Android เป็นโปรแกรมประเภทใด

คนส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบันนี้ต้องใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแน่นอน โดย ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ได้รับความนิยมที่สุด รองลงมาคือ ระบบปฏิบัติการ ios ที่มีผู้คนนิยมใช้ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง ระบบปฏิบัติการ Andriod ว่ามันคืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร รวมไปถึงเวอร์ชั่นต่าง ๆ ที่ได้มีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงรุ่นล่าสุดในปัจจุบัน พร้อมบอกข้อดีข้อเสียว่ามีอะไรกันบ้าง เห็นแล้วใช่ไหมว่าแต่ละหัวข้อน่าสนใจทั้งนั้นเพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลดี ๆ ที่เราได้รวบรวมมาเสนอให้กับทุกคนไปอ่านรายละเอียดกันได้เลยครับ

Andriod ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือที่คนใช้เยอะที่สุดในโลก

ระบบปฏิบัติการ Andriod คืออะไร?

ระบบปฏิบัติการ Andriod คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่าง ๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น โดยแอนดรอยด์ (Android) ถูกตั้งชื่อเลียนแบบหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์วอร์ส ที่ชื่อดรอยด์ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์เป็นซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการที่มีโครงสร้างแบบเรียงทับซ้อนหรือแบบสแต็ก (Stack) โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล(Linux Kernel) เป็นพื้นฐานของระบบ และใช้ภาษา Java ในการพัฒนา มี Android SDK เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อีกทีหนึ่ง โดยระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยบริษัทแอนดรอย์ดร่วมกับ Google จากนั้นเมื่อปี พ.ศ.2551 ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นนำเพื่อพัฒนาระบบ

Android คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์

ประวัติศาสตร์ ระบบปฏิบัติการ Andriod

ทีมงาน ระบบปฏิบัติการ Andriod ในยุคแรกเริ่มเป็นทีมจากบริษัท Danger ที่ก่อตั้งในปี 1999 และพัฒนามือถือ T-Mobile Sidekick ออกขายในปี 2002 จากนั้นทีมงานหลักที่นำโดย Andy Rubin ก็ลาออกมาตั้งบริษัท Android ในปี 2003 ด้วยวิสัยทัศน์ว่าต้องการสร้างระบบปฏิบัติการมือถือ ที่โอเพนซอร์สและไม่ขึ้นกับโอเปอเรเตอร์รายใด ในฐานะสตาร์ตอัพ บริษัท Android จำเป็นต้องระดมทุนจากนักลงทุน VC ซึ่งเริ่มกระบวนการนำเสนอ (pitching) ในช่วงต้นปี 2005 แต่ในช่วงเดียวกันนั้น ทีม Android ก็ได้รับการติดต่อจาก Larry Page ที่ชื่นชอบ T-Mobile Sidekick และทราบว่า Rubin กำลังพัฒนา OS ตัวใหม่ เลยอยากรับทราบว่า Rubin ทำอะไรอยู่บ้าง

ทีมงาน Android ในยุคแรกเริ่มเป็นทีมจากบริษัท Danger ที่ก่อตั้งในปี 1999 และพัฒนามือถือ T-Mobile Sidekick

ทีม Android พบกับกูเกิล 2 ครั้งในเดือนมกราคมและมีนาคม 2005 แต่ก็แค่นำเสนอความคิดและเดโมเท่านั้น จากนั้นทีม Android หันไปคุยกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนฝั่งเอเชีย เพื่อเสนอ OS ให้ใช้งาน โดยบินไปเกาหลีเพื่อเจอซัมซุง และไต้หวันเพื่อเจอ HTC การพบปะกับซัมซุงได้เจอกับ K.T. Lee ประธานฝ่ายมือถือที่ชอบ Sidekick เช่นกัน และบอกว่าไม่อยากพลาดโอกาสนี้อีก เขาจึงสนับสนุน Android เต็มที่ แต่เมื่อทีม Android ไปพบกับผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงมากว่า 10 คน ก็มีคำถามว่าทำไมทีม Android ถึงมีแค่ไม่กี่คน เพราะทีมพัฒนา OS ของซัมซุงมีคนมากถึง 300 คน พร้อมทั้งหัวเราะใส่ และบอกว่าทีม Android ฝันเฟื่องไปหรือเปล่า

ทีมงาน Andriod ได้บินไปเกาหลี เพื่อเสนอเดโม่ให้กับซัมซุงแต่ถูกปฏิเสธ

สุดท้ายทีม ระบบปฏิบัติการ Andriod ไม่ได้เซ็นสัญญากับซัมซุง แต่การพบปะครั้งนี้ทำให้มือถือ Android รุ่นแรกสุดมีโค้ดเนมว่า “Dream” (ภายหลังคือ T-Mobile G1) จากคำดูถูกของซัมซุงนั่นเอง จากนั้น ทีม Android บินไปไต้หวันและได้เจอกับ Peter Chou ซีอีโอคนดังของ HTC (ในตอนนั้น) ที่ต้องการ exclusivity ให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นแรกทำโดย HTC รายเดียว ซึ่งแนวคิดนี้ขัดกับวิสัยทัศน์ของ Android ที่ต้องการให้เป็นระบบเปิด ถ้าผูกกับผู้ผลิตรายเดียวก็จะซ้ำรอย T-Mobile Sidekick อีก เมื่อทีมงานกลับมาอเมริกา ก็นำเสนอผลงานต่อ VC ต่อและเริ่มมีคนสนใจ ตอนนั้นกูเกิลก็นัดพบขอคุยเป็นครั้งที่สาม ระหว่างที่ Rubin และทีมกำลังนำเสนอความคืบหน้าของทีม ก็โดนคนของกูเกิลขัดจังหวะ และบอกว่า “เราอยากซื้อพวกคุณ” (‘Let us interrupt you there. We just want to buy you.’)

สุดท้าย Andriod ถูกผนวกเข้ากับ Google และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

ข้อเสนอของกูเกิลน่าสนใจ เพราะกูเกิลบอกว่าทีม Android จะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการวิ่งหาเงินลงทุน มาอยู่กับกูเกิลแล้วมีเงินเหลือเฟือ กูเกิลสามารถใช้กำไรจาก search มาแบ่งให้กับโอเปอเรเตอร์เพื่อจูงใจให้ใช้ Android ได้ ทั้งสองฝ่ายเจรจากันอยู่หลายเดือน (โดย Larry Page มีส่วนร่วมโดยตรง) และจบด้วยทีมงาน Android กลายเป็นพนักงานกูเกิลในวันที่ 11 กรกฎาคม 2005 หลังจากนั้นไม่นาน Page พา Rubin มาแนะนำตัวกับทีมผู้บริหารภายในกูเกิล ซึ่งทีมก็โชว์เดโมไปตามปกติ แต่ตอนพูดถึงสไลด์หน้าที่เกี่ยวกับโมเดลการหาเงินของ Android ก็โดน Page ตัดบท แล้วบอกว่าอย่าเป็นห่วงเรื่องนั้นเลย ผมอยากให้พวกคุณสร้างโทรศัพท์ที่ดีที่สุด แล้วพวกเราจะจัดการเรื่องอื่นเอง

ประเภทของชุดซอฟท์แวร์ ระบบปฏิบัติการ Andriod

เนื่องจากระบบปฏิบัติการ Andriod เปิดให้นักพัฒนาเข้าไปชมรหัสต้นฉบับได้ทำให้มีผู้พัฒนาจากหลายฝ่ายนำเอารหัสต้นฉบับมาปรับแต่ง และสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนเองขึ้นสามารถแบ่งประเภทของแอนดรอยด์ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. Android Open SourceProject (AOSP) เป็น ระบบปฏิบัติการ Andriod ประเภทแรกที่กูเกิล (Google) เปิดให้สามารถนำต้นฉบับแบบเปิด ไปติดตั้งและใช้งานในอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
Android Open SourceProject เป็นตัวที่ Google สามารถนำไปติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  1. Open Handset Mobile (OHM) เป็น ระบบปฏิบัติการ Andriod ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา ที่เข้าร่วมกับกูเกิลในนาม Open Handset Alliances (OHA) บริษัทเหล่านี้จะพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา โดยรูปร่างหน้าตา การแสดงผล และพังก์ชั่นการใช้งาน จะมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีลิขสิทธิ์เป็นของตน พร้อมได้รับสิทธิ์ในการมีบริการเสริมต่าง ๆ จากกูเกิล ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ทำให้แอนดรอยด์มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามจุดประสงค์ของแอนดรอยด์ แต่การจะได้มาซึ่ง GMS นั้น ผู้ผลิตจะต้องทำการทดสอบระบบ และขออนุญาตกับทางกูเกิลก่อน จึงจะนำเครื่องออกสู่ตลาดได้
Open Handset Mobile (OHM) เป็นแอนดรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา
  1. Cooking หรือ Customize เป็นระบบปฏิบัติการ Andriod ที่นักพัฒนานำเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่าง ๆ มาปรับแต่งในแบบฉบับของตนเอง โดยจะต้องทำการปลดล็อคสิทธิ์การใช้งานอุปกรณ์ หรือ Unlock เครื่องก่อนจึงจะสามารถติดตั้งได้ แอนดรอยด์ประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่มีความสามารถมากที่สุดเท่าที่อุปกรณ์เครื่องนั้น ๆ จะรองรับได้เนื่องจากได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ จากผู้ใช้งานจริง
Cooking หรือ Customize เป็นแอนดรอยด์ที่นักพัฒนานำเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่าง ๆ มาปรับแต่งในแบบฉบับของตนเอง

เวอร์ชั่นทั้งหมดของ ระบบปฏิบัติการ Andriod

  • Android 5, คัพเค้ก: 27 เมษายน 2552
  • Android 6, โดนัท: 15 กันยายน 2552
  • Android 0-2.1, เอแคลร์: 26 ตุลาคม 2552 (เผยแพร่ครั้งแรก)
  • Android 2-2.2.3, Froyo: 20 พฤษภาคม 2553 (เผยแพร่ครั้งแรก)
  • Android 3-2.3.7, ขนมปังขิง: 6 ธ.ค. 2553 (เปิดตัวครั้งแรก)
  • Android 0-3.2.6, รังผึ้ง: 22 กุมภาพันธ์ 2554 (รุ่นแรก)
  • Android 0-4.0.4, ไอศกรีมโรล: 18 ตุลาคม 2554 (เผยแพร่ครั้งแรก)
  • แอนดรอยด์ 4.1-4.3.1, เจลลี่บีน: 9 กรกฎาคม 2555 (รุ่นแรก)
  • แอนดรอยด์ 4.4-4.4.4, คิทแคท: 31 ตุลาคม 2556 (เปิดตัวครั้งแรก)
  • Android 0-5.1.1, อมยิ้ม: 12 พฤศจิกายน 2557 (เปิดตัวครั้งแรก)
  • Android 0-6.0.1, ขนมหวาน: 5 ตุลาคม 2558 (เปิดตัวครั้งแรก)
  • Android 0-7.1.2, ตังเม: 22 สิงหาคม 2559 (เปิดตัวครั้งแรก)
  • Android 0-8.1, โอรีโอ: 21 สิงหาคม 2560 (เปิดตัวครั้งแรก)
  • Android 0, พาย: 6 สิงหาคม 2561
  • Android 0: 3 กันยายน 2562
  • แอนดรอยด์ 11.0: 8 กันยายน 2563
  • แอนดรอยด์ 12.0: 19 ตุลาคม 2564
Android ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกจนถึงเวอร์ชั่นล่าสุดมีทั้งหมด 12 เวอร์ชั่นใหญ่ ๆ

ข้อดีของระบบปฏิบัติการ Android

  1. ความเข้ากันได้ระหว่างมือถือกับระบบ : ด้วยความที่เป็น Open-Source ทำให้ค่ายมือถือสามารถหาทางออกร่วมกันในแง่ข้อกำหนดขั้นต่ำที่จะใช้ Android และด้วยความที่เป็น Open-Source จึงมีคนเริ่มดัดแปลงให้ใช้กับ Netbook ได้ด้วย
  2. ราคา : Open-Source ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ แถมยังเข้ากันได้กับตัวเครื่องเนื่องจากร่วมกันผลิต ดังนั้นต้นทุนผลิตจึงต่ำ และตัวแอนดรอยด์ (ไม่รวมราคาของเครื่องที่ใช้) ถูกกว่าos ของ iphone
  3. เราสามารถพัฒนาเองโดยไม่ต้องส่งคืนไปให้ที่บริษัทแม่ในต่างประเทศ เหมือนเทคโนโลยีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเป็นระบบเปิด จึงสามารถพัฒนาได้เอง ในส่วนของซอฟต์แวร์ภายในเครื่องนั้น 90% จากต่างประเทศและอีก 10% เป็นของคนไทย โดยใช้ platform android ที่สามารถพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างแทบไม่มีขีดจำกัด ตัวพัฒนาโปรแกรมใน android(SDK) นั้นสามารถโหลดมาใช้ได้ฟรี ๆ และไม่ได้มีข้อจำกัดเหมือน iphone ที่เวลาโอนถ่ายข้อมูลระหว่างโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ต้องต่อสายและโอนข้อมูลผ่าน itune เท่านั้น
  4. หากเทียบกับ iphone แล้ว Android เน้นในเรื่องการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย สามารถตกแต่งได้ตามใจชอบมากกว่า
  5. ระบบปฏิบัติการ Andriod สามารถใช้งานด้วยนิ้วได้สะดวกและลื่นไหล
  6. สามารถทำงานได้เร็วกว่า windows mobile เร็วพอ ๆ กับ iphone ในมาตรฐานราคา licences ที่เท่ากัน
ข้อดีของ Adroid คือ เราสามารถพัฒนาเองโดยไม่ต้องส่งคืนไปให้ที่บริษัทแม่ในต่างประเทศ เหมือนเทคโนโลยีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

ข้อเสียของระบบปฏิบัติการ Android

  1. เนื่องจากเป็นน้องใหม่ในตลาด โปรแกรมที่จะใช้ได้กับระบบยังไม่เยอะ มีโปรแกรมเสริมให้เลือกน้อย การพัฒนาอาจจะล่าช้ากว่า commercial software เมื่อระบบพัฒนาถึงจุด ๆ หนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับผู้ใช ้เนื่องจากผู้ใช้คงไม่ได้อัพเกรดระบบซักเท่าไหร่นัก
  2. Process : เราไม่สามารถปิด Process เองได้ ถ้าเปิดโปรแกรมอะไรขึ้นมามันจะรันอยู่อย่างนั้นตลอดซึ่งจะทำให้เครื่องช้าลงเรื่อย ๆ ต้องมาลงโปรแกรม Task Manager คอยปิด Process ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น
  3. เมื่อเทียบกับ Window Mobile ในแง่ความแพร่หลายของโปรแกรม, การใช้งาน GPS และการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows แล้ว Android ยังสู้ไม่ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งการใช้งานร่วมกับภาษาไทยยังไม่รู้ว่าจะทำได้ดีขนาดไหนอีกด้วย
  4. ระบบปฏิบัติการ Andriod ใช้งานยากเพราะเมนูซับซ้อน ต้องทำความเข้าใจก่อน
  5. ต้องต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาจึงจะใช้ฟังก์ชันได้เต็มที่
ข้อเสียของ Android คือ ใช้งานยากเพราะเมนูซับซ้อน ต้องทำความเข้าใจก่อน

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องราวเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ Android ที่เราได้นำมาเสนอให้กับทุกท่านตั้งแต่ความหมายของมัน ประวัติตั้งแต่ยุคบุกเบิก ประเภทของมัน รวมไปถึงเวอร์ชั่นต่าง ๆ และสุดท้ายเป็นข้อดีและข้อเสีย แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้บางคนอาจจะทราบแล้วแต่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องราวเหล่านี้มากสักเท่าไหร่ ถ้าคุณได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของมันและสัมผัสกับมันได้ก็ถือว่าโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ ที่คุณใช้ก็มีคุณค่ามากพอแล้ว หากชอบเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยี ไอที รวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ฝากติดตามพวกเราได้ที่…itnewsupdates ขอขอบคุณครับ

Android ย่อมาจากอะไร

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) คือ หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์ โดยปกติแล้วทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรม คำนี้ผันมาจากคำกรีก andr- หมายถึง “มนุษย์, เพศชาย” และปัจจัยเสริมท้าย -eides ซึ่งเคยมีความหมายว่า “ในสปีชีส์ของ, เหมือนกับ” (จากคำว่า eidos หมายถึง “สปีชีส์”)

ระบบ android เป็นการใช้ภาษาใดในการพัฒนา

แอปพลิเคชันจะเขียนโดยใช้ภาษาจาวา และใช้แอนดรอยด์ซอฟต์แวร์เดเวล็อปเมนต์คิต (Android software development kit) หรือ SDK โดยเอสดีเคจะประกอบด้วยชุดเครื่องมือต่างๆ นานาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน รวมไปด้วยตัวรีบัก, แหล่งรวมซอฟต์แวร์ต่างๆ, ตัวจำลองแฮนด์เซต, โคดจำลอง และวิธีใช้ต่างๆ

แอนดรอยด์ มีอะไรบ้าง

เรื่องราวของ Android.
Android 1.6. Donut..
Android 2.1. Eclair..
Android 2.2. Froyo..
Android 2.3. Gingerbread..
Android 3.0. Honeycomb..
Android 4.0. Ice Cream Sandwich..
Android 4.1. Jelly Bean..
Android 4.4. KitKat..

Android มีหน้าที่ทำอะไร

Android ช่วยขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง เมื่ออุปกรณ์เปลี่ยนจากการทำงานตามปกติไปสู่การทำให้ชีวิตง่ายขึ้นอย่างแท้จริง นั่นคือเหตุผลที่ GPS ของคุณหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด นาฬิกาส่ง SMS และ Assistant ช่วยตอบคำถาม นี่คือระบบปฏิบัติการภายในอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอยู่ 2.5 พันล้านเครื่อง Android ขับเคลื่อนอุปกรณ์ทั้งหมด ตั้งแต่ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ