นโยบายต่างประเทศของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 คืออะไร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - อเมริกา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อัสสัมชนิกเลขที่ 3567 ใน อุโฆษสาร 1952 หน้า 13 - 34

       สำเนาว่าด้วยปาฐกถาของ ม.ร.ส. เสนีย์ ปราโมช ว่าด้วยเรื่องราวของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงบทบาทของคนไทยในสหรัฐอเมริกาในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาทของเสรีไทย ไปจนถึงความคิดความอ่านของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

(รูปที่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ส่งมาให้ตีพิมพ์พร้อมกับบทความนี้)

       อัสสัมชนิกถึงจะทรงเกียรติสูงส่งเพียงใดแต่เมื่อกล่าวถึง “อัสสัมชัญ” แล้ว ย่อมไม่มีใครยอมทอดทิ้ง เมื่อทราบว่าอัสสัมชนิกรุ่นเยาว์จะจัดการออกหนังสือเพื่อ “อัสสัมชัญ” ถึงแม้ว่า ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จะมีงานล้นมือ ไม่สามารถเขียนให้ใหม่ได้ทันท่วงทีท่านก็ยังกรุณาให้สำเนาปาฐกถาที่เคยแสดงที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อนานแล้ว ถึงเรื่องจะเก่าแต่เนื้อเรื่องยังคงใหม่และเหมาะอยู่เสมอ

ท่านทั้งหลาย

       ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง ที่ได้รับเชิญมาแสดงปาฐกถาต่อบรรดานิสสิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานศึกษาเก่าแก่ในเมืองไทย

       เรื่องที่ข้าพเจ้าจะพูดวันนี้ คือความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกา และจะกล่าวได้โดยเฉพาะในระหว่างสงคราม ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าพเจ้าไปเป็นทูตสังกัดอยู่ ณ วอชิงตัน แต่การแสดงปาฐกถาคราวนี้มีเงื่อนไขบ่งไว้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะปฏิบัติเงื่อนไขได้สำเร็จเพียงใด เงื่อนไขนั้นมีอยู่ว่า ห้ามมิให้นำเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยว ฉะนั้นไม่พูดเรื่องการเมือง เมืองไทยสมัยนี้ซึ่งถึงแม้ว่าจะให้พูดก็ไม่รู้ที่จะจับตอนไหนพูดอย่างไร แต่ถึงกระนั้นก็ดี ในหมู่ประชาชนที่ตื่นแล้วต่อสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองแห่งระบอบประชาธิปไตย การเมืองเป็นชีวิตจิตใจแทรก ชุมชนจะเปรียบก็เหมือนอากาศ เกี่ยวข้องอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ในหมู่ประชาชนที่ตื่นแล้วเช่นนี้จะถือภาษิตโบราณที่ว่า พูดสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ก็เห็นจะถูกกล่าวหาว่าโง่ เมื่อจำเป็นจึงควรพูดบ้าง เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

       เรื่องที่ข้าพเจ้าจะได้นำมาแสดงปาฐกถา เป็นเรื่องที่แล้วมาแล้ว จึงคิดว่าจะพูดได้ในแง่ประวัติศาสตร์ไม่ใช่การเมือง และที่จะนำมาพูดก็โดยเชื่อว่าอาจเป็นประโยชน์แกท่านอนุชนทั้งหลาย ผู้ซึ่งจะรับช่วงอนาคตของชาติต่อไปจากคนอย่างข้าพเจ้าในรุ่นนี้ จะได้รู้เห็นเป็นแบบฉบับว่า ในยุคที่บ้านเมืองเข้าตาจน เราได้วิ่งเต้นหาทางออกกันมาอย่างไร ถึงอย่างไรก็คงไม่เสียประโยชน์เสียหาย อย่างน้อย รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนยิ่งเป็นพหูสูตมากเท่าใดยิ่งเป็นผลดีแก่ชาติบ้านเมืองเท่านั้น จะได้รู้จักคิดวินิจฉัยอะไร ๆ ได้เอง ไม่ตกเหยื่อของนักการเมือง

       คนไทยเราปฏิบัติกันมาระหว่างสงครามเป็นเวลา 4 ปีนั้น มีมากต่อมาก ถ้าจะนำชี้แจงกันโดยละเอียดแล้ว พูดกัน 7 วัน 7 คืนก็ไม่จบ นี้ให้เวลาพูดเพียงชั่วโมงเดียว จึงจะกล่าวถึงแต่ในหัวข้อใจความสำคัญ กล่าวโดยเฉพาะถึงงานที่กรุงวอชิงตันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์กับอเมริกานั้น ความจริงก็เหมือนกับที่อื่นทั้งหลาย มีทั้งในทางสร้างและทางทำลายคู่กันไปต่อไปนี้จะพูดแต่ในแง่สร้างและในความก้าวหน้าของงาน

       คนเราจะหามิตรแท้ที่ดีได้ก็แต่ในยามยาก และก็เวลาตกทุกข์ได้ยากนั่นแหละที่จะแสดงให้เราเห็นได้ถนัดว่าเพื่อนเราคนไหนจริงไม่จริงต่อเราเพียงใด เพื่อนจริงมักจะเกิดในยามยาก ส่วนเพื่อนกินมีมาเสมอในเวลาสบาย ระหว่างสงครามอเมริกาได้พิสูจน์ให้เราเห็นถึงความเป็นมิตรแท้ที่ดี โดยได้ให้ความช่วยเหลืออุปการะแก่ไทยเราในเวลาที่เราตกอับที่สุด จนแทบไม่มีหวังที่จะได้เห็นแสงสว่างแห่งเอกราชต่อไปข้างหน้า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกาตอนนี้จึงควรนับว่าเป็นเกลียวสำคัญ ที่จะผูกมัดชาติทั้งสองของเราไว้ในความเป็นมิตรอย่างไม่มีวันสลาย

       งานของคนไทยในอเมริกาเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นวันที่ญี่ปุ่นยก (..หน้ากระดาษขาดหายไป..) การรุกรานเมืองไทย วันที่ 10 ธันวาคม ทางกรุงเทพฯ โทรเลขมาเป็นทางการว่า ได้ยอมแพ้ญี่ปุ่นเสียแล้ว และสั่งให้สถานทูตทำลายเอกสารสำคัญเสีย ในฐานะที่เป็นทูตรับผิดชอบอยู่ทางโน้น ข้าพเจ้ามีเวลา 3 วันที่จะตัดสินใจว่าจะอยู่หรือจะไปอย่างเขาทั้งหลาย เมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิลฮาเบอร์ในวันที่ 8 ธันวาคม และสงครามโลกได้ระเบิดขึ้นนั้น ข้าพเจ้าต้องขอรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าเองไม่แน่ใจว่าฝ่ายไหนจะชนะ ในการซ้อมรบเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 นั้นเองทหารอเมริกันยังใช้ปืนไม้แทนปืนจริง เพราะยังไม่ได้ลงมือสร้างเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ ถ้าญี่ปุ่นมีกำลังแข็งจริง ๆ และทุ่มเทกำลังเข้าไปทั้งหมดในขณะนั้นแล้วก็ไม่แน่ว่า อเมริกาจะเอาชนะญี่ปุ่นได้ แต่ถ้าให้เวลาอเมริกาได้สร้างเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์สักปีหนึ่งหรือสองปีแล้ว ก็หวังได้ว่าชัยชนะจะเป็นของอเมริกา เมื่อความไม่แน่ใจมีอยู่ดังนี้ก็จำเป็นต้องตัดสินใจเอาอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้น เหตุที่ทำให้ต้องตัดสินใจไปในทางต่อต้านก็เพราะว่านั่นเป็นความหวังชิ้นเดียวที่เหลืออยู่ โดยถ้าอเมริกาชนะสงคราม สถานทูตจะได้เป็นปากเป็นเสียงดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับเอกสารและอนาคตของชาติสืบไป แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะก็ต้องจัดว่าเป็นของสัตว์-ช่วยไม่ได้ อีกประการหนึ่งมีกฎหมายไทยลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2484 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนจะต้องทำการต่อต้านผู้รุกรานบ้านเมืองไทยโดยทุกวิถีทางที่จะทำได้ยิ่งกว่านั้นยังกำหนดไว้ด้วยว่า ถ้าคนไทยไม่อยู่ในฐานะจะรับคำสั่งจากรัฐบาลได้ ก็ให้ดำเนินการต่อต้านไปโดยลำพัง หน้าที่ตามกฎหมายมีกำหนดไว้ดังนี้ จึงตกเป็นภาระของคนไทยในอเมริกาจะต้องปฏิบัติตาม ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือในฐานะที่เป็นทูต ผู้แทนของชาติอยู่ทางโน้น ข้าพเจ้าเชื่อในประวัติศาสตร์ของชาติที่เป็นมาว่า คนไทยจะไม่ยอมเป็นทาสใครง่าย ๆ ชาติเราไม่ได้เป็นเอกราชมา 700 ปีเพื่อตกเป็นทาสของญี่ปุ่น อาศัยหลักที่มาในประวัติศาสตร์เช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าถ้าได้ยกธงไทยขึ้นที่กรุงวอชิงตันให้คนทางบ้านมีหวังแล้ว คนไทยทั้งชาติจะช่วยเหลือให้ความร่วมมือในงานต่อต้านของเราจนสำเร็จสมประสงค์ ด้วยเหตุสำคัญสามประการนี้ สถานทูตไทยจึงได้ออกประกาศตัดสินใจเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม นั่นเองว่าไม่ยอมรับรองการยอมแพ้ของรัฐบาลไทยต่อญี่ปุ่น และจะดำเนินการต่อต้านไปตามหน้าที่ในกฎหมายโดยเชื่อมั่นว่าคนไทยทั้งชาติจะกอบกู้เอกราชจากผู้รุกรานและในข้อสุดท้ายนี้ข้าพเจ้าไม่ผิดหวัง

       ขณะที่เริ่มงานนั้นได้พิเคราะห์กันว่าเรามีอะไรเป็นทุนอยู่บ้างที่จะใช้ดำเนินงานต่อไป เมื่อได้เอาทุนมานับดูแล้ว ก็แทบหมดหวังที่จะดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เครื่องมือในการ (..หน้ากระดาษขาดหายไป..) ทางการทูตเพื่อได้ผลทางการเมืองนั้นมีอยู่สามประการด้วยกัน ประการแรกและที่สำคัญที่สุดก็คือกระสุนปืนใหญ่ เป็นที่รับกันทั่วไปว่านี่เป็นเครื่องมือการเมืองระหว่างชาติได้ดีที่สุด แต่ก็เห็นกันอยู่แล้วว่าเมืองไทยเราเล็ก และอ่อนแอไม่มีกำลังในทางนี้ เครื่องมือประการที่สองได้แก่การแลกเปลี่ยนประโยชน์ซึ่งกันและกันเพื่อผลทางการเมือง เปรียบเทียบกับชาติอื่นที่ดำเนินงานอย่างเดียวกันเช่นฝรั่งเศสเสรี ของเขาทีทั้งคนและทรัพยากรนำเอามาลงทุนช่วยเหลือในการสงคราม แม้แต่เดนมารคซึ่งเป็นประเทศเล็กตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกับไทย ก็ยังมีเกาะกรีนแลนด์เอามายกให้เป็นฐานทัพแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ของเรานั้น พอเปิดหีบก็แทบจะเห็นแต่หีบเปล่า เงินสดของรัฐบาลในขณะที่สงครามเกิดขึ้นนั้นมีอยู่สองล้านดอลลาร์เศษก็จริง แต่สถานทูตจะนำมาใช้จ่ายจะสั่งจับจ่ายใช้สอยได้เป็นจำนวนสองพันเหรียญเศษ ซึ่งแม้แต่จะแจกจ่ายเป็นค่าเลี้ยงดูนักเรียนในอเมริกาก็ไม่พอเสียแล้ว เพราะจำนวนเงินที่จ่ายโดยปกติเพื่อประโยชน์ในการนี้มากถึงเดือนละ 14,000 เหรียญ จริงอยู่ทองอันเป็นทุนสำรองของเรามีฝากไว้ในอเมริกาตีราคาเป็นเงินประมาณ 9 ล้านเหรียญ แต่ได้ตกลงกันเป็นหลักการมาแต่ต้นว่า ถึงอย่างไร ๆ ก็จะไม่ยอมจำหน่ายจ่ายโอนทุนสำรองของชาตินี้ เพื่อเก็บไว้เป็นทุนหลังสงคราม ว่ากันถึงกำลังคนที่เราจะนำมาใช้ในการช่วยเหลือสงคราม ของเราก็มีอยู่พอใช้ได้เพียง 50 - 60 คนเท่านั้น ซึ่งทางการส่งไปเป็นนักศึกษา ไม่ใช่นักรบ

       ส่วนเครื่องมือประการที่สาม ที่พอจะหวังพึ่งได้บ้างก็คือมิตรภาพที่เรามีกับอเมริกามาแต่เก่าก่อน ความนับถือและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งอุดมคติในทางการเมืองของอเมริกาเองซึ่งโดยปกติเพ่งเล็งไปในทางจะสนับสนุนอิสรภาพของมนุษย์อยู่แล้ว ดังปรากฏผลขึ้นในแอตแลนติก ชารเตอร (Atlantic Charter) เป็นต้น ถ้าจะกล่าวรวมความก็คือกำลังทางด้านจิตใจ กล่าวคือเราต้องทำตนให้คนอเมริกันเขามีเมตตาจิตเห็นใจเรา แล้วจะได้ช่วยเหลือเราต่อไป แต่ในการที่จะได้รับความช่วยเหลือและความเห็นอกเห็นใจจากเขาเพียงใดนั้น ย่อมสุดแล้วแต่การกระทำของเราเป็นใหญ่ ความนับถือและเห็นอกเห็นใจของเขาจะพึ่งบังเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้บำเพ็ญตนให้เขาเห็นว่า เป็นคนรักชาติ รักอิสรภาพ กล้าเสียสละ และมีอุดมคติเท่าเทียมกับเขาเหมือนกัน 

       การที่เราเพ่งเล็งหวังถึงเครื่องมือประการที่สามนี้ก็เพราะเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกานั้นได้มีนานกว่าร้อยปีแล้ว เริ่มตั้งแต่เมื่อหมอสอนศาสนาเข้ามาเมืองไทย และได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับในหลวงรัชกาลที่ 4 ไว้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้นและต่อ ๆ มาคนอเมริกันได้ทำตนให้เป็นที่รู้จักและนับถือในบรรดาคนไทย ด้วยการสอนหนังสือเผยแผ่วิชาความรู้ และช่วยเหลือในการตั้งโรงพยาบาลรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในสมัยนั้นเอง เมื่อ ค.ศ. 1833 (พ.ศ. 2396) เมืองไทยได้เซ็นสัญญาไมตรีและค้าขายกับอเมริกา ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในตะวันออกไกลที่ได้มีสนธิสัญญาทางไมตรีกับอเมริกา ความข้อนี้ ประธาธิบดี รูสเวลท์ ได้มีแก่ใจรำลึกและได้นำเอาไปกล่าวในรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อวันประกาศสงครามกับญี่ปุ่นแต่ทุนของเราก็มีอยู่เพียงเท่านี้ เมื่อก่อนสงครามเกิดในตะวันออกไกล ถ้าไปถามคนอเมริกันว่ารู้จักเมืองไทยหรือไม่เขาจะบอกได้แต่ว่าเป็นเมืองในตะวันออกไกลที่มีลูกฝาแฝดกับแมวครั้นสงครามเกิดขึ้นแล้วเขาก็รู้จักเมืองไทยในฐานะที่เป็นศัตรูโดยร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร ยิ่งกว่านั้น ในระยะเวลาก่อนที่จะเกิดสงครามนั้น การเมืองภายในของเมืองไทยเป็นไปในทำนองเผด็จการ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมอเมริกา และมีการพิพาทแย่งดินแดนกับฝรั่งเศสแทรกเข้ามาอีกด้วย กรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสนี้ ถ้าจะว่ากันโดยหลักประวัติศาสตร์ และความยุติธรรมแล้ว ก็มีทางที่จะขอความเห็นใจจากประชาชนอเมริกันได้บ้าง แต่วิธีการที่เราได้ดินแดนนั้นมาโดยใช้กำลัง และมีญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั้น เป็นต้นเหตุให้เขาเสื่อมความนิยม และเกิดความระแวงสงสัยของอเมริกานี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกหนักใจอยู่เป็นอันมาก เกรงไปว่าเมื่อถึงคราวญี่ปุ่นรุกรานเมืองไทย อเมริกาจะตีตัวออกห่างไม่ช่วยเหลือ ได้ทำรายงานส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ บอกความจริงให้ทราบทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ก็ไม่สามารถจะยับยั้งการดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 นั้นเอง ข้าพเจ้าได้มีหนังสือส่วนตัวบอกเข้ามายังหัวหน้ารัฐบาลแนะนะให้ดำเนินการต่อต้านขึ้นภายใน ในเมื่อถูกญี่ปุ่นรุกรานโดยสถานทูตที่กรุงวอชิงตันจะทำงานเป็นปากเสียงให้แต่ก็ไม่ได้รับตอบโดยที่การดำเนินนโยบายต่างประเทศของเราเมื่อก่อนสงครามเป็นมาดังนี้ เมื่อสถานทูตเริ่มดำเนินงานในตอนต้นสงคราม จึงถูกสงสัยว่าเป็นสปายของญี่ปุ่น

       เมื่อเริ่มลงมือทำงานนั้น มีปัญหาว่าเราจะเล็งอะไรเป็นหลักของการดำเนินงานนั้น ได้ตกลงกันหลักการว่าจะยึดสถานะของสถานทูตเป็นหลัก  เพราะประการแรก ถ้าทำให้ต่างชาติในกลุ่มสัมพันธ์มิตรรับรองสถานทูตไทยของเราได้ ก็เท่ากับต่างชาติเหล่านั้นยังคงรับรองเอกราชของเมืองไทย ทั้งนี้อาศัยหลักทางการทูตว่า ชาติที่ไม่เป็นเอกราชนั้นจะมีสถานทูตไม่ได้ อีกประการหนึ่งในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศอเมริกันก็ดี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้แทนนานาชาติในกลุ่มสัมพันธมิตรก็ดี เพื่อประโยชน์ทางการนั้น ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของเขาไม่ยอมติดต่อด้วยเป็นทางการ และเพราะเหตุนั้นจะเจรจาขอผลเป็นทางการก็ไม่ได้ เพราะไร้สถานะทางการทูตเช่นนี้ การดำเนินงานของกลุ่มเสรีอื่น ๆ เช่น เกาหลี และอ๊อสเตรียจึงต้องประสบอุปสรรคอย่างมากหลาย บางกลุ่มถึงกับต้องเลิกล้มไปกลางคันก็มี สถานะทางการทูตของกลุ่มเสรีต่าง ๆ ในระหว่างสงครามนั้น พอจะจัดได้เป็น 3 ชั้นตามความสูงต่ำกว่ากันดังต่อไปนี้คือ อย่างแรกได้แก่รัฐบาลนอกประเทศ เช่นของ ฮอลันดา เบ็นเยี่ยม และลุกเซมเบอรก เมื่อถูกเยอรมันรุกราน รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้หนีออกไปตั้งทำการในดินแดนของสัมพันธมิตร และได้รับนับถือว่ามีสถานะสูงสุดในบรรดากลุ่มต่อต้านด้วยกัน การติดต่อกับมหาอำนาจในกลุ่มสัมพันธมิตรก็ได้รับยกย่องให้ติดต่อกันได้ในสถานะรัฐบาลต่อรัฐบาลสถานที่สองรองลงมาได้แก่สถานทูต ผู้แทนกลุ่มต่อต้านทั้งภายในและนอกประเทศ เช่นไทยและเดนมารก แต่ของเดนมารกมีภาษีกว่าเรามาก เพราะเมื่อเยอรมันยกทหารเข้าเดนมารกนั้นรัฐบาลของเขายอมแพ้เฉย ๆ ไม่ได้กลับไปเป็นฝ่ายเยอรมันประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรอย่างไทยเรา สถานะที่สองนี้ไม่ค่อยมั่นคงนัก เพราะเป็นแต่ผู้แทนของชาติโดยไม่มีรัฐบาลที่สัมพันธ์มิตรรับนับถือ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย สถานะทางการทูตขั้นต่อลงไป ได้คณะกรรมการกู้เอกราช เช่นของฝรั่งเศสเสรีเมื่อตอนต้นสงคราม สถานะทางการทูตที่ว่านี้แม้ในทาง Protocol จะเป็นรองจากสถานทูตลงไปก็ตาม แต่เมื่อเป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มสัมพันธมิตรเป็นอันมาก ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสงวนสถานะสถานทูตของเราไว้ได้ เราจะได้อยู่ถึงขั้นกลาง ไม่ต่ำต้อยเกินไป ซึ่งจะเป็นปากเสียงและกำลังช่วยเหลืองานของชาติได้อย่างดี และก็เห็นจะเป็นด้วยบารมีของพระสยามเทวาธิราชคุ้มครอง เราจึงคุ้มครอง เราจึงสามารถรักษาสถานะสถานทูตไทยในกรุงวอชิงตันเป็น เครื่องมือประคับประคองเอกราช ของไทยมาได้ตลอดสงคราม  และเป็นสะพานทอดมาสู่เอกราชของเราในบั้นปลายดังทุกวันนี้ ทั้งนี้ได้เป็นมาได้ แม้ทางรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับเขา ซึ่งโดยปกติแล้ว คณะทูตของเราควรจะถูกเขากักคุมตัวแล้วส่งกลับเมืองไทยแต่ก็กลับอยู่ในอเมริกามาได้ตลอดสงคราม และเปิดสถานทูตทำงานตามปกติ ซ้ำถึงวันเทศกาลนักขัตฤกษ์ยังแถมชักธงไทยขึ้นที่สถานทูตเสียด้วย อันเป็นธงของชาติที่ประกาศสงครามกับเขา คนอเมริกันเห็นเข้าก็งงไม่เข้าใจว่าเราอยู่กันได้อย่างไร แต่นั่นแหล่ะ เมืองไทยเป็นเมืองนอกตำรับ (unique) คราวนี้ก็นับว่าได้ทำตัวอย่างแปลกประหลาดทิ้งไว้ในประวัติการทูต สำหรับก่อความฉงนสนเท่ห์แก่นักศึกษาข้างหน้าต่อไปด้วย 

       โดยที่การงานในกรุงวอชิงตัน ได้เล็งสถานะสถานทูตเป็นหลักดังว่ามานี้ เราจึงต้องปฏิบัติทุกอย่างเพื่อสงวนสถานะของสถานทูตไว้มิให้เสื่อม กล่าวโดยเฉพาะคือจะต้องดำเนินงานโดยยึดความสุจริต การเสียสละ และการรักชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ทั้งนี้จึงเป็นเหตุให้ต้องตัดทอนค่าใช้จ่ายประจำลงไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ข้าราชการบางคนยอมตัดเงินเดือนตัวเองลงไปเพื่อให้เขาเห็นใจ ว่าเราอยู่เพื่อทำงานชาติ มิใช่เพื่อหลบภัยสงคราม เนื่องจากการที่ต้องกวดขันความประพฤติข้าราชการและนักเรียนให้เป็นไปตามแนวอุดมคติดังว่านี้ ความเข้าใจผิดต่อกันจึงบังเกิดมีขึ้นบ้างเป็นธรรมดา รวมความว่า เพราะเราเล็ก และทุนน้องช่วยอะไรเขาไม่ค่อยได้ จะทำใหญ่ให้เขานับถือ และช่วยเหลือได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติมั่นอยู่ในความสุจริตเที่ยงตรง 

       เพียงแต่จะรักษาสถานะสถานทูตไว้มิให้เสื่อมเท่านั้นยังไม่พอ เรายังต้องดำเนินงานอย่างให้เขาเห็นอกเห็นใจว่าเราได้ช่วยเหลือเขาในการสงคราม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสถานทูตของเราให้มั่นคงยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยระลึกอยู่เสมอว่า ถ้าคนของเราประพฤติปฏิบัติในทางเสียหาย เขาจะหมดความเชื่อถือส่งหนังสือเดินทางให้กลับบ้าน ดังมีตัวอย่างเกิดขึ้นในระหว่างสงคราม แต่ในเวลาเดียวกัน ถึงแม้จะไม่ประพฤติปฏิบัติไปในทางเสียหายก็ตาม ถ้าอยู่เฉย ๆ ไม่ช่วยเหลือเขาประการใดก็จะหวังเขาช่วยเราในงานกอบกู้เอกราชชาติไม่ได้อยู่เองด้วยเหตุนี้จึงได้วางแผนการณ์ดำเนินงานไว้ 3 ประการเป็นสำคัญ ประการแรก เป็นงานด้านโฆษณาเผยแผ่เพื่อให้เขารู้จักและมีแก่ใจช่วยเหลือเมืองไทย ประการที่สอง เป็นงานทหารอาสาสมัคร เพื่อช่วยงานของเขาในทางการทหาร ประการที่สามและสำคัญที่สุดที่ได้วางแผนการณ์ไว้แต่ต้น คือการชักชวนให้คนไทยดำเนินการต่อต้านเป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่นขึ้นภายในประเทศ ทั้งนี้เป็นข้อสำคัญก็เพราะว่า คนของเราในอเมริกามีน้อย จะดำเนินการงานอะไรไปก็เหมือนกันเอาหยดน้ำไปทิ้งในทะเล ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันเท่าใดนัก จึงต้องหวังพึ่งคนไทยภายในประเทศทั้งชาติที่จะทำการกอบกู้เอกราชเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน งานทั้งสามประการที่ว่านี้ เมื่อทำไปได้ผลเท่าใดย่อมเป็นกำลังค้ำจุน และส่งเสริมสถานะสถานทูตให้มั่นคงยิ่งขึ้น และเป็นการส่งเสริมความหวังต่อเอกราชของเราในอนาคตไปด้วยในตัว ดังจะได้นำมากกล่าวโดยลำดับต่อไปนี้

       งานด้านโฆษณาของเราได้แบ่งงานโฆษณาทั้งในและนอกประเทศอเมริกา การโฆษณานอกประเทศได้เริ่มแต่วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ด้วยการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อเมริกันทำการกระจายเสียงทางวิทยุมายังเมืองไทย และตั้งแต่นั้นมาก็ได้ทำการกระจายเสียงอยู่ทุก ๆ วันมิได้ขาดจนตลอดสงคราม การสงครามสมัยนี้จัดเป็นการสงครามด้วยกำลังอาวุธส่วนหนึ่ง กับสงครามทางด้านจิตใจอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในด้านนี้ที่เรามีส่วนช่วยเหลือด้วยกำลังอาวุธส่วนหนึ่ง กับสงครามทางด้านจิตใจอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในด้านนี้ที่เรามีส่วนช่วยเหลือด้วยวิธีส่งกระจายเสียงทางวิทยาบ้างทิ้งใบปลิวทางเมืองไทยบ้าง ส่วนนี้เองที่เราได้ช่วยเหลือเขาเป็นชิ้นเป็นอันจริง ๆ จนได้รับชมเชยจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร งานวิทยากระจายเสียงของเราแบ่งออกเป็นสอนแผนก คือ บทความจากสถานทูตแผนกหนึ่ง มุ่งไปในทางอุดมคติเป็นใหญ่ ส่วนอีกแผนกหนึ่งมีคนไทยสิบเอ็ด สิบสองคนช่วยกันทำที่เมืองซานฟราสซิสโก มุ่งไปในทางส่งข่าวเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวแห่งการสงครามที่กระจายเสียงทางวิทยานอกประเทศนี้มิได้ทำกันเฉพาะแต่ในอเมริกาเท่านั้น ที่อินเดียก็มีคนไทยกลุ่มหนึ่งช่วยกันจัดทำอยู่ด้วย ที่อ๊อสเตรเลียและจุงกิงก็มีด้วยเหมือนกัน ว่ากันถึงคุณภาพของงานแล้วต้องยกให้พวกในอินเดียเป็นเยี่ยม และทราบว่าทางการในเมืองไทยถึงกับห้ามฟังวิทยุเดลฮีโดยเฉพาะ เมื่อแรกเริ่มดำเนินงานนั้น ถูกวิทยุไทยจากกรุงโรมประณามอยู่พักหนึ่ง หาว่าเป็นเด็กซุกซนบ้าง เป็นกบฏปดโป้บ้าง แต่ทีหลังก็เงียบไป บทความของสถานทูตไทยในวอชิงตันนั้นได้รับเอกสิทธิ์พิเศษสักหน่อยเขาอนุญาตให้พูดได้โดยเป็นอย่างดี ไม่พูดอะไรให้วู่วามจนเกินไป โดยเกรงว่าถ้าพูดผิดพลาด จะถูกรอนเอกสิทธิ์นั้นเสีย และก็เพราะเหตุนี้เองจึงเกรงว่าที่พูดมาจะฟังเป็นพระเทศน์ง่วงนอนไปตามกั้น ประโยชน์ทางการเมืองที่มุ่งหมายจากงานชิ้นนี้คือ ประการหนึ่ง เราได้โอกาสทำการช่วยเหลือเขาในการสงครามทางจิตใจ ประการที่สองเมื่อคนไทยทางบ้านได้ฟังวิทยุรู้ว่าเราเกาะอเมริกาติด ก็จะมีหวังและคิดการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นภายในประเทศ ประการที่สามญี่ปุ่นเอกเมื่อได้ฟังวิทยา และเห็นเราร่วมมือกับอเมริกาได้ ก็จะยับยั้งไม่ปฏิบัติต่อคนไทยในประเทศให้รุนแรงเกินไป

       ส่วนการโฆษณาภายในประเทศอเมริกาก็ได้ดำเนินงานควบกันไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนอเมริกันรู้จักเมืองไทยดีขึ้น และจะได้มีแก่ใจช่วยเหลือส่งเสริมการงานของเราให้ลุล่วงไปด้วยดี โดยที่อเมริกาเป็นประเทศประชาธิปไตยอาศัยมติประชาชนเป็นหลักดำเนินงาน การหาความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนอเมริกันจึงมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย งานแผนกนี้เอาหลักแน่นอนอะไรไม่ได้ สุดแล้วแต่ว่าอะไรจะเป็นการประกาศเผยแพร่เมืองไทยและคนไทยก็ทำไปเท่าที่จะทำได้ เช่นการที่ข้าพเจ้าในฐานะเป็นทูตผู้แทนของชาติกับภริยาไปปรากฏตัวในสมาคมและงานพิธีการทางการเขาจัดขึ้น ให้เขาเห็นหน้าไว้เสมอสัปดาห์ละครั้งหนึ่งสองครั้ง ว่าผู้แทนของไทยยังอยู่เท่านี้ก็ยังดี เมื่อเริ่มสงครามใหม่ ๆ ต้องไปกับเขาอย่างแกน ๆ เพราะชาติประกาศสงครามกับเขาผู้แทนของชาติก็เลยเป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา แม้แต่คนอเมริกันที่นับกันว่าเป็นมิตรสนิทกับไทยก็ต้องตีตัวออกห่าง เพราะการประกาศสงครามของเรานี้ แม้ภายหลังต่อมาจะช่วยได้บ้างก็แต่ในทางจิตใจ เพราะลักษณะของงานที่เราทำนั้นจะเปิดเผยไม่ได้ เมื่อประเทศเราประกาศสงครามกับเขาแล้ว พวกมิตรเก่าที่เป็นกังวลกิตติมศักดิ์ของเราพากันลาออกหมด มิตรเก่าบางคนในวงสมาคมก็พลอยเมิน แต่เราก็ต้องอดทนทำกันมา ผลสำเร็จแห่งการยอมรับนับถือในวงสมาคมมาได้เอาในบั้นปลาย  

       งานโฆษณาภายในอเมริกานี้พวกสุภาพสตรีไทยของเรามีส่วนร่วมมือช่วยเหลือเป็นอันมากนับตั้งแต่การทำกับข้าวไทยเลี้ยงฝรั่ง ตลอดจนการอาสากาชาดแผนกถักเสื้อกันหนาว การตั้งโรงครัวแกงไก่เลี้ยงรับรองทหารสัมพันธมิตร การขายพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งในวันเดียวของเราขายได้ตั้ง 5 พันเหรียญ โดยเกณฑ์ ให้แต่งกายแบบไทยไปนั่งขาย ฝรั่งตื่นกันมาดูเพราะไม่เคยเห็น เลยซื้อพันธบัตรจากหน่วยไทยมากกว่าหน่วยอื่น จนของเราได้รับปรากาศนียบัตรยกย่องเป็นพิเศษ งานที่เด่นอีกชิ้นหนึ่งคือการเข้าร่วมในงานประกวดเครื่องแต่งกายสตรีเพื่อส่งเงินบำรุงแคนทีนทหาร ในงานนี้มีผู้หญิงไทยเข้าร่วมอยู่ด้วยชาติเดียว ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลายในอเมริกา การดำเนินงานแผนกนี้ได้เกณฑ์จนกระทั่งลูกเด็กเล็กแดง เช่นในการกระจายวันตรุษฝรั่ง ของเรามีเด็กไทยนุ่งผ้าโจงกระเบนไปให้ศีลให้พรกับเขาด้วย จนเกิดเป็นปัญหาถกเถียงกันในหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ว่า ผ้านุ่งกับกางเกง Plus four นั้นอันเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ของใครจะสวยกว่ากัน ที่สุดดูเหมือนของเราชนะ เพราะเมื่อฮอลลีวู๊ดออกแบบเสื้อกางเกงอาบน้ำทะเลสำหรับสุภาพสตรี ได้ให้ชื่อว่า Panung เอาอย่างผ้านุ่งโจงกระเบนแบบไทย ผิดแต่ว่าของเขานุ่งสั้นกว่าและสั้นกว่ามาก ๆ ส่วนชายกระเบนแทนที่จะเหน็บ ข้างหลังเอามาเหน็บข้างหน้า

       งานโฆษณาภายในนอกจากนี้ ได้แก่การติดต่อกับหนังสือพิมพ์ ให้ความรู้ความจริงเกี่ยวกับเมืองไทย ซึ่งสถานทูตเป็นองค์การให้ข่าว นี่ก็เป็นงานชนิดเข็นครกขึ้นภูเขาอีกเหมือนกัน ดังได้กล่าวแล้วว่าด้วยการที่เราเข้าไปพัวพันกับญี่ปุ่นเมื่อก่อนสงคราม ตอนเริ่มงานหลังสงครามเราจึงถูกสงสัยว่าเป็นสปายที่ญี่ปุ่น เช่นตอนที่ Thailand จะเป็นมหาอำนาจจนเกิดกรณีพิพาทขึ้นนั้นหนังสือพิมพ์เอาไปลงล้อพาดหัวว่า Little Toyland Aping the Axis การติดต่อทำความสนิทสนมกับหนังสือพิมพ์ระหว่างสงครามจึงเรียกว่าเป็นงานเข็นครกขึ้นเขา แต่ก็ต้องหวานอมขมกลืน ให้ความเพียรทำกันมา ตอนที่ติดต่อคณะต่อต้านภายในได้นั้น อยากประกาศให้โลกรู้เป็นที่สูงยิ่ง แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะเกรงว่าข่าวจะรั่วไปถึงญี่ปุ่น จึงได้แต่จะบอกกล่าวกันส่วนตัวเป็นการภายใน และได้ผลในทางปรับความเข้าใจกับหนังสือพิมพ์ 

       นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังมีงานแสดงปาฐกถาเรื่องเมืองไทย ซึ่งเข้าเจ้ารับทำ ได้พยายามไปเผยแผ่ความรู้เรื่องเมืองไทยตามมหาวิทยาลัยและสถานสมาคมต่าง ๆ เท่าที่จะทิ้งงานทางกรุงวอชิงตันไปได้ และรู้สึกว่าได้ผลสมหวัง เพื่อประโยชน์แก่งานแผนกนี้ ได้จัดเรียบเรียงปาฐกถาภาษาฝรั่งไว้หลายชิ้น เพ่งเล็งไปทางด้านศิลป ประเพณี และวัฒนธรรม  แล้วก็เลยถือโอกาสเผยแผ่คดีไทยทางด้านการเมืองไปด้วยในตัว โดยทั่วไปได้แสดงถึงความจริงว่า ไทยเป็นชาติเก่าแก่ มีวัฒนธรรมของตนเอง สมควรได้ครองตนเป็นเอกราชสืบไป เพื่อถนอมวัฒนธรรมอันเก่าแก่นั้นไว้เป็นสมบัติส่วนหนึ่งของโลก เรื่องที่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใช้ในการนี้ มีตำนานพุทธเจดีย์ - และโบราณสถาน สุภาษิตไทยทั้งโบราณและไม่โบราณ ศิลาจารึกพ่อขุนร่มคำแหง กฎหมายทั้งเก่า และใหม่เกี่ยวกับฐานะของหญิงไทย นิทานเก่า ๆ ประเพณีบางประการ และอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ที่ต้องใช้เวลามากที่สุดแต่ดูเหมือนจะทำความเข้าใจกับคนฟังได้น้อยที่สุดคือปาฐกถา เรื่องพุทธศาสนา เริ่มแต่สามัญลักษณะว่าไปถึงศีลสมาธิปัญญา อริยยสัจจ์ 4 และนิทานไปเทศน์วันมาฆะบูชาที่สมาคมศาสนาในกรุงวอชิงตัน เทศนาเกือบ 2 ชั่วโมง เสร็จแล้วมีคนมาบอกว่า ฟังแล้วรู้สึกเลื่อมใส เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังอย่างนี้ จึงขอให้พูดใหม่อีกทีให้เข้าใจ ร้อนถึงต้องมีเลี้ยงที่สถานทูต เพื่อจัดให้มีปุจฉาวิสัชนากันใหม่ พวกสุภาพสตรีรู้สึกสนใจในฐานะของสตรีไทย ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาได้รับยกย่องให้อยู่ในระดับเสมอบ่าเสมอไหล่กับผู้ชาย พวกศาสตรจารย์มหาวิทยาลัยและนักการเมืองชอบศิลาจารึกพ่อขุนราม ซึ่งข้าพเจ้าได้แสดงไปในทางที่ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยเทียบเคียงกับ Magna Charta ของอังกฤษซึ่งประกาศใช้ในศตวรรษเดียวกัน คำแปลศิลาจารึกของพ่อขุนรามนี้ มหาวิทยาลัยแคนซัสได้ขอคัดสำเนาไว้ศึกษา ส่วนพวกชาวบ้านชอบนิทานและภาษิตเก่า ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่จะตีพิมพ์โฆษณาเปิดเผยไม่ได้ เช่นที่เห็นช้างจะทำอะไรจะทำเอาอย่าง เขาว่าเป็นการเปรียบเทียบที่หาตัวอย่างไม่ได้ในโลก และถึงใจดีนัก แต่สุภาษิตเช่นนี้ได้แต่ละเล่าให้เขาฟังเป็นส่วนตัว เพราะเป็นไทยแท้นอกตำรับไปสักหน่อย การแสดงปาฐกถาทำอยู่สเมอตลอดสงครามคิดถัวเฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง แต่เมื่อโดนเรื่องยาก ๆ เข้า เช่น อริยสัจจ์ 4 ต้องใช้เวลาว่างค้นคว้าอยู่เกือบ 3 เดือน

       ต่อไปนี้จะกล่าวถึงงานด้านทหาร เรื่องนี้ข้าพเจ้าได้คิดใคร่ครวญมาก่อนแล้วตั้งแต่เริ่มพิจารณาหาทางออกเมื่อญี่ปุ่นเข้าครอบครองอินโดจีนได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 แต่ไม่เห็นทางอื่นอะไรที่จะทำให้เขาเห็นใจได้ดีไปกว่าการอาสาเป็นทหาร ซึ่งเป็นชาติพลีอย่างสูงสุดได้กล่าวแล้วว่า คนของเราในอเมริกานั้น ส่งไปเรียน ไม่ได้ส่งไปรบกับใคร บางคนวัดหน้าอกเข้าแล้ว ก็ไม่ถึง 3 ศอกดี แต่ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่จะกล่าวว่า เพราะเขาเป็นไทยเขาจึงทำงานช่วยชาติด้านนี้ได้ดีเกินความคาดหมาย เริ่มต้นทีเดียวคนของเราเข้าสมัครเป็นทหารอเมริกัน ทางการเขาฝึกหัดให้ดำเนินงานใต้ดินและกองโจรมาแต่ต้น ทั้งนี้ก็เพราะมีจำนวนน้อยไม่พอจะตั้งเป็นหน่วยรบธรรมดาได้ ขณะนั้นยังไม่รู้กันว่าคนข้างในจะคิดอย่างไร จึงฝึกหัดให้เข้ามาจัดการก่อตั้งคณะต่อต้านภายในประเทศ โดยที่เป็นงานเสี่ยงชีวิต ดังนี้ จึงรับแต่ผู้อาสาสมัครเท่านั้น ความจริงงานในอเมริกาทั้งหมดทุกแผนก ที่เกี่ยวกับการสงครามเป็นงานอาสา ใครจะทำหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ใจสมัคร ผู้ใดไม่สมัครก็จัดให้ศึกษาหาความรู้ต่อไป พวกที่สมัครกลับเมืองไทยก็มี แล้วแต่ใจเข้า พวกที่กลับบ้านนี้น่าเห็นใจ เพราะรัฐบาลบอกไปว่า ถ้าไม่กลับตามคำสั่งจะตัดสัญชาติและริบทรัพย์เสียด้วย อย่างไรก็ดี พวกที่สมัครเป็นทหารนั้นทีแรกต้องเป็นทหารอเมริกัน รู้สึกว่าเอาแน่นอนไม่ได้ เพราะเมื่อเป็นทหารของเขา เขาจะส่งไปรบที่อิตาลีหรือที่ไหนก็ได้ ไม่มีความผูกพันจะต้องส่งมาเมืองไทย และถ้าเขาส่งไปที่อื่นเสีย ดังนั้นแล้ว ความหวังของเราที่จะส่งคนเข้ามาหนุนให้เกิดการต่อต้านขึ้นภายในเมืองไทยก็จะล้มเหลวไปสิ้น แต่เคราะห์ดี ต่อมาภายหลังสถานทูตเจรจาถอนเงินมาใช้ในการทหารของเราได้ครึ่งล้านเหรียญ จึงมอบให้เจ้าหน้าที่อเมริกันไปจัดการ เมื่อเป็นเงินของเราเอง ซึ่งนับเรื่องนอกตำรับอีกเรื่องหนึ่ง

       ทหารของเราในอเมริกาจัดขึ้นเป็น 2 รุ่น รุ่นแรกส่งไปที่ประเทศจีน เป็นพวกที่มาก่อการต่อต้านภายในประเทศ รุ่นที่สองจัดขึ้นภายหลังและส่งไปประเทศอินเดีย เป็นพวกที่จะเข้ามาสืบเหตุการณ์ภายในประเทศให้สัมพันธมิตร ทหารของเราในอังกฤษก็ได้จัดขึ้นอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มในอังกฤษต้องประสบอุปสรรคมากกว่า เพราะทีแรกไม่มีผู้แทนจะช่วยเจรจาให้ จนที่สุดได้ส่งนายมณี สามเสนไปช่วยจึงสำเร็จ ทุกรุ่นทุกหมู่ต้องผ่านความยากความลำบากมาเป็นอันมาก เริ่มตั้งแต่การฝึกหัดเป็นต้นมา เขาเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนฝึกหัดกระโดดร่มจากเครื่องบินนั้นจะกระโดดสักกี่ครั้งกี่หนก็อดว่านะโมกว่า 3 จบไม่ได้ บางคนถึงกับบอกเพื่อนที่อยู่ข้างหลังว่า ถ้าเห็นปอดไม่กล้ากระโดด ก็ให้ถือวิสาสะส่งลงไปด้วยอวัยวะส่วนที่ใส่เกือกนั้นทีเดียว แต่ในที่สุดของเราก็สอบได้เป็นนักกระโดดร่มเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เจ้าหน้าที่อเมริกันบอกว่า ทหารพวกเขานั้นเข้าสอบได้สัก 50 -60 เปอร์เซ็นต์ก็พอใจแล้ว อนึ่งการเดินทางเข้ามาเมืองไทยต้องผ่านท้องที่กันดารอย่างยิ่ง คนหนึ่งถึงกับเสียจริตไปชั่วคราว ข้าพเจ้าได้ยินเขาเล่าสู่กันฟังว่า เมื่อจะข้ามเข้าสูงแถวเขตแดนนั้น ทหารไทยร่างสูงใหญ่คนหนึ่ง ซื้อหามาได้ซึ่งลาร่างเล็กตัวหนึ่ง ด้วยจะหาซื้อลาร่างใหญ่ให้สมส่วนมิได้ เมื่อเริ่มขึ้นเขา มีคนเห็นทหารไทยขี่ลา แต่ไปถึงตอนยอดเขา ลาดื้อไม่ยอมไป จึงมีผู้เห็นลาขี่ทหารไทย ปรากฏเป็นเหตุการณ์นอกตำรับอีกเรื่องหนึ่ง

       ทหารที่เข้ามาทำการรุ่นแรกต้องเสียชีวิตไป 2 คน ในเมื่อเข้ามาเมืองไทยแล้วเขาทั้งสองได้ตายเป็นไทยสมชื่อ และตายในหน้ากระดาษาประวัติศาสตร์จองชาติ ฝากความเสียสละของเขาไว้แก่คนไทยข้างหน้า งานด้านทหารได้ผลเป็นที่พอใจแก่สัมพันธมิตร และเป็นสื่อให้มีการติดต่อไประหว่างภายนอกภายในได้ในที่สุด จึงนับว่าเป็นงานสำคัญอย่างยิ่งทั้งในด้านการทหารและในด้านขอความเห็นอกเห็นใจจากสัมพันธมิตร สมควรแก่การเสียสละอย่างสูงสุดของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น

       งานที่เกี่ยวกับการทหารยังมีอีก 2 แผนก ซึ่งได้จัดขึ้นในอเมริกาคือการทำแผนที่ประเทศไทยใหม่ เพื่อประโยชน์ในกิจการฝ่ายทหารงานแผนกนี้ สถานทูตได้ส่งคนของเราไปทำให้โดยไม่คิดเอาสินจ้างรางวัลประการใด ทำอยู่เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน กว่าจะเสร็จเรียบร้อย อีกแผนกหนึ่งเป็นงานสอนภาษาไทยแก่ทหารฝรั่งที่จะเข้ามาทำการในเมืองไทย รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมภาษาไทยสำหรับทหารเป็นพิเศษ บางท่านที่ได้พบปะสนทนากับทหารฝรั่งเหล่านี้คงจะได้หยั่งผลของการสอนภาษาไทยในอเมริกามาแล้วเป็นอย่างดี ทหารบางคนเรียนดีเกินไป เอาราชาศัพท์ไปพูดตามท้องนาจนคนไทยไม่เข้าใจ อย่างนี้ก็มี เหล่านี้เป็นงานด้านทหารที่ได้จัดทำไป

       ที่สุดจะกล่าวถึงการติดต่อกับคณะต่อต้านภายใน ซึ่งเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุด ได้กล่าวแล้วว่า เมื่อเริ่มดำเนินงานนั้น ข้างนอกกับข้างในไม่รู้เรื่องกัน เมื่อข้าพเจ้าไปเป็นทูตนั้นได้รับงานไป 2 อย่างเท่านั้น ข้อแรกให้ไปหาทางเจรจาลดหย่อนภาษีข้าวที่ประเทศคิวบาเก็บจากข้าวไทย อีกข้อหนึ่งในอเมริกากำลังตำหนิว่าไทยรังแกจีน ให้ไปหาทางแก้ไขปรับความเข้าใจกับอเมริกา เรื่องที่จะเข้าพัวพันกับญี่ปุ่นในกรณีพิพาทชายแดนนั้น ข้าพเจ้าไปรู้เอาเมื่อเกิดเหตุเสียแล้ว ฉะนั้นเมื่อเมืองไทยประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร จึงไม่กล้าที่จะทำการติดต่อกับนักการเมืองภายในประเทศ เพราะไม่รู้แน่ว่าใครจะไปทางไหน ได้แต่หวังว่าจะไม่ตามกันไปหมดทุกคน การเป็นดังนี้จึงไม่ต้องมอบหมายอะไรมากับคนที่กลับเมืองไทยโดยเรือ Gripsholm อีกทั้งคนที่กลับเมืองไทยเหล่านั้นก็ไม่แน่ว่าจิตใจเขาจะไปทางไหน เลยต้องหาทางออกทางอื่นด้วยการส่งคนเข้ามาดูเหตุการณ์ความจริงเอาเอง

       ได้กล่าวแล้วว่า การดำเนินงานทหาร อาศัยการต่อต้านภายในประเทศเป็นหลัก การติดต่อกับผู้ต่อต้านภายในประเทศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องจัดการให้สำเร็จ นอกจากนั้น เมื่อมีผู้ตั้งกระทู้ถามในสภา ปลัดกระทรวงต่างประเทศอังกฤษได้ตอบว่า อังกฤษจะไม่แสดงความสนใจในงานเสรีไทยจนกว่าจะได้ความว่ามีการต่อต้านภายในประเทศเป็นปึกแผ่น และจริงใจ เพื่อจะได้การรับรู้สนับสนุนจากอังกฤษ จึงจำเป็นต้องพยายามติดต่อกับภายในโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

       ต้นปี พ.ศ. 2486 ได้รับโทรเลขจากจำกัด พลางกูร ว่าเป็นผู้แทนคณะต่อต้านภายในประเทศเดินทางมาถึงเมืองจีน ชั้นต้นตั้งใจว่าจะไปอังกฤษ แต่การเดินทางขัดข้อง จึงขอความช่วยเหลือให้ผ่านไปทางอเมริกา สถานทูตได้ทำการติดต่อกับหัวหน้าที่จีนทันที และช่วยเหลือทุกประการเท่าที่จะทำได้ แต่ขัดข้องด้วยจีนเองก็อยากได้จำกัดไว้ช่วยงานในเมืองจีน จึงล่าช้ามาจนจำกัดป่วยตายลงเสียก่อนที่จะได้มาอเมริกา แต่งานที่จำกัด พลางกูรทำไว้หาได้ตายตามตัวไปไม่ ได้ไปปรากฏเป็นจดหมายเหตุ และรายงานเกี่ยวกับโครงการณ์ต่อต้านภายใน ซึ่งทำให้กระทรวงต่างประเทศอเมริกาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาขึ้นเป็นอันมาก และช่วยก่อให้เกิดความหวังอย่างแน่นอนว่า ทหารของเราจะเข้าไปดำเนินงานในเมืองได้โดยปลอดภัย ทั้งจะได้รับการร่วมมือจากคณะต่อต้านภายในประเทศเป็นกำลังอีกด้วย

       นับแต่ จำกัด พลางกูร ออกมาจากเมืองไทย งานทางวอชิงตันจึงได้พันจากภาวะที่ทำไปมืดแปดด้าน ครั้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2486 มีสงวน ตุลารักษ์ กับแดง คุณะดิลกตามออกมาถึงวอชิงตัน การประสานงานกันภายใน จึงเริ่มก่อร่างเป็นความจริงยิ่งขึ้น ทีแรกคิดกันว่าจะส่งสงวนและแดงไปดำเนินงานแทนจำกัดในอังกฤษ แต่ปฏิการะ (ration) ทางอังกฤษยังไม่มีที่สุด จึงตกลงกันส่งคนสองคนนี้ไปช่วยร่วมการสงครามที่อินเดีย ส่วนความรู้เกี่ยวกับกิจการและความเป็นไปภายในประเทศนั้น ทางสถานทูตได้ถือโอกาสเปิดเผยเท่าที่จะทำได้โดยไม่เป็นภัยแก่คณะต่อต้านภายในประเทศ

       ต่อมาตอนปลายปี พ.ศ.2487 ทหารจากข้างนอกเข้าไปทำการติดต่อกับคนข้างในได้สำเร็จ ต่อจากนั้นการติดต่อนัดหมายตลอดจนการไปมาถึงกันจึงสะดวกและเป็นไปได้ ประจวบกับการที่ได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลในกลางปีนั้น ความฝันของเราที่อยู่ข้างนอกจึงปรากฏเป็นความจริงขึ้น ทั้งสงครามก็ใกล้จะแพ้ชนะกันด้วย โดยสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายรุกทั่วโลก ต้นปี พ.ศ. 2488 คณะต่อต้านภายในได้ส่งคนธีร์ ศุภมงคล ออกมาติดต่อเพื่อเจรจาตั้งรัฐบาลนอกประเทศ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรเห็นว่าควรรอไปก่อนจนกว่าสัมพันธมิตรจะยกเข้าเมืองไทย จึงคงเจรจากันในเรื่องที่จะทำการต่อต้านขึ้นภายใน ซึ่งในขณะนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรก็เห็นว่ายังไม่สมควรแก่เวลาและโอกาส งานต่อไปนี้จึงกลับมาเป็นงานการทูต กำหนดการงานที่จะพึ่งทำหลังสงคราม ที่สุดญี่ปุ่นก็ยอมแพ้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 และฝ่ายไทยประกาศว่า การประกาศสงครามของไทยเป็นโมฆะ ทั้งหมดที่ติดต่อกันมานี้ ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคกั้นขวาง ไม่อาจก้าวล่วงไปได้อย่างน้อยก็ยังได้แสดงต่อสัมพันธมิตรว่า ภายในประเทศของเรามีการต่อต้านเป็นปึกแผ่น สมด้วยเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงต่างประเทศอังกฤษได้วางไว้

       ได้กล่าวไว้แล้วแต่ต้นว่างานทั้งหมดที่ดำเนินไประหว่างสงครามได้เล็งผลที่จะสงวนสถานะสถานทูตไทยในกรุงวอชิงตันไว้เป็นปากเสียง ในตอนปลายก็ทำประโยชน์ได้สมหวัง ในระหว่างที่ดำเนินงานต่าง ๆ เป็นการลงทุนไปนั้น สถานทูตก็ต้องคอยคิดบัญชีเก็บกำไรไว้ให้แก่งานของชาติ เมื่อเริ่มงานใน พ.ศ. 2485 - 2486 นั้น บางทีก็ง่อนแง่นแทบจะล้ม เช่นตอนรัฐบาลทางบ้านประกาศสงครามนั้น ได้มีคำสั่งไปด้วยว่าให้นำความไปแจ้ง ...(หน้ากระดาษขาดหายไป)... อเมริกัน ข้าพเจ้านำสำเนาโทรเลขไปให้เขาดู แต่บอกกับเขาว่าข้าพเจ้า ...(หน้ากระดาษขาดหายไป)... สงครามกับอเมริกา เพราะไม่มีเรื่องบาดหมาง (causa beli) อะไรกันพอที่จะถือเป็นเหตุประกาศสงครามได้ ตรงกันข้ามได้เป็นมิตรที่ดีต่อกันมากว่า 100 ปี ทางกระทรวงการต่างประเทศของเขาก็ใช้วิธีนอกตำรับอย่างเดียวกับเรา บอกว่าเมื่อทูตผู้แทนไม่ยอมประกาศสงครามเป็นทางการเขาก็จะไม่รับรู้ และไม่ประกาศสงครามกับไทยเป็นทางการ เรื่องจึงลงเอยง่าย ๆ ดังนี้ โดยมิได้นึกฝันว่าจะง่ายถึงเพียงนี้ แต่ผลที่อเมริกาไม่ประกาศสงครามกับไทยนั้นไปไกลเกือบจะพูดได้ว่าที่เรายังเป็นเอกราชอยู่ทุกวันนี้ ต้นเหตุเริ่มมาจากนี้เราจึงเป็นหนี้บุญคุณอเมริกาอยู่เป็นอันมาก ซึ่งถ้าอเมริกาประกาศสงครามกับเราตามชาติมหาอำนาจในกลุ่มสัมพันธมิตร แล้วก็เดาไม่ถูกว่าสถานะทางการเมืองของเราในเวลานี้จะเป็นอย่างไร และคงเป็นไปในทางดีเท่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ได้เป็นแน่ ข้าพเจ้าได้ตอบขอบใจกระทรวงต่างประเทศอเมริกัน ในการที่มีไมตรีจิตต่อไทยอย่างไม่นึกฝัน และเหตุการณ์ในตอนปลายสงครามก็ได้แสดงว่า หนูได้ทำหน้าที่ช่วยราชสีห์เต็มกำลังความสามารถ

       ทางกรุงเทพฯ ได้สั่งใบประกาศสงครามกับอเมริกาแล้วยังไม่พอ ต่อมาอีกไม่กี่วันยังขอร้องผ่านทางรัฐบาลสวิสให้ทูตสวิสไปโดยสุภาพว่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าตนเองจะรักษาส่วนได้เสียของไทยในอเมริกาไว้ได้ ถ้าจะยึดสถานทูตไทยก็ขอให้ทูตไปพิจารณาหาทางยึดเอาเอง ข้าพเจ้าไม่อยู่ในฐานะที่จะส่งมอบให้ได้ เมื่อใช้วิธีนอกตำรับกันเข้าเช่นนี้ ทูตสวิสซึ่งเป็นคนกลางไม่ได้ไม่เสียอะไรด้วยก็จนปัญญา ได้มาเพียรเจรจาขอเข้าครองสถานทูตอีก 2 - 3 ครั้งแล้วก็เงียบไป ฝ่ายเราจึงคงอยู่ในสถานทูตมาได้ตลอดสงคราม เป็นดินแดนไทยถึงไร่ ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศเป็นแดนเสรี ไม่ตกอยู่ในอำนาจครอบครองของผู้รุกราน

       ปัญหาเรื่องการแลกตัวทูตก็อีกครั้งหนึ่งที่ทำให้นึกว่าหมดทางไป ตอนเริ่มสงครามไม่แน่ว่าจะอยู่ได้ตลอดไปหรือไม่ ถ้าญี่ปุ่นไม่ยอมให้ทูตอเมริกาในเมืองไทยกลับบ้าน จนกว่าอเมริกา (...หน้ากระดาษขาดหายไป…) ไทยกลับไปกันแล้ว งานของเราก็ต้องเลิก และอะไร ๆ ก็ได้ทำไปเสียแล้ว ตั้งแต่ (...หน้ากระดาษขาดหายไป…) เป็นวันที่กรุงเทพฯ บอกมาเป็นทางการว่ายอมแพ้ญี่ปุ่น ตรงกับวันฉลองรัฐธรรมนูญพอดี วันนั้นสถานทูตได้ประกาศไม่ยอมรับรู้การยอมแพ้ ซ้ำยังได้ประกาศเจตนาที่จะขัดขืนต่อญี่ปุ่นต่อไปด้วย หากถูกส่งตัวกลับเมืองไทย ก็เห็นจะต้องถูกส่งวิญญาณต่อไปที่อื่น กระทรวงต่างประเทศอเมริกันรู้สึกวิตกในปัญหาข้อนี้ และไม่รู้ที่จะจัดการอย่างใดเคราะห์ดีที่ญี่ปุ่นยอมให้คณะอเมริกันกลับบ้านได้ โดยไม่ตั้งเป็นเงื่อนไขว่าจะต้องมีการแลกเปลี่ยนตัวทูตต่อกัน งานจึงดำเนินต่อไปได้ อุปสรรคในขั้นหลังเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานซึ่งบางทีก็เป็นอุปสรรคร้ายแรงพอที่จะล้มงานได้เหมือนกัน แต่ไม่สำคัญถึงกับจะต้องนำเอามากล่าวในโอกาสนี้

       ในด้านการเงินทีแรกติดขัด ของบประมาณมาใช้เป็นประจำไม่ได้ อาจเป็นเพราะกระทรวงต่างประเทศอเมริกันจะคอยฟังเรื่องแลกทูตก่อน ไม่ประสงค์จะให้ความประสงค์จะให้ความสะดวกแก่เราออกนอกหน้าเกินไป จนเป็นการยั่วญี่ปุ่น ต่อเมื่อทูตอเมริกันเดินทางกลับแล้ว จึงได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้เป็นปกติ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ การกักเงินไทยในอเมริกานี้ได้ทำไปเป็นทางการปกติ และเป็นที่เข้าใจกันมาว่าจะเลิกกักกันเมื่อเสร็จสงคราม ถ้าจะถามว่า งานทางโน้นเริ่มตั้งตัวติดแต่เมื่อใด ก็ตอบได้ว่า เริ่มตั้งตัวติดต่อในราว 5 เดือนหลังสงคราม คือเริ่มเมื่อทางการอเมริกัน อนุญาตให้เบิกงบประมาณมาใช้ได้ดังว่านี้ เพราะในหนังสืออนุญาตมีบอกไว้ด้วยว่าทางการอเมริกันยังคงรับรองทูตไทยเป็นผู้แทนของชาติ จึงให้อำนาจเบิกจ่ายเงินได้ นี่เป็นคันแรกในการรักษาสถานะสถานทูต

       ก้าวที่ 2 ต่อไป ก้าวหน้าไปได้อีก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2485 โดยข้าพเจ้าได้รับเชิญจากองค์การ I.P.R. (Institute of Pacific Relations) ให้ไปประชุมนานาชาติในฐานะผู้แทนของไทย ที่เมือง Montreal ประเทศแคนาดา ที่ได้ไปประชุมร่วมกับนานาชาติในกลุ่มสัมพันธมิตรคราวนี้เป็นการเขยิบเขยื้อนฐานะของเราขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และก็นอกตำราอีกเหมือนกัน บรรดาผู้แทนของชาติที่ไปประชุมคราวนั้น เป็นผู้แทนของในกลุ่มสัมพันธมิตรทั้งนั้น ฝ่ายเราเป็นผู้แทนของชาติที่ประกาศสงครามเป็นศัตรูกับเขา แต่ก็ยังได้รับเชิญไปนั่งประชุมร่วมโต๊ะกับเขาด้วย ข้าพเจ้าเองก็ไม่เข้าใจ ที่ไปในคราวนั้นก็ไปมือเปล่า เพราะยังไม่ได้ส่งทหาร (...หน้ากระดาษขาดหายไป…) ทางเมืองไทยภายก็ยังไม่ได้ติดต่อกัน ไม่รู้แน่ว่าจะไปกับญี่ปุ่นหรือ (...หน้ากระดาษขาดหายไป…) ใจว่าที่ได้ไปประชุมกับนานาชาติคราวนี้ ก็เพราะความช่วยเหลือสนับสนุนของรัฐบาลอเมริกาจึงรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเขาอยู่อีกส่วนหนึ่ง การประชุมคราวนี้ มีผู้แทนชาติมหาอำนาจเสนอให้ลดฐานะเมืองไทยลงเป็นเมืองในอารักขา (Protectorate) เพื่อเป็นการลงโทษที่ได้ประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร ผู้แทนของเรามีข้าพเจ้าไปคนเดียว ถ้าไม่ได้เพื่อนอเมริกันช่วยคงสู้เขาไม่ได้ เถียงกันหน้าดำหน้าแดงได้เพื่อนอเมริกันช่วยพูด ในที่สุดเขาจึงยอมให้ไทยครองตัวเป็นเอกราชสืบไป

       ต้นปี พ.ศ. 2486 จอมพลเจียงไคเช็คประกาศเป็นทางการว่า เสร็จสงครามแล้ว จีนปรารถนาจะเห็นไทยเป็นเอกราช ต่อมาสัก 7 วัน ประธานาธิบดีรูสเวลท์ก็ประกาศตามสนับสนุนประมุขจีนเต็มที่ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตจีนกับไทยซึ่งได้ทำความสนิทสนมเป็นกันเองมาก่อนสงคราม ก็ได้เพิ่มความสนิทสนมเป็นลำดับมาแต่นั้น ความจริงจีนและไทยเป็นชาติเอกราชในตะวันออกด้วยกัน ซึ่งมีเหลืออยู่น้อยเต็มที จึงควรผูกไมตรีกันไว้ดีกว่าชัง จีนที่ดีมีอุดมคติสูงก็มีมาก หากแต่ว่าไทยเราในเมืองไทยไม่มีโอกาสได้พบปะทำความสนิทสนม ประกาศนโยบายของจีนและอเมริกาในปี พ.ศ. 2486 นี้ ได้ช่วยหนุนให้เราก้าวหน้าออกไปอีกก้าวหนึ่ง เข้าใจว่านี่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมที่คานาดาเมื่อปลายปี พ.ศ. 2485 ตอนกลางปี พ.ศ. 2486 นั้นเอง ข้าพเจ้าได้รับเชิญไปร่วมประชุมนานาชาติที่ Harper’s Ferry เกี่ยวกับการศึกษาแต่ไม่ค่อยสำคัญ จึงไม่ขอนำมากล่าว

       เมื่อปลายปี พ.ศ. 2487 ได้รับเชิญจากรัฐบาลอเมริกันให้ไปร่วมประชุมนานาชาติที่ชิคาโกเรื่องการบินพลเมือง โดยที่ประเทศไทยอยู่ในฐานสงครามกับบางประเทศในกลุ่มสัมพันธมิตร การไปประชุมของข้าพเจ้าคราวนี้ ทางการจึงกำหนดไปในฐานะสังเกตการณ์เหมือนกัน ไม่ใช่ในฐานะผู้แทนรัฐบาล แต่ผลที่ภายหลังที่ได้เจรจากันรอบนอกแล้ว เราทั้งสองกลับได้รับเชิญให้เซ็นสัญญาการบินกับเขาด้วย สำหรับเดนมาร์คนั้นพอได้ เพราะ (...หน้ากระดาษขาดหายไป…) เดนมาร์คจะได้ถูกเยอรมันครอบครองอยู่ในขณะนั้น รัฐบาลของเขาก็ได้ยอมแพ้เยอรมัน (...หน้ากระดาษขาดหายไป…) รวมกับสัมพันธมิตร แต่ของเราอุตริไปประกาศสงครามกับขาเข้า แล้วก็ยังอุตริไปเซ็นสัญญาการบินร่วมกับเขาได้ นี่ก็นอกตำราอีกเหมือนกัน การเซ็นสัญญานี้ไม่สมบูรณ์จนกว่ารัฐบาลจะให้สัตยาบัน จึงไม่มีผลผูกมัดประเทศไทยประการใด แต่ขณะนั้นก็นับเป็นเหตุทางการเมืองที่ส่งเสริมฐานะของไทยให้รุดหน้าไปอีกก้าวหนึ่ง

       ต้นปี พ.ศ. 2488 มีการประชุม I.P.R. อีกที่ Hot Spring คราวนี้มีผู้แทนไทยไปด้วยกัน 3 คน เข็ดมาตั้งแต่ครั้นไปคนเดียวเมื่อปลายปี พ.ศ. 2485 แต่ไปคราวนี้เรามีอะไรไปอวดเขาเหมือนกันคือการต่อต้านภายในเมืองไทย กับงานทหารที่จัดทำไปนอกประเทศจนเป็นชิ้นเป็นอันการไปคราวนี้จึงไม่รู้สึกว่าไปในฐานะเป็นศัตรูกับเขา ตรงกันข้ามไได้ไปนั่งประชุมกับเขาในฐานะเป็นผู้แทนของชาติที่ได้ช่วยเหลือเขาในการสงคราม แต่ก็ไม่วายถูกโจมตีด้วยเรื่องกรรมเก่าที่ทำไว้กล่าวคือเรื่องดินแดนอินโดจีน เป็นการเตือนให้รู้ตัวว่าจะมีอะไรมาข้างหน้าหลังสงคราม

       เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นยอมแพ้ ทางเมืองไทยประกาศโมฆะกรรม หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมก็มีประกาศของ James Byrnes รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกัน ซึ่งถ้าพิจารณาโดยดีแล้วจะเห็นได้ ว่าเป็นการประกาศความเป็นเอกราชของไทยต่อโลก ประกาศฉบับนี้เองแสดงความเป็นมิตรแท้ที่ดีของอเมริกาต่อไป หลังฉากของประกาศฉบับนี้คือความเพียรพยายามของไทยแท้ทั้งชาติทั้งภายในและนอกประเทศ ที่ได้ช่วยกันทำงานรับใช้ชาติโดยบริสุทธิ์ใจ ประกอบกับไมตรีจิตของอเมริกาที่เห็นความดีงามของไทยนั้นด้วย คนไทยคนหนึ่งได้อ่านประกาศนี้แล้วถามข้าพเจ้าว่าที่เราอุตส่าห์ทำงานกันมา 4 ปีนั้น ได้ผลเพียงเท่านี้เองหรือข้าพเจ้าตอบว่าเท่านี้แหล่ะ ที่เป็นผลซึ่งเรามุ่งหมาย และความจริงได้มาเท่านี้ก็ควรพอใจว่าเป็นรางวัลคุ้มความเหนื่อย เพราะยากนักที่จะหาประกาศอันใดของชาติมหาอำนาจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาอารี และความเห็นอกเห็นใจตลอดจนความหวังดีในอนาคตของไทยอย่างจริงใจเท่าถึงเพียงนี้ ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นประกาศความนับถือซึ่งกันและกันเยี่ยงสหายทั้ง ๆ ที่เป็นราชสีห์ อเมริกาก็ยังเห็นความดีของหนูตัวน้อย ไทยเราล้มแล้ว อเมริกาช่วยพยุงขึ้นให้เราได้เดินต่อไปในหนทางแห่งเอกราชและความเป็นไทย สมควรที่เราจะเพียรพยายามปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในสัตย์ความเที่ยงตรง เพื่อรักษาความนับถือของอเมริกาไว้ และถนอมมิตรไมตรีกับอเมริกาผู้ (......หน้ากระดาษขาดหายไป…) ต่อเรา ต่อไปชั่วกาลนาน

       กาลปฏิบัติหน้าที่ต่อต้านการรุกรานของข้าพเจ้าสิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ และโดยที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2484 ข้าพเจ้าพอใจว่า การที่ได้ปฏิบัติไปแล้วนั้น ไม่ใช่การคิดขบถประทุษร้ายต่อบ้านเมืองประการใด ส่วนตัวข้าพเจ้าเองไม่ต้องการความคุ้มครองของกฎหมายนิรโทษกรรม แต่ที่สุดที่นึกว่าพอก็ไม่พอกำลังเตรียมตัวจะเป็นฤๅษีหนีการเมืองในปลายเดือนสิงหาคมนั้น ก็มีคำสั่งผู้สำเร็จราชการบัญชามาในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ข้าพเจ้าเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยบอกมาด้วยว่า บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในภาวะคับขัน ต้องการให้เข้ามาช่วยกันแก้ไข ถ้าไม่มา และบ้านเมืองเป็นอะไรไปความรับผิดชอบจะตกอยู่แก่ข้าพเจ้า เหตุนี้ข้าพเจ้าจึงต้องเข้ามาสู่วงการเมืองอีก มาถึงกัลกัตตาแล้ว จึงทราบว่ารัฐบาลได้ส่งผู้แทนไปเจรจาเซ็นสัญญา 21 ข้อกับอังกฤษ ซึ่งข้าพเจ้าได้พิจารณาแล้วเห็นควรขอแก้ไข การมาเป็นรัฐบาลจึงกำหนดว่าจะทำงานชิ้นนี้ ได้เจรจากับอังกฤษจนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 จึงได้เซ็นสัญญากันได้ และด้วยความกรุณาเห็นอกเห็นใจของอังกฤษ เมืองไทยจึงได้เลิกล้มสถานะสงครามกับอังกฤษ และได้เซ็นสัญญาที่ไม่เป็นการผูกมัดจำกัดเอกราชแต่ประการใด ตกเป็นหน้าที่ของเรา ไทยจะต้องปฏิบัติตามสัญญานี้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อไป เพื่อสนองความตั้งใจดีของอังกฤษ

       เท่าที่ข้าพเจ้าได้ดำเนินงานนอกตำรามา 4 ปีนี้ ท่านทั้งหลายอาจถามว่า ข้าพเจ้าได้คติอะไรมาฝากกับอนาคตบ้าง เข้าทำนองนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ดังที่ได้ยินได้ฟังกันมา ข้าพเจ้าจะขอร้องว่า อนาคตคือท่านทั้งหลายจะต้องกล้าเผชิญหน้าต่อสู้กับชีวิตด้วยน้ำใจอันเป็นไทย บางคนอาจมองดูอุปสรรคแห่งชีวิตในอารมณ์อันท้อถอยเบื่อหน่าย ถ้ามองกันในแง่นี้ ก็จะกล่าวเป็นคติให้เกิดท้อถอยหมดกำลังใจว่า ชีวิตคือการต่อสู้ แต่ข้าพเจ้าขอให้ท่านลองวาดภาพของชีวิตในอีกแง่หนึ่ง คือในแง่ที่ไม่มีอุปสรรคขัดขวางอะไรเสียเลย ราบรื่นตั้งแต่เกิดมาเป็นคนไปจนตาย ข้าพเจ้าเชื่อว่าชีวิตที่ไม่มีอุปสรรคจะผจญเช่นนี้ เป็นชีวิตของตัวหนอนนอนกินมะพร้าวไม่ใช่ชีวิตคนไม่น่าจะอยู่ไปทำไม การต่อสู้กับกับอุปสรรคและการเอาชนะอุปสรรคนั่นต่างหากที่ (......หน้ากระดาษขาดหายไป…)  มีความหมาย เกิดมาแล้วได้ทำอะไรทิ้งไว้ไม่ตายตามตัวนั่นต่างหาก ที่เป็นชีวิตอันดีอยู่ มองในแง่นี้ แทนที่จะกล่าวในทางท้อถอยว่าชีวิตคือการต่อสู้ ข้าพเจ้าจะกล่าวเป็น คติประจำใจว่าการต่อสู้คือชีวิต เวลานี้เมืองไทยกำลังนัดพบกับพรหมลิขิต ท่านผู้เป็นอนาคตของชาติจะช่วยชาติให้ดำรงคงอยู่ได้ ต่อเมื่อท่านมีกำลังใจกล้าเจ๊ง และกล้าสู้กับอุปสรรค ของชีวิตโดยไม่ท้อถอย ควรเห็นเป็นธรรมดาเสียว่า ในชีวิตของชาติยุคหนึ่งสมัยหนึ่งนั้น บางทีคนของชาติได้เป็นสุขสบาย เพราะคนในยุคก่อนสมัยก่อนได้ทำไว้ให้ เสียสละให้ไว้ แต่ในยุคอื่นสมัยอื่นคนของชาติอาจต้องทำไว้ เสียสละให้เพื่อนคนข้างหน้าจะได้สุขสบายบ้าง บ้านเมืองไทยกำลังตกอยู่ในสถานะการณ์อย่างหลังนี้ ชีวิตของชาติจะยืนนานอยู่ได้ ต่อเมื่อคนไทยในรุ่นท่านรุ่นข้าพเจ้ากล้าพลีกล้าเสียสละไว้ให้แก่อนาคต ที่เราเป็นไทยอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะคนแต่ก่อนเขายอมพลีให้ คนไทยต้องตายเอาเลือดทาแผ่นดินมาแล้วไม่รู้กี่แสนกี่ล้านคนกว่าเราจะเป็นไทย หนี้ที่เรามีผูกพันต่อเขาเป็นหนี้เอกราช ซึ่งจะใช้สักเท่าใดก็ไม่มีวันหมดสิ้นหน้าที่ เมื่อได้ทำอะไรไปเป็นคุณแก่ชาติบ้านเมืองแล้วจึงเสมอตัว ไม่ผิดอะไรกับที่เป็นหนี้เงินกู้เขาแล้วเอาเงินไปใช้เขา จะอ้างเอาเป็นความดิบความดีอะไรไม่ได้ อย่างมากก็ได้แต่ความปิติยินดีที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนอนึ่งการอะไรทั้งหลายนั้น เมื่อเริ่มต้นต้องยากเสมอ มืดแปดด้านเสมอ แต่พอเริ่มลงมือทำจริงทำจังเข้า ก็จะเห็นลู่ทางทำได้และทำสำเร็จไปเอง ต่อสู้เข้าเถิด แล้วจะเกิดกำลังปัญญาความสามารถที่จะเอาชนะอุปสรรคแห่งชีวิตได้ แต่ที่สุดก็ต้องตัดสินใจว่า เกิดมาทั้งทีจะหวังผลอะไร ทั้งนี้เป็นนานาจิตตํ แล้วแต่ตัวใครตัวใคร - จะเห็นอย่างไร สำหรับข้าพเจ้าใคร่จะฝากคติไว้แก่ท่านทั้งหลายผู้เป็นอนาคตของชาติในยามยากว่า การอยู่เป็นสุขนั้น อยู่ได้ง่ายด้วยการทำประโยชน์แก่ตนแสวงความสุขเพื่อต้น แต่ถ้าจะตายเป็นสุขแล้ว ต้องประกอบความเพียรอย่างอื่น ด้วยอยู่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นคติของข้าพเจ้าฟังดูอาจไม่ทำให้เกิดความเลื่อมใส แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่ามันเป็นคติอันเดียวที่จะช่วยบ้านเมืองให้รอดพ้นมหาวิบากนี้ไปได้ เพื่อไปสู่ความสุขความเจริญแก่คนไทยที่จะคลานตามกันออกมาข้างหน้า งานของคนไทยในอเมริกาเริ่มขึ้นในท่ามกลางความมืดมนหมดหวัง ทุนใด ๆ ก็ไม่มี นอกจากจิตใจที่เป็นไทยคิดสู้และหวังไปตายเอาดาบหน้า ระหว่างที่ทำไปบังเกิดอุปสรรคขึ้นมากหลาย บางทีทำให้วิตกว่าจะก้าวล่วงไปไม่ได้ แต่ที่ทำได้จากทาสมาเป็นไทย จากข้อระแวงสงสัยมาเป็นความเชื่อถือ ก็โดยอาศัยความสุจริตและการเสียสละเป็นใหญ่กว่าอะไรอื่นทั้งหมด ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่า principle หรือยอดของธรรมนั่นเอง มิใช่แต่เพียงคนหรือแผนการณ์ที่จะเป็นเครื่องอุปการะให้เราดำรงชีวิตเป็นชาติอยู่ต่อไปได้ ขอท่านจงได้พิจารณาไตร่ตรองเอาเองว่าผิดถูกอย่างไร และในที่สุดนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลายทั่วทุกคน.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ