ตลาดปสาน” หรือ “บาซาร์” ในภาษาเปอร์เซียในสมัยสุโขทัยคืออะไร

นับว่าเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการอ่านศิลาจารึก โดยเฉพาะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นหลักที่ ๑ และเป็นหลักที่ได้มีการอภิปรายกันมาก เพราะบางท่านบอกว่าไม่ใช่ศิลาจารึกของพ่อขุนราม คำแหงดอก หากเป็นศิลาจารึกที่เพิ่งทำขึ้นเมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง ดังที่เป็นข่าวเกรียวกราวกันมาก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมา

วรรณคดีของไทยเราในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอนต้น ล้วนเป็นหนังสือที่อ่านเข้าใจยากทั้งสิ้น เพราะมีศัพท์ไทยโบราณบ้าง ศัพท์ที่เพี้ยนมาจากภาษาบาลีสันสกฤตบ้าง ราชบัณฑิตยสถานมีวัตถุประสงค์ที่จะทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีเหล่านี้ออกมา โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ แล้ว งานชุดแรกที่คณะกรรมการทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย จัดทำก็คือ "พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑" และบัดนี้ได้จัดตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว งานชุดที่ ๒ ที่ได้ชำระไปแล้ว และกำลังจัดทำต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ต่อไป ก็คือ "ไตรภูมิพระร่วง" หรือ "เตภูมิกถา" งานชุดที่ ๓ กำลังจัดทำอยู่ซึ่งจวนจะเสร็จแล้วเช่นกัน คือ "โองการแช่งน้ำ" แต่ละเล่มรู้สึกว่ามีปัญหาที่ต้องอภิปรายกันมาก ข้าพเจ้าเองในฐานะที่เป็นกรรมการคนหนึ่งก็ได้รับความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างคำบางคำมาเสนอท่านผู้ฟัง เช่น คำว่า "เข้า" คณะกรรมการได้แยกเก็บเป็น "เข้า ๑" ถึง "เข้า ๕" ดังนี้

"เข้า ๑ น. ข้าว เช่นในน้ำมีปลา ในนามีเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๙) เยียเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓)."

"เข้า ๒ น. ข้าวของ เช่น เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พึน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๗)."

"เข้า ๓ น. ปี, ขวบ, เช่น เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๔) ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า (ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๒) ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลายเห็นการทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือ หกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว (ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๔ - ๘)."

คำว่า "เข้า" ทั้ง ๓ ความหมายที่ใช้ ข ไข่ และสระเอาไม้โท เหมือน กันหมด แต่เครื่องหมายวรรณยุกต์โท ในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปวรรณยุกต์จัตวา

"เข้า ๔ ก., ว. เข้า เช่น ขุนสามชนเกลื่อนเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๖) กูขับเข้าก่อนพ่อกู (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗) เมื่อจักเข้ามาเวียง (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๗) เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๒)"

"เข้า ๕ ก. เข้าข้าง, เป็นฝักฝ่าย, เช่น บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)."

คำว่า "เข้า" ในความหมายที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นคำกริยานั้น ในศิลาจารึกใช้ ฃ (ขวด) คือ ฃ หัวหยัก และใช้สระเอา วรรณยุกต์โทเช่นกัน

คำว่า "ตรีบูร" ซึ่งเป็นคำที่มีปัญหาคำหนึ่ง พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

"ตรีบูร น. ป้อมปราการ ๓ ชั้น, ป้อมและกำแพง ๓ ชั้น, เช่น รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๗ - ๘)."

คำว่า "ตลาดปสาน" พจนานุกรมศพท์วรรณคดีฯ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

"ตลาดปสาน น. ตลาดที่ตั้งขายของเป็นประจำ เช่น เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้มีตลาดปสาน (ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑ - ๒) เทียบภาษาเปอร์เซีย บาซาร์ (bazzaar) มลายู ปาซาร์ (pasar) และ เขมร ผสาร แปลว่า ตลาด; บาลี ปสาร แปลว่า เหยียดออก, แผ่ออก, ตลาดปสาน อาจหมายถึงลักษณะของตลาดที่เป็นโรงเรือนต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็นแนว"

คำว่า "ตีนนอน" และ "หัวนอน" พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีฯ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

"ตีนนอน" น. ทิศเหนือ เช่น เบื้องตีนนอน เมืองสุโขทัยนี้มีตลาดปสาน (ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑)."

"หัวนอน น. ทิศใต้ เช่น เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัยนี้มีกูฎีพิหารปู่ครูอยู่ (ดานที่ ๓ บรรทัดที่ ๔)."

นอกจากนั้นยังมี "ภาคผนวก" อธิบายคำวิสามานยนามบางคำ เช่น กาว, ของ, โขง ฯลฯ ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษาวรรณคดีไทยเป็นอย่างยิ่ง เวลานี้ราชบัณฑิตยสถาน ได้วางจำหน่ายแล้วในราคาเล่มละ ๒๕ บาท เท่านั้นเอง.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เกี่ยวกับสถานที่ซื้อขายสินค้า สำหรับความหมายทางเศรษฐศาสตร์ ดูที่ ตลาด (เศรษฐศาสตร์)

ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ

การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์

เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน

คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ตลาดไทยก่อนสมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

ในสมัยสุโขทัย[แก้]

ในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีข้อความในจารึกว่า "เบื้องตีนนอนสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง มีไร่นา มีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก" ซึ่งแสดงถึงว่าตลาด มีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณแล้ว

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา[แก้]

ตลาดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตลาดน้ำจะตั้งอยู่ตามบริเวณท้องน้ำหรือปากน้ำต่างๆ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าก็จะขนของมาขาย ส่วนตลาดบกจะตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชนโดยตั้งชื่อตามสินค้าที่วางขาย และตลาดขายสินค้าต่างๆในกรุงศรีอยุธยาจะเรียกกันว่าป่า เช่น ป่าตะกั่วขายลูกแหและสิ่งที่ทำมาจากตะกั่ว , ป่าผ้าไหมขายผ้าไหม , ป่ามะพร้าวขายมะพร้าว , ป่าสังคโลกขายชามสังคโลก , ป่าฟูกขายสินค้าเครื่องนอน เป็นต้น

ประเภทของตลาด[แก้]

ตลาดน้ำ[แก้]

ตลาดน้ำ หรือ ตลาดเรือ เกิดขึ้นตามลำคลองที่เป็นแหล่งชุมนุมใหญ่ๆของคนไทย นอกจากชาวบ้านในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะค้าขายกันในเรือแล้ว มีการสร้างเรือนแพรับฝากขายสินค้านานาชนิดอีกด้วย เช่น ย่านคลองบางปะกอก ย่านท่าเตียน ย่านคลองมหานาค ย่านวัดไทร ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดอนหวาย ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำ4ภาค ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตลาดน้ำวัดลำพญา[2] [3] เป็นต้น เมื่อการค้าขายคับคั่งจอแจมากขึ้นในทางน้ำ ก็เริ่มขยับขยายมาขายบนบก ซึ่งเราเรียกกันว่า "ตลาดบก"

ตลาดบก[แก้]

ตลาดบก เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ในสมัย พ.ศ. 2398 ย่านการค้าขายที่คับคั่งทางแม่น้ำลำคลองก็ย้ายขึ้นมาบนบก ตามแผนพัฒนาประเทศของพระองค์ มีการสร้างถนน และตึกรามบ้านช่อง การเกิดตลาดบกเกิดขึ้นในยุคสมัยของพระองค์ โดยมีตลาดนางเลิ้งเป็นตลาดบกแห่งแรกอย่างเป็นกิจลักษณะของประเทศไทย มีห้างร้านที่ค้าขายเกิดขึ้นมากมายบนถนนเจริญกรุง ถนนสี่พระยา ถนนตะนาว

ดเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อตลาดในประเทศไทย
  • รายชื่อตลาดในกรุงเทพมหานคร

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตลาดน้ำ". คมชัดลึก. 18 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.[ลิงก์เสีย]
  2. //www.lumphaya.com/index.php
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ