป็นชาวจีนเสื่อผืนหมอนใบเข้ามารับจ้างแบกข้าวสารในเมืองไทย และสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาได้ “เรามาจากครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกัน แต่ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงเราได้เลย ต่อให้ลำบากถึงขั้นไม่มีกิน ก็เปลี่ยนแปลงเราไม่ได้”

          เป้าหมายของอ.เฉลิมชัยเด็ดเดี่ยวมาก เมื่อสอบเข้าเพาะช่างได้แล้ว ท่านต้องเดินเท้าจากบ้านแถวบางยี่เรือมาเรียน เพราะเสียดายค่ารถ ซึ่งในยุคนั้นค่ารถเมล์ 50 สตางค์ ซื้อกล้วยรับประทานได้แล้ว โดยซื้อวันละ 3 ผล เป็นเงินหนึ่งบาท รับประทาน 3 มื้อ “เราไม่สนใจอะไรเลย ไม่เคยขอเพื่อน เราอาจหาญทรนงมาก แค่ต้องดื่มน้ำเยอะๆ และมุ่งมั่นว่าวันข้างหน้าสักวัน เราจะเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ หากเราเอาชนะใจตัวเองไม่ได้ แล้วจะยิ่งใหญ่ในต่อไปได้อย่างไร ดังนั้นต้องอดทนต่อความยากลำบาก เพราะไม่มีความสำเร็จเกิดขึ้นได้หากไม่ทุกข์ ไม่ลำบาก”

          อ.เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์ ปิดท้ายด้วยข้อคิดที่ดีๆ ว่า “เราไม่ได้เหนือกว่าผู้อื่น เรามองค่าของใจมากกว่าวัตถุ ไม่มองวัตถุเหนือใจ ใจของเราที่ต่อสู้มา ที่ฝึกฝนมานั้นสำคัญกว่า วัตถุเดี๋ยวนี้ผุพังไปตามกาลเวลา ไม่คงทน ไม่ได้งดงามอย่างนี้ไปตลอด สุดท้ายก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่เที่ยง สิ่งสำคัญคือใจของเรา และความไม่ทุกข์นั่นเอง”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ