มอบอํานาจที่ดินใช้อะไรบ้าง

การทำธุรกรรมกับที่ดิน เช่น การซื้อขายที่ดิน การจดจำนองที่ดิน การขายฝากที่ดิน ในบ้างครั้งเจ้าของหลักทรัพย์ อาจจะไม่สะดวกไปทำนิติกรรมเองที่กรมที่ดิน เลยมีวิธีแก้ปัญหาคือ การทำหนังสือ มอบอำนาจที่ดิน ให้ผู้อื่นไปกระทำแทนตนเอง วันนี้ เพื่อนแท้เงินด่วน จะมาให้รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการมอบอำนาจที่ดินว่า คืออะไร  และทำอย่างไรบ้าง

ประเภทสินเชื่อ *

ชื่อ-นามสกุล ของคุณ : *

จังหวัดที่ท่านอยู่ *

เบอร์โทรติดต่อกลับ : *

จำนวนเงินที่ต้องการกู้ *

  • ข้าพเจ้าตกลงและให้สิทธิเพื่อให้สถาบันการเงินติดต่อและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เหมาะสมแก่ข้าพเจ้า

ดาวน์โหลด หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

สำหรับผู้ที่ต้องการแบบฟอร์ม หนังสือมอบอำนาจที่ดิน สามารถเข้าไปกดปุ่มดาวน์โหลดได้เลยที่นี้

หนังสือมอบอำนาจที่ดิน คือ

หนังสือมอบอำนาจที่ดิน คือ เอกสารสำคัญในการดำเนินการด้านนิติกรรมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับโฉนดที่ดิน เพียงแต่ว่า เป็นการมอบอำนาจให้ผู้อื่น สามารถดำเนินการแทน ผ่านการใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน ทั้งการซื้อขาย โอน จดจำนอง เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ ฯลฯ

ตัวอย่าง การเขียน หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

จริงๆแล้วขั้นตอนการหนังสือมอบอํานาจที่ดิน ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแต่ต้องใส่ให้ถูกต้อง และครบถ้วน เราจะอธิบายว่า แต่ละช่องต้องกรอกอะไรบ้าง

1. ระวางที่ดิน

ระวางที่ดิน จะเป็นข้อมูลตัวเลขที่อยู่ด้านมุมซ้ายบนสุดของโฉนด โดยจะประกอบไปด้วยตัวเลข และตัวอักษร ทั้งนี้โฉนดแต่ละชนิด และแต่ละใบจะไม่เหมือนกัน แต่ทุกใบจะมีเลขระวางอยู่แน่นอน

2. ตำบล

ตำบลที่ใส่ในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน ต้องกรอกที่อยู่ของที่ดินในโฉนด ต้องเป็นที่อยู่ของโฉนดที่ดินนั้นเท่านั้น (ห้ามกรอกที่อยู่ปัจจุบันหรือที่อยู่อื่น)

3. เลขที่

ตัวเลขที่ในการกรอกอหนังสือมอบอํานาจที่ดิน หมายถึง เลขที่ของโฉนดอยู่ที่มุมซ้ายข้างล่างเลขระวาง

4. หน้าสำรวจ

หน้าสำรวจ คือเลข 4 ตัวที่ระบุไว้ในโฉนด อยู่มุมบนซ้ายเช่นกัน

5. อำเภอ

เช่นเดียวกับตำบล ต้องกรอกที่ใช้ใส่ในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน จะใช้เลขที่ตรงกันกับในโฉนดที่ดินเลย ห้ามเปลี่ยนหรือกรอกที่อยู่อื่นๆลงไป

6. โฉนดหมายเลขที่

หมายเลขโฉนดเป็นเลข 1-5 หลัก อยู่บริเวณมุมขวาบนของโฉนด

7. จังหวัด

จังหวัดตามในโฉนด ต้องกรอกให้ตรงกับที่โฉนดออกไว้แบบเปะๆ

8. เขียนที่

สถานที่เขียนหนังสือมอบอํานาจที่ดิน (ส่วนมักไปเขียนที่อำเภอหรือกรมที่ดิน แต่ในบ้างกรณีก็เขียนที่บ้าน ให้ระบุให้ตรงตามความจริง)

9. วันเดือนปี

วันเดือนปี ที่เขียนหนังสือมอบอํานาจที่ดิน (หมายถึงต้องเขียน และเซ็นเอกสารทำข้อตกลงเสร็จสิ้นภายในวันนั้น)

10. ลงชื่อผู้มอบอำนาจ

หมายถึง ผู้ที่มีชื่อถือครองโฉนดที่ดิน ยกตัวอย่าง นาย ก. ต้องการขายที่ดินให้ นาย ข. แต่ให้นาย ค. ไปกำเนินการเเทน บริเวณนี้ต้องลงชื่อนาย ก.

11. มอบให้ใคร

ต้องลงชื่อผู้ที่ต้องการมอบให้ ยกตัวอย่าง นาย ก. ต้องการขายที่ดินให้ นาย ข. แต่ให้นาย ค. ไปดำเนินการเเทน บริเวณหนังสือมอบอํานาจที่ดินนี้ ต้องลงชื่อผู้ที่ซื้อนั้นคือ นาย ค.

12. กรอกรายละเอียดที่ต้องการมอบอำนาจ

สามารถเขียนรายละเอียดตามจุดประสงค์ ในการทำหนังสือมอบอํานาจที่ดินได้เลย เช่น ใช้มอบอำนาจซื้อขายที่ดิน แต่ต้องกรอกรายละเอียดให้ตรงเช่น เป็น ตึก หรือ บ้าน มีกี่ชั้น หลังไหนเลขที่เท่าไหร่ ขายให้ใคร ราคาเท่าไหร่ เพื่อมอบอำนาจให้ผู้ที่ต้องไปทำการเเทน

13. ประทับลายนิ้วมือ

กรณีที่ผู้มอบอำนาจเซ็นรายมือชื่อในหนังสือมอบอํานาจที่ดินไม่ได้ สามารถประทับลายนิ้วมือของผู้มอบอำนาจ ด้วยนิ้วหัวแม่มือซ้าย (ต้องทำต่อหน้าพยาน)

14. ลายเซ็นผู้มอบอำนาจ

ลงชื่อผู้มอบอำนาจ ให้ชัดเจน (ต้องทำต่อหน้าพยาน)

15. พยาน

ลงชื่อพยาน จำนวน 2 คน โดยการกระทำที่ต้องทำต่อหน้าพยาน คือ การเซ็น ลายเซ็นผู้มอบอำนาจ และการประทับลายนิ้วมือ และจากนั้นจึงให้พยานเซ็น เพื่อยืนยัน

การใช้งาน หนังสือมอบอำนาจ

กรณีที่จะใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดินก็ต่อเมื่อ เจ้าของที่ดินหรือผู้ซื้อสัญญาคนสุดท้าย ตามที่ปรากฎในสารบัญโฉนดที่ดิน ไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นหน้าที่ของหนังสือมอบอํานาจใช้ที่ดิน จึงเป็นการมอบความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่ว่างมาดำเนินการ สามารถดำเนินการทางที่ดินได้

เอกสารที่ใช้ประกอบ หนังสือมอบอำนาจ

  1. บัตรประชาชนตัวจริง ของผู้ให้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน 
  2. ทะเบียนบ้านตัวจริง ของผู้ให้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

สำหรับทั้ง 2 รายการ จำเป็นต้องมีเพื่อป้องกันการทุจริต ในหนังสือมอบอำนาจที่ดินทุกรูปแบบ เพราะถ้าหากเกิดการทุจริตจริง ต้องผ่านการปลอมแปลงเอกสาร ทั้งบัตรประชาชนตัวจริง ทะเบียนบ้านตัวจริง และหนังสือมอบอำนาจที่ดิน จึงทำให้เกิดการทุจริตยากขึ้นนั่นเอง

ผู้รับ มอบอำนาจที่ดิน

การทำหนังสือมอบอำนาจที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจควรจะเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ และมีความสนิทสนมชิดเชื้อไว้ใจได้ เช่น พี่ น้อง หรือญาติสนิท เป็นต้น หากผู้รับมอบหนังสือมอบอำนาจที่ดิน มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป อาจจะต้องมีข้อพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ ว่าผู้รับมอบหนังสือมอบอำนาจโฉนดดิน ว่ายังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือไม่

ถ้าจำเป็นต้องให้ผู้รับมอบหนังสือมอบอํานาจที่ดินทั่วไป เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ควรทำเอกสารหรือขอรับใบรับรองจากผู้นำท้องถิ่น หรือองค์การปกครองท้องถิ่น ก่อนไปดำเนินการที่กรมที่ดิน และนอกเหนือจากนั้นควรมีพยานอย่างน้อย 1 คน โดยพยานจะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานประจักษ์ แต่ถ้าพยานไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ ก็จะต้องใช้พยานอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป

หนังสือมอบอำนาจ มีกี่ประเภท

หนังสือมอบอำนาจที่ดินถือเป็นเอกสารสำคัญ ในการดำเนินการด้านนิติกรรมทุกด้านที่เกี่ยวกับที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น การจำนอง จำนำ การซื้อขาย การโอน หรือการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น โดยหนังสือมอบอํานาจ รังวัดที่ดิน สามารถแบ่งออกได้เป็น2 ประเภท ดังนี้

  1. ที่ดินที่มีโฉนดแล้ว
  2. ที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ หนังสือมอบอำนาจ

  1. การกรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน จะต้องมีการระบุประเภทของอสังหาริมทรัพย์ให้ถูกต้องชัดเจน
  2. การระบุขอบเขตอำนาจของการจัดการ และดำเนินการแทนในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน จะต้องมีความชัดเจน หรือหากมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมก็ควรระบุให้ถูกต้องชัดเจนด้วยเช่นกัน 
  3. ไม่ควรใช้ปากกาคนละสี และควรระมัดระวังในการลงลายมือชื่อในแต่ละครั้ง ต้องลงให้เหมือนกัน เพื่อให้เอกสารมีความสม่ำเสมอ และชัดเจน หากเป็นการพิมพ์ ก็ควรใช้เป็นฟ้อนต์เดียวกันขนาดเท่ากัน ความหนาเท่ากัน
  4. หากมีการขูด ขีด ฆ่า แต่งเติม หรือแก้ไข จะต้องเซ็น เพื่อกำกับจุดที่มีการแก้ไขดังกล่าวในหนังสือมอบอํานาจที่ดินไว้ด้วย
  5. ระมัดระวังห้ามลงชื่อในเอกสารมอบอำนาจที่ดิน ที่ยังไม่มีการกรอกข้อมูลใดๆ เด็ดขาด เพราะอาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้นได้ ควรกรอกเอกสารให้ครบถ้วน และควรตรวจเช็คความเรียบร้อย ก่อนค่อยลงลายมือชื่อ
  6. โอนที่ดินให้ลูก มอบอํานาจจำเป็นที่จะต้องมีพยานอย่างน้อย 1 คน แต่ถ้าหากไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ จะต้องใช้พยาน 2 คน ในการทำหนังสือมอบอํานาจที่ดิน และทั้ง 2 คน จะต้องลงลายมือหรือเซ็นกำกับด้วย
  7. หากต้องการมอบอำนาจที่ดิน และดำเนินการในต่างประเทศจะ ต้องให้เจ้าหน้าที่จากสถานทูต สถานกงสุล หรือโนตารีปับลิค รับรองด้วย จึงจะสามารถดำเนินการต่อได้
  8. หนังสือมอบอํานาจที่ดิน มีอายุเท่าไร ขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดิน แต่ไม่ควรมีระยะเวลานานเกินไป

10 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับ หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

1. ผู้รับอำนาจดำเนินการแทนทั้งสองฝ่าย

ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งฝ่ายผู้โอน และฝ่ายรับโอน ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจที่ดินให้ชัดเจน ว่ายินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

2. การกรอกเครื่องหมายที่ดินจากโฉนดที่ดิน

การกรอกเครื่องหมายที่ดินจากตัวโฉนดที่ดิน เพื่อใส่รายละเอียดลงในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน ควรลอกข้อความมาทั้งหมด รวมถึงข้อความที่เป็นการขีดฆ่า ข้อความในวงเล็บ เป็นต้น

3. ข้อความในเอกกสารมอบอำนาจที่ดิน

ผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน สามารถระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องการและจำเป็นได้เลย และควรระบุข้อความลงท้ายว่า “ตลอดจนถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน “

4. ข้อความที่มีการเพิ่มเติมจากแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน

โดยปกติผู้มอบอำนาจควรจะเขียนรายละเอียดตามแบบพิมพ์ ทีได้มาจากกรมที่ดิน แต่สิ่งที่เพิ่มเติม คือในส่วนของชื่อเรื่อง และขอบเขตอำนาจที่มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจ ตามหนังสือมอบอํานาจที่ดินดำเนินการแทน ทั้งในหัวข้อชื่อเรื่อง การมอบให้จัดการ ลักษณะเหตุการณ์จริงที่ทำให้เกิดการมอบอำนาจ เป็นต้น

5. หนังสือมอบอำนาจ จะมีคนมอบอำนาจหลายคนในหนึ่งฉบับก็ได้

การใช้หนังสือมอบอํานาจที่ดินฉบับเดียวกัน ในกรณีที่มีผู้มอบอำนาจหลายคน ควรมีการระบุขอบเขตอำนาจให้เหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในข้อความ

6. สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวในการดำเนินหลายเรื่องได้

ผู้มอบอำนาจสามารถใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดียว เพื่อให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดิมสามารถไปดำเนินการหลายเรื่องได้ แต่ควรมีการระบุรายละเอียดของขอบเขตการมอบอำนาจให้ชัดเจน

7. หนังสือมอบอำนาจ จำเป็นต้องมีพยานลงลายมือชื่อ 1 คน

หากเป็นคู่สามีภรรยาสามรถลงลายมือชื่อ เพื่อเป็นพยานได้ และสามารถทำหนังสือยินยอม ให้สามารถทำนิติกรรมหนังสือมอบอํานาจที่ดินควบคู่กันไปด้วย

8. นิ้วที่พยานใช้ในการพิมพ์ลายนิ้วมือ

จำเป็นจะต้องใช้ลายนิ้วมือจากมือข้างซ้าย เพราะมือข้างซ้ายไม่ค่อยได้ใช้งาน ทำให้ลายนิ้วมือข้างซ้ายมีความสึกหรอน้อยกว่าข้างขวานั่นเอง

9. เมื่อทำหนังสือมอบอำนาจแล้ว ต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด

ไม่ควรปล่อยไว้นาน หากมีการหนังสือมอบอํานาจที่ดินแล้ว ควรรดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้นาน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินอาจไม่มั่นใจว่า หนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ยกเลิกไปแล้วหรือไม่ หรือผู้มอบอำนาจยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

10 . กรณีผู้มอบอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อ

หากผู้มอบอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อ จะต้องไปดำเนินการติดต่อที่อำเภอ เพื่อดำเนินการทำหนังสือมอบอํานาจที่ดินต่อหน้านายอำเภอเท่านั้น โดยนายอำเภอจะรับรองว่า ผู้มอบอำนาจได้มีการเปลี่ยนแปลงรายมือชื่อจริง

สรุป - หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

การจะธุรกรรมกับที่ดินแต่ละครั้งต้องใช้เวลา แต่ถ้าจำเป็นต้องทำตอนนั้น แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ว่าง ก็จำเป็นจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้คนสนิท หรือคนที่ไว้ใจได้ไปทำธุรกรรมแทน แต่จะต้องมีบัตรประชาชนตัวจริง และทะเบียนบ้านตัวจริง ของผู้ให้หนังสือมอบอำนาจที่ดินแนบไปด้วย

เพื่อนแท้เงินด่วน ขอให้ผู้อ่านระมัดระวังในการเซ็นลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอํานาจที่ดินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นในภายหลัง นอกจากนั้นจะต้องมีพยาน ในการลงลายมือชื่อด้วยอย่างน้อย 1 คน จึงจะถือว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นสมบูรณ์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ