นักดนตรีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

ได้เล่นดนตรี มีรายได้ ซึ่งสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจากการทำในสิ่งที่ตัวเองรักด้วยการเป็นนักดนตรีอิสระนั้น คงเป็นสายงานและเป็นอาชีพในฝันของใครรายหลาย ๆ คน แม้อาจจะถูกมองว่าอาชีพนักดนตรีอิสระนี้เป็นอีกอาชีพที่ไม่มั่นคง ไม่หลักประกันในชีวิต เต้นกินรำกิน หาเช้ากินค่ำ แต่ในปัจจุบันอะไรคือ “ความมั่นคง” วันนี้มีงานทำ พรุ่งนี้อาจจะตกงานได้เช่นเดียวกันกับ อาชีพนักดนตรีอิสระ รายได้อาจจะไม่มั่นคง บางวันอาจไม่มีงาน ในขณะที่บางช่วงเวลาอาจทำเงินได้จำนวนเป็นแสนเป็นล้าน

ดังนั้น วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในประเด็นเกี่ยวกับอาชีพนักดนตรีอิสระ ว่ามีรายได้ และคุณสมบัติอย่างไร ถึงจะสามารถอยู่รอดและสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กับบทความ “อาชีพนักดนตรีอิสระ รายได้/ คุณสมบัติ เป็นอย่างไร”

 

อาชีพนักดนตรีอิสระ เป็นอย่างไร

สารบัญ

อาชีพนักดนตรีอิสระนั้น เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มอาชีพอิสระ ซึ่งมีความหมายในทางกฎหมาย คือ การประกอบกิจการส่วนตัวต่าง ๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีของอาชีพนักดนตรีอิสระ คือ การผลิตเสียงหรือผลงานนั่นเอง โดยไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขอตนเองที่มีขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ตาม ซึ่งมีอิสระในการกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตนเอง ไม่มีใครเป็นนายจ้างและไม่มีเงินเดือนที่แน่นอน

ดังนั้น หากจะกล่าวถึงการทำงานของอาชีพนักดนตรีอิสระนั้น ก็สามารถดำเนินการประกอบอาชีพได้อย่างอิสระ โดยไม่ยึดติดกับบริษัทหรือนายจ้างใด สามารถติดต่อ ต่อรองค่าจ้างได้อย่างอิสระเช่นกัน

ทั้งนี้หากจะกล่าวถึงอาชีพนักดนตรีอิสระ หลาย ๆ ท่านอาจจะนึกถึงและเห็นภาพเฉพาะกลุ่มนักดนตรีวงป๊อป วงร๊อคหรือวงดนตรีที่เป็นวงสมัยใหม่ ในรูปแบบวงสตริงคอมโบ (String Combo) แต่ในความเป็นจริงอาชีพนักดนตรีอิสระนั้น ยังรวมไปถึงกลุ่มนักดนตรีวงพื้นบ้าน วงหมอลำ วงลูกทุ่งและวงอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีการเซ็นสัญญาหรือมีบริษัทดนตรีรองรับอีกด้วย และยังรวมนักดนตรีเดี่ยว ที่ผลิตผลงานด้วยตนเองคนเดียว เรียกได้ว่าเป็น “All in one” ทั้งแต่ง เล่น อัดเสียง และขายเพลง เบ็ดเสร็จด้วยคนคนเดียว

นักดนตรีอิสระ รายได้เป็นอย่างไร

เรื่องรายได้ของนักดนตรีอิสระนั้น เป็นอีกประเด็นที่สามารถพูดคุยกันได้ทั้งวัน เพราะหากคุณประกอบอาชีพเป็นนักดนตรีอิสระแล้วนั้น รายได้ที่คุณจะหาได้สามารถเริ่มต้นตั้งแต่ ศูนย์บาทจนถึงหลักล้านบาท !! ต่อหนึ่งคอนเสิร์ตหรือหนึ่งโปรเจท เราไม่ได้พูดเกินจริง โดยทั้งหมดเป็นเรื่องจริง เพราะหากคุณมีความสมารถ มีเพลงที่ดังติดชาร์จ ติดอันดับและเป็นที่นิยมแล้วหล่ะก่อ ค่าตัวชั่วโมงหรือเบรกละแสน หรือหลักล้านบาทก็สามารถเป็นไปได้

แต่นั้นก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ โดยนักดนตรีอิสระ รายได้เริ่มต้นที่ทุกคนต้องเคยเจอก็คือ เล่นฟรี หรือเจองานฟรี แต่นั้นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่าย สร้างความนิยมได้ แต่หากจะกล่าวถึงราคา หรือรายได้ทั่ว ๆ ไปที่นักดนตรีอิสระ มักจะได้รับสำหรับการเล่นเป็นเบรกจะตกอยู่ที่ ชั่วโมงละ 150 – 500 บาท หากได้สูงกว่านี้ก็ถือว่าโชดดี ซึ่งจะมีอัตราการจ้างที่เท่า ๆ กับนักดนตรีอิสระที่รับสอนพิเศษหรือสอนส่วนตัวที่สามารถคิดค่าจ้างอยู่ที่ ชั่วโมงละ 200 – 500 บาทเช่นกัน โดยค่าตัวที่ต่ำกว่านั้นก็อาจจะมีเช่นกัน สุดแล้วแต่ผู้ว่าจ้างหรือการได้มาจากการบริจาค เป็นต้น

โดยสรุป อัตราค่าตอบแทนสำหรับนักดนตรีอิสระ รายได้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณชั่วโมงละ 150 – 500 บาทสำหรับการเล่นดนตรีและการรับสอน แต่อย่างไรก็ตาม อัตราค่าตอบแทนอาจจะต่ำและสูงกว่าค่าเฉลี่ยได้ โดยขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้าง รูปแบบงาน และเขตพื้นที่ต่าง ๆ เช่นต่างจังหวัดก็อาจจะได้ค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ เป็นต้น

 

อยากเป็นนักดนตรีอิสระ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน หากคุณอยากเป็นนักดนตรีอิสระ คุณสมบัติที่จะสามารถช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ และสามารถเอาตัวรอดในการดำเนินชีวิตประจำวันได้นั้น มีหลากหลายประการ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะและรูปแบบการดนตรีที่คุณเล่น และสายงานของการประกอบอาชีพนักดนตรีอิสระของคุณ

โดยในบทความนี้ เราจะขอนำเสนอคุณสมบัติหลัก 5 ประการของการเป็นนักดนตรีอิสระ ซึ่งเราสรุปได้ดังนี้

1.ความรู้ ทักษะยังไงก็สำคัญ

ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพใด ความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพนั้น ๆ คือสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งจะสามารถพาคุณให้ประสบความสำเร็จได้ โดยเฉพาะอาชีพนักดนตรีอิสระ ทักษะการปฏิบัติเครื่องและความรู้ด้านดนตรีนั้นคือส่วนประกอบที่มีความสำคัญ ซึ่งจะทำให้คุณมีความโดดเด่นและสามารถยึดอาชีพนักดนตรีอิสระเป็นงานที่สร้างรายได้ และมีเงินเพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ไม่ว่าคุณจะเป็น นักดนตรีเล่นร้านอาหาร นักดนตรีห้องบันทึกเสียง นักแต่งเพลง หรือเป็น Youtuber

ทั้งนี้นักดนตรีอิสระ คุณสมบัติด้านทักษะและความรู้ที่ควรจะมีนั้น สามารถมาจากการศึกษาเล่าเรียนในระบบ นอกระบบและอาจจะเรียนหรือศึกษาด้วยตนเอง โดยควรจะมีความรู้ที่ประกอบไปด้วย ทฤษฎีดนตรี หลักการประสานเสียง การเรียบเรียงและการประพันธ์บทเพลง และรวมไปถึงทักษะปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การบรรเลงเครื่องดนตรีเอก และเครื่องอื่น ๆ ทักษะการฟัง การอ่านโน้ตดนตรี (ทั้งไทย และสากล ในกรณีที่เป็นคนดนตรีไทย) และความรู้ด้านเทคโนโลยีดนตรี ดนตรีศึกษา หลักการสอน เป็นต้น

ทั้งนี้ หากคุณมีความฝันที่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรีอิสระ คุณสมบัติทั้งหมดคือสิ่งสำคัญซึ่งในปัจจุบันนั้น สามารถศึกษาและหาเรียนได้ทั้งในมหาวิทยาลัย สถาบันดนตรีและช่องทางอิสระ แพลตฟอร์มออนไลน์มากมาย ซึ่งมีทั้งที่ฟรีและมีค่าบริการ

2.อย่าหางาน แต่จงสร้างงาน

สำหรับคนทำงานศิลป์ในยุคปัจจุบันนั้น หากคุณไม่รู้จักวิธีการสร้างงาน ขอบอกไว้เลยว่าคุณกำลังตกเทรนด์และกำลังเข้าสู่ที่นั่งลำบากอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้การว่าจ้างที่เป็นสายงานด้านศิลปะทั้งออกแบบ การสร้างสรรค์และงานด้านดนตรีนั้น ลูกค้าและรายได้ทั้งหมดมักจะวิ่งเข้าสู่ผู้สร้างงานที่มีชื่อเสียง มีโปรไฟล์ ดังนั้นหากคุณอยากเป็นนักดนตรีอิสระ คุณสมบัติที่ขาดไม่ได้อีกประการคือ ทักษะการสร้างงาน คุณต้องหาช่องทางและสร้างงานให้เป็น แม้ในช่วงแรกอาจจะเป็นการทำงานฟรี แต่ก็ต้องทำ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย ทำตัวเองให้เป็นที่รูจักและยิ่งไปกว่านั้นให้คิดเสียว่าเป็นการนำเสนอผลงาน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานในอนาคต

ดังนั้น นักดนตรีอิสระที่กำลังมีความฝันที่จะเป็นเจ้าของเพลงฮิตติดชาร์จ คุณสามารถเริ่มแต่งเพลงของตนเองได้ทันที โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ นำเสนอผลงานของคุณ แม้อาจจะไม่มีรายได้ในช่วงแรก แต่ถ้าคุณมีตลาดเป็นของตนเอง มีความพิเศษ มีสไตล์เฉพาะ งานและเงินย่อมตามมาแน่นอน

3.รู้อะไร ไม่สู้รู้จักกัน

เครือข่ายและคนรู้จักเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการเป็นนักดนตรีอิสระ เนื่องจากตามเป็นอิสระนั้น ย่อมแลกมาจากความอิสระในการจ้างงาน อัตราค่าตอบแทน แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีการจ้างงานจากผู้ว่าจ้างรายใหญ่ ๆ นักดนตรีที่จะได้รับความไว้วางใจก่อน ก็จะเป็นนักดนตรีที่อยู่ในสังกัดของเขา หรือเป็นกลุ่มนักดนตรีที่เขารู้จัก ซึ่งเป็นการรู้จักทั้งนิสัย ฝีมือและความรับผิดชอบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ และมีความสะดวกมากว่าการรับนักดนตรีอิสระหน้าใหม่ที่เขาอาจจะไม่รู้จักคุณ และไม่ทราบรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับตัวคุณเลย

ดังนั้น จงทำตัวเป็น “Yes Man” ได้ทุกงาน รับเล่นทุกงานเพื่อทำให้คนรู้จักคุณและรู้จักฝีมือของคุณก่อน แล้วหลังจากนั้น การเป็นนักดนตรีอิสระก็จะไม่เป็นเพียงความฝันอีกต่อไป เพราะ “รู้อะไร ไม่สู้รู้จักกัน”

 

4.รู้ทันโลก

เมื่อโลกเปลี่ยน เราก็ต้องมีความสามารถที่จะต้องปรับเปลี่ยนตามด้วยเช่นกัน ดังเช่นในกรณีของ การเล่นดนตรีในยุคโควิด – 19 การเล่นดนตรีทั้งหมดเป็นรายการแรก ๆ ที่ถูกงด ยกเลิก แต่กลับเป็นรายการหลัง ๆ ที่อนุมัติให้กลับมาเปิดการแสดงได้ ดังนั้นการรู้ทันโลก รู้จักการปรับตัวจึงเป็นทักษะสำคัญ ที่นักดนตรีอิสระต้องเรียนรู้ และต้องมีคุณสมบัตินี้ เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์นั้น ๆ ได้ เช่น การปรับเปลี่ยนการแสดงสด ไปสู่การแสดงแบบสตรีมมิ่ง การทำ Live Session เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการปรับแพลตฟอร์มการแสดงผลงานจาก การทำแผ่น CD ไปสู่การทำผลงานลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้ง iTune/ Spotify/ Jook เป็นต้น

5.ต้องมี 2nd and 3rd Job

เมื่อเกิดวิกฤติ ชีวิตเจอทางดัน บางครั้งเราก็ต้องมีทางออก หรือต้องมีอาชีพสอง อาชีพที่สามสำรองไว้ เพื่อให้สามารถหารายได้ให้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตต่อไปให้ได้ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิค – 19 ที่ผ่านมา ไม่แปลกที่เหล่านักร้องและนักดนตรีที่เป็นเพียง “ช่างทำเสียง” เล่นดนตรีของคนอื่นมาโดยตลอด ไม่มีเพลงของตนเอง จึงประสบปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากไม่มีงาน ไม่มีคอนเสิร์ต อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างรายได้จาก Passive Income อื่น ๆ ทั้งการรับค่าลิขสิทธิ์เพลง ค่าโฆษณาและค่าการตลาดอื่น ๆ ดังนั้นการมีอาชีพเสริมสำรองไว้จึงเป็นคุณสมบัติอีกประการที่สำคัญ สำหรับนักดนตรีอิสระในยุค “Post Covid” นี้ 

บุคคลที่ประกอบอาชีพนักดนตรีจะต้องปฏิบัติงานที่มีลักษณะอย่างไร

1. แกะเพลงและซ้อมเครื่องดนตรีให้เกิดความคุ้นเคย 2. จดจำเนื้อเพลงและฝึกซ้อมดนตรีอย่างสม่ำเสมอ 3. แสดงดนตรีตามงานแสดงต่าง ๆ 4. จัดเรียงและแก้ไขเพลง ให้เหมาะกับสไตล์และวัตถุประสงค์การแสดง

นักดนตรีมีหน้าที่อะไรบ้าง

- เป็นคนแต่งเพลงให้วงดนตรีหรือแต่งเองทำเพลงเองร้องเอง - เป็นคนเรียบเรียงดนตรีให้วงดนตรีหรือทำเพลงเองร้องเอง - เป็นคนเขียนเนื้อร้องให้วงดนตรีหรือทำเพลงเองร้องเอง - บางคนก้าวกระโดดทำค่ายเพลงเอง

เรียนอะไรถึงจะได้เป็นนักดนตรี

ตัวอย่างคณะที่เปิดสอนเกี่ยวกับทักษะทางด้านดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ / ครุศาสตร์

นักดนตรี เรียกว่าอะไร

musician. (n) นักดนตรี, See also: ศิลปินเพลง, นักแต่งเพลง, Syn. composer, player, performer.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ