ปวดหัว ปวดเบ้าตา ปวดขมับ เกิดจากอะไร

อาการปวดศีรษะเป็นการเจ็บป่วยที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้จาก สถิติการจำหน่ายยาแก้ปวดภายในประเทศ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าพันล้านบาทต่อปี แม้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจดีว่าอาการปวดศีรษะโดยมากเกิดจากความเครียด ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าความผิดปกติของสายตาเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการปวดศีรษะ ซึ่งความจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น

สาเหตุของการปวดศีรษะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ปวดเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
2. ปวดเนื่องจากไมเกรน
3. ปวดเนื่องจากโรคภายในศีรษะ ตา หู และฟัน เป็นต้น
 

1. การปวดศีรษะเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยอาจรู้สึกสับสนเกี่ยวกับสาเหตุของการปวด เพราะบ่อยครั้งที่ มีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหลังคอและท้ายทอย กลับทำให้รู้สึกปวดบริเวณหน้าผาก ขมับ ท้ายทอย หรือรอบกระบอกตา แทนที่จะปวดในบริเวณที่กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยเฉพาะ

สาเหตุของการปวดศีรษะ เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง อาจเป็นผลจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นบางขณะในชีวิตประจำวัน เช่น เครียดกับการทำงานหรือปัญหาครอบครัว จากการหลับนอนหรือทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามอาการปวดศีรษะที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งคราวเท่านั้น และสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดทั่วไป

ผู้ป่วยที่ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง บางรายอาจมีอาการเรื้อรัง เนื่องจากสัมพันธ์กับโรคประสาทที่มีอาการซึมเศร้า ภาวะของการมีข้อต่อกระดูกอักเสบ หรือเป็นผู้ที่มีบุคลิกเครียดหรือกังวลอยู่

อาการปวดศีรษะที่เกิดจากสายตาเพลีย มีสาเหตุจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเช่นกัน แต่เป็นกล้ามเนื้อตา ซึ่งต้องทำงานมากเมื่อดูใกล้ติดต่อกันครั้งละนานๆ อาการปวดศีรษะที่เกิดจากสายตาเพลีย จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยใช้สายตาอย่างหนักเท่านั้น
 

2. การปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน

กลไกของการปวดเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดภายในศีรษะ ซึ่งมักจะพบบ่อยกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน โดยเฉลี่ยจะมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณหนึ่งต่อสิบคน แม้แต่เด็กเล็กก็อาจเกิดอาการเช่นนี้ได้ เช่น บางคนจะรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นช่วงสั้นๆ บางคนมีอาการเห็นแสงวิ่งเป็นเส้นหยัก แล้วตามมาด้วยอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ขณะที่บางคนเห็นแค่แสงแต่ไม่มีอาการปวด และบางคนที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแต่ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนจะมีลักษณะอาการที่เหมือนกัน คืออาการปวดมักไม่ต่อเนื่อง จะเป็นรุนแรงในซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีผลแทรกซ้อนที่รุนแรง การเกิดของไมเกรนมักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับความเครียดอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นควรป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด แทนที่จะรักษาเมื่อเกิดอาการขึ้นแล้ว
 

3. การปวดเนื่องจากโรคในศีรษะและสาเหตุอื่นๆ

การปวดศีรษะที่เกิดจากโรคตา มักจะเกิดอาการที่ตา หรือคิ้วของข้างที่เป็น และมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สายตามัวมองเห็นไฟเป็นสีรุ้งหรือสู้แสงไม่ได้ เป็นต้น

ส่วนอาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคของหู ฟัน ข้อขากรรไกร หรือเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า มักมีลักษณะแตกต่างจากอาการปวดศีรษะทั่วไปได้ ความแตกต่างนี้จะช่วยในการวินิจฉัยหาสมมติฐานของโรคได้

ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ ปวดขมับ สาเหตุจากอะไร นี่เป็นอาการที่พบบ่อยในคนยุคปัจจุบัน มาเรียนรู้อาการนี้กันมากขึ้นค่ะ

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ สำหรับฉบับนี้ผู้เขียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเคสที่น่าสนใจเคสหนึ่ง ที่อยากจะเล่าให้ท่านฟัง เป็นเรื่องที่น่าตกใจมากค่ะเพราะเคสที่มาพบผู้เขียนนั้นอายุเพียง 21 ปี พึ่งเรียนจบและยังไม่ได้ทำงาน แต่เสียงของร่างกายเคสนี้ก็บอกความบกพร่องในร่างกายของเขามากมาย ซึ่งในทางธรรมชาติบำบัดถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตเล่าให้ฟังคร่าวๆนะคะ

ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ ปวดขมับ อาการ

มีเคสที่มาด้วยอาการปวดกระบอกตา และปวดขมับ มึนศีรษะเรื้อรัง เป็นมานานกว่า 2 ปีแล้ว ปวดตลอดเวลา จะมากเวลาที่ต้องหอบหิ้วของหนัก หรือ ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งอ่านหนังสือ ไปพบแพทย์ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับการรักษาด้วยการทานยามาตลอด เคสเล่าว่าในช่วง 2 – 3 เดือนแรกๆ อาการก็ดีขึ้น แต่หลังๆทานยาเพิ่มปริมาณขึ้น อาการก็ไม่ดีขึ้น แพทย์ส่งเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Magnetic resonance imaging / MRI ) แต่ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ เคสจึงต้องบรรเทาอาการที่ตนเป็นด้วยการทานยามาตลอด ซึ่งอาการตอนนี้จากการทานยาต่อเนื่องนานทำให้ต้องเป็นโรคกระเพาะอาหารตามมา และมีอาการหายใจขัดๆ ร่วมกับการเป็นภูมิแพ้อากาศบ่อยๆ เหนื่อยง่าย ส่วนที่รุนแรงมากก็จะเป็นอาการปวดกระบอกตาและขมับ ร่วมกับอาการมึนศีรษะ

ฟังดูแล้วน่าตกใจใช่ไหมคะ เป็นตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ พอจบก็ยังไม่ได้ทำงาน แต่กลับต้องมาเสียเงินค่ารักษาพยาบาลและที่น่าแปลกมากสำหรับเคสนี้ คือการปรับโครงสร้างร่างกายเพียง 3 ครั้งต่อเนื่องก็ทำให้อาการที่เป็นมาตลอด 2 ปีนั้นหายเป็นปลิดทิ้ง

แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่านั้น คือเรื่องต้นเหตุของอาการไม่ได้อยู่ที่คอ ขมับหรือกระบอกตาเพียงอย่างเดียว แต่อาการดังกล่าวเป็นผลมาจากแนวของกระดูกหน้าแข้งที่มีการบิดหมุน จากการที่คุณพ่อพยายามดัดขาให้ตรงตั้งแต่ยังเด็กเพราะกลัวลูกโตขึ้นขาจะโก่งเหมือนคนในครอบครัวที่ขาโก่งทุกคน และคงเป็นการดัดที่มากเกินไปรวมทั้งไม่รู้หลักการทางกายวิภาคศาสตร์ จึงทำให้กระดูกหน้าแข้งผิดรูป บิดไปอีกด้านหนึ่ง ส่งผลให้เข่าด้านใน-ด้านนอก รับน้ำหนักตัวไม่สมดุล เกิดการบิดต่อเนื่องมาถึงข้อสะโพก กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลังและกระดูกคอบิดหมุน ผิดรูป ส่งผลต่อให้กล้ามเนื้อที่อยู่ใต้ฐานกระโหลก (Suboccipital muscle) เกิดการเกร็งตัวค้างและเรื้อรัง (หรือเรียกโรค Myofascial syndrome) ดึงรั้งไปที่กล้ามเนื้อบริเวณขมับ (Temporalis muscle)

ทั้งหมดนี้จะมีผลต่อหลอดเลือด-เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขมับและบริเวณตา ซึ่งทอดผ่านเส้นไยกล้ามเนื้อเหล่านี้ ดังนั้นเมื่อเกิดการเกร็งตัวมากกว่าปกติ จึงส่งผลให้ไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดและเส้นประสาท กลุ่มอาการเหล่านี้เกิดจากการไหลเวียนของระบบเลือดและเส้นประสาทไม่ดีนั่นเอง เพราะเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเราถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหารและอากาศที่มากับระบบการไหลเวียน เมื่อไม่มีเลือดไปเลี้ยงก็เกิดการคั่งของของเสีย เลือดดีก็ไม่ถ่ายเท ปล่อยไว้นานจึงทำให้ร่างกายแสดงอาการให้ทราบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น นั่นก็คือแสดงออกมาในรูปอาการเจ็บปวดต่างๆ นั่นเอง และสำหรับเคสนี้ยังตรวจพบว่าหลังค่อมมาก อาจเป็นผลจากตัวสูงกว่าเพื่อนในกลุ่ม ตอนเรียนอยู่จึงยืนหลังงุ้มมาตลอด และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลต่อการหายใจ เป็นภูมิแพ้บ่อยๆด้วย

ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ สาเหตุ

หลายๆท่านที่อาจจะมีอาการเหมือนเช่นเคสนี้ คือปวดกระบอกตา ปวดขมับ มึนศีรษะ แล้วจัดการตัวเองด้วยการทานยา แต่หากเป็นบ่อย เป็นเรื้อรังมานาน การทานยาก็อาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้ถูกจุด แถมอาจพ่วงหลายโรคตามมา อาการกลุ่มนี้ผู้ที่เป็นเรื้อรังอาจรู้สึกปวดตลอดเวลาก็เป็นได้ แต่เนื่องจากร่างกายจะเกิดความเคยชินในการรับรู้ความเจ็บปวดนั้น จึงทำให้รู้สึกว่าไม่เป็นไร ยังทนได้อยู่ จึงไม่กระตือรือร้นไม่ดิ้นรนหาแนวทางในการดูแลรักษาตัวเอง หรือบางเคสมักมีอาการเฉพาะภาวะที่มีสิ่งเร้า ไปกระตุ้นตรงที่เป็นจุดอ่อน ทั้งนี้รวมทั้งกลุ่มที่เป็นเรื้อรัง ก็มักเป็นมากเมื่อมีภาวะเหล่านี้ไปกระตุ้น ซึ่งก็จะทำให้รู้สึกปวดมาก เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องนาน หิ้วของหนักๆ มีภาวะเครียด นั่งขับรถนาน นั่งอ่านหนังสือ-เขียนหนังสือต่อเนื่อง ฯลฯ

บางเคสบอกผู้เขียนว่าเวลาที่ปวดมาก เหมือนตาหนักแทบจะปิดลงให้ได้ ปวดแทบลืมตาไม่ขึ้น ตาพล่ามัว มองภาพไม่ชัด รู้สึกหัวจะระเบิดออกมา รู้สึกเหมือนหัวหนักมากขึ้นเป็นสิบๆเท่า รู้สึกเหมือนมีสิ่งลี้ลับมาบีบศีรษะหรือบีบขมับไว้ เหมือนมีใครมานั่งทับบนหัว หรือนั่งบนบ่าฯลฯ นี่เป็นเสียงเตือนจากร่างกายของหลายเคส ที่ได้ถ่ายทอดให้ผู้เขียนฟัง อาจเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจึงมีหลายท่านพยายามจะบอกไปในแนวอำนาจลี้ลับ เลยลืมมองความจริงด้านกลไกลการทำงานและความเชื่อมโยงของระบบโครงสร้างร่างกาย ที่ทำให้มีอาการต่างๆดังที่กล่าวมาได้

นอกเหนือจากความไม่สมดุลของระบบโครงสร้างร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากจนไปจำกัดการไหลเวียนแล้ว บางเคสที่เป็นเรื้อรังมานาน มักพบว่าอาการที่ปวดกระบอกตา ปวดขมับ หรือมึนศีรษะ เป็นผลจากอาการปวดร้าวของการติดยึดของข้อต่อกระดูกแต่ละชิ้น(Zygapophyseal Joint/Facet joint)โดยเฉพาะกระดูกคอชิ้นที่ 1 (Atlas) 2 (Axis) และ 3 ที่วางเรียงกันอยู่ ใต้ฐานกระโหลก ข้อต่อของกระดูกคอแต่ละชิ้นนั้น จะมีเส้นเอ็นที่เกาะระหว่างกระดูก เพื่อให้ข้อต่อมีความมั่นคง และส่วนที่เป็นเส้นเอ็นนี้ก็จะแผ่ตัวเชื่อมไปกับกล้ามเนื้อคอที่แผ่มาบริเวณ ข้างๆ กกหู กล้ามเนื้อมัดลึกด้านหลังคอ (Sternocleidomastoid muscle, Stylohyoid mscle, Suboccipital muscle , Semispinalis Capitis & Cervicis & Multifidus muscle) เมื่อมีการบิดหมุนหรือยึด แน่น เกร็งตัวมากกว่าปกติก็จะทำให้ความตึงตัวเหล่านี้เกิดเป็นอาการปวดร้าวไปตาม แนวของเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ หรือตามแนวการทอดผ่านของเส้นประสาท (Great occipital nerve) และเส้นเลือด จึงทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้นได้เช่นเดียวกัน

เป็นอย่างไรบ้างคะ อาการเพียงส่วนศีรษะและกระบอกตา แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีต้นตอเชื่อมโยงมาจากกระดูกหน้าแข้ง แล้วร่างกายของท่านล่ะคะเคยมีเสียงเตือนเหมือนเคสข้างต้นหรือเปล่า? หากมีก็อย่าปล่อยให้เรื้อรัง จนกลายเป็นลุกลามไปทั้งตัวนะคะ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นคงยากและใช้เวลานานในการดูแลรักษา อีกสิ่งหนึ่งที่อยากบอกท่านผู้อ่านก็คือ การดูแลร่างกายอย่างเดียวนั้นไม่ใช่การได้มาซึ่งสุขภาพดีอย่างแท้จริง อย่าลืมว่าการเป็นมนุษย์ได้สมบูรณ์ต้องประกอบกันทั้งร่างกายและจิตใจ จึงควรต้องดูแลจิตใจด้วย เพราะอาการเจ็บปวดของร่างกาย ถ้ามีภาวะเครียดก็จะทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นดูแลกายให้สมดุลแล้ว อย่าลืมดูแลจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสนะคะเพราะ จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง

ถ้าท่านตอบตนเองได้แล้วว่าคงเป็นเรื่องระบบกล้ามเนื้อ ก็ควรเลือกแนวทางในการดูแลที่ถูกต้อง การปรับโครงสร้างร่างกาย เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้หายขาดจากอาการที่เป็น เพราะไม่เพียงจัดการถึงต้นเหตุที่เป็น แต่ยังเป็นการวิเคราะห์ ความเชื่อมโยงทั้งระบบกระดูก กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ หรือแม้แต่ระบบเลือดและระบบประสาทที่ไปควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเหล่านั้นด้วย และที่สำคัญคือ เมื่อหายจากอาการเหล่านั้นแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก เพราะการปรับโครงสร้างร่างกาย เป็นการสร้างความแข็งแรง ทนทาน และความยืดหยุ่นให้กับโครงสร้างทั้งร่างกาย เพื่อการใช้งานร่างกาย ได้เต็มศักยภาพ อาการที่เป็นจึงไม่กลับมารบกวนอีก

เห็นไหมคะว่า เสียงเตือนจากร่างกาย วิเศษขนาดไหน เพียงท่านต้องหัดฟังเขาให้มากขึ้น ก็จะตอบตนเองได้ว่าเป็นอะไร ในบางกรณีเราควรจะพึ่งศักยภาพของตัวเองก่อนที่จะเอาสารเคมีหรือสารพิษต่างๆเข้าร่างกาย เพราะแทนที่จะช่วยให้ดีขึ้น กลับเป็นการทำร้ายร่างกายมากขึ้น

ปวดหัวปวดเบ้าตาเกิดจากอะไร

ปวดหัวจากความเครียด หากรู้สึกว่าปวดตื้อๆ ปวดแบบบีบๆ รัดๆ ปวดเป็นวงกว้างบนศีรษะหรือปวดเบ้าตาร่วมด้วย โดยอาจร้าวลงมาที่ท้ายทอยและมักเกิดช่วงบ่ายหรือเย็น นั่นแสดงว่าถึงเวลาต้องพักผ่อนเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่กำลังตึงตัวจากความเครียดแล้วล่ะ

อาการปวดหัวปวดท้ายทอยเกิดจากอะไร

อาการปวดท้ายทอยหรือปวดศีรษะด้านหลังอาจเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณคอก็เป็นได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งก้มหน้าเล่นโทรศัพท์นาน ๆ หรือการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกินไป หรือขับรถนาน ๆ ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบ มีอาการปวดท้ายทอยได้ ส่วนการรักษาอาจกินยาพาราเซตามอลบรรเทา ...

อาการปวดขมับเกิดจากอะไร

อาการปวดหัวรอบศีรษะพบได้บ่อยที่สุด และมักมีสาเหตุมาจาก “ความเครียด” พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือใช้สายตามากเกินไป จนกระตุ้นให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบศีรษะ ตำแหน่งที่ปวดบริเวณหน้าผากไปจนถึงขมับทั้งสองข้าง และร้าวลามไปจนถึงด้านหลังศีรษะ ต้นคอ บ่าและไหล่ด้วย โดยมักปวดต่อเนื่องตลอดทั้งวันหรือตลอดสัปดาห์

ปวดเบ้าตาทั้งสองข้างเกิดจากอะไร

สาเหตุของภาวะเบ้าตาอักเสบ การติดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิบางชนิด การอักเสบที่ปราศจากเชื้อโรคซึ่งอาจสัมพันธ์กับโรคทางร่างกายต่าง ๆ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษโรค SLE โรคเส้นเลือดอักเสบ มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งน้ำเหลือง (Lymphoma)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ