ผลบวกของเลข 10111 ฐานสอง กับ 1000 ฐานสอง มีค่าเท่าไร

         การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สัญญาณอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งมีสองสถานะ คือ ปิด และ เปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1 ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง(ninary digit)  

            2.1 รหัสแทนข้อมูล


จากที่กล่าวมาแล้วว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล การรประมวลผลข้อมูล ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยเพื่อความรวดเร็ว แม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล จะต้องอยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ จึงจำเป็นต้องหาวิธีแทนข้อมูลซึ่งเป็นชุดตัวอักขระ
ปกติการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมี 2 สถานะคือ ปิดและเปิด จึงมีการกำหนดใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบไปด้วยเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง (binary digit)
การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์มีหน่วยเล็กที่สุดคือ บิต (bit) ซึ่งสามารถใช้แทนเลขฐานสอง 1 หลัก ไบต์ (byte) ประกอบด้วย 8 บิต ซึ่งแทนเลขฐานสองได้ 8 หลัก หน่วยความจำแต่ละไบต์จะมีหมายเลขกำกับอยู่สำหรับเรียกใช้เรียกว่า เลขที่ตำแหน่ง (address) ข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นรหัสเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อใช้ในการประมวลผลต่อไป
รหัสแทนข้อมูลโดยทั่วๆ ไป ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ รหัสแอสกี (ASCII : American Standard Code for Information Interchange) และ รหัส เอบซีดิก (EBCDIC : Extended Binary Code Decimal Interchange Code) ส่วนรหัสแทนข้อมูลที่เป็น ตัวเลข หรือ รหัสจำนวนจะมีการกำนดหลายรูปแบบ ตามชนิดของค่าของจำนวนนั้นๆ
เพื่อให้การแทนอักขระต่าง ๆ ด้วยตัวเลขฐานสอง ได้ครบจึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลขฐานสอง 8 บิต ซึ่งเรียกว่า 1 ไบต์ (byte) แทนอักขระ 1 ตัว เช่น
0 = 1 บิต (bit)
1 = 1 บิต (bit)
สามารถนำมาแทนข้อมูล เช่น

รหัสแอสกี (ASCII)
การกำหนดรหัสแทนข้อมูลขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง เรียกว่า รหัสแอสกี (American Standard Code for Information Interchange : ASCII) รหัสแอสกีเป็นรหัสที่กำหนดขึ้นโดย หน่วยงานกำหนดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาใช้กันแพร่หลายกับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปและระบบสื่อสารข้อมูล รหัสอักขระแต่ละตัวประกอบด้วย 8 บิต คือ

บิตที่ 7 6 5 4 3 2 1 0

ตัวเลขฐานสอง 8 บิตหรือ 1 ไบต์ สามารถใช้แทนรหัสต่างๆ ได้ถึง 256 ตัว แต่รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 128 ตัว
ดังนั้นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรมจึงได้กำหนดภาษาไทยเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานสารสนเทศเป็นภาษาไทยได้ เช่น

10100001  = 1 ไบต์ (byte) ใช้แทนตัวอักษร  ก
10100010  = 1 ไบต์ (byte) ใช้แทนตัวอักษร  ข
10100100  = 1 ไบต์ (byte) ใช้แทนตัวอักษร  ค
ตัวอย่าง คำว่า "แดง" เขียนแทนได้ด้วย
11100001 10110100 10100111

รหัสเอบซิดิก (EBCDIC)
รหัสเอบซิดิก (EBCDIC) ย่อมาจาก Extened Binary Coded Decimal Interchange Code เป็นการกำหนดรหัสแทนตัวอักขระที่ใช้กันแพร่หลายอีกแบบหนึ่ง การกำหนดรหัสจะใช้ 8 บิต หรือ 1 ไบต์ต่อ 1 อักขระ เหมือนกับรหัสแอสกีแต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน คือ

3. ระบบเลขฐาน

เลขฐาน หมายถึง กลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ

    ระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย      
    1) เลขฐานสอง (Binary Number)      
    2) เลขฐานแปด (Octal Number)       
    3) เลขฐานสิบ (Decimal Number)       
    4) เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number) 

1) เลขฐานสอง (Binary Number)      
     คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)
2) เลขฐานแปด (Octal Number)   
     เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลขฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง 
3) เลขฐานสิบ (Decimal Number)      
      คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ 
4) เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)
      เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วยเลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง 
      ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 16 ตัว คือ 0   1   2   3   4   5   6   7   8   9   A   B   C   D   E   F  (ตัวอักษร 6 ตัว แทน ตัวเลข 10 –15 ตามลำดับ)

ระบบจำนวน จำนวนหลัก (Digit)
ฐานสอง 0 1
ฐานแปด 0 1 2 3 4 5 6 7  
ฐานสิบ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ฐานสิบหก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F

3.1 การแปลงเลขฐาน

ระบบเลขฐานสอง มีสัญลักษณ์ที่ใช้เพียงสองตัว คือ 0 และ 1 ถ้าเปรียบเทียบเลขฐานสอง กับเลขฐานสิบแล้ว ค่าของหลักที่ถัดจากหลักที่น้อยที่สุด (LSD) ขึ้นไป จะมีค่าเท่ากับ ฐานสองยกกำลังหมายเลขหลัก แทนที่จะเป็น 10 ยกกำลัง ดังนี้

เลขฐานสิบ เลขฐานสอง
100 = 1 หน่วย 20 = 1 หนึ่ง
101 = 10 สิบ 21 = 2 สอง
102 = 100 ร้อย 22 = 4 สี่
103 = 1000 พัน 23 = 8 แปด

ระบบเลขฐานสองเกิดจากการใช้ตัวเลขเพียง 2 ตัว คือ 0 และ 1 ดังนั้น สมการคือ

N = ... + (d3 x 23) + (d2 x 22) + (d1 x 21) + (d0 x 20)

เมื่อ d คือค่า 0 หรือ 1

เช่น 1101 = (1 x 23) + (1 x 22) + (0 x 21) + (1 x 20)

เพื่อตัดปัญหายุ่งยาก ในการแทนค่าของเลขระบบต่างๆ เรานิยมเขียน ตัวเลขอยู่ในวงเล็บ และเขียนค่าของฐานนั้น อยู่นอกวงเล็บ เช่น (101101)2 = (45)10

สำหรับเศษส่วน จะเขียนค่าของเศษส่วนอยู่หลังจุด (Binary Point) ยกกำลังเป็นลบ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังตัวอย่าง

(0.1011)2 = (1 x 2-1) + (0 x 2-2) + (1 x 2-3) + (1 x 2-4)

3.1.1 การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ

วิธีการแปลงเลขฐานสองแบบที่ 1 การกระจายค่าประจำหลัก 
จากนั้นนำมาบวกรวมกันอีกครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับค่าในเลขฐานสิบ

ตัวอย่าง 10111 มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสิบ

วิธีทำ

1 0 1 1 1 = 1 x 20
1 0 1 1 1 = 1 x 21
1 0 1 1 1 = 1 x 22
1 0 1 1 1 = 0 x 23
1 0 1 1 1 = 1 x 24
ดังนั้น (10111)2 = 1 x 24 + 0 x 23 + 1 x 22 + 1 x 21 + 1 x 20
= 16 + 0 + 4 + 2 + 1
(10111)2 = 23

ตัวอย่าง (110111)2 มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสิบ

วิธีทำ

N = 1 x 25 + 1 x 24 + 0 x 23 + 1 x 22 + 1 x 21 + 1 x 20
= 32 + 16 + 0 +4 + 2 + 1
1101112 = 5510

การแปลงเลขฐานสอง เป็นเลขฐานสิบ วิธีที่สอง คือ Dibble Dobble Method โดยการนำเอาเลขหลักซ้ายสุด มาวางไว้ แล้วคูณด้วย 2 จากนั้นบวกด้วยเลขบิทที่อยู่ ทางขวามือ จากนั้นนำผลลัพธ์ มาคูณด้วย 2 บอกด้วยเลขบิทต่อไป ดังนี้

เช่น ต้องการแปลง (110111)2 เป็นเลขฐานสิบ

บิทซ้ายสุด

1

คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป

(2 x 1) + 1 = 3

คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป

(2 x 3) + 0 = 6

คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป

(2 x 6) + 1 = 13

คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป

(2 x 13) + 1 = 27

คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป

(2 x 27) + 1 = 55

ดังนั้น (110111)2 = (55)10

วิธีแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง แบบที่ 2 การหาร

การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองก็มีหลายวิธี แต่ที่จะแนะนำคือ การหารด้วย 2 แล้วจดค่าเศษจากการหารไว้ จนกระทั่งหารไม่ได้อีกแล้ว จากนั้นนำเศษ จากการหารแต่ละครั้ง มาไล่ลำดับจากล่างขึ้นไปหาค่าบนสุด ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับค่าในเลขฐานสอง

ตัวอย่าง 2610 มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสอง

วิธี

2 หาร 26 เท่ากับ 13 เศษ 0
2 หาร 13 เท่ากับ 6 เศษ 1
2 หาร 6 เท่ากับ 3 เศษ 0
2 หาร 3 เท่ากับ 1 เศษ 1
2 หาร 1 ไม่ได้ เศษ 1


ดังแสดงตามวิธีหารสั้น


เมื่อหารไม่ได้ ให้นำค่าเศษมาเรียงต่อกัน โดยเรียงจากค่าล่างสุด ไปหาค่าบนสุด เพราะฉะนั้นจะได้ค่าเท่ากับ 11010

ดังนั้น 26 (ในฐานสิบ) จึงมีค่าเท่ากับ 110102

3.1.2 การแปลงเลขฐานสิบ เป็นฐานแปด และฐานสิบหก

การแปลงเลขฐานสิบ เป็นฐานแปด และฐานสิบหก มีลักษณะเดียวกับการแปลงเป็นเลขฐาน 2 โดยใช้ค่าฐานไปหารเพื่อหาเศษ

ตัวอย่าง

ต้องการแปลง 169 เป็นเลขฐาน 8 กระทำได้โด

8 หาร 169 เท่ากับ 21 เศษ 1
8 หาร 21 เท่ากับ 2 เศษ 5
8 หาร 2 ไม่สามารถหารได้ เศษ 2

ดังนั้น 169 เท่ากับ 2518

ต้องการแปลง 169 เป็นฐาน 16 กระทำได้โดย

16 หาร 169 เท่ากับ 10 เศษ 9
16 หาร 10 ไม่สามารถหารได้ เศษ 10
แต่เนื่องจาก 10 เป็นค่าที่แสดงด้วย A

ดังนั้น 169 เท่ากับ A916

การแปลงเลขฐาน 8 หรือ 16 เป็นฐาน 10 ก็ใช้วิธีเดียวกับการแปลงเลขฐาน 2 เป็นฐาน 10 ดังตัวอย่างที่แนะนำไปก่อนแล้ว

10111 ในระบบฐาน"สอง"เขียนเป็นฐานสิบมีค่าเท่ากับเท่าไร

(10111) = 23. ตัวอย่าง (110111)2 มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสิบ

11011ฐาน 2 เขียนเป็นเลขฐาน10ได้อย่างไร

10. ตัวอย่างที่1.3 การแปลง (11011)2 ให้เป็นเลขฐานสิบ วิธีทา N = (1×24 + 1×23 + 0×22 + 1×21 + 1×20) = 16 + 8 + 0 + 2 + 1 = 27.

วงจรเปลี่ยนรหัสจากสวิตช์กดเป็นรหัสฐานสองถูกเรียกว่าอะไร

วงจรถอดรหัส หมายถึง วงจรลอจิกซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนรหัสเลขฐานสองที่มีอินพุตจำนวน N บิต ให้เป็นรหัสใด ๆ ที่มีสายเอาต์พุตจำนวน M บิต โดยแต่ละสายจะได้รับผลออกมาจากการจัดหมู่ของอินพุตที่เหมาะสมเพียงกลุ่มเดียว

เมื่ออินพุตเป็นลอจิก 0 ทั้งหมดจะทำให้เอาต์พุตเป็นลอจิก 1” เป็นคุณสมบัติของเกตชนิดใด

1.4.2 ออร์เกต (OR Gate) อร์เกต เป็นเกตที่มีสภาวะเอาต์พุตเป็นลอจิก 0 เมื่อสภาวะอินพุตทุกตัวเป็นลอจิก 0 และมีสภาวะ เอาต์พุตเป็นลอจิก 1 เมื่อสภาวะอินพุตตัวใดตัวหนึ่งเป็นลอจิก 1 สามารถแทนค่าในสมการ Y = A + B และ ตารางความจริงของออร์เกต ดังนี้ ดังรูปที่1.8 และ Timing Diagram ดังรูปที่1.9. Y Input Output Y OR Gate.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ