การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน มีอะไรบ้าง

การมีส่วนร่วมทางการเมือง


ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

ความหมาย
              การมีส่วนร่วมทางการเมืองว่า หมายถึง การกระทำใด ๆ ก็ตามที่เกิดโดยความเต็มใจไม่ว่าจะประสบผลสำเร็จหรือไม่และไม่ว่าจะมีการจัดการอย่างไรเป็นระเบียบหรือไม่และไม่ว่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่องกัน จะใช้วิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมาย เพื่อผลในการที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายของรัฐหรือต่อการ บริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นำทางการเมืองของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ

ความสำคัญ
              การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย คือ ทำให้ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองได้มีโอกาสทราบความต้องการของกันและกันอย่างแท้จริงทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐตอบสนองต่อผู้เป็นเจ้าของประเทศในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 5 ประการ คือ

    1. การออกเสียงเลือกตั้ง
    2. การรณรงค์หาเสียง
    3. การกระทำ ของแต่ละบุคคลเป็นเอกเทศต่อปัญหาทางการเมืองและสังคม
    4. การเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม
    5. กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง และอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทยโดยทั่ว ๆ ไปมีดังนี้คือ

              1)การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

              การไปลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ประชาชนของไทยรู้จักดีมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ประเทศนั้นก็มิใช่ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเมืองไทยนั้น มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน พ.ศ.2476 แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมเพราะประชาชนต้องเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่น และให้ผู้แทนท้องถิ่นไปเลือกผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่งปัจจุบันนอกจากการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกแล้ว เมืองไทยยังมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาเขต (กรุงเทพฯ)และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกด้วย

              2)การรณรงค์หาเสียง

    ในประเทศไทยอาจแบ่งการรณรงค์หาเสียงเป็น 2 ระยะเวลา คือ

    1. การรณรงค์หาเสียงในระยะเวลาที่ไม่มีพรรคการเมือง
    2. การรณรงค์หาเสียงในระยะมีพรรคการเมือง

                  ในระยะที่ไม่มีพรรคการเมืองนี้ การรณรงค์หาเสียง จะใช้บุคลิกและความสามารถตลอดจนชื่อเสียงส่วนตัวยังไม่มีการกำหนดนโยบายเป็นส่วนรวมของกลุ่มและ ของพรรคการเมืองแต่อย่างใด จนกระทั่งการเลือกตั้ง ทั่วไป ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2489พรรคการเมืองจึงได้เป็นรูปเป็นร่างแม้ว่าจะไม่มีพระราชบัญญัติ พรรคการเมืองก็ตาม มีการรณรงค์หาเสียงอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองในเวลาต่อมาพรรคการเมืองจึงหมดบทบาทไป และกลับมา มีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลได้ออกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2498มีพรรคการเมืองมา จดทะเบียนถึง 30 พรรคและในการเลือกตั้งครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ประชาชนและพรรคการเมืองเข้ามา มีส่วนร่วมทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง

    การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
                  ประเทศไทย การมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้มีค่อนข้างน้อย เช่น อภิปรายแบบ“ไฮปาร์ค” ซึ่งมีขึ้นที่สนามหลวงในช่วงก่อนเลือกตั้งปี พ.ศ.2500 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นำแบบการไฮปาร์คมาจากอังกฤษ และการทำ “เพรสคอนเฟอร์เรนซ์” มาจากสหรัฐอเมริกา
    การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเข้ากลุ่มในเมืองไทย พอจะเห็นมีเพียง3 กลุ่ม คือ
                  1. กลุ่มหรือองค์กรของกรรมกร องค์กรกรรมกร มีขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2487 ชื่อว่า สหบาลกรรมกรกลาง (Central Union of Labour) ในปี พ.ศ.2494 สหบาลกรรมกรเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมกรรมกรไทย” (Thai National Trades Union Congress) ในปี พ.ศ.2497มีการจัดตั้งสมาคมแรงงานเสรีแห่งประเทศไทย (Thai Free Workmen’s Association of Thailand) ในปี พ.ศ.2518 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กรรมกรผู้ใช้แรงงานต่างก็พากันมารวมกลุ่ม และพัฒนามาเป็น “สหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย” (Labour Congress of Thailand)

                  2. กลุ่มหรือองค์กรชาวนา
    ในบรรดากลุ่มทุกกลุ่ม กลุ่มชาวนาจะมีบทบาทมากที่สุด เพราะประเทศไทยมีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 70 ของประชาชน แต่ความเป็นจริงชาวนาไทยไม่ได้รวมเป็นกลุ่ม หรือองค์กรที่มีลักษณะถาวรมักจะเป็นการรวมตัวกันชั่วคราว เช่น ชาวนาชาวไร่ ในตำบลหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจะร่วมกันเดินทางมาร้องเรียนรัฐบาล ในเรื่องการประกันราคาข้าว เป็นต้น

    องค์กรของชาวนาแบ่งเป็น 3 ประเภท สำหรับในบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย ได้แก่

      1. กลุ่มชาวนา
      2. สมาคมชลประทานราษฎร์
      3. สหกรณ์

                  3. พรรคการเมือง

                  ประเทศไทยมีความพยายามสร้างระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยมากว่า 50 ปีแต่การสร้างพรรคการเมืองมีเวลาน้อยมาก พรรคการเมืองไม่มีบทบาทสำคัญไม่ได้มีฐานอยู่ที่ประชาชนเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อไร จึงค่อยมีการตั้งพรรคการเมืองกันขึ้นมา เหตุ สำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอเนื่องจากการได้อำนาจ ของผู้ปกครองที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้นหลายครั้งไม่ได้อาศัยพรรคการเมืองเป็นฐาน พรรคการเมืองเองก็ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเข้าไปรวมกลุ่ม อยู่ในพรรคการเมืองมีความสำคัญมากกว่ากลุ่มอื่น แต่ความเป็นจริงก็ไม่ได้สำคัญไปกว่ากลุ่มอื่น ๆ เท่าใด การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการเข้าเป็นสมาชิก พรรคการเมือง จึงยังจัดว่าไม่น่าพอใจและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น

    กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน

                    กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน จะมีทั้งทำกันเป็นเอกชนและทำกันเป็นกลุ่มทั้งผิดกฎหมายและถูกกฎหมาย แต่ก็ถือว่าเป็นการแสดงออกของการมีส่วนร่วมทางการเมืองเหมือนกัน ได้แก่
                    1) การลอบทำร้ายบุคคลสำคัญทางการเมือง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีโทษทางอาญาไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยก็ตาม การกระทำที่่ไม่รุนแรงนัก ได้แก่ การด่าว่านักการเมือง การทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย ซึ่งเกิดขึ้นแก่นักการเมืองและหัวคะแนนทุกครั้งเมื่อมีการหาเสียงเลือกตั้ง การกระทำ ที่รุนแรง ได้แก่ การลอบสังหาร เช่น การลอบสังหาร พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2481 หรือการลอบสังหาร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่จังหวัดลพบุรีเมื่อปี 2524
                    2) การประท้วง การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงและทำกันเป็นกลุ่มนั้น คือ กรณีที่นิสิตนักศึกษาได้ประชุมประท้วงการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 8เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เรียบร้อยมีการประท้วงที่มหาวิทยาลัยและที่สนามหลวงตลอดจนเดินไปทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ
                    อีกกรณีหนึ่ง คือ เหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14ตุลาคม2516ช่วงนั้นนักศึกษาประชาชนพากันเรียกร้องรัฐธรรมนูญเพื่อกลับไปปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีการเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปร่วมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และพระบรมรูปทรงม้า ตลอดจนเต็มถนนราชดำเนินในกรุงเทพฯ การรวมกลุ่มกันประท้วงในสังคม ไทยนั้นยังมีความสำคัญที่มีผลต่อนโยบายของผู้นำประเทศอีก เช่น
                    กรณีแรก ได้แก่ การประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันเมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 ปรากฎว่ามีกลุ่มกรรมกรร่วมกันกับผู้แทนนักศึกษา 18 สถาบัน นัดประชุมกันที่สนามหลวง การประท้วงครั้งนั้นมีผลทำให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
                    กรณีที่สอง การประท้วงการขึ้นค่ารถเมล์ในกรุงเทพฯ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2525 โดยผู้นำของนิสิตินักศึกษาและกลุ่มกรรมกร ได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐบาลลดค่าโดยสารรถเมล์ในราคาเดิม และก็มีผลสำเร็จ รัฐบาลยอมตามข้อเรียกร้องจึงเห็นได้ว่าการรวมกลุ่มกันกระทำการนั้นมีอิทธิพล ในการเปลี่ยนผู้นำและนโยบายที่สำคัญ ๆ ของรัฐบาลได้อย่างเห็นได้ชัด

      ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

      สภาพเร้าระดมทางสังคม
                    ถ้าสังคมมีการเร้าระดมทางสังคมต่ำ หมายความว่า ราษฎรที่ได้รับการศึกษามีจำนวนน้อย การเข้าถึงสื่อมวลชนก็มีน้อย การพัฒนาเป็นสังคมเมืองก็ต่ำ สิ่งเหล่านี้ก็คือ ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญ

      ภาวะทางเศรษฐกิจหรือการครองชีพ
                    ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและมีความมั่งคั่งจะมีโอกาสเป็นประชาธิปไตยได้มากกว่าประเทศที่ยากจน ในประเทศยากจนราษฎรเองจะมีโอกาสเข้ามามีส่วน ร่วมทางการเมืองน้อย แต่ถ้าความยากจน ความขาดแคลนและเดือดร้อนทางเศรษฐกิจมีมากเกินไปจนอยู่ในภาวะเกินทนแล้ว อาจจะผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นก็ได้

      ข้อจำกัดทางการเมือง
                    ถ้าระบอบการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยประชาชนก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง แต่ถ้าการปกครองแบบเผด็จการ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำ และจะเป็นไปในรูปของการมีส่วนร่วม โดยการปลุกเร้าระดมเพื่อสนับสนุนรัฐบาลนั่นเอง

      วัฒนธรรมทางการเมือง
                    ถ้าการมีบทบาททางการเมืองที่จำกัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่ตระกูลซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีทั้งอิทธิพลและอำนาจเงินทำให้
      คนมีความรู้ไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมือง

      ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

      ปัญหาความตื่นตัวทางการเมือง
                 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ ไม่ใช่เป็นแบบปลุกระดม สำหรับการมีส่วนร่วมแบบเสรีหรือแบบมัครใจนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองหรือความตื่นตัวทางการเมืองเสียก่อนคนไทยยังมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำ เช่น การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีอัตราส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงผู้ที่ไปออกเสียงก็มักจะถูกจ้างวาน ชักจูงหรือถูกระดมไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยจากอดีตเป็นต้นมา ส่วนใหญ่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ทั้งในด้าน
      การสนับสนุนหรือการต่อต้าน แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความนิ่งเฉยทางการเมือง ส่วนมากอยู่ในกลุ่มของผู้นำทางการเมืองไม่กี่กลุ่มกี่ตระกูล แม้แต่การปฏิวัติเมื่อ พ.ศ.2475 ก็ตามเหตุการณ์ที่แสดงถึงความตื่นตัวทางการเมืองและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อต้านการปกครองของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจร ผู้นำของประเทศขณะนั้น ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนคือบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)กล่าวได้ว่า พคท. มีบทบาทอย่างมาก ในการปลุกเร้าความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในชนบท แต่เป็นประเภทผิดกฎหมาย คือ การล้มล้างรัฐบาล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยการใช้กำลังและความรุนแรงดังนั้นปัญหาสำคัญของการมีส่วนร่วมของไทยอย่างหนึ่งคือ ประชาชนยังมีความนิ่งเฉย หรือไม่ตื่นตัวทางการเมืองมากพอ

      ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา
                     วัฒนธรรมทางการเมืองที่มีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้ประชาชน มีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นคือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมสำหรับเมืองไทย มีงานวิจัยหลายเรื่องสรุปและแสดงถึงว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะประชาชนโดยทั่วไปเชื่อว่าการเมือง หรือการบริหารประเทศเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มเท่านั้น อีกประการหนึ่งคนไทยยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์อย่างชัดแจ้งจนเกินไป การเมืองเป็นเรื่องของความ “สกปรก” ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาหรือความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ถ้าเข้ามาก็มักจะมีวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินทองหรือการช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องของสำนึกทางการเมืองลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยอีกประการหนึ่งที่ไม่สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือการยอมรับในอำนาจนิยมของความเป็นข้าราชการ นั้นคือ ประชาชนโดยทั่วไปมองว่าข้าราชการเป็นชนชั้นผู้นำ เมื่อข้าราชการแนะนำหรือชักจูงไปในทางใดประชาชนจึงมักปฏิบัติตามโดยไม่โต้แย้ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตยในด้านการศึกษาการจัดการเรียนการสอนยังคงยึดนโยบายจากส่วนกลางยังไม่มีการกระจายอำนาจทางการศึกษาลงไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนก็เช่นกัน ยังคงเป็นบทบาทของผู้บริหารและครูเท่านั้นนักเรียนและผู้ปกครองยังไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น

      ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง
                     การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยมีสาเหตุอีกประการหนึ่งคือการขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอยกระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ และเป็นกลุ่มเป็นก้อน สถาบันทางการเมืองที่สำคัญคือ “ระบบพรรคการเมือง” (Political Party)ในปัจจุบันพรรคการเมืองยังเป็นองค์กรที่อ่อนแอและขาดความเป็นสถาบันที่ต่อเนื่องดีพอปัญหาที่สำคัญที่สุดของพรรคการเมืองไทย คือ การขาดองค์กรที่ซับซ้อนพอที่จะเผชิญกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพรรคการเมืองไทยตั้งขึ้นจากการรวมตัวของบรรดาสมาชิกเพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่งเท่านั้นพรรคการเมืองทุกพรรคไม่ว่าพรรคเล็กหรือพรรคใหญ่มีสาขาพรรคน้อยมาก สาขาบางแห่งมีแต่รูปแบบที่เป็นทางการเท่านั้นไม่มีบทบาทอะไร

      สาขาพรรคมีความสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
                     1) เป็นหน่วยงานของพรรคเชื่อมโยงกับประชาชนในเขตเลือกตั้ง และช่วยสร้างฐานสนับสนุนของพรรคในหมู่ประชาชนเลือกตั้ง
                     2) เป็นหน่วยงานของพรรค ในการร่วมคัดเลือกผู้รับสมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ

                     สาเหตุที่พรรคการเมืองอ่อนแอ อีกประการหนึ่ง คือ ที่ประชุมใหญ่ของพรรค (Party Congress) ยังไม่มีระบบที่ดีพอขาดประสิทธิภาพ การประชุมใหญ่ของพรรคเป็นเรื่องของสมาชิกบางคน บางกลุ่ม และมักอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ขาดสมาชิกพรรคตามสาขาและเขตต่าง ๆ นอกจากนี้การบริหารงานในพรรคยังขาดหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพการแตกแยกภายในพรรค ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้พรรคการเมืองขาดความเป็นสถาบันที่เข้มแข็งพอในพรรคแต่ละพรรคมีการแตกแยกกันสูง มีการแบ่งกลุ่มแบ่งพรรคแบ่งพวกสนับสนุนบางคนตามความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันอีกประการหนึ่งพรรคการเมืองไม่ได้มีการทำงานในฐานะพรรคอย่างต่อเนื่องและยืนยาว ถ้านับระยะเวลาที่พรรคการเมืองเริ่มก่อตั้ง เมื่อมีกฎหมายพรรคการเมือง คือ พ.ศ.2498 ปัจจุบันก็ประมาณ 40 ปีแต่ตลอดเวลานั้นพรรคการเมืองหาได้มีระยะเวลาดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ เพราะมีการปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ๆ ช่วงเวลาที่ถูกยกเลิกนานที่สุด คือช่วง พ.ศ.2501 ถึง 2511 เป็นเวลาถึง 10 ปีประการสุดท้าย พรรคการเมืองยังไม่สามารถสร้างฐานมวลชนได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพพรรคขาดความเชื่อมโยงกับสมาชิกและมวลชน ประชาชนเลือกผู้แทนเป็นการส่วนตัวมากกว่าเลือกในนามพรรคเป็นต้น เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้พรรคการเมืองขาดการทำงานให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ดีพอ

      การมีส่วนร่วมของประชาชนคืออะไร

      ารมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดง ทัศนะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อแสวงหา ทางเลือก และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน

      การมีส่วนร่วมในกิจกรรมประชาธิปไตยคืออะไร

      ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (อังกฤษ: participatory democracy) คือ กระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของพลเมืองในเขตเลือกตั้ง (constituent) ในทิศทางและปฏิบัติการของระบบการเมือง รากศัพท์ ประชาธิปไตย สื่อความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ฉะนั้นประชาธิปไตยทุกชนิดจึงเป็นแบบมีส่วนร่วม ทว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมี ...

      การเมืองมีความสําคัญอย่างไร

      การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา

      การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมีอะไรบ้าง

      ประชาชนมีส่วนร่วมได้ดังนี้ สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง สอดส่องดูแลการเลือกตั้ง คอยแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ เมื่อพบเบาะแสการทุจริตและการซื้อสิทธิขายเสียง ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยพร้อมเพรียงกัน

      กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

      Toplist

      โพสต์ล่าสุด

      แท็ก

      แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ