ข้อใดคือความหมายของการวิจารณ์วรรณคดี

                        ๒.๔.๒ วิธีการบรรยายเรื่อง วิธีการบรรยายเรื่องมีหลายวิธี วิธี หนึ่งคือ ผู้เขียนแสดงตนเป็นเหมือนพระเจ้า กำหนดและล่วงรู้ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของตัวละคร แล้วถ่ายทอดให้ผู้อ่านทราบ อีกวิธีหนึ่งคือ ให้ผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง และเป็นผู้เรื่องที่ผ่านมาสู่ผู้อ่าน บางครั้งผู้บรรยายนี้อาจจะเป็นตัวละครเอกของเรื่อง หรือตัวละครที่มีบทบาทรองลงไป หรือเป็นตัวละคร ที่ไม่มีบทบาทในเรื่อง แต่เป็นบุคคลที่ เผอิญเข้ามามีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์ จึงเขียนให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวนั้นๆ อีกวิธีหนึ่งคือ ผู้เขียนจะไม่แสดงตนอย่างเด่นชัด แต่ผู้อ่านจะทราบ ความเป็นไปของเรื่องได้จากการสังเกตพฤติกรรมของตัวละคร วิธีการบรรยายเรื่องนี้มีส่วนเชิญชวนให้เรื่องน่าสนใจได้ ถ้าผู้เขียน ใช้ให้เหมือนเนื้อเรื่อง

ก. การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงหรือเห็นภาพ ทำให้เกิดความไพเราะและสะเทือนอารมณ์ตามไปด้วย เช่น

ตัวอย่าง ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่

ออดแอดแอดออดยอดไกว แพใบไล้น้ำลำคลอง

(คำหยาด – เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

ข. ใช้คำน้อยแต่กินความมาก เป็นการกล่าวอย่างกระชับ แต่มีเจตนาจะให้สื่อ ความหมายคลุมกว้างขวางออกไปยิ่งกว่าที่กล่าวไว้นั้น เช่น

ตัวอย่าง “อันของสูงแม้ปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ”

คำว่าของสูง มีความหมายตามศัพท์ หมายถึง สิ่งที่อยู่สูง ๆ แต่เจตนาของผู้ส่งสาร มีความหมายกว้างออกไปอีก หมายถึง สิ่งที่สูงค่ายิ่ง
คำว่าปีนป่าย มีความหมายตามศัพท์ หมายถึง การไต่ไปสู่ที่สูง แต่เจตนาของผู้ส่งสาร มีความหมายกว้างออกไปอีก หมายถึง ความพยายาม ความมุ่งมั่น อดทน ต่อสู้อย่าง
ไม่ย่อท้อ
ค. การเล่นคำ คือการนำคำพ้องรูปพ้องเสียง มาร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะน่าฟัง ถ้านำมาใช้ในบทพรรณนา หรือบทคร่ำครวญ ก็จะทำให้เกิดความสะเทือน อารมณ์ เช่น

ตัวอย่าง รอนรอนสุริยะโอ้ อัสดง

เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว

รอนรอนจิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่

(กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง)

ง. การใช้คำอัพภาส คือ การซ้ำคำชนิดหนึ่ง โดยใช้พยัญชนะซ้ำเข้าไปข้างหน้า เช่น ริก เป็นระริก ยิ้ม เป็น ยะยิ้ม แย้ม เป็น ยะแย้ม เช่น

ตัวอย่าง “เพื่อชื่นชมรมณีย์กับชีวิต
ที่จะคิดที่จะทำตามคิดเห็น
ระเรื่อยเรื่อยเฉื่อยฉ่ำลืมลำเค็ญ
ลืมความเป็นปรัศนีย์ขอชีวิต”
(วารีดุริยางค์ ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

จ. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การนำคำที่มีพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกดอย่างเดียวกัน แต่ต่างวรรณยุกต์กัน นำมาเรียงไว้ใกล้กัน ทำให้เกิดเสียงไพเราะดุจดนตรี เช่น

ตัวอย่าง “สกัดไดใดสกัดน้อง แหนงนอนไพรฤา

เพราะเพื่อมาราญรอนเศิกไซร้

สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา

นึกระกำนามไม้เหม่นแม้นทรวงเรียม”

(ลิลิตตะเลงพ่าย)

ฉ. การสัมผัสอักษร - สัมผัสสระ
สัมผัสอักษร หมายถึง การนำคำที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกันมาเรียบเรียงไว้ใกล้กัน
สัมผัสสระ หมายถึง การสัมผัสของคำที่มีเสียงสระเดียวกัน เช่น

๒. กวีโวหารและสำนวนโวหาร
การใช้กวีโวหารและสำนวนโวหารจะช่วยสร้างความไพเราะ ซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในจิตหรือจินตภาพขึ้น ผู้แต่งอาจกล่าวอย่างตรงไปตรงมา หรือกล่าวเป็นโวหารภาพพจน์
ก็ได้ ซึ่งอาจใช้ได้หลายลักษณะ ดังนี้
ก. การเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย อาจทำได้ ๒ วิธีคือ
วิธีที่ ๑ การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะมีคำแสดงความหมาย อย่างเดียวกันกับคำว่าเหมือน ปรากฏว่า ได้แก่คำว่า เสมือน เปรียบเหมือน ดุจ ประดุจ ดั่ง
ดุจดัง เพียง ราว เป็นต้น

ตัวอย่าง "แม้มีความรู้ดั่ง สัพทัญญู

ผิบ่มีคนชู ห่อนขึ้น"

"ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน

ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคคะใดใด"

วิธีที่ ๒ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า คือ หรือ เป็น ปรากฏ อยู่ เช่น

ตัวอย่าง “เงินตราหรือคือกระดาษ ผู้สร้างขึ้นมาซิอนาถ หลงใหลเป็นทาสอำนาจเงิน”

แม้เธอเป็นดวงดารา ฉันจะเป็นฟ้ายามราตรีกาล”

ขอกายเจ้าจงเป็นเช่นต้นไม้ ยืนอยู่ได้โดยภพสงบนิ่ง

เพื่อแผ่ร่มเป็นหลักให้พักพิง แต่งดอกพริ้งผลัดฤดูอยู่ชั่วกาล”

ข. การใช้บุคลาธิษฐาน หมายถึง การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการของมนุษย์ เช่น

ตัวอย่าง “มองซิมองทะเลเห็นลมคลื่นเห่จูบหิน บางครั้งมันบ้าบิ่นกระแทกหินดังครืน ๆ

หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร”

ค. การใช้สัญลักษณ์หรือสิ่งแทนสัญลักษณ์ หมายถึง สิ่งหนึ่งที่ใช้แทนอีกสิ่งหนึ่ง

ตัวอย่าง สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความไร้เดียงสา

สีดำ หมายถึง ความตาย ความโศกเศร้า ความชั่วร้าย

ดอกกุหลาบ หมายถึง ความรัก ความสดชื่น

เมฆหมอกหมายถึง อุปสรรค ความเศร้า

นกขมิ้น หมายถึง คนร่อนเร่พเนจร

ง. การกล่าวเท็จ (อธิพจน์)เป็นการเน้นความรู้สึกบางอย่างให้ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความแปลก และเรียกร้องความสนใจได้ดี

        ๑. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม

  การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ ด้วยว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์

ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

        ๒. แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม

     การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (๒๕๔๕ : ๑๒๘) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้

        ๒.๑ ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ

        ๒.๔ เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ สำนวนในเรื่องท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดสร้างสรรค์ ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น

        ๒.๕ แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก

        ๒.๖ คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น ๕ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น ซึ่งผู้วิเคราะห์ต้องไปแยกหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะ ของหนังสือที่จะวิเคราะห์นั้น ๆ ตามความเหมาะสม

        ๓. การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมายของการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม

การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาองค์ประกอบทุกส่วน โดยวิธีแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ตั้งแต่ถ้อยคำสำนวน การใช้คำ ใช้ประโยค ตลอดจนเนื้อเรื่องและแนวคิด ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ในข้อเขียนนั้น เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบได้แล้ว จึงวิจารณ์ต่อไป

การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้นให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่า

น่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และมีความรอบคอบด้วย

การวิจารณ์งานประพันธ์ หมายถึง การพิจารณากลวิธีต่าง ๆ ทุกอย่างที่ปรากฏในงานเขียน ซึ่งผู้เขียนแสดงออกมาอย่างมีชั้นเชิง โดยผู้วิจารณ์จะต้องแสดงเหตุผลที่จะชมเชย หรือชี้ข้อบกพร่องใด ๆ ลงไป

วิธีวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์

   ตามปกติแล้วเมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จำเป็นต้องเริ่มวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจนเสียก่อนแล้วจึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุผล ให้น่าคิด น่าฟังและ

เป็นคำวิจารณ์ที่น่าเชื่อถือได้

   การวิจารณ์งานประพันธ์สำหรับผู้เรียนที่เริ่มต้นฝึกหัดใหม่ ๆ นั้น อาจต้องใช้เวลาฝึกหัด มากสักหน่อย อ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นมาก ๆ และบ่อย ๆ จะช่วยได้มากทีเดียว เมื่อตัวเราเริ่มฝึกวิจารณ์งานเขียนใด ๆ อาจจะวิเคราะห์ไม่ดี มีเหตุผลน้อยเกินไป คนอื่นเขาไม่เห็นด้วย เราก็ควรย้อนกลับมาอ่านเขียนนั้น ๆ อีกครั้งแล้วพิจารณาเพิ่มเติม วิธีวิเคราะห์ วิจารณ์งานประพันธ์จึงมีลักษณะดังนี้

การวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์เท่าที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป นักวิจารณ์นิยมพิจารณากว้าง ๆ ๔ ประเด็น

         ๑) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้

เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน

          ๒) คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอทั้ง ๒ ประเด็นนี้ จะอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ โดยจะกล่าวควบกันไปทั้งการวิเคราะห์และการวิจารณ์

         ๓) คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

          ๔) การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

         ๓.๑ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์

         วรรณศิลป์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งช่วยส่งเสริมให้วรรณกรรมมีคุณค่าน่าสนใจ คำว่า “วรรณศิลป์” หมายถึง ลักษณะดีเด่นทางด้านวิธีแต่ง การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ลีลา 

ประโยค และความเรียงต่าง ๆ ที่ประณีต งดงาม หรือมีรสชาติเหมาะสมกับเนื้อเรื่องเป็นอย่างดี วรรณกรรมที่ใช้วรรณศิลป์ชั้นสูงนั้นจะทำให้คนอ่านได้รับผลในทางอารมณ์ความรู้สึก เช่น เกิดความสดชื่น เบิกบาน ขบขัน เพลิดเพลิน ขบคิด เศร้าโศก ปลุกใจ หรืออารมณ์อะไร ก็ตามที่ผู้เขียนต้องการสร้างให้เกิดขึ้นในตัวผู้อ่าน นั่นคือ วรรณศิลป์ในงานเขียน ทำให้ผู้อ่าน เกิดความรู้สึกในจิตใจและเกิดจินตนาการสร้างภาพคิดในสมองได้ดี

การวิเคราะห์งานประพันธ์จึงควรพิจารณาวรรณศิลป์เป็นอันดับแรกแล้วจึงวิจารณ์ว่ามีคุณค่าหรือน่าสนใจเพียงใดหากงานประพันธ์นั้นเป็นประเภทบทร้อยกรอง ผู้อ่านที่จะวิเคราะห์วิจารณ์ ควรมีความรู้บางอย่าง เช่น รู้บังคับการแต่งบทร้อยกรองรู้วิธีใช้ภาษาของกวี รู้วิธีสร้างภาพฝันหรือความคิดของกวี เป็นต้น ความรู้ดังกล่าวนี้จะช่วยให้เข้าใจบทร้อยกรอง

ความสําคัญของวรรณคดี คือข้อใด

วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร และทรงคุณค่า

ข้อใดคือความหมายของการวิจารณ์

การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์ สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย ตามปกติแล้ว เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จะต้อง ...

ข้อใดคือความหมายของวรรณคดี

น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธาสามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.

ข้อใดคือความหมายของวรรณกรรม

วรรณกรรม (อังกฤษ: literature) หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรม ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ