การแปรรูปอาหารหมายถึงข้อใด

❛ ❛ การถนอมอาหาร คือ การเก็บรักษาอาหารให้ยาวนานขึ้น โดยคงสภาพรสชาติ กลิ่น สีและคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ทำให้อาหารนั้นเกิดการเสื่อมเสีย  ❜ ❜

ประโยชน์และความสำคัญของ การถนอมอาหาร มีหลากหลาย เช่น

» ช่วยบรรเทาความขาดแคลนอาหาร และช่วยกระจายอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรได้

» ช่วยให้มีอาหารบริโภคนอกฤดูกาล สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้มาบริโภคได้

» ใช้อาหารเหลือให้เกิดประโยชน์ ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารไว้ให้ได้นาน ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

» ช่วยให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง โดยที่อาหารไม่เน่าเสีย สามารถพกพาไปที่ห่างไกลได้

•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

สารบัญการถนอมอาหารมีวิธีอะไรบ้าง1. การใช้ความร้อน
   1.1 การพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization)
   1.2 การสเตอริไลซ์ (Sterilization)
   1.3 การใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด
2. ทำแห้ง
   2.1 การตากแห้ง การทำแห้ง โดยวิธีธรรมชาติ 
   2.2 การรมควัน
   2.3 การใช้เครื่องมือช่วย
3. การใช้ความเย็น
   3.1 การแช่เย็น (Chilling)
   3.2 การแช่แข็ง (Freezing)
4. การใช้น้ำตาล
   4.1 การเชื่อม
          4.1.1 การเชื่อมธรรมดา การแช่อิ่ม การฉาบ
   4.2 การกวน
   4.3 การทำแยม
5. การหมักดอง
   5.1 การดองเปรี้ยว
   5.2 การดอง 3 รส
   5.3 การดองหวาน
   5.4 การดองเค็ม
   5.5 การหมักดอง (ที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์)
6. การใช้สารเคมี7. การใช้ก๊าซไนโตรเจน8. เมนูถนอมอาหาร9. การใช้เครื่องซีลสุญญากาศ


•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วิธีการถนอมอาหาร มีอะไรบ้าง?

▶ การใช้ความร้อน ประกอบด้วย การพาสเจอไรซ์ การสเตอริไลซ์ ใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด
การถนอมอาหาร โดยใช้ความร้อน สามารถทำลายจุลินทรีย์ และเอนไซม์ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารได้ แต่ก็ทำให้โปรตีนเปลี่ยนสภาพไปด้วย การถนอมอาหารโดยใช้ความร้อน แบ่งได้ ดังนี้


1. การพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) เป็นกระบวนการให้ความร้อน โดยใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 100 °C เพื่อยืดอายุของอาหารให้นาน โดยมักจะใช้ ถนอมอาหาร จำพวก นม น้ำผลไม้ต่าง ๆ โดยจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ และทำลายจุลินทรีย์ที่มีความทนทานต่อความร้อนต่ำ เช่น แบคทีเรีย ที่ไม่สร้างสปอร์ ยีสต์ และรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของอาหารน้อยที่สุด แบ่งได้ 2 วิธี
{1.1} Low temperature long time (LTLT) เป็นวิธีที่ให้ ความร้อนต่ำ ประมาณ 60 °C นาน 30 นาที แล้วทำให้เย็นทันที
{1.2} High temperature short time (HTST) เป็นวิธีที่ให้ ความร้อนสูง ประมาณ 72 °C นาน 15 วินาที แล้วทำให้เย็นทันที
>> อ่านรายละเอียด การพาสเจอร์ไรซ์ ที่นี่ <<

2. การสเตอริไลซ์ (Sterilization) เป็นกระบวนการให้ความร้อน โดยใช้อุณหภูมิที่สูงกว่า 100 °C เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์สเตอริไลส์ สามารถเก็บไว้ได้นานในอุณหภูมิปกติ และไม่ต้องแช่เย็น >>ดูรายละเอียดการสเตอริไลซ์<<

3. การใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด โดยอาศัยความดันช่วย วิธีนี้นิยมนำไปใช้ในอาหารบรรจุขวด หรือบรรจุกระป๋อง ซึ่งมักจะใช้อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำเป็นวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เป็นต้น


การทำแห้ง ประกอบด้วย การตากแห้ง การรมควัน การใช้เครื่องมือช่วย
เป็นการถนอมอาหาร เพื่อรักษาและยืดอายุการเก็บรักษา โดยลดปริมาณความชื้นออกจากอาหารให้ต่ำกว่าจุดที่จุลินทรีย์จะเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ ยังช่วยลดความชื้นที่มีผลต่อรสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางอาหารได้อีกด้วย การทำให้แห้งที่นิยมใช้กันทั่วไป มี 3 วิธี ดังนี้

1. การทำแห้ง โดยวิธีธรรมชาติ เป็นการอาศัยแหล่งความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือผึ่งลม นิยมใช้ เพราะต้นทุนต่ำ ทำได้ง่าย แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอัตราความเร็วในการทำแห้งได้

2. การรมควัน นิยมใช้ในการเก็บรักษาปลา และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ในรูปของปลาย่าง เนื้อย่าง


3. การทำแห้ง โดยใช้เครื่องมือช่วย
เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น เครื่องอบแห้ง เตาอบ เตาไมโครเวฟ การทำให้แห้งโดยวิธีนี้อาหารแต่ละชนิดต้องเหมาะสมด้วย เพื่อให้มีการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการน้อยที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพสม่ำเสมอ และรวดเร็ว >>สามารถดูสเป็คเครื่องอบแห้งได้ที่นี่


การใช้ความเย็น คือ การแช่เย็น
การถนอมให้อาหารคงสภาพเดิม โดยใช้ความเย็นที่ระดับอุณหภูมิต่ำ แต่ไม่ถึงจุดเยือกแข็ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ชะลอการเน่าเสียและลดอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของอาหาร สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้ระยะหนึ่ง


1. การแช่เย็น (Chilling)
เป็นวิธีการใช้อุณหภูมิต่ำในระดับตู้เย็นเพื่อเก็บอาหารสด หรืออาหารแปรรูป ให้สามารถเก็บได้นานกว่าอุณหภูมิห้อง ทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ช้าลง อุณภูมินี้สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมเสีย เช่น การหืนของไขมัน การเหี่ยวของผักต่าง ๆ และการเปรี้ยวของน้ำนม เป็นต้น

2. การแช่แข็ง (Freezing) เป็นการเก็บรักษาและถนอมอาหารในอุณหภูมิต่ำกว่า -18 °C เพื่อป้องกันการยับยั้งและเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยการแช่เยือกแข็งคือการทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง สำหรับอาหารที่นิยมแช่เยือกแข็ง ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ต่าง ๆ

หลังจากกระบวนการแช่แข็ง มักนิยมถนอมอาหาร โดยกระบวนการดึงความชื้น ที่เรียกว่า การฟรีซดราย  จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ แห้ง กรอบ และคงรสชาติของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยปราศจากการปรุงแต่ง จึงถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เพราะไม่มีการเติมแต่งทั้งน้ำตาลและน้ำมัน

 


การใช้น้ำตาล ประกอบด้วย การเชื่อม การกวน การแช่อิ่ม การทำแยม
เป็นการถนอมอาหารโดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ช่วยทำให้เก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นานโดยไม่เน่าเสีย ซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้

1. การเชื่อม การใช้น้ำและน้ำตาลใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยวให้น้ำตาลละลายเหนียวจนเป็นน้ำเชื่อมก่อน จากนั้นจึงใส่อาหารลงเคี่ยวต่อไปด้วยไฟอ่อน ๆ จนอาหารนั้นอิ่มชุ่มด้วยน้ำเชื่อม อาหารที่นิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ กล้วย เผือก มัน มะยม ฟักทอง ทุเรียน เป็นต้น การเชื่อมแบ่งออกได้ 3 วิธี ได้แก่

  • การเชื่อมแบบธรรมดา จะใช้น้ำตาลไปคลุกเคล้าหรือผสมในอาหารที่ต้องการ เพื่อให้น้ำตาลไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหาร ทำให้อาหารยังคงสภาพอยู่ได้นานโดยไม่เน่าเสีย เช่น ลูกตาลเชื่อม กล้วยเชื่อม เป็นต้น
  • การเชื่อมแบบแช่อิ่ม การนำเอาผักหรือผลไม้ไปแช่ในน้ำเชื่อม เพื่อให้น้ำเชื่อมซึมเข้าสู่ผักหรือผลไม้ จนกระทั่งเกิดการอิ่มตัว แล้วจึงเอาผักหรือผลไม้ลงแช่ ปรับเพิ่มความเข้มข้นตามความต้องการ ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น
  • การเชื่อมโดยการฉาบ เคี่ยวน้ำตาลให้เป็นน้ำเชื่อมจนเป็นเกล็ด แล้วเทลงผสมคลุกเคล้ากับของที่ทอดไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมเกาะเป็นเกล็ดติดอยู่บนผิวอาหารที่ฉาบ นิยมใช้กับผักหรือผลไม้ เช่น เผือกทอด มันทอด กล้วยทอด เป็นต้น >>ดูเพิ่มเติม 6 เมนูผลไม้เชื่อมยอดนิยม<<

2. การกวน การนำเอาเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล ใช้ความร้อนปานกลางแล้วปรับลดลงต่ำ ใช้ไม้พายคนหรือกวนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้น้ำระเหยออกจนกระทั่งเนื้อผลไม้ข้นเหนียว มีรสหวานจัด แล้วยกลงจากเตาทิ้งไว้ให้เย็น นำเก็บใส่ขวดหรือหม้อปิดฝาให้สนิท เก็บไว้รับประทานได้หลายวัน ผลไม้ที่นิยมนำมากวน เช่น มะม่วง ทุเรียน สับปะรด เป็นต้น

3. การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่งแยมเหนียวตามต้องการ ผลไม้ที่นิยมนำมาทำแยม ได้แก่ สับปะรด ส้ม สตรอเบอรี่ มะปราง เชอรี่ แตงไทย กระเจี๊ยบ แตงโม ชมพู่ เป็นต้น >>ดูบทความ วิธีทำแยมโฮมเมดง่ายๆ<<


การหมักดอง ประกอบด้วย การดองเปรี้ยว การดอง 3 รส การดองหวาน การดองเค็ม การหมักดอง
เป็นการ ถนอมอาหาร โดยการใช้เกลือ น้ำส้ม น้ำตาล เป็นส่วนประกอบหลัก โดยอาศัยจุลินทรีย์บางชนิดเป็นตัวช่วยย่อยสลาย อาจจะเติมข้าวคั่ว เครื่องเทศ หรือน้ำซาวข้าวด้วยก็ได้ เพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาในการหมักดอง ทำให้อาหารนั้นมีรสเปรี้ยวหรือกลิ่นตามที่ต้องการ การหมักดองส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน หรือหลายเดือน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาหมักดอง เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ เป็นต้น สำหรับการทำกะปิ น้ำปลา ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู เต้าเจี้ยว ส่วนใหญ่จะใช้เวลาหมักนานประมาณ 4-9 เดือน ซึ่งแบบการดองออกมาได้หลายวิธี ดังนี้


1. การดองเปรี้ยว
ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น โดยการนำเอาผักมาเคล้ากับเกลือ และผสมน้ำเกลือกับน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ เทให้ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้

2. การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดอง คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียว โดยนำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้

3. การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชูและเกลือ ให้ออกรสหวานจนเดือด ทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้

4. การดองเค็ม ส่วนใหญ่นิยมใช้กับพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น โดยต้มน้ำส้มสายชู และเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยจนเดือด ทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือน จึงนำมารับประทาน

5. การหมักดอง (ที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์) คือ การหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น

 

 

การใช้สารเคมี
เป็นการป้องกันการเน่าเสียของอาหาร เนื่องจากจุลินทรีย์เป็นสาเหตุของการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์ โดยสารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล กรด สารกันเสีย สารกันหืน เป็นต้น

 

การใช้ก๊าซไนโตรเจน
การนำก๊าซชนิดต่าง ๆ มาใช้สำหรับกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารมากขึ้น เพื่อช่วยรักษาคุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ ไว้ให้นานที่สุด ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษาอาหาร กระบวนการบรรจุ โดย การใช้ก๊าซไนโตรเจน เข้าไปแทนที่อากาศภายในภาชนะบรรจุ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น อาหารที่มีไขมันมาก น้ำผลไม้ เป็นต้น  >>ดูการใช้ก๊าซไนโตรเจน<<

 
▶ เมนูถนอมอาหาร มีอะไรบ้าง รวมถึงวิธีทำ

  • เมนูหมู ไก่ เช่น หมูแดดเดียว หมูสวรรค์ หมูฝอย ไก่ฝอย กากหมู หมูแผ่นหวาน
  • เมนูผักผลไม้ เช่น กล้วยตาก กล้วยฉาบ
  • เมนูอื่น ๆ เช่น มะม่วงแช่อิ่ม ผักกาดดอง กิมจิ ไข่เค็ม

▶ การถนอมอาหาร แบ่งตามประเภทอาหาร

  • การถนอมอาหารประเภทผักและผลไม้ เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต และสามารถลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร ฤดูกาลที่มีผลผลิตออก ในปริมาณที่ล้นตลาด หรือไม่สามารถบริโภคได้ทัน  >>ดูรายละเอียดการถนอมอาหารประเภทผักและผลไม้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ