หลักฐานประเภทใด


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical Sources)


            


 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

              ประโยชน์ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีต เป็นแหล่งค้นคว้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเอาไปประกอบกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

             การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             1.  แบ่งตามยุคสมัย

          1.1 หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”
          1.2 หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

              2.  แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก

         2.1 หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสาร
ทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
          2.2 หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐาน
จากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไลด์
แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

             3. แบ่งตามลำดับความสำคัญ

               3.1  หลักฐานชั้นต้น (Primary sources)  อันได้แก่หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง  หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
            3.2 หลักฐานรอง(Secondary sources) ซึ่งได้แก่บันทึกของผู้ที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น
มาอีกต่อหนึ่ง หนังสือประวัติศาสตร์ที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยการศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น  ก็ยังถือว่าเป็นหลักฐานรองอยู่นั่นเอง  นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์  ได้กล่าวไว้ว่าการแบ่งประเภทของหลักฐานเป็นชั้นต้นและชั้นรอง  มีประโยชน์ในการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน  หลักฐานชั้นต้นมักได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากนักประวัติศาสตร์มาก  เพราะได้มาจากผู้รู้เห็นใกล้ชิดกับข้อเท็จจริง  ในขณะที่หลักฐานรองได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยลง  อย่างไรก็ตาม  ไม่ควรถือ
ในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัดมากนัก  เพราะหลักฐานชั้นต้นก็อาจให้ข้อเท็จจริงผิดพลาดได้  เช่นผู้บันทึกไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในเหตุการณ์ที่ตนบันทึก  หรืออาจจะตั้งใจปกปิดบิดเบือนความจริงเพื่อประโยชน์ของตนหรือคนที่ตนรักเคารพ  เป็นต้น  ในทางตรงกันข้าม  เอกสารชั้นรองที่บันทึกไว้โดยผู้ไม่มีส่วนได้เสีย  แม้ว่าห่างไกลจากเหตุการณ์  แต่ก็สอบสวน
ข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้แล้ว  ก็อาจให้ความจริงที่ถูกต้องกว่าก็ได้

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ
                     - หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                     - หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

         1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร   ถ้าแบ่งตามลักษณะเด่นของข้อสนเทศที่ให้ในหลักฐานแล้ว
อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่  13  ประเภท  คือ
                 1.1 จดหมายเหตุชาวต่างชาติ
                 1.2 จดหมายเหตุชาวพื้นเมือง
                 1.3  ตำนาน
                 1.4  พงศาวดารแบบพุทธศาสนา
                1.5  พระราชพงศาวดาร
                 1.6  เอกสารราชการหรือเอกสารการปกครอง
                 1.7  หนังสือเทศน์
                 1.8  วรรณคดี
                 1.9  บันทึก
                 1.10  จดหมายส่วนตัว
                 1.11  หนังสือพิมพ์
                 1.12  งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
                 1.13  จารึก

             2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร    ได้แก่
             2.1  หลักฐานทางโบราณคดี  เช่น  หลุมฝังศพ  ซากโครงกระดูก  เครื่องปั้นดินเผา  ลูกปัด  หม้อ  ไห  ถ้วย  ชาม  ภาชนะต่างๆ  หลักฐานเหล่านี้ได้ผ่านการตีความหมายของนักโบราณคดีตามหลักวิชาอย่างถูกต้องแล้ว
              2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ  คือ  สิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  และสิ่งแวดล้อมของสังคมที่ให้กำเนิดศิลปกรรมทั้งหลาย  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะมักจะช่วยกำหนดอายุของเมืองหรืออารยธรรมที่ไม่มีหลักฐานอย่างอื่นบอกไว้
             2.3 นาฏกรรมและดนตรี  มักเป็นศิลปะที่ได้รับสืบทอดจารีตมาแต่อดีต
              2.4 คำบอกเล่า คือ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีการจดเป็นลายลักษณ์อักษร  ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน  จึงแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและคนเล่า  ซึ่งคำบอกเล่านี้มักเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ที่คนภายในสังคมนั้นมีข้อจำกัดทางการศึกษาจึงใช้การจดจำบอกเล่าสืบต่อกันมา

จารึก เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทใด

1. หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ เช่น หลักศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ วรรณกรรม เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร บันทึกคำให้การหรือการสัมภาษณ์ และเอกสารราชการ หลักฐานประเภทนี้ นับเป็น พื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย

หลักฐานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์จาแนกได้2 ลักษณะ คือ 1. แบ่งตามลาดับความสาคัญ - หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ - หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ 2. แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก - หลักฐานลายลักษณ์อักษร - หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

คําบอกเล่า เป็นหลักฐานประเภทใด

1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources. หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ

รูปถ่ายเป็นหลักฐานชั้นใด

หลักฐานชั้นต้น เป็นหลักฐานร่วมสมัยกับบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในอดีต เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นจริงๆ เช่น ภาพถ่าย กฎหมายพระราชพงศาวดาร บันทึกประจาวัน เทปบันทึกภาพ หนังสือพิมพ์เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ