อาเซียนมีความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาใดบ้าง

สหราชอาณาจักรเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประเทศอาเซียนในวันนี้ (5 สิงหาคม) นับเป็นการลงนามประเทศคู่เจรจาครั้งแรกในรอบ 25 ปีของกลุ่มประเทศอาเซียน สถานะประเทศคู่เจรจาอาเซียน-สหราชอาณาจักรจะนำไปสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการศึกษา

นายโดมินิก ราบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาสหราชอาณาจักรจะเข้าร่วมพิธีต้อนรับสหราชอาณาจักรในฐานะประเทศคู่เจรจาอาเซียนกับรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ โดยตั้งแต่สหราชอาณาจักรสมัครเข้าร่วมเป็นประเทศคู่เจรจาในปี พ.ศ.2563 นายราบได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน 2 ครั้งและได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบอาซีนในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและการพัฒนาของกลุ่มประเทศ G7 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

อาเซียนนับเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลซึ่งมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยการเข้าร่วมเป็นประเทศคู่เจรจาของสหราชอาณาจักรนี้จะสานสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างเป็นทางการ รวมถึงการเข้าร่วมประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

สถานะประเทศคู่เจรจาจะทำให้สหราชอาณาจักรเข้าถึงศูนย์กลางของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทั้งนี้สหราชอาณาจักรจะทำงานร่วมกับอาเซียนและประเทศสมาชิกที่เผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ที่สำคัญร่วมกัน เช่น ความมั่นคงทางทะเลและอาชญากรรมข้ามชาติ การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการค้า และกระชับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เช่น ประเด็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายโดมินิก ราบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า

ผมยินดีที่วันนี้สหราชอาณาจักรได้รับสถานะคู่เจรจาอาเซียนอย่างเป็นทางการ นับเป็นประเทศแรกที่ได้รับสถานะนี้ในรอบ 25 ปี

ช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสหราชอาณาจักรในการให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นกับอาเซียนนี้จะทำให้เกิดการสร้างงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลายตำแหน่ง ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง ด้านเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และปกป้องเสาหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

ด้วยสถานะประเทศคู่เจรจาใหม่นี้จะช่วยให้สหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศอาเซียนมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจแนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 106 ล้านล้านบาท) มูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ที่ 32.3 พันล้านปอนด์ (ราว 1.49 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสทั้ง 4 ไปจนถึงปลายไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ.2564 ด้วยศักยภาพที่ยิ่งใหญ่นี้จะเสริมการค้าและสร้างงานอีกหลายตำแหน่งในสหราชอาณาจักร นางลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า

นับเป็นข่าวดีอย่างยิ่งและแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการของสหราชอาณาจักรสู่ระดับสากลเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้นไปทั่วโลกในฐานะประเทศคู่ค้าอิสระ

การเป็นประเทศคู่เจรจาพร้อมด้วยการเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และการเจรจากับประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ และ เวียดนาม จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจอังกฤษได้เข้ามาในภูมิภาคนี้ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่สูงและมีประชากรกว่า 650 ล้านคน ทำให้ธุรกิจอังกฤษสามารถเติบโตและสร้างงานได้ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร นายโดมินิก ราบได้เยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว 5 ครั้งตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่มากขึ้นของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกดังที่ได้ระบุไว้ในรายงานทบทวนนโยบายแบบองค์รวม (Integrated Review) ของสหราชอาณาจักร

การประกาศในวันนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่สหราชอาณาจักรและภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมีความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะที่กองเรือหลวง Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักร นำทัพโดยเรือหลวง HMS Queen Elizabeth เดินทางเยือนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างสำเร็จลุล่วงไปแล้วหลายประเทศ โดยได้วางแผนทำกิจกรรมเพิ่มเติมในฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึง

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรได้ประกาศเข้าร่วมเจรจาในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีมูลค่ามากถึงร้อยละ 13 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกในปีพ.ศ.2562 ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศเข้าร่วมในความตกลง CPTPP ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน

โดยอาเซียนได้มีการปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอกับประเทศคู่เจรจาเหล่านี้ในลักษณะการประชุมระดับ เจ้าหน้าที่ และการพบปะกันในระดับรัฐมนตรีในการประชุมที่เรียกว่า Post Ministerial Conferences (PMC) ซึ่งจะมีขึ้นภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในทุกปี รวมทั้งการประชุมระดับผู้นำอาเซียน+3 และอาเซียน+1 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ซึ่งมีขึ้นภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงปลายปีของทุกปี

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับ ประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศ อาเซียนได้จัดตั้งคณะกรรมการในนครหลวงของประเทศ คู่เจรจา ที่เรียกว่า คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Country) คณะกรรมการเหล่านี้ประกอบด้วยหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศ เจ้าภาพ มีหน้าที่ในการปรึกษาหารือและประสานงานกับรัฐบาลประเทศคู่เจรจาเกี่ยวกับความช่วยเหลือ และความร่วมมือที่ให้แก่ประเทศอาเซียน

ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในอาเซียน

เมื่อมองย้อนหลังในอดีต ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในการนำไปสู่การก่อตั้งสมาคม ความร่วมมือในภูมิภาคนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ก่อนหน้าการก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อปี 2510 จนกระทั่งทำให้ ประเทศคู่กรณีสามารถที่จะยุติข้อพิพาทดังกล่าว และหันหน้ามาร่วมมือกัน ผลพวงของการสร้างความ เข้าใจอันดี โดยมีไทยเป็นประเทศกลางที่มีบทบาทสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วม ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ประกาศจัดตั้งสมาคมอาเซียน โดยมีการลงนามที่ห้องเทววงศ์ กระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์

  1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนได้มุ่งเน้นความร่วมมือเพื่อธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคตลอดมา โดยได้มี การจัดทำและผลักดันให้ทุกประเทศในภูมิภาคให้ความสำคัญและยึดมั่นในสนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) ปี ค.ศ. 1976 ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันในภูมิภาค ที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างกัน นอกจากนี้ อาเซียนได้ร่วมลงนามในเอกสารด้านการเมืองอื่น ๆ อาทิ ปฏิญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality หรือ ZOPFAN) เมื่อปี ค.ศ. 1971 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone หรือ SEANWFZ) ปี ค.ศ. 1995 รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และประเทศผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจกันระหว่างประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งแรกขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2537 (ค.ศ. 1994)
     
  2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ จากการที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกได้ เปลี่ยนไปภายหลังการเจรจาเปิดเสรีการค้ารอบอุรุกวัย และการแบ่งตลาดโลกออกเป็นกลุ่มภูมิภาค ไทยได้เห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างอำนาจต่อรองของ ประเทศในภูมิภาคและศักยภาพในการผลิต ในปี 2535 (ค.ศ. 1992) ประเทศไทย โดยอดีต นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เสนอให้อาเซียนร่วมมือกันอย่างจริงจังในการเปิดเสรี การค้าระหว่างกัน โดยผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิตในสินค้า อุตสาหกรรมและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศได้ตกลงจะเร่งลดภาษีสินค้าในกรอบ AFTA ให้เร็วขึ้น โดยมีกำหนดลดภาษีสินค้าให้มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 0-5 ภายในปี 2545 (ค.ศ. 2002) นอกจากนี้ อาเซียนยังได้ตั้งเป้าที่จะลดภาษีสินค้าทั้งหมดลงมาอยู่ที่อัตราร้อยละ 0 ภายในปี ค.ศ. 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และปี ค.ศ. 2015 สำหรับสมาชิกใหม่

    ในเวลาต่อมา อาเซียนได้ขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมจาก AFTA เพื่อให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจมีความสมบูรณ์แบบและมีทิศทางที่ชัดเจน โดยได้ขยายความ ร่วมมือไปสู่การค้าบริการและการเชื่อมโยงทางด้านอุตสาหกรรม เช่น การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area – AIA) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2541 มีจุดประสงค์เพื่อให้อาเซียนมีความได้เปรียบและดึงดูดการลงทุนจากภายนอกและภายในภูมิภาค โดยการเปิดการตลาด (market access) และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) โดยมีการเร่งรัดให้ดำเนินการเรื่องนี้จากปี 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นปี 2546 (ค.ศ. 2003) ยกเว้น เวียดนาม ลาว และกัมพูชาจะพยายามเปิดเสรีด้านการลงทุนไม่ช้ากว่าปี 2553 (ค.ศ. 2010) และขณะนี้ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งเปิดเสรีแก่นักลงทุนนอกอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าปี 2563 (ค.ศ. 2020) นอกจากนี้ อาเซียนยังได้ขยายขอบเขตความตกลง AIA ให้ครอบคลุมความร่วมมือด้านการค้าบริการ โดยมีการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการใน 7 สาขา (การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การเงินการคลัง วิชาชีพธุรกิจ การก่อสร้าง การคมนาคม และการท่องเที่ยว) โดยมีเป้าหมายให้การเปิดเสรีครอบคลุมทุกสาขาบริการภายในปี 2020 นอกจากนี้ มีความร่วมมือด้านการเชื่อมเส้นทางด้านคมนาคมและการขนส่งสินค้าผ่านแดน รวมทั้งโครงการความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความแข็งแกร่งและ ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไทยมีบทบาทสำคัญในเรื่องการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายในอาเซียนให้มากขึ้น โดยได้เสนอให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้การขนส่งสินค้าภายในอาเซียนมีความคล่องตัว และช่วยส่งเสริมการดำเนินการในเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อธันวาคม 2541 ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนแล้ว

    ในด้านความร่วมมือด้านการคลัง ภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ด้านการเงินและ เศรษฐกิจในภูมิภาค อาเซียนได้เสริมสร้างการหารือระหว่างกัน และจัดตั้งกลไกตรวจสอบในภูมิภาค (regional surveillance mechanism) รวมทั้งร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อพิจารณาปรับโครงสร้าง การเงินระหว่างประเทศ (international financial architecture)
     

  3. ความร่วมมือด้านสังคม ความร่วมมือทางด้านสังคมหรือความร่วมมือ เฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ของอาเซียน เป็นความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่มิใช่ด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านยาเสพติด และด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยมีคณะกรรมการต่าง ๆ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวข้องสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การส่งเสริม พัฒนาการความร่วมมือในด้านดังกล่าวนับเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นประการหนึ่งของอาเซียนเพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียมกับประชาชนในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่ประชุมได้ลงนามร่วมกันใน “ปฏิญญากรุงเทพ ปี 2538” (the 1995 Bangkok Declaration) เพื่อประกาศเจตจำนงที่จะให้มีการยกระดับความร่วมมือ เฉพาะด้านให้ทัดเทียมกับความร่วมมือทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน อาเซียนได้ให้ ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องการยกระดับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของการคุ้มครองและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ของอาเซียนนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนชาวอาเซียน ตลอดจน ปลุกจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน (ASEAN Awareness)

    ความร่วมมือทางด้านสังคมในกรอบอาเซียนได้พัฒนามาเป็นลำดับตามสภาพ แวดล้อม ความต้องการของประเทศสมาชิก และกระแสของโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นผลให้อาเซียนมีการ จัดตั้งกลไกความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือ กันในระดับภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน โครงข่ายรองรับทางสังคม อาชญากรรมข้ามชาติ และสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม ทั้งนี้ เพื่อมุ่งผลักดันให้อาเซียนบรรลุ เป้าหมายในการเป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกันตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)

    ไทยเล็งเห็นความสำคัญของการร่วมมือด้านสังคมเพื่อสันติสุขในภูมิภาค จึงผลักดันให้อาเซียนกระชับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติดและการฟอกเงิน โรคเอดส์ การลักลอบเข้าเมือง รวมทั้ง ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การแก้ไขปัญหาหมอกควัน เป็นต้น นอกจากนั้น ไทยยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการ ตลอดจนการเข้ามามี ส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นอาเซียน และการให้ความสำคัญต่อเรื่องการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อบรรเทา ผลกระทบทางด้านสังคมจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในปัญหาความยากจน การว่างงาน ปัญหาเด็กนอกโรงเรียนและผู้ยากไร้

    นอกจากนี้ ไทยยังมีนโยบายในอันที่จะพยายามกระตุ้นให้อาเซียนเป็นสังคมเปิดและมีความเอื้ออาทร มีจิตสำนึกในความเป็นชุมชนหนึ่งเดียว ไทยได้เสริมสร้างความไพบูลย์มั่งคั่งร่วมกัน โดยการพัฒนามนุษย์โดยรวม (Total Human Development) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคมในระยะยาว การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในภูมิภาค โดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) เป็นกลไกในการลดช่องว่าง ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมการรวมตัวของอาเซียน

    เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา ไทยได้ผลักดันให้อาเซียนมีมติรับรอง ให้ปี พ.ศ. 2545-2546 เป็นปีแห่งการปลุกจิตสำนึกในการต่อต้านยาเสพติดในอาเซียน และสนับสนุนให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 รับรองปฏิญญาที่ประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ว่าด้วยโรคเอดส์ เนื่องจากปัญหาทั้งสองได้ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรแก่ประเทศไทยในการแก้ไขเป็นจำนวนมาก และจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือระดับภูมิภาคในการควบคุมปัญหาดังกล่าวให้มีผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิผล

    ความร่วมมือทางสังคมได้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาในประเทศไทยเป็น จำนวนมาก และส่งเสริมให้มีบรรยากาศแห่งความร่วมมือกันเพื่อการพัฒนา ซึ่งสะท้อนไปสู่การมี เสถียรภาพ สันติสุข และความก้าวหน้าในภูมิภาค

    ประเทศคู่เจรจาของอาเซียนในปัจจุบันคือกลุ่มใด

    คู่เจรจาเต็มตัวของอาเซียน ประกอบด้วย (1) ออสเตรเลีย (2) นิวซีแลนด์ (3) ญี่ปุ่น (4)จีน (5) เกาหลีใต้ (6) อินเดีย (7) แคนาดา (8) สหรัฐอเมริกา (9) รัสเซีย (10) สหภาพยุโรป ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในฐานะประเทศคู่เจรจา โดยมีนิวซีแลนด์เป็นคู่เจรจาลำดับ

    ปัจจุบันบทบาทของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศเป็นอย่างไร

    บทบาทของอาเซียนที่โดดเด่นในเวทีการค้าโลก คือ การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อให้เกิดการรวมเป็นตลาดเดียวกัน โดยการเริ่มก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึงมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองของอาเซียน แต่อาเซียนมีเป้าหมายสูงสุด คือ การ ...

    122 ประเทศ +3 ซึ่ง เป็น คู่ เจรจา ของ อาเซียน หมาย ถึง ประเทศ ใน ข้อ ใด

    อาเซียน +3 คือ ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศใหญ่ คือ จีน เกาหลีใต้ และญีปุ่น ส่วนอาเซียน +6 มี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพิ่มเข้ามาอีก 3 ประเทส ซึ้งทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ

    ความร่วมมือ Asean + 3 คือข้อใด

    อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอก กลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อน าไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ