Blockchain คืออะไร มีหลักการทํางานอย่างไร

พฤษภาคม 4, 2016 | By oravee

Blockchain (บล็อกเชน) คำศัพท์ใหม่ ที่เราเริ่มได้ยินตามสื่อต่างๆ รวมถึงตามงานสัมมนากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจจะขออธิบาย concept ของมัน โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์และการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

"Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง"

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม  ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ

แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง

การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ

เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย

และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์

ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้

เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้

ทิ้งท้าย

ขอแนะนำให้นำคีย์เวิร์ดต่างๆ บนภาพข้างต้นนี้ ไปลองศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ความจริงเรื่องของบล็อกเชน มีข้อมูลอีกมากมายที่รอให้ท่านศึกษา ทั้งนี้ท่านสามารถเซิร์จอ่านได้ทั้ง Financial blockchain และ Non-financial blockchain จะพบกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้มากมาย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปต์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น ไว้มีโอกาสจะนำเสนอคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต

รู้จักกับ Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพ พร้อมทิศทางการเกิด Unicorn ในไทย

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก letstalkpayments.com, cryptocoinsnews.com

ซึ่งเรามีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ เป็นสรุปการบรรยายจาก Chris Skinner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบล็อกเชน อ่านได้ที่นี่

อีกทั้งสามารถอ่านเกี่ยวกับบล็อกเชนเพิ่มเติมใน Techsauce คลิกเลือก Tag Blockchain หรือ คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ

ติดตามสถานการณ์ของ Cryptocurrency และ การระดมทุนแบบ ICO ในไทย อ่านได้ที่นี่

เทคโนโลยีบล็อกเชนคืออะไร

เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นกลไกฐานข้อมูลขั้นสูงที่เปิดรับการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลาเนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขลูกโซ่ได้หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างบัญชีแยกประเภทที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้และไม่เปลี่ยนรูปเพื่อติดตามคำสั่งซื้อ การชำระเงิน บัญชี และธุรกรรมอื่นๆ ระบบดังกล่าวมีกลไกภายในที่ป้องกันการเพิ่มธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตและสร้างมุมมองของธุรกรรมร่วมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ

เหตุใดบล็อกเชนจึงมีความสำคัญ

เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมมีอุปสรรคหลายประการสำหรับการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน ตัวอย่างเช่น ให้ลองพิจารณาถึงการขายทรัพย์สิน เมื่อแลกเปลี่ยนเงินแล้ว ก็จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสามารถบันทึกธุรกรรมทางการเงินได้ แต่ไม่มีแหล่งที่มาใดที่เชื่อถือได้ ผู้ขายสามารถอ้างได้อย่างง่ายดายว่าพวกเขายังไม่ได้รับเงินแม้ว่าจะได้รับแล้วก็ตาม และผู้ซื้อสามารถโต้แย้งได้อย่างเท่าเทียมกันว่าพวกเขาได้ชำระเงินไปแล้วแม้ว่าพวกเขาจะยังไม่ได้ชำระเงินก็ตาม

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น บุคคลที่สามที่เชื่อถือได้จึงต้องดูแลและตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม การมีอยู่ของผู้มีอำนาจส่วนกลางนี้ไม่เพียงแต่ทำให้การทำธุรกรรมซับซ้อน แต่ยังสร้างจุดเดียวที่สามารถถูกโจมตีได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งหากฐานข้อมูลส่วนกลางถูกบุกรุก ทั้งสองฝ่ายอาจประสบปัญหาได้

บล็อกเชนบรรเทาปัญหาดังกล่าวโดยการสร้างระบบแบบกระจายศูนย์และป้องกันการดัดแปลงแก้ไขเพื่อบันทึกธุรกรรม ในสถานการณ์สมมติสำหรับธุรกรรมด้านทรัพย์สิน บล็อกเชนจะสร้างบัญชีแยกประเภทหนึ่งบัญชีสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ธุรกรรมทั้งหมดต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองฝ่ายและจะได้รับการอัปเดตโดยอัตโนมัติในบัญชีแยกประเภททั้งคู่แบบเรียลไทม์ ความเสียหายในข้อมูลธุรกรรมในอดีตจะทำให้บัญชีแยกประเภทเสียหายทั้งหมด คุณสมบัติเหล่านี้ของเทคโนโลยีบล็อกเชนได้นำไปสู่การนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงการสร้างสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin

อุตสาหกรรมต่างๆ ใช้บล็อกเชนอย่างไร

บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งอุตสาหกรรมต่างๆ นำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยเราจะอธิบายกรณีการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ในส่วนย่อยดังต่อไปนี้:

พลังงาน

บริษัทพลังงานใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานระหว่างผู้ใช้โดยตรง และปรับปรุงการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ให้ลองพิจารณาถึงการใช้งานเหล่านี้:

  • บริษัทพลังงานที่ใช้บล็อกเชนได้สร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างบุคคล โดยเจ้าของบ้านที่มีแผงโซลาร์เซลล์ใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อขายพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินให้แก่เพื่อนบ้าน ซึ่งกระบวนการนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่ โดยมาตรวัดอัจฉริยะจะสร้างธุรกรรม และบล็อกเชนจะบันทึกธุรกรรมดังกล่าว
  • ด้วยโครงการริเริ่มการระดมทุนจากกลุ่มบุคคลจำนวนมากบนบล็อกเชน ผู้ใช้จึงสามารถสนับสนุนและเป็นเจ้าของแผงโซลาร์เซลล์ในชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงพลังงานได้ ทั้งนี้ผู้สนับสนุนยังอาจได้รับค่าเช่าสำหรับชุมชนเหล่านี้เมื่อสร้างแผงโซลาร์เซลล์แล้วอีกด้วย

การเงิน

ระบบการเงินแบบดั้งเดิม เช่น ธนาคารและตลาดหลักทรัพย์ ใช้บริการบล็อกเชนเพื่อจัดการการชำระเงินออนไลน์ บัญชี และการซื้อขายในตลาด ตัวอย่างเช่น Singapore Exchange Limited ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นด้านการลงทุนที่ให้บริการซื้อขายทางการเงินทั่วเอเชีย ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างบัญชีการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการนำบล็อกเชนมาใช้ทำให้พวกเขาแก้ไขอุปสรรคหลายประการ ซึ่งรวมถึงการประมวลผลแบบกลุ่มและการกระทบยอดด้วยตนเองของธุรกรรมทางการเงินหลายพันรายการ

สื่อและความบันเทิง

บริษัทต่างๆ ด้านสื่อและความบันเทิงใช้ระบบบล็อกเชนเพื่อจัดการข้อมูลลิขสิทธิ์ การตรวจสอบลิขสิทธิ์ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับค่าตอบแทนที่ยุติธรรมสำหรับศิลปิน ซึ่งต้องใช้ธุรกรรมหลายรายการในการบันทึกการขายหรือโอนเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ต่างๆ Sony Music Entertainment Japan ใช้บริการบล็อกเชนเพื่อทำให้การจัดการสิทธิ์ดิจิทัลมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพวกเขาประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์บล็อกเชนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนในการประมวลผลด้านลิขสิทธิ์

การค้าปลีก

บริษัทค้าปลีกใช้บล็อกเชนเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าระหว่างซัพพลายเออร์และผู้ซื้อ ตัวอย่างเช่น ฝ่ายธุรกิจค้าปลีกของ Amazon ได้ยื่นสิทธิบัตรสำหรับระบบเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่จะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อตรวจสอบว่าสินค้าทั้งหมดที่วางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มนั้นเป็นของแท้ โดยผู้ขายของ Amazon สามารถจับคู่ซัพพลายเชนทั่วโลกได้โดยอนุญาตให้ผู้เข้าร่วม เช่น ผู้ผลิต ผู้ให้บริการจัดส่ง ผู้จัดจำหน่าย ผู้ใช้ปลายทาง และผู้ใช้รองเพิ่มกิจกรรมในบัญชีแยกประเภทหลังจากลงทะเบียนกับผู้ให้บริการออกใบรับรอง 

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีคุณสมบัติใดบ้าง

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีคุณสมบัติหลักต่างๆ ดังต่อไปนี้:

การกระจายศูนย์

การกระจายศูนย์ในบล็อกเชนหมายถึงการถ่ายโอนการควบคุมและการตัดสินใจจากเอนทิตีแบบรวมศูนย์ (บุคคล องค์กร หรือกลุ่ม) ไปยังเครือข่ายแบบกระจาย เครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ใช้ความโปร่งใสเพื่อลดความจำเป็นในการได้รับความไว้วางใจจากบรรดาผู้เข้าร่วม เครือข่ายเหล่านี้ยังขัดขวางผู้เข้าร่วมไม่ให้ใช้อำนาจหรือเข้าควบคุมซึ่งกันและกันในลักษณะที่ทำให้ฟังก์ชันการทำงานของเครือข่ายด้อยค่าลงอีกด้วย

การไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

การไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หมายถึงบางสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ โดยผู้เข้าร่วมไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขธุรกรรมได้เมื่อมีบุคคลบันทึกลงในบัญชีแยกประเภทที่ใช้ร่วมกันแล้ว หากบันทึกธุรกรรมมีข้อผิดพลาด คุณต้องเพิ่มธุรกรรมใหม่เพื่อย้อนกลับข้อผิดพลาด และเครือข่ายสามารถมองเห็นธุรกรรมทั้งคู่ได้

ฉันทามติ

ระบบบล็อกเชนกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความยินยอมของผู้เข้าร่วมในการบันทึกธุรกรรม โดยคุณสามารถบันทึกธุรกรรมใหม่ได้ก็ต่อเมื่อผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ในเครือข่ายให้ความยินยอมเท่านั้น

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีองค์ประกอบหลักใดบ้าง

สถาปัตยกรรมบล็อกเชนมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้:

การจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์

การจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในเครือข่ายบล็อกเชนที่จัดเก็บธุรกรรม เช่น ไฟล์ที่ใช้ร่วมกันซึ่งทุกคนในทีมสามารถแก้ไขได้ ในตัวแก้ไขข้อความที่ใช้ร่วมกันส่วนใหญ่ ทุกคนที่มีสิทธิ์แก้ไขสามารถลบไฟล์ทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดว่าบุคคลใดสามารถแก้ไขได้และจะแก้ไขได้อย่างไร โดยคุณไม่สามารถลบรายการได้เมื่อได้รับการบันทึกแล้ว

สัญญาอัจฉริยะ

บริษัทต่างๆ ใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อจัดการสัญญาธุรกิจด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องให้บุคคลที่สามช่วยเหลือ โดยเป็นโปรแกรมที่จัดเก็บไว้ในระบบบล็อกเชนที่ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะเรียกใช้การตรวจสอบเงื่อนไข if-then เพื่อให้ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ได้อย่างมั่นใจ ตัวอย่างเช่น บริษัทโลจิสติกส์อาจมีสัญญาอัจฉริยะที่จะชำระเงินโดยอัตโนมัติเมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือ

การเข้ารหัสคีย์สาธารณะ

การเข้ารหัสคีย์สาธารณะเป็นคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเพื่อระบุผู้เข้าร่วมในเครือข่ายบล็อกเชนโดยเฉพาะ โดยกลไกนี้จะสร้างคีย์สองชุดสำหรับสมาชิกเครือข่าย คีย์ชุดหนึ่งคือคีย์สาธารณะที่ทุกคนในเครือข่ายใช้ร่วมกัน และอีกชุดหนึ่งเป็นคีย์ส่วนตัวที่ไม่ซ้ำกันสำหรับสมาชิกทุกคน ทั้งนี้คีย์ส่วนตัวและสาธารณะจะทำงานร่วมกันเพื่อปลดล็อกข้อมูลในบัญชีแยกประเภท 

ตัวอย่างเช่น John และ Jill เป็นสมาชิกสองคนของเครือข่าย John บันทึกธุรกรรมที่เข้ารหัสด้วยคีย์ส่วนตัวของเขา Jill สามารถถอดรหัสได้ด้วยคีย์สาธารณะของเธอ ด้วยวิธีการนี้ Jill จึงมั่นใจได้ว่า John ทำธุรกรรมดังกล่าว คีย์สาธารณะของ Jill จะไม่ทำงานหากคีย์ส่วนตัวของ John ถูกดัดแปลงแก้ไข

บล็อกเชนทำงานอย่างไร

แม้ว่ากลไกบล็อกเชนพื้นฐานจะมีความซับซ้อน แต่เราจะให้ภาพรวมโดยย่อในขั้นตอนดังต่อไปนี้ โดยซอฟต์แวร์บล็อกเชนสามารถดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ:

ขั้นตอนที่ 1 – บันทึกธุรกรรม

ธุรกรรมในบล็อกเชนจะแสดงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่จับต้องได้หรือดิจิทัลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชน โดยจะบันทึกเป็นบล็อกข้อมูลและอาจมีรายละเอียดต่างๆ เช่น

  • บุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรม
  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำธุรกรรม
  • ช่วงเวลาที่มีการทำธุรกรรม
  • สถานที่ที่มีการทำธุรกรรม
  • สาเหตุที่มีการทำธุรกรรม
  • จำนวนสินทรัพย์ที่มีการแลกเปลี่ยน
  • จำนวนเงื่อนไขเบื้องต้นที่บรรลุระหว่างการทำธุรกรรม

ขั้นตอนที่ 2 – รับฉันทามติ

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ในเครือข่ายบล็อกเชนแบบกระจายต้องยอมรับว่าธุรกรรมที่บันทึกไว้นั้นถูกต้อง ซึ่งกฎของข้อตกลงอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเครือข่าย แต่โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของเครือข่าย

ขั้นตอนที่ 3 – เชื่อมโยงบล็อก

เมื่อผู้เข้าร่วมบรรลุฉันทามติแล้ว ระบบจะเขียนธุรกรรมบนบล็อกเชนเป็นบล็อกที่เปรียบเสมือนหน้าของสมุดบัญชีแยกประเภท นอกจากธุรกรรมแล้ว แฮชที่เข้ารหัสยังได้รับการผนวกเข้ากับบล็อกใหม่ด้วย โดยแฮชทำหน้าที่เป็นห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงบล็อกเข้าด้วยกัน หากเนื้อหาของบล็อกถูกแก้ไขโดยเจตนาหรือโดยไม่ได้เจตนา ค่าแฮชจะเปลี่ยนไป ซึ่งทำให้มีวิธีในการตรวจจับการดัดแปลงแก้ไขข้อมูล 

ดังนั้นบล็อกและห่วงโซ่จึงเชื่อมโยงกันอย่างปลอดภัย และคุณไม่สามารถแก้ไขได้ บล็อกเพิ่มเติมแต่ละบล็อกจะเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การตรวจสอบบล็อกก่อนหน้า รวมถึงบล็อกเชนทั้งหมดด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนการเรียงบล็อกไม้เพื่อต่อเป็นหอคอย โดยคุณสามารถวางบล็อกทับซ้อนกันได้เท่านั้น และหากคุณนำบล็อกออกจากส่วนกลางของหอคอย หอคอยทั้งหมดก็จะพังลงมา

ขั้นตอนที่ 4 – แบ่งปันบัญชีแยกประเภท

ระบบจะแจกจ่ายสำเนาล่าสุดของบัญชีแยกประเภทให้แก่ผู้เข้าร่วมทั้งหมด

เครือข่ายบล็อกเชนมีประเภทใดบ้าง

เครือข่ายแบบกระจายศูนย์หรือแบบกระจายในบล็อกเชนมี 4 ประเภทหลัก ได้แก่

เครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ

เครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะเป็นระบบเปิดและอนุญาตให้ทุกคนเข้าร่วมได้ สมาชิกทุกคนในบล็อกเชนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการอ่าน แก้ไข และตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกเชน โดยผู้คนส่วนใหญ่ใช้บล็อกเชนสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนและขุดสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ เช่น Bitcoin, Ethereum และ Litecoin 

เครือข่ายบล็อกเชนแบบปิด

องค์กรเดียวควบคุมบล็อกเชนแบบปิดหรือที่เรียกว่าบล็อกเชนที่มีการจัดการ โดยผู้มีอำนาจกำหนดว่าบุคคลใดสามารถเป็นสมาชิกได้และมีสิทธิ์ใดบ้างในเครือข่าย ทั้งนี้บล็อกเชนแบบปิดมีการกระจายศูนย์เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึง Ripple ซึ่งเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลสำหรับธุรกิจ คือตัวอย่างของบล็อกเชนแบบปิด

เครือข่ายบล็อกเชนแบบไฮบริด

เครือข่ายบล็อกเชนแบบไฮบริดรวมองค์ประกอบต่างๆ จากทั้งเครือข่ายแบบปิดและแบบเปิดสาธารณะ บริษัทต่างๆ สามารถตั้งค่าระบบแบบปิดที่ใช้สิทธิ์การได้รับอนุญาตควบคู่ไปกับระบบแบบเปิดได้ ด้วยวิธีนี้ พวกเขาจึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะที่จัดเก็บไว้ในบล็อกเชนได้ในขณะที่ยังคงให้สาธารณะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เหลือได้ โดยพวกเขาใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อให้สมาชิกสาธารณะตรวจสอบว่าธุรกรรมส่วนตัวเสร็จสมบูรณ์แล้วหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บล็อกเชนแบบไฮบริดสามารถให้สิทธิ์ในการเข้าถึงสกุลเงินดิจิทัลแก่สาธารณะได้ในขณะที่ยังคงควบคุมสกุลเงินที่ธนาคารเป็นเจ้าของให้เป็นส่วนตัวได้

เครือข่ายบล็อกเชนแบบเฉพาะกลุ่ม

กลุ่มองค์กรควบคุมเครือข่ายบล็อกเชนของกลุ่ม โดยองค์กรที่เลือกไว้ล่วงหน้ามีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาบล็อกเชนและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล อุตสาหกรรมที่หลายองค์กรมีเป้าหมายร่วมกันและได้รับประโยชน์จากความรับผิดชอบร่วมกัน มักจะชื่นชอบเครือข่ายบล็อกเชนแบบเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น Global Shipping Business Network Consortium เป็นกลุ่มความร่วมมือบล็อกเชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้อุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลเป็นแบบดิจิทัล และเพิ่มการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเดินเรือ

โปรโตคอลบล็อกเชนคืออะไร

คำว่าโปรโตคอลบล็อกเชนหมายถึงแพลตฟอร์มบล็อกเชนประเภทต่างๆ ที่พร้อมใช้งานสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยโปรโตคอลบล็อกเชนแต่ละรายการจะปรับหลักการบล็อกเชนพื้นฐานให้เหมาะกับอุตสาหกรรมหรือแอปพลิเคชันเฉพาะ ซึ่งตัวอย่างบางส่วนของโปรโตคอลบล็อกเชนมีระบุไว้ในส่วนย่อยดังต่อไปนี้:

Hyperledger Fabric

Hyperledger Fabric เป็นโครงการแบบโอเพนซอร์สพร้อมชุดเครื่องมือและไลบรารี โดยองค์กรสามารถใช้ Hyperledger Fabric เพื่อสร้างแอปพลิเคชันบล็อกเชนแบบปิดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์กแบบโมดูลเอนกประสงค์ที่มีการจัดการข้อมูลประจำตัวเฉพาะและคุณสมบัติในการควบคุมการเข้าถึง คุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้ Hyperledger Fabric เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ที่หลากหลาย เช่น ระบบติดตามซัพพลายเชน สินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างประเทศ การตอบแทนและรางวัล และการชำระราคาของสินทรัพย์ทางการเงิน

Ethereum

Ethereum เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนโอเพนซอร์สแบบกระจายศูนย์ที่ผู้คนสามารถใช้เพื่อสร้างแอปพลิเคชันบล็อกเชนสาธารณะได้ โดย Ethereum Enterprise ออกแบบมาสำหรับกรณีการใช้งานทางธุรกิจ

Corda

Corda เป็นโครงการบล็อกเชนแบบโอเพนซอร์สที่ออกแบบมาสำหรับธุรกิจ Corda ช่วยให้คุณสามารถสร้างเครือข่ายบล็อกเชนที่ทำงานร่วมกันได้ซึ่งทำธุรกรรมด้วยความเป็นส่วนตัวอย่างเคร่งครัด ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถใช้เทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะของ Corda เพื่อทำธุรกรรมโดยตรงได้อย่างคุ้มค่า โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงิน

Quorum

Quorum เป็นโปรโตคอลบล็อกเชนแบบโอเพนซอร์สที่สืบทอดมาจาก Ethereum ซึ่งได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในเครือข่ายบล็อกเชนแบบปิด ซึ่งมีสมาชิกเพียงคนเดียวที่เป็นเจ้าของโหนดทั้งหมด หรือในเครือข่ายบล็อกเชนแบบเฉพาะกลุ่มที่สมาชิกหลายคนแต่ละคนเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของเครือข่าย

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีวิวัฒนาการอย่างไร

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีต้นกำเนิดมาจากช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อว่า Ralph Merkle จดสิทธิบัตรต้นไม้ Hash หรือต้นไม้ Merkle โดยต้นไม้เหล่านี้เป็นโครงสร้างวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงบล็อกโดยใช้การเข้ารหัส ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ทางด้านของ Stuart Haber และ W. Scott Stornetta ใช้ต้นไม้ Merkle เพื่อใช้ระบบที่ไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขการประทับเวลาของเอกสารได้ ซึ่งถือเป็นกรณีตัวอย่างแรกในประวัติศาสตร์ของบล็อกเชน

โดยเทคโนโลยียังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง 3 ยุคดังต่อไปนี้:

ยุคแรก – Bitcoin และสกุลเงินเสมือนอื่นๆ

ในปี 2008 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนิรนามที่รู้จักเพียงชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้สรุปเทคโนโลยีบล็อกเชนในรูปแบบปัจจุบัน โดยแนวคิดของ Satoshi เกี่ยวกับบล็อกเชน Bitcoin จะใช้บล็อกข้อมูล 1 MB สำหรับธุรกรรม Bitcoin ซึ่งคุณสมบัติหลายอย่างของระบบบล็อกเชน Bitcoin ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชนในปัจจุบัน

ยุคที่สอง – สัญญาอัจฉริยะ

ไม่กี่ปีหลังจากสกุลเงินดิจิทัลรุ่นแรกถือกำเนิดขึ้น นักพัฒนาก็เริ่มพิจารณาถึงแอปพลิเคชันบล็อกเชนอื่นๆ นอกเหนือจากสกุลเงินดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ผู้คิดค้น Ethereum ตัดสินใจใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในธุรกรรมการถ่ายโอนสินทรัพย์ โดยคุณสมบัติสัญญาอัจฉริยะถือเป็นผลงานที่สำคัญของพวกเขา

ยุคที่สาม – อนาคต

ในขณะที่บริษัทต่างๆ ค้นพบและใช้การประยุกต์ใช้ใหม่ๆ เทคโนโลยีบล็อกเชนก็ยังคงพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทต่างๆ กำลังแก้ไขข้อจำกัดของขนาดและการคำนวณ และโอกาสที่เป็นไปได้นั้นไร้ขีดจำกัดในการปฏิวัติด้านบล็อกเชนที่กำลังเกิดขึ้น

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีข้อดีใดบ้าง

เทคโนโลยีบล็อกเชนนำเสนอข้อดีมากมายให้แก่การจัดการธุรกรรมสินทรัพย์ โดยเราแสดงข้อดีบางประการไว้ในส่วนย่อยดังต่อไปนี้:

ความปลอดภัยขั้นสูง

ระบบบล็อกเชนมอบความปลอดภัยและความไว้วางใจในระดับสูงที่ธุรกรรมดิจิทัลสมัยใหม่ต้องการ แน่นอนว่ามีความกังวลอยู่เสมอว่าจะมีบุคคลจัดการซอฟต์แวร์พื้นฐานเพื่อสร้างเงินปลอมให้ตัวเอง แต่บล็อกเชนใช้หลักสามประการของการเข้ารหัส การกระจายศูนย์ และฉันทามติเพื่อสร้างระบบซอฟต์แวร์พื้นฐานที่มีความปลอดภัยสูง ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถูกดัดแปลงแก้ไข เนื่องจากไม่มีจุดล้มเหลวเพียงจุดเดียว และผู้ใช้คนเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบันทึกธุรกรรมได้

ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ธุรกรรมระหว่างหน่วยธุรกิจอาจใช้เวลานานและก่อให้เกิดปัญหาคอขวดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดและหน่วยงานกำกับดูแลภายนอกมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ความโปร่งใสและสัญญาอัจฉริยะในบล็อกเชนทำให้ธุรกรรมทางธุรกิจดังกล่าวรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตรวจสอบที่เร็วขึ้น

องค์กรต้องสามารถสร้าง แลกเปลี่ยน เก็บถาวร และสร้างธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นใหม่ได้อย่างปลอดภัยในลักษณะที่ตรวจสอบได้ บันทึกบล็อกเชนนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามลำดับเวลา ซึ่งหมายความว่าระบบจะเรียงลำดับบันทึกทั้งหมดตามเวลาเสมอ ความโปร่งใสของข้อมูลนี้ทำให้การประมวลผลการตรวจสอบรวดเร็วยิ่งขึ้น

Bitcoin และบล็อกเชนแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

Bitcoin และบล็อกเชนอาจใช้แทนกันได้ แต่ทั้งคู่เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน เนื่องจาก Bitcoin เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในยุคแรก ผู้คนจึงเริ่มใช้ Bitcoin เพื่อสื่อความหมายถึงบล็อกเชนโดยไม่ได้ตั้งใจ จนทำให้เกิดการเรียกชื่อผิดนี้ขึ้น แต่เทคโนโลยีบล็อกเชนมีการประยุกต์ใช้มากมายนอกเหนือจาก Bitcoin

Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ทำงานโดยไม่มีการควบคุมจากศูนย์กลาง แต่เดิมนั้น มีการสร้าง Bitcoin ขึ้นเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์ แต่ตอนนี้ถือว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถแปลงเป็นสกุลเงินอื่นๆ ทั่วโลกได้ เช่น USD หรือยูโร โดยเครือข่ายบล็อกเชน Bitcoin แบบเปิดสาธารณะจะสร้างและจัดการบัญชีแยกประเภทกลาง 

เครือข่าย Bitcoin

บัญชีแยกประเภทสาธารณะบันทึกธุรกรรม Bitcoin ทั้งหมด และเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกต่างมีสำเนาของบัญชีแยกประเภทนี้ เซิร์ฟเวอร์จึงเปรียบเสมือนธนาคาร แม้ว่าแต่ละธนาคารจะรับทราบเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ลูกค้าแลกเปลี่ยน แต่เซิร์ฟเวอร์ Bitcoin นั้นรับรู้ถึงธุรกรรม Bitcoin ทุกรายการที่เกิดขึ้นในโลก

ไม่ว่าใครที่มีคอมพิวเตอร์สำรองสักเครื่องก็สามารถตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ซึ่งเรียกว่าโหนดได้ ซึ่งเปรียบเสมือนกับการเปิดธนาคาร Bitcoin ของคุณเองแทนที่จะเป็นบัญชีธนาคาร

การขุด Bitcoin

ในเครือข่าย Bitcoin สาธารณะ สมาชิกจะขุดหาสกุลเงินดิจิทัลโดยการแก้สมการในการเข้ารหัสเพื่อสร้างบล็อกใหม่ ระบบจะเผยแพร่ธุรกรรมใหม่แต่ละรายการสู่สาธารณะไปยังเครือข่ายและแบ่งปันจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง ทุกๆ 10 นาทีหรือราวๆ นั้น นักขุดจะรวบรวมธุรกรรมเหล่านี้ไว้ในบล็อกใหม่และเพิ่มเข้าไปยังบล็อกเชนอย่างถาวร ซึ่งทำหน้าที่เหมือนสมุดบัญชีขั้นสุดท้ายของ Bitcoin

ทั้งนี้การขุดต้องใช้ทรัพยากรการในการประมวลผลจำนวนมหาศาลและใช้เวลานานเนื่องจากความซับซ้อนของกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ นักขุดจึงได้รับสกุลเงินดิจิทัลจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน โดยนักขุดเปรียบเสมือนเสมียนสมัยใหม่ที่บันทึกธุรกรรมและเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม

จากนั้นผู้เข้าร่วมทุกคนในเครือข่ายจะบรรลุฉันทามติว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของเหรียญใด โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสบล็อกเชน

ฐานข้อมูลและบล็อกเชนแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

บล็อกเชนเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติมากกว่าฐานข้อมูลปกติ โดยเราอธิบายความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมและบล็อกเชนไว้ในรายการต่อไปนี้:

  • บล็อกเชนกระจายศูนย์การควบคุมโดยไม่ทำลายความไว้วางใจในข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบฐานข้อมูลอื่น
  • บริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมไม่สามารถแบ่งปันฐานข้อมูลทั้งหมดของตนได้ แต่ในเครือข่ายบล็อกเชน แต่ละบริษัทจะมีสำเนาของบัญชีแยกประเภท และระบบจะดูแลรักษาความสอดคล้องกันระหว่างบัญชีแยกประเภทสองรายการโดยอัตโนมัติ
  • แม้ว่าในระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่ คุณสามารถแก้ไขหรือลบข้อมูลได้ แต่ในบล็อกเชน คุณสามารถทำได้เพียงแทรกข้อมูลเท่านั้น

บล็อกเชนแตกต่างจากระบบคลาวด์อย่างไร

คำว่าคลาวด์หมายถึงบริการประมวลผลที่สามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์ คุณสามารถเข้าถึง Software as a Service (SaaS), Product as a Service (PaaS) และ Infrastructure as a Service (IaaS) ได้จากระบบคลาวด์ ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จัดการฮาร์ดแวร์และโครงสร้างพื้นฐาน และให้คุณเข้าถึงทรัพยากรในการคำนวณเหล่านี้ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยพวกเขาให้ทรัพยากรที่มากกว่าเพียงแค่การจัดการฐานข้อมูล หากคุณต้องการเข้าร่วมเครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ คุณต้องจัดเตรียมทรัพยากรฮาร์ดแวร์เพื่อจัดเก็บสำเนาบัญชีแยกประเภทของคุณ คุณสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์จากระบบคลาวด์เพื่อจุดประสงค์นี้ได้เช่นกัน ผู้ให้บริการระบบคลาวด์บางรายยังนำเสนอ Blockchain as a Service (BaaS) แบบสมบูรณ์จากระบบคลาวด์อีกด้วย

Blockchain as a Service คืออะไร

Blockchain as a Service (BaaS) เป็นบริการบล็อกเชนที่มีการจัดการซึ่งบุคคลที่สามให้บริการในระบบคลาวด์ คุณสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบล็อกเชนและบริการดิจิทัล ในขณะที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จัดหาเครื่องมือในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและบล็อกเชน โดยสิ่งที่คุณต้องทำคือการปรับแต่งเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีอยู่ ซึ่งทำให้การนำบล็อกเชนไปใช้งานนั้นรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น   

บริการ AWS Blockchain คืออะไร

บริการ AWS Blockchain มีเครื่องมือที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการของคุณ โดยคุณสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อสร้างทุกสิ่งตั้งแต่ฐานข้อมูลบัญชีแยกประเภทแบบรวมศูนย์ที่เก็บรักษาบันทึกธุรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ไปจนถึงเครือข่ายบล็อกเชนที่มีหลายฝ่ายและมีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งช่วยขจัดคนกลาง AWS มีโซลูชันบล็อกเชนที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องมากมายจากพาร์ทเนอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลบล็อกเชนหลักทั้งหมด ได้แก่ Hyperledger, Corda, Ethereum, Quorum และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันบล็อกเชนและบัญชีแยกประเภทได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย AWS บริการ AWS Blockchain บางส่วนที่มีประโยชน์มีดังนี้:

Amazon Quantum Ledger Database (QLDB) เป็นฐานข้อมูลแบบบัญชีแยกประเภทที่มีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งมีบันทึกธุรกรรมที่โปร่งใส เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และตรวจสอบได้โดยใช้การเข้ารหัส ซึ่งมีรายงานบันทึกในตัวที่จัดเก็บรายการที่ถูกต้องและจัดลำดับของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกรายการ โดยรายงานบันทึกดังกล่าวเป็นแบบผนวกเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลลงในรายงานบันทึกได้ แต่ไม่สามารถเขียนทับหรือลบออกได้ 

Amazon Managed Blockchain เป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งทำให้สามารถเข้าร่วมเครือข่ายสาธารณะหรือสร้างและจัดการเครือข่ายส่วนตัวที่ปรับขนาดได้อย่างง่ายดายโดยใช้ Hyperledger Fabric และ Ethereum เริ่มต้นใช้งานบล็อกเชนด้วยการสร้างบัญชี AWS วันนี้

Blockchain คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐาน ...

Blockchain คืออะไร มีหลักการทํางานอย่างไร และมีบทบาทอย่างไรกับการทํางานของโปรแกรมต่างๆ

Blockchain เป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมศูนย์ข้อมูล (Centralized Data) ด้วยโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (Distributed Ledger) และมีกระบวนการตรวจสอบรวมถึงการป้องกันการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยพลการของผู้ถือข้อมูลส่วนกลาง

Blockchain คืออะไร มีความสําคัญอย่างไร

เนื่องจากว่าบล็อกเชนคือคลังของเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจ ไม่ได้กระจุกอยู่เพียงจุดเดียว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ยิ่งสำหรับประเทศและพื้นที่อยู่ห่างไกลหรือประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนทรัพยากรทางด้านนี้ ก็จะได้ผลประโยชน์กับเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ด้วย เพราะ ...

บล็อกเชนคริปโตคืออะไร

Blockchain คือ เทคโนโลยีเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ที่บันทึกธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer ทั้งหมด ผู้เข้าร่วมยืนยันธุรกรรมได้โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ทำให้การทำธุรกรรมง่ายขึ้น ไม่ว่าจะโอนเงิน ยืนยันการซื้อขาย ลงมติ และจัดการปัญหาต่าง ๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ