Knowles ได้ให้ลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือข้อใด

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการฟังคำบรรยายหรือทำตามที่ครูผู้สอนบอกเสมอไป แต่อาจเกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้ (สมคิด อิสระวัฒน์, 2532, หน้า 74)

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นการเรียนที่เกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น ผู้เรียนจะมีการวางแผนด้วยตนเอง
  2. การเรียนรู้ที่จัดโดยสถาบันศึกษา (provide sponsored) โดยมีกลุ่มบุคคล จัดกำกับดูแล มีการให้คะแนน ให้ปริญญา หรือประกาศนียบัตร
  3. การเรียนรู้จากกลุ่มเป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ คือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (collaborative learning)
  4. การเรียนรู้โดยบังเอิญ (random or incidental learning) อาจเป็นผลพลอยได้จากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนมิได้เจตนา

จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่นักการศึกษาให้ความสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้มีขึ้นในตัวผู้เรียน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้เรียนมีใจรักที่จะศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ ก็จะเกิดการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่ต้องบอก และมีแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นไม่สิ้นสุด ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learner) หรือบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่หยั่งยืน (learning person) อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา

Knowles (1975:18) ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองว่า เป็นกระบวนการที่บุคคลคิดริเริ่มเอง ในการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้  กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกวิธีการเรียนจนถึงการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้  ทั้งนี้โดยได้รับหรือไม่ได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม

Knowles (1975)  ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง  สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้ที่เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเรียนรู้ได้มากกว่าและดีกว่าผู้ที่รอรับจากผู้อื่น ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยชี้นำตนเองจะเรียนอย่างตั้งใจ อย่างมีจุดมุ่งหมายและอย่างมีแรงจูงใจสูง นอกจากนั้นยังใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้ดีกว่าและยาวนานกว่าผู้ที่รอรับความรู้
  2. การเรียนรู้โดยชี้นำตนเอง สอดคล้องกับการจิตวิทยาพัฒนาการ กล่าวคือ เด็กตามธรรมชาติต้องพึ่งพิงผู้อื่นและต้องการผู้ปกครองปกป้องเลี้ยงดูและตัดสินใจแทน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็พัฒนาขึ้นให้มีความอิสระ พึ่งพิงจากภายนอกลดลง และเป็นตัวเองจนมีคุณลักษณะการชี้นำตนเอง
  3. นวัตกรรมใหม่  รูปแบบของกิจกรรมการศึกษาใหม่  เช่น  ห้องเรียนแบบเปิดศูนย์การเรียนรู้ independent  study  เป็นต้น  เป็นรูปแบบของกิจกรรมการศึกษาที่เพิ่มบทบาทของผู้เรียน  ให้ผู้เรียนรับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเองเพิ่มมากขึ้น  ในลักษณะเรียนรู้โดยชี้นำตนเองเพิ่มมากขึ้น
  4. การเรียนรู้โดยชี้นำตนเองเป็นลักษณะการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ตามสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและทวีความรวดเร็วมากขึ้น  ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  การเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิตของมนุษย์โลก

Brockett & Hiemstra (1991)  สรุปประเด็นที่อาจยังมีผู้เข้าใจผิดพลาด  เกี่ยวกับแนวคิดการเรียนรู้โดยชี้นำตนเอง  ดังนี้

  1. การชี้นำตนเองเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในทุกคน  เพียงแต่จะมีมากหรือน้อยเท่านั้น  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียนรู้
  2. เรียนรู้เป็นหลักใหญ่และเป็นผู้ที่ตัดสินใจวางแผนและเลือกประสบการณ์การเรียนรู้  การดำเนินการตามแผนการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้  ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นตามลำพัง  หรือเกิดในกลุ่มผู้เรียนกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ที่ผู้เรียนจะร่วมรับผิดชอบในการเรียนรู้ของเขา
  3.  คำว่าการชี้นำตนเองในการเรียนรู้  หรือการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง  จะเน้นความรับผิดชอบของผู้เรียนและเชื่อในศักยภาพที่ไม่สิ้นสุดของมนุษย์ (never-ending potential of human)
  4. การชี้นำตนเองในการเรียนรู้  ก่อให้เกิดผลด้านบวกของการเรียนรู้  ตัวอย่างเช่น  ผู้เรียนจดจำได้มากขึ้น  เกิดความสนใจในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสนใจในเนื้อหามากขึ้น  มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อผู้สอนมากขึ้น  มั่นใจในความสามารถเรียนรู้ได้ของตนเองมากขึ้น
  5. กิจกรรมการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองมีหลากหลายรู้แบบ  เช่น  การอ่าน  การเขียน  การเสาะหาความรู้โดยการสัมภาษณ์  การศึกษาเป็นกลุ่ม  ทัศนศึกษา  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้สอน  การหาความรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์  หรือแม้กระทั่งการเรียนจากสื่อ  เช่น  ชุดการเรียน  โปรแกรมการเรียน  โปรแกรมการเรียนของคอมพิวเตอร์  รวมทั้งสื่อช่วยการเรียนรู้ในรูปอื่น ๆ เป็นต้น
  6. ในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองที่ประสบผลสำเร็จ  ผู้อำนวยความสะดวกจะต้องมีบทบาทในการร่วมปรึกษา  แลกเปลี่ยนความคิด  เป็นแหล่งความรู้ตามที่ผู้เรียนต้องการ  มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้เรียน  มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนบทบาทการเรียนการสอนและสนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอย่างแตกฉาน (critical thinking)
  7. บทบาทการเรียนการสอนและสนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอย่างแตกฉาน (critical thinking)
  8. การเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองสามารถเกิดขึ้นได้ในประชาชนทุกหมู่เหล่า  ไม่จำกัดพียงกลุ่มใด  เชื้อชาติใดเท่านั้น
  9. หากผู้สอนให้ความไว้วางใจแก่ผู้เรียน  ผู้เรียนส่วนใหญ่จะเรียนรู้อย่างเต็มที่และทุ่มเทในการเรียนรุ้เพื่อคุณภาพ
  10. การเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง  ไม่สามารถแก้ปัญหาในการเรียนรู้ได้ทุกปัญหา  ในบางกรณีอาจมีข้อจำกัดบ้าง  เช่น  ในบางสังคมและวัฒนธรรม

 

องค์ประกอบของการเรียนรู้โดยชี้นำตนเอง

Ralph G. Brockett and Roger Hiemstra ได้เสนอองค์ประกอบเพื่อความเข้าในในกรอบแนวคิดของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Self-Direction in Adult Learning) โดยเรียนว่า The PRO Model : The Personal Responsibility Orientation โดยมีรายละเอียดดังนี้

The Personal Responsibility Orientation : (PRO) Model

1. ความรับผิดชอบในตัวบุคคล (personal responsibility)   หมายถึง  การกระตุ้นเพื่อให้เกิดความตระหนักในความจะเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้  และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในตนเองในการที่จะตัดสินใจเรียนรู้ การวางแผนการเรียนรู้  การดำเนินงานและการประเมินตนเองในการเรียนรู้

2. ผู้เรียนที่มีลักษณะชี้นำตนเอง (learner self-direction)  หมายถึง  คุณลักษณะเฉพาะตัว  หรือบุคลิกภาพของผู้เรียนที่เอื้อและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากภายในตัวของผู้เรียนเอง

3. ผู้เรียนที่มีลักษณะชี้นำตนเอง (learner self-direction)  หมายถึง  คุณลักษณะเฉพาะตัว  หรือบุคลิกภาพของผู้เรียนที่เอื้อและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากภายในตัวของผู้เรียนเอง

4. การเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง (self-directed learning)  หมายถึง  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง  ซึ่งอาจเกิดจากการจัดการของผู้สอน  หรือการวางแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนเอง  แต่ความสำคัญของผู้สอนนั้นจะเป็นเพียงผู้คอยช่วยเหลือ  เสนอแนะ แนะนำหรืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เท่านั้น  ส่วนการดำเนินกิจกรรมการเรียนทั้งหมดนั้นจะเป็นการดำเนินการโดยผู้เรียนทั้งสิ้น

            5. ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม ( The Social Context )หมายถึง  การคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมของผู้เรียนซึ่งผู้เรียนยังคงสภาพความเป็นอยู่จริงในสังคมเช่น  สภาพครอบครัว  การทำงาน  สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

6. กระบวนการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง
Knowles (1975)  ได้อธิบายถึงกระบวนการของการชี้นำตนเอง ( self – direction )  ว่าประกอบด้วย

6.1 เกิดจากความริเริ่มในตัวของบุคคลโดยจะมี         ความช่วยเหลือจากคนอื่นหรือไม่ก็ตาม

6.2 วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้

6.3 คิดวิธีการในการเรียนรู้เพื่อไปยังจุดมุ่งหมาย

6.4 เลือกแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้

6.5เลือกและดำเนินการตามวิธีการและยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้

6.6ทำการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง

กริฟฟิน (Griffin, 1983: 153)  ได้แบ่งรูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองออกเป็น 5 รูปแบบดังนี้

1. รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียนรู้ (learning contract)  เป็นเครื่องในการเรียนด้วยตนเองตามแนวความคิดการเรียนเป็นกลุ่มของโนลส์ (the Knowles group learning stream)

2. รูปแบบการใช้โครงการเรียนรู้ (learning project)  เป็นตัวบ่งชี้การมีส่วนในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองตามแนวคิดโครงการเรียนแบบผู้ใหญ่ของทัฟ (the Tough adult learning project stream)

3.รูปแบบการใช้บทเรียนสำเร็จรูป (individualized program instruction)  ตามแนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)  แต่เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำของครู (teacher-directed learning)

4. รูปแบบที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนทั่วไป (non-traditional institutional) ได้แก่กลุ่มผู้เรียนที่เรียนโดยสมัครใจ หวังที่จะได้ความรู้  เช่น การศึกษาที่จัดขั้นสำหรับบุคคลภายนอกให้ได้รัยประกาศนียบัตร การศึกษาที่เป็นหน่วยประสบการณ์ชีวิต เป็นต้น

5. รูปแบบการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต (experiential learning)

เบาวด์ (Boud, 1982: 12) ได้สรุปรูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองไว้ว่ามี  5 รูปแบบดังนี้

1. การเรียนรู้แบบใช้สัญญาการเรียนรู้ (learning contracts) การเรียนแบบนี้ผู้เรียนวางแผนโดยเขียนสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งวิธีการวัดประเมินผลซึ่งจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของผลงานกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในสัญญาจากผู้ร่วมงาน

2.การเรียนแบบการทำงานตัวต่อตัว (one-to-one learning) การเรียนแบบนี้ผู้เรียนทำงานเป็นคู่ช่วยอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกันในการทำงาน

3.การเรียนแบบวางแผนการทำงานโดยผู้เรียน (student planned courses) การเรียนแบบนี้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มในการริเริ่มโครงการและนำสู่การปฏิบัติ

4.การเรียนแบบมีระบบสนับสนุนจากเพื่อน (peer support systems) การเรียนแบบนี้ผู้เรียนที่เริ่มใหม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้เรียนที่มีประสบการณ์มากกว่า

5.การเรียนแบบร่วมมือกันประเมิน (collaborative assessment) การเรียนแบบนี้ผู้เรียนร่วมมือกันกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน และตัดสินผู้เรียนด้วยกัน

โกรว์ (Grow, 1991: 144-145)  เสนอรูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองตามขั้นตอน (staged self-directed learning model: SSDL)  ไว้โดยมีขั้นตอน  4 ขั้น  ได้แก่

1. ครูนำโดยการชักจูง  อธิบาย หรือให้ลองฝึกหัด

2. ครูจูงใจให้ผู้เรียนสนใจโดยการบรรยาย  การอภิปรายโดยครูเป็นผู้นำ  ให้ตั้งเป้าหมายและกำหนดกลยุทธวิธีการเรียน

3. นักเรียนเรียนโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน  อภิปรายกลุ่ม  หรือจัดสัมมนา

4. นักเรียนชี้นำตนเองโดยครูเป็นที่ปรึกษา  ทำได้โดยการลองฝึกด้วยตนเอง  เช่น  การฝึกงาน  การค้นคว้า  การทำงานรายบุคคล  หรืองานกลุ่ม

 

 

คำถาม

1. Knowles ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองว่าอย่างไร?

2. องค์ประกอบของการเรียนรู้โดยชี้นำตนเองมีกี่ประการ  อะไรบ้าง?

3. Griffin ได้แบ่งรูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองออกเป็นกี่รูปแบบ  ได้แก่อะไรบ้าง?

4. Boud ได้สรุปรูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองไว้ว่ามี  5 รูปแบบได้แก่อะไรบ้าง?

5. Grow  เสนอรูปแบบการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองตามขั้นตอน ไว้โดยมีขั้นตอน  4 ขั้น  ได้แก่อะไรบ้าง?

เอกสารอ้างอิง

– ชัยฤทธิ์  โพธิสุวรรณ.  การศึกษาผู้ใหญ่ : ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2544.

– Ralph G. Brockett and Roger Hiemstra. Self-Direction in Adult Learning. London and New York: Routledge, 1991.

ข้อใดคือลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ Self-Learning เป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ (Knowledge) จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แล้วนำความรู้มาทดลองใช้ ฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนา จนเกิดความชำนาญ สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้นั้นไปใช้จนเกิดประโยชน์กับตัวเอง และส่วนรวม

อันดับแรกสุดของการเรียนรู้ด้วยตนเองคืออะไร

ขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ของการเรียนรู้ด้วยเอง คือ 1) วิเคราะห์และการกำหนดความต้องการในการเรียนรู้ 2) กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ 3) กำหนดแหล่งวิทยาการเพื่อการเรียนรู้

กศนใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบใด

การเรียน กศน.(แบบพบกลุ่มเดิม) เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำสิ่งที่ได้ไปศึกษา ค้นคว้า แล้วนำมาเสนอ อภิปราย และสรุปร่วมกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ลักษณะความพร้อมของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 8 ประการ มีอะไรบ้าง

เลิศชาย ปานมุข.
การเรียนรู้เป็นการลงมือปฏิบัติ.
การเรียนรู้เป็นปัจเจกบุคคล.
การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากบุคคลในสังคมร่วมกัน.
การเรียนรู้เป็นการตอบสนองสิ่งที่พบซึ่งเป็นตัวกระตุ้น.
การเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต.
การเรียนรู้ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไป-มาได้.
การเรียนรู้ต้องใช้เวลา.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ