ภาวะสินค้าล้นตลาดหมายถึงข้อใด

เรามักจะได้ยินคำถามว่า “ตลาดอสังหาริมทรัพย์ Over Supply หรือไม่?” เหตุที่จะทำให้อสังหาริมทรัพย์ Over Supply มีสาเหตุมาจาก อุปทานมีความล่าช้าจากอุปสงค์ในปัจจุบัน (Lag) อสังหาริมทรัพย์มีความล่าช้าในการก่อสร้างโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี จึงจะสร้างเสร็จทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันระหว่าง Demand กับ Supply จึงเป็นเหตุให้อสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จในช่วงหลังๆขายได้ไม่ดีเนื่องจากไม่มี Demand เหลือให้ซื้ออีกแล้ว ช่วงเวลานี้เรียกว่า Over Supply

โห่วววว อุปสงค์ !! โห่วว อุปทาน !! โห่ววววว กราฟก็มา...พ่วงด้วยราคาดุลยภาพ อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน(ของล้นตลาด) อุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด)

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ รวบอยู่ในกราฟกราฟเดียว...แล้วหนูจะเขียนกราฟกันได้ไหม??

โจทย์คือ อยากให้นักเรียนเข้าใจความหมายเบื้องต้นของอุปสงค์ อุปทาน ภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับราคา ภาวะดุลยภาพ ถ้าเขาจะต้องขายของเขาควรจะกำหนดราคาเท่าไหร่ สินค้าจึงจะขายได้ และขายหมดด้วย โดยให้เขามองและทำความเข้าใจจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ โดยการวาดกราฟ

Tip

ทำให้ดู เป็นตัวอย่าง

ลอง ทำไปพร้อม ๆ กัน 1 โจทย์

ด้วยตัวเอง ตามโจทย์ที่ให้ไป (บันทึกวีดิโอการสอนไว้ให้)

กิจกรรม

  • กำหนดโจทย์ที่เป็นตัวเลขราคาสินค้าชนิดหนึ่ง(อาจเป็นสินค้าที่เป็นกระแสในช่วงนั้น เช่น หมู ไก่ แมสก์) ที่แต่ละระดับราคามีปริมาณอุปสงค์ และอุปทานแตกต่างกัน และที่สำคัญที่แต่ละระดับราคาปริมาณอุปสงค์กับอุปทานจะต้องไม่ลบกันหมดพอดี (ตามตารางจะเห็นว่า ที่แต่ละราคาไม่มีราคาใด อุปสงค์ ลบ กับอุปทาน แล้วเท่ากับ 0) เพราะเราต้องการให้นักเรียนหาราคาดุลยภาพจากการเขียนกราฟขึ้นมา

*** โจทย์ถ้าให้นักเรียนไปสำรวจราคาเอง หรือ ไม่ก็ใช้ราคาสินค้าจริง ๆ จะทำให้ นร. เข้าใจภาวะเศรษฐกิจได้ดีขึ้น

*** โจทย์ที่เห็นเป็นราคาสมมุติ

  • นักเรียนใช้โจทย์ตามที่ครูสุ่ม หรือ ตามที่นักเรียนสนใจ จากนั้นนักเรียนเขียนกราฟที่มีแกน P (ราคา) และแกน Q (ปริมาณ) จากนั้นใส่ข้อมูลราคาและปริมาณให้ถูกต้อง โดยเฉพาะแกนปริมาณ (Q) จะต้องเน้นย้ำให้ไล่เรียงปริมาณจากน้อย ไปมาก โดยดูจากทั้งช่องอุปสงค์และอุปทาน (ตามภาพ 10 ในช่องอุปทาน ต่อมา คือ 20 ในช่อง อุปสงค์ ไล่เรียงไปเรื่อย ๆ 30 45 50 65 82 90 100 150)

  • จากนั้นทำการ Plot กราฟแต่ละเส้นจากข้อมูลในตาราง โดยใช้ปากกาคนละสีเพื่อจะได้แยกเส้นอุปสงค์และอุปทานออก

  • ไฮไลท์ที่เรารอคอยมาแล้ววววว....ดูที่ตรงจุดตัดของเส้นอุปสงค์และอุปทาน ตรงนี้คือ จุดดุลยภาพ หรือราคาดุลยภาพ ราคาที่คนซื้อกับคนขายตกตลงราคากันได้ อยากรู้ว่าสินค้านี้ควรขายกี่บาท ปริมาณเท่าไหร่ ให้เราลากเส้นจากจุดตัดไปชน แกน P (ราคา) และ แกน Q (ปริมาณ)

ในตัวอย่างเส้นประที่ลากจากจุดตัดออกไป ราคาดุลยภาพ ประมาณ 16,000 บาท ปริมาณ 60 เครื่อง (P=16,000 , Q=60)

  • กราฟนี้บอกอะไรเราได้บ้าง?...พื้นที่สีเหลือง คือ พื้นที่ที่เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) ส่วนสีฟ้า คือ พื้นที่เกิดภาวะอุปสงค์ส้่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) คำนี้แหละที่นักเรียน งง ตลอดเลย 5555+
  • เส้นสีชมพู เป็นเส้นที่เราลากขึ้นมาเพื่อให้เด็ก ๆ มองออกว่า อุปสงค์ขาด อุปทานเกิน อุปทานขาด อุปสงค์เกิน มองยังไง

ตัวอย่าง พื้นที่สีเหลือง ที่ราคา 25,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 20 ไปไม่ถึง เส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์ขาด ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 150 เกินเส้นสีชมพูไป ดังนั้น ที่ราคา 25,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 150 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อในปริมาณ 5 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 145 เครื่อง เพราะมองว่าสินค้าราคา แพง (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)

พื้นที่สีฟ้า ที่ราคา 5,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 100 เกินเส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์เกิน ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 10 ไปไม่ถึงสีชมพู ดังนั้น ที่ราคา 5,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 10 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อมากในปริมาณ 100 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 90 เครื่อง เพราะคนซื้อมองว่าสินค้าราคา ถูก จึงต้องการมาก แต่คนขายมองว่า ราคาถูกเกินไปจึงนำออกมาขายน้อย (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)

จุดตัด เกิดภาวะ ดุลยภาพ คือ คนซื้อกับคนขายสามารถตกลงราคากันได้ที่ราคา 16,000 บาท ปริมาณซื้อขาย 60 เครื่อง สินค้าหมดพอดี (ตามทฤษฎี)

อุปทาน คำที่เรามักจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วในวิชาเศรษฐศาสตร์แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าความหมายที่แท้จริงของคำเหล่านี้คืออะไรบ้าง แล้วยิ่งไปกว่านั้นแล้วเราก็ยังได้ยินอีกคำหนึ่งอยู่บ่อย ๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจเลวร้ายอย่างนี้ก็คือคำว่า ‘อุปทานส่วนเกิน’ และคำเหล่านี้คืออะไร แล้วทำไมจึงเกิดอุปทานส่วนเกินขึ้น ในบทความเราจะพาทุกคนมาหาคำตอบและไขข้อสงสัยไปพร้อมกัน

ก่อนจะไปรู้จักกับอุปทานส่วนเกินเราควรมาทำความเข้าใจคำว่า ‘อุปทาน’ กันก่อน คำว่าอุปทานทางเศรษฐศาสตร์คือความต้องการขายสินค้า แน่นอนว่า อุปทานส่วนเกิน หมายถึง ภาวะขาดดุลทางการตลาดคือเกิดภาวะความต้องการขายสินค้านั้น ๆ มากกว่าความต้องการซื้อและราคาสินค้าอาจมีราคาเกินกว่าจุดดุลยภาพ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน

เริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมละว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน จึงเกิดขึ้น  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดได้ก็มีดังต่อไปนี้

1.การคาดการณ์ที่คาดเคลื่อน – ในธุรกิจการค้าการคาดการณ์แนวโน้มยอดขายเป็นสิ่งสำคัญ แน่นอนว่าการคาดการณ์ก็คือการคาดการณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างอาจมีการคลาดเคลื่อนได้  เช่นการกักตุนปืนฉีดน้ำในวันสงกรานต์ไว้จำนวนมาก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์โรคระบาดทำให้ไม่สามารถจัดงานสงกรานต์ได้ จึงทำให้ไม่มีคนเล่นน้ำปืนจึงขายไม่ได้จนเกิดเป็นอุปทานส่วนเกินขึ้นนั่นเอง

2.เกิดอุปทานช้ากว่าอุปสงค์ – แน่นอนว่าเมื่อ 2 ความสัมพันธ์นี้ไม่สัมพันธ์กันก็มักจะเกิดผลเสียตามมาได้อย่างแน่นอน ซึ่งการที่อุปทานเกิดช้าพูดง่าย ๆ ก็คือ อาจจะผลิตไม่ทันหรือมีสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการซื้อของลูกค้านั่นเอง

ผลกระทบของการเกิดอุปทานส่วนเกิน

เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นก็ย่อมมีปัญหาและผลกระทบตามมาอยู่เสมอ ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ ก็มีอยู่ด้วยกันดังนี้

1.เกิดสินค้าล้นตลาดเนื่องจากไม่มีความต้องการซื้อที่เพียงพอต่อความต้องการขาย

2.ราคาสินค้าต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องอาศัยการระบายสินค้าออกด้วยการลดราคาให้ต่ำลงจนขาดทุนนั่นเอง

3.ต่อเนื่องจากข้อ 2 เมื่อเกิดภาวะขาดทุน ก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระจากการขาดทุน ทำให้เกิดผลกระทบต่อกิจการในระยะยาว

 เท่านี้คุณก็ได้รู้จักกับคำศัพท์ใหม่ทางเศรษฐศาสตร์อย่างคำว่า อุปทานส่วนเกิน กันแล้ว เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะเรื่องการตลาดจะอยู่รอบ ๆ ตัวคุณ เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องกลไกทางการตลาดก็จะไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของผู้ประกอบการอีกต่อไป เพราะหากคุณรู้เท่าทันเรื่องของการตลาดคุณก็จะมีภูมิคุ้มกันในเรื่องการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ และจะไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดอีกต่อไปนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : Moneywecan

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

ภาวะอุปทานส่วนเกินจะทำให้ตลาดเป็นอย่างไร

ผลกระทบของการเกิดอุปทานส่วนเกิน 1.เกิดสินค้าล้นตลาดเนื่องจากไม่มีความต้องการซื้อที่เพียงพอต่อความต้องการขาย 2.ราคาสินค้าต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องอาศัยการระบายสินค้าออกด้วยการลดราคาให้ต่ำลงจนขาดทุนนั่นเอง

ปริมาณต้องการซื้อมากกว่าปริมาณความต้องการขายจะเกิดอะไรขึ้น

– หาก Demand > Supply (ความต้องการซื้อมากกว่าสินค้า) ก็จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Over Demand) ทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดตลาด ราคาสินค้าก็แพงขึ้น (ของยิ่งน้อยราคายิ่งแพง)

ข้อใดหมายถึง อุปทานส่วนเกิน

อุปทานส่วนเกิน หมายถึง ภาวะที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์ ทำให้สินค้าชิ้นนั้นล้นตลาด สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลภาพ โดยทำให้ราคาถูกปรับต่ำลง แล้วอุปทานจะลดลง อุปสงค์จะเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่จุดดุลยภาพ

ภาวะดุลยภาพของตลาดคืออะไร

ดุลยภาพของตลาด (Market Equilibrium) คือ ภาวะที่ปริมาณความ ต้องการเสนอซื้อเท่ากับปริมาณความต้องการเสนอขาย ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง โดยที่เส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน ซึ่งเรียกว่า จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point) โดยระดับราคาดังกล่าว คือ ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) และปริมาณนั้น คือ ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) 2 ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ