พราหมณ์กับฮินดูแตกต่างกันอย่างไร



๑.พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น ๔ ยุค คือ ยุคอารยัน ยุคพระเวท ยุคพราหมณะ และยุคฮินดู
๒.ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคำสอนต่างๆ พวกพราหมณ์หรือฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้ยินหรือฟังมาจากพระเจ้าด้วยตนเอง แล้วมีกานจดจำไว้และถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจำ
๓.คัมภีร์สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑) ส่วนที่เป็นศรุติ ได้แก่ คัมภีร์พระเวททั้ง ๔ คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท ๒) ส่วนที่เป็นสมฤติ ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหาและสนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง เช่น คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์มนูศาสตร์ คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์ภควัทคีตา มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ เป็นต้น
๔.หลักคำสอนสำคัญของพราหมณ์-ฮินดู คือ หลักคำสอนเรื่องอาศรมหรือวิธีปฏิบัติของพราหมณ์ ๔ ประการ หลักคำสอนเรื่องตรีมูรติ หลักคำสอนเรื่องปรมาตมันหรือพรหมันและชีวาตมัน หลักคำสอนเรื่องการหลุดพ้นหรือโมกษะ
๕.นิกายสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี ๔ นิกาย คือ นิกายไวษณสะหรือไวษณพ นิกายไศวะ นิกายศักติ และนิกายตันตระ
๖.พิธีกรรมสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประกอบด้วย กฎสำหรับวรรณะ พิธีประจำบ้าน พิธีศราทธ์ และพีธีบูชาเทวดา
๘.ขบวนการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ สมาคมพรหมสมาช สมาคมอารยสมาช สมาคมกฤษณะมิชชั่น ขบวนการสรโวทัย


ที่มาภาพ : //www.siamganesh.com/

ความเป็นมา
ศาสนาพราหมณ์มีวิธีวัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับตั้งแต้การเริ่มตั้งถิ่นฐานของชาวอารยันเริ่มตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีป ต่อมาในสมัยหลังพุทธกาลศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ใหม่ ซึ่งมีหลักคำสอนที่ผิดแผกแตกต่างจากต้นกำเนิดเดิมของศาสนานี้ จึงนับว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีอายุยาวนานที่สุดของโลกศาสนาหนึ่ง
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่แตกต่างจากศาสนาอื้นในโลกเพราะเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากความเชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ต่อมาชาวอารยันผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า ได้สอนหลักการเรื่องกำเนิดของสรรพสิ่งว่า เทพเจ้าหรือพระพรหม เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในลักษณะต่างๆ ต่อมาสรรพสิ่งที่พระพรหมสร้างก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย ทำให้มีเทพเจ้ามากมายและทำหน้าที่ต่างๆกันในที่สุด ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจึงกลายมาเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยมในปัจจุบัน
เนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาอันยาวนาน ทำให้แนวความคิดทางศาสนาแตกต่างกันออกไปมาก ดังนั้น การศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยแบงออกเป็นยุคต่างๆ
สรุปได้ว่า ศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นจากลัทธิประจำเผ่าพัฒนามาเป็นศาสนาประจำเผ่าอารยัน ซึ่งอพยพมารบชนะชาวเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือทัสยุได้ขับไล่พวกชนเผ่าเจ้าของดินแดนเดิมออกไปแล้วตั้งถิ่นฐานที่อยู่ครอบครองลุ่มน้ำสินธุและคงคา ได้ผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นให้เข้ากับความเชื่อของตน ทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องวรรณะ ต่อมาในยุคพระเวทเป็นยุคที่มีพัฒนาการการนับถือพระเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งเกิดการรวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้าต่างๆ เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในยุคพราหมณะเป็นยุคที่วรรณะพราหมณ์มีอำนาจสูงสุด เพราะปูนผู้ผูกขาดการทำพิธีกรรมต่างๆมีการแต่งคัมภีร์พระเวทขึ้นอีกหนึ่งคัมภีร์คือ อาถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิษัทซึ้งเป็นรากฐานของแนวคิดทางปรัชญามีความสุขุมลุ่มลึกยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา คือเกิดศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเซนและพุทธศาสนา จนทำให้ศาสนาพราหมณ์ต้องปรับกระบวนการในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู

//sites.google.com/site/phechmvk/sasna-phrahmn-hindu

พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีถิ่นกำเนิดในชมพูทวีป(ทวีปที่มีต้นหว้ามาก) หรืออนุทวีปอินเดียในปัจจุบันเหมือนกัน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเกิดก่อนศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าประสูติในครอบครัวพราหมณ์-ฮินดู และดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีข้อเหมือนและข้อต่างกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูดังจะได้นำเสนอเป็นลำดับดังต่อไปนี้:


ข้อเหมือนกัน


1.ทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เน้นในเรื่องสภาวะมายาของโลก และบทบาทของ กรรม ในการที่ทำให้บุคคลต้องผูกพันหรือติดอยู่กับโลกนี้และผูกติดอยู่กับสังสารวัฏ


2.พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตัณหาเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ และเมื่อสามารถขจัดตัณหาได้แล้ว ก็จะส่งผลให้เกิดการดับทุกข์ ส่วนคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบางเล่ม เช่น คัมภีร์อุปนิษัท และคัมภีร์ภควัทคีตา ก็มีความเห็นว่า การกระทำถูกกระตุ้นจากตัณหาและการยึดมั่นถือมั่น ซึ่งก็จะนำไปสู่การผูกพันและความทุกข์ และว่าการกระทำที่ปราศจากความปรารถนาหรือตัณหานั้นก็จะเกิดผลนำไปสู่การหลุดพ้น


3.พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อในแนวความคิดเรื่อง กรรม ว่าเป็นตัวทำให้วิญญาณต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร


4. พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เน้นย้ำในเรื่องความเมตตากรุณาและความไม่ใช้ความรุนแรงต่อสรรพสัตว์สิ่งที่มีชีวิต


5. พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อในความมีอยู่ของนรกและสวรรค์ว่ามีหลายภพภูมิ


6. พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อว่ามีเทวดาอยู่ในภพภูมิต่างๆ


7. พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อในเรื่องการปฏิบัติทางจิต เช่น การทำสมาธิ และจิตภาวนา


8. พระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อในเรื่องการปลีกตัวและการสละชีวิตทางโลกว่าเป็นเงื่อนไขเพื่อการเข้าสู่ชีวิตทางจิตวิญญาณ และทั้งสองศาสนาเห็นตรงกันว่าตัณหาเป็นสาเหตุของความทุกข์


9.ปรัชญา “อัทไวตะ” ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความคล้ายคลึงกับพระพุทธศาสนาในหลายแง่มุม


10. พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีนิกายตันตระเหมือนกัน แต่ต่างกันคนละแบบเท่านั้นเอง


11. พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการบนผืนแผ่นดินอินเดีย ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาเป็นชาวฮินดูที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่อินเดียมอบให้แก่มวลมนุษยชาติ


ข้อแตกต่าง


1.ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง แต่พระพุทธศาสนาก่อตั้งโดยพระพุทธเจ้าผู้ศาสดา


2.ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อในอานุภาพและความสูงสุดของพระเวท(ฤคเวท, ยชุรเวท, สามเวท, อาถรรพเวท) แต่ชาวพุทธไม่เชื่อในพระเวท


3. พระพุทธศาสนาไม่เชื่อในความมีอยู่ของวิญญาณว่ามีกำเนิดมาจากพระเจ้า แต่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีความเชื่อในความมีอยู่ของอาตมัน คือเชื่อว่ามีวิญญาณของบุคคลและพระพรหมซึ่งเป็นพระผู้สร้างสูงสุด (ปรมาตมัน)


4. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยอมรับว่าพระพุทธเจ้าเป็นองค์อวตารของ มหาวิษณุ ซึ่งเป็นมหาเทพองค์หนึ่งของเทพสามองค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่ชาวพุทธไม่ยอมรับว่ามีเทพองค์ใดเสมอเหมือนหรือสูงส่งเท่าพระพุทธเจ้า


5. พระพุทธศาสนาดั้งเดิมที่สอนโดยพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท หรือ พระพุทธศาสนาแบบหีนยาน ผู้นับถือพระพุทธศาสนานิกายนี้ เดิมจะไม่บูชาพระพุทธรูป และไม่มีความเชื่อในพระโพธิสัตว์ ส่วนพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เห็นว่าพระพุทธจ้าเป็นวิญญาณสูงสุด หรือเป็นมนุษย์สูงสุด คล้ายคลึงกับพระพรหมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และทำการบูชาพระพุทธเจ้าในรูปแบบของพระปฏิมาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์


6. ชาวพุทธเห็นว่า โลกนี้เต็มไปด้วยทุกข์ และเห็นว่าการสิ้นทุกข์เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ ส่วนชาวฮินดูเห็นว่า เป้าหมายสูงสุด (อรรถะ) ในชีวิต มีอยู่ 4 อย่าง กล่าวคือ ธรรมะ(หน้าที่ทางศาสนา), อรรถะ(ทรัพย์สิน หรือสมบัติทางวัตถุ), กามะ(ตัณหาและราคะ) และโมกษะ(ความหลุดพ้น)


7.ชาวฮินดูเชื่อในอาศรม 4 หรือขั้นตอนในชีวิต 4 ( พรหมจารี, คฤหัสถ์, วนปรัสถ์, สันยาสี) อาศรม 4 นี้ไม่มีการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธสามารถเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในเวลาใดก็ได้แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละบุคคล


8. ชาวพุทธมีการก่อตั้งเป็นคณะสงฆ์และมีพระภิกษุเข้ามาบวชอยู่เป็นหมู่คณะ แต่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาของปัจเจกบุคล


9. พระพุทธศาสนามีแนวความเชื่อในเรื่องพระโพธิสัตว์ แต่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูไม่มีความเชื่อในเรื่องนี้


10. พระพุทธศาสนายอมรับในความมีอยู่ของเทพและเทพธิดาบางองค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่กำหนดฐานะให้อยู่ในที่ต่ำไม่มีความสูงส่งมากมายนัก


11. ที่พึ่ง(สรณะ) ในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสิ่งสำคัญสามอย่างสำหรับชาวพุทธในขณะปฏิบัติตามอริยมรรค 8 ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีทางเลือกหลายอย่างแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นหรือเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง


12. แม่ว่าทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจะมีความเชื่อในเรื่องกรรมและการกลับชาติมาเกิดเหมือนกัน แต่ทั้งสองศาสนาแตกต่างกันในแนวคิดของทั้งสองอย่างที่จะดำเนินการและมีผลกระทบต่อความมีอยู่ของบุคคลแต่ละคน

ศาสนาพราหมณ์กับฮินดูต่างกันยังไง

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิดศานานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศานาเสื่อลงระยะหนึ่งและได้มาฟื้นฟูปรับปรุงเป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรม คำสอนให้ดีขึ้น คำว่า “ ...

พราหมณ์

ศาสนาฮินดู หรือในเอกสารภาษาไทยนิยมใช้คำว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาอินเดีย และเป็นธรรมะหรือแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน ที่เป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดียและบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบนเกาะบาหลี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศาสนิกชนและนักวิชาการบาง ...

ศาสนาพราหมณ์ เดิม มีชื่อเรียกว่าอะไร

เดิมมีชื่อเรียกว่า สนาตนธรรม หมายถึง ศาสนาอันเป็นนิรันดร์ สัญลักษณ์ของศาสนาคือ โอม มาจากเทพเจ้า 3 องค์ คือ อะ+อุ+มะ

ศาสนาพราหมณ์ฮินดูนับถือใคร

นิกายในศาสนาฮินดู คือประเพณีในศาสนาฮินดู ที่มีการนับถือเทพเจ้าหนึ่งพระองค์หรือมากกว่าเป็นหลัก เช่น พระศิวะ, พระวิษณุ และ พระพรหม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ