ลิขสิทธิ์ คืออะไร มี อะไร บ้าง

เราเชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” กันเป็นอย่างดีใช่ไหมหล่ะ แต่ถึงจะเคยได้ยินบ่อยๆ ความจริงแล้วเราเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์มากน้อยแค่ไหน ? ร็ไหมว่ากฎหมายลิขสิทธิ์คืออะไร ? และการกระทำแบบใดบ้างที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ วันนี้ ShopBack Blog มีคำตอบมาฝากและอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมความรู้ให้เท่าทันคำว่าลิขสิทธิ์กันค่ะ

คลิกสมัครใช้ ShopBack          รับข่าวสารเงินคืน          แชร์โปร เก็บดีล ShopBack ชวนฟัง : “Blog เล่า” ช่องที่จะพาคุณฟัง เรื่อง Unseen ครอบจักรวาล ที่คุณควรจะรู้ แต่ยังไม่รู้!

❤︎ ฟังสบาย Unseen ได้ทุกเดือนที่ Youtube : Blog เล่า
❤︎ อัปเดตเรื่องราว Unseen กันต่อได้อีกที่ twitter : @BlogLao_Unseen

ทำความรู้จักกับ “ลิขสิทธิ์ (Copyright)

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิของบุคคลเพียงคนเดียวที่จำทำการใดๆ กับงานสร้างสรรค์ที่ผู้สร้างได้ใช้ความรู้ความสามารถสร้างขึ้นมาโดยไม่ลอกเลียนคนอื่น แต่ใช่ว่างานสร้างสรรค์ทุกอย่างบนโลกจะมีลิขสิทธิ์นะคะ เพราะตามนิยามกฎหมายลิขสิทธิ์คืองานนั้นต้องจัดอยู่ในประเภทที่กฎหมายคุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์ผลงานจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างชิ้นงานนั้นๆ ขึ้น หรือก็คือ “ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้ทันทีหากงานสร้างสรรค์นั้นจัดอยู่ในประเภทงานที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย” นั่นเอง

ส่วนใครอยากแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานชิ้นนั้นก็สามารถทำได้นะคะ ซึ่งการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์นี้จะเป็นการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าเราคือเจ้าของสิทธิ์ในผลงานชิ้นนั้นๆ แต่! หากมีกรณีพิพาทว่าใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงก็ต้องมีการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของกันต่อไป เปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือเหมือนเราบอกทางราชการว่าเราคือเจ้าของผลงานให้พวกเขารับรู้ไว้ก่อน แต่หน่วยงานไม่ได้รับรองให้ว่าเราคือเจ้าของ ถ้าเกิดมีใครมาโต้แย้งเรื่องความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์กับเราในอนาคต ก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงกันค่ะ

กฎหมายลิขสิทธิ์คืออะไร ?

กฎหมายลิขสิทธิ์คือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์ผลงานก็จริง แต่หากเราอ่านมาถึงตรงนี้เพื่อนๆ คงรู้แล้วว่ากฎหมายนี้ยังมีประโยชน์ทางอ้อมในการกระตุ้นให้คนทั่วไปอยากสร้างผลงานดีๆ ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อให้สังคมและประเทศของเราพัฒนาไปอย่างยั่งยืนด้วย และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายลิขสิทธิ์มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในเรื่องลิขสิทธิ์ของคนไทยยังมีน้อยมาก ดังนั้น ShopBack Blog จึงขอเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงเผยแพร่ความเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนนะคะ 

เราหวังและเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณได้ให้โอกาสเราในการจดทะเบียนจัดตั้ง หรือ การบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ   เราจะให้บริการและทำให้คุณได้รับความพึงพอใจสูงสุดด้วยประสบการณ์งานด้าน ทรัพย์สินทางปัญญามากว่า  20  ปี ที่จะให้บริการที่มีคุณภาพสูงซึ่งตรงกับความต้องการคุณ และ ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเพื่อนำธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จและนำไปสู่ ความเข้าใจและความต้องการของคุณอย่างทันท่วงที

ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่คุ้มครองการสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดออกมา (express) โดยความคุ้มครองจะเกิดขึ้นทันทีเมื่องานนั้นทุกถ่ายทอดออกมาในลักษณะหนึ่ง เช่น เขียนขึ้น วาดขึ้น เป็นต้น โดยจะคุ้มครองอัตโนมัติในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น ซึ่งงานลิขสิทธิ์มีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม ศิลปกรรม สิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ งนแพร่เสียงแพร่ภาพ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีโอกาสเราสามารถไปจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการสร้างสรรค์งานนี้ขึ้นมาได้

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

2. ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  6. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  7. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

3. ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

3.1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม

3.2 รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

3.3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

3.4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

3.5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 - 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

3.6 ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

4. การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
  4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
  5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
หลักฐานการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ลำดับหลักฐาน1

แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ได้แก่

  • ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ชื่อผู้สร้างสรรค์ (ทุกท่าน)
  • ชื่อผลงาน
  • ประเภทของงาน
  • ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)
  • ลักษณะการสร้างสรรค์
  • ปีที่สร้างสรรค์
  • แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ (เป็นการสรุปข้อมูลที่ยื่นจดแจ้ง)
2ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ --- (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)3

หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ส่วนที่ต้องแก้ไข ได้แก่

ประเภทของงานลิขสิทธิ์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

งานอันมีลิขสิทธิ์ มี 9 ประเภท ได้แก่ 1) งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ บทความ บทกลอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2) นาฏกรรม เช่น ท่าเต้นท่ารา ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว 3) ศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย 4) ดนตรีกรรม เช่น ทานองเพลง หรือเนื้อร้องและทานองเพลง 5) โสตทัศน์วัสดุเช่น วีซีดีคาราโอเกะ 6) ภาพยนตร์ 7) สิ่งบันทึกเสียง เช่น ซีดี ...

ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ลิขสิทธิ์คืออะไรและลิขสิทธิ์เกิดขึ้นตอนไหน นั้น เมื่อบุคคลผู้หนึ่งได้ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้สติปัญญา ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตน โดยไม่ได้ลอกเลียน หรือดัดแปลงมาจากงานของคนอื่น ผลงานที่สร้างขึ้นโดยความคิดของผู้สร้างสรรค์เองนั้น ผู้สร้างสรรค์ย่อมมีลิขสิทธิ์ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้น สิทธิดังกล่าวคือสิทธิ ...

ลิขสิทธิ์ มีลักษณะอย่างไร

ลิขสิทธิ์คืออะไร ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น งานอันมีลิขสิทธิ์

ประโยชน์ของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ 8.2 ประโยชน์ของประชาชนหรือผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์และมีคุณค่าออกสู่ตลาดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับ ความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ