การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 สิ่งใดเข้ามามีบทบาทสําคัญ

ปรับกระบวนทัพรับเทคโนโลยี 4IR 

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย
27 พฤศจิกายน 2562

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ 4IR (The Fourth Industrial Revolution) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการพลิกโฉมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เห็นได้จากอุปกรณ์อัจฉริยะที่เกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่การใช้สมาร์ทวอทช์เพื่อช่วยติดตามและดูแลสุขภาพ ตู้เย็นอัจฉริยะที่ช่วยเตือนว่า อาหารใดในตู้เริ่มหมดอายุ การซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านการสอบถามข้อมูลกับแชทบอท ไปจนถึงการใช้เอไอที่ดูแลบัญชีธนาคาร ซึ่งถือได้ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ มาพร้อมกับยุคที่ระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อและส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง (The Internet of Things: IoT)  นำไปสู่ความท้าทายของธุรกิจในการทำให้ผู้บริโภคและพนักงานของตนเกิดความเชื่อมั่นและยอมรับการใช้เทคโนโลยี

ผลจากการศึกษา Are we ready for the Fourth Industrial Revolution? ของ PwC ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 6,000 คนและผู้บริหารอีก 1,800 คนทั่วโลกพบว่า  ผู้บริโภคหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายและประหยัดเวลากันมากขึ้น โดย 90% ของผู้บริโภคมีการใช้เทคโนโลยี 4IR อย่างน้อย 1 ประเภท แต่อย่างไรก็ดีกลับพบว่า ผู้บริโภคเกือบ 70% ก็ยังกังวลในการให้ข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูล โดยพวกเขารู้สึกปลอดภัยและเชื่อมั่นที่จะใช้อุปกรณ์ดิจิทัลก็ต่อเมื่ออุปกรณ์นั้น ๆ มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น สามารถปิดระบบติดตามที่อยู่ได้เมื่อไม่ต้องการ มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างน้อย 2 ขั้น หรือมีการแจ้งเตือนทันทีที่เกิดข้อมูลรั่วไหล 

เช่นเดียวกันกับฝั่งของภาคธุรกิจที่พบว่า ผู้บริหารกว่า 60% เชื่อว่า เทคโนโลยี 4IR จะเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รายได้ และพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ แต่ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่งานที่ทำซ้ำ ๆ เดิม ๆ โดยเกือบครึ่งของพนักงานที่ถูกสำรวจ มีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ที่คาดว่า ในปี 2565 เครื่องจักรกลจะเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ถึง 75 ล้านตำแหน่ง  

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า การจะนำเทคโนโลยี 4IR มาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวไป ซึ่งวันนี้ดิฉันขอนำ 3 แนวทางในการรับมือกับเทคโนโลยี 4IR ขององค์กรมาเล่าสู่กันฟัง ดังต่อไปนี้

  1. ปฎิวัติทักษะแรงงาน การยกระดับทักษะแรงงาน (Upskilling) ถือเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกที่ผู้บริหารต้องเร่งมือทำ ตามมาด้วยการสรรหาพนักงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี 4IR และการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความสอดคล้องและเอื้อต่อการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี นอกจากนี้ องค์กรยังต้องปรับรูปแบบ และขั้นตอนในการทำงาน โดยอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานบางตำแหน่ง เช่น เพิ่ม ควบรวม หรือลดงานบางตำแหน่งตามกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ต้องไม่ลืมว่า แม้เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในการทำงาน แต่งานบางงานก็ยังต้องการทักษะของคน เช่น การสื่อสาร ภาวะการเป็นผู้นำ และการวินิจฉัย ซึ่งองค์กรต้องสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมและทำให้พนักงานของตนต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะใหม่ ๆ โดยออกแบบการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล และสนับสนุนให้มีโอกาสในการใช้ทักษะใหม่ ๆ ในการทำงานประจำวันด้วย 

  2. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยี ธุรกิจต้องสร้างความเชื่อมั่น และพิสูจน์ความโปร่งใสในการใช้เทคโนโลยี โดยสามารถอธิบายหลักการในการตัดสินใจของระบบได้ เพราะความเชื่อมั่นนี่เองจะเป็นกุญแจสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ  นอกจากนี้ การที่ธุรกิจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไป ก็ต้องนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ตอบแทนกลับคืนมาสู่ลูกค้าด้วย เช่น ทำให้ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย หรือ สามารถควบคุมการใช้งานเมื่อต้องการได้ไม่ว่าจะเป็น การเปิด-ปิดการแสดงที่อยู่ปัจจุบัน การตั้งค่าการบันทึกข้อมูลบัตรเครดิต หรือมีการแจ้งเตือนทันทีที่ข้อมูลรั่วไหล เป็นต้น 

  3. นำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาสังคม องค์กรต่าง ๆ ควรนำเทคโนโลยี 4IR มาช่วยทำให้สังคมดีขึ้น ทั้งในด้านของการพัฒนาการศึกษา แก้ปัญหาความยากจน และช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา PwC เองได้ให้คำปรึกษากับองค์กรต่าง ๆ ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อตอบโจทย์พันธสัญญาด้านความยั่งยืน (Sustainability commitment) เช่น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการเปิด-ปิดไฟ ปรับแสงสว่าง และ อุณหภูมิให้มีความเหมาะสมในที่ทำงานเพื่อประหยัดไฟฟ้า หรือ การใช้ระบบเอไอในการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อป้องกันอาชญากรรมและการก่อการร้าย เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี 4IR นำมาซึ่งประโยชน์และความท้าทาย โดยธุรกิจต้องวางแผนรับมือกับเรื่องนี้ให้รอบด้านไม่ว่าจะเป็นระบบ คน ลูกค้า สินค้าและบริการ นอกจากนี้ ต้องมีการลงทุนด้านระบบมาตรรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าควบคู่กันไปด้วย แต่หากธุรกิจให้ความสำคัญกับการรับมือเทคโนโลยี 4IR เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ก็ยากที่จะใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่และประสบความสำเร็จได้ วันนี้องค์กรจึงต้องหันมาสำรวจตัวเองว่า เรามีความพร้อมในทุก ๆ ด้านแล้วหรือยัง?

//จบ//

Post Views: 37,470

ทุกวันนี้คำว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 เป็นคำที่ได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่ก่อนที่จะเกิดครั้งที่ 4 ขึ้นได้นั้นมีความเป็นมาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 นั้นเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นที่ไหน Modern Manufacturing นำทุกท่านไปรู้จักกับต้นกำเนิดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเริ่มต้นในประเทศอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 18 กันครับ

อะไรคือ ‘การปฏิวัติอุตสาหกรรม’ ?

การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือ Industrial Revolution หมายถึง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเป็นผลจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำเข้ามาช่วยในการผลิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เป็นผลจากการมีกระแสไฟฟ้าใช้ การเกิดขึ้นของระบบสายพานการผลิตเป็นผลให้เกิดการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นผลจากการใช้คอมพิวเตอร์และระบบออโตเมชันในการผลิต และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นผลจากระบบ Cyber Physical หรือระบบไซเบอร์-กายภาพ โดยมีเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายเป็นส่วนประกอบสำคัญ

เหตุใดอังกฤษจึงเป็นชาติแรกที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม?

การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือจุดเริ่มต้นของความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรของอังกฤษในการก่อให้เกิดเชื้อไฟแห่งการปฏิวัติครั้งนี้ เมื่อพลังงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการหุงหาอาหารหรือการทำงานต่างๆ เช่น การตีเหล็ก ไม้จึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงยอดนิยมอันดับแรกนับตั้งแต่อดีตกาล แต่การตัดไม้และการขนส่งจากระยะทางที่ไกลทำให้มีราคาสูงทำให้ผู้คนเริ่มค้นหาวัตถุดิบเชื้อเพลิงใหม่ ซึ่งถ่านหินกลายเป็นคำตอบที่เหมาะสมเนื่องจากอังกฤษสามารถทำเหมืองขุดเจาะได้ง่าย แต่ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การขุดเหมืองยิ่งขุดลึกเท่าไหร่ยิ่งทำให้น้ำท่วมได้ง่ายทำให้ Thomas Newcoman ได้คิดค้นเครื่องสูบน้ำออกจากเหมืองโดยใช้ไอน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมได้และส่งผลให้เกิดแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูกขึ้น

นอกจากนี้ในยุคดังกล่าวแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มักถูกปิดกั้นจากโบสถ์ในยุโรป แต่ไม่ใช่ในอังกฤษที่ซึ่งสามารถค้นคว้า ตั้งคำถามและหาคำตอบได้ ส่งผลให้อังกฤษเป็นแหล่งความรู้และก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ สนับสนุนให้เกิดสังคมของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่แลกเปลี่ยนและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้เกี่ยวพันกับความก้าวหน้าในเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ความก้าวหน้าทางระบบการเงินที่ทำให้ผู้คนกล้าลงทุน การเพิ่มจำนวนของประชากร การเดินทางถือเป็นอีกส่วนหนึ่งสำคัญ โดยเฉพาะถนนหนทาง แม่น้ำ คลอง ที่ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายสำหรับการขนส่ง เมื่อรวมความรู้เข้ากับแหล่งทรัพยากรราคาถูกทำให้เกิดความสามารถในการลงทุนพัฒนาสิ่งต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

จากการขยายตัวของจำนวนประชากรส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจเสื้อผ้าซึ่งเป็นการผลิตด้วยมือ เมื่อดีมานด์สูงขึ้นแต่ความสามารถในการผลิตเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจึงเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ธุรกิจสิ่งทอก่อน เช่น การคิดค้นเครื่องทอผ้า Spinning Jenny ซึ่งเป็น

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโลหะถือเป็นส่วนสำคัญ ด้วยการใช้งานโลหะในกลุ่มการเกษตรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การผลิตชิ้นส่วนโลหะมีความก้าวหน้าขึ้นทำให้สามารถผลิตโลหะที่มีคุณภาพและความทนทานเพิ่มสูงขึ้น คุณภาพของโลหะนี้ส่งผลต่อมายังการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำซึ่งภายหลังการคิดค้นของ Newcomen แล้ว James Watt ได้พัฒนาระบบลูกสูบในกระบอกเพื่อทำให้เกิดแรงดันที่มากขึ้น เป็นการยกระดับเครื่องจักรไอน้ำเดิม

การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและความก้าวหน้าเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคการเมืองของอังกฤษในช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งราชวงศ์อังกฤษที่เห็นความสำคัญ ความมั่งคั่ง และผลกระทบที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ

เครื่องจักรไอน้ำส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอโดยตรง โดยแรกเริ่มโรงงานจำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องจักรได้จนกระทั่งมีการพัฒนาระบบ ‘โรตารี่(Rotary)’ ขึ้นมาทำให้การใช้งานเครื่องจักรไอน้ำไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำอีกต่อไป

การมาถึงของเครื่องจักรไอน้ำนั้นส่งผลกระทบในวงกว้างของสังคมนอกเหนือจากงานอุตสาหกรรม ในด้านการขนส่งนั้นระบบขนส่งทางรางซึ่งแต่เดิมใช้ม้าลากไปบนรางเหล็กได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการใช้งานหัวรถจักรไอน้ำเข้ามาแทนที่ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมและระบบรางได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ

การมาถึงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรีขึ้นทำให้การค้าขายคึกคักและเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคม ‘ชนชั้นแรงงาน’ ส่งผลต่อความแตกต่างระหว่างชนชั้นที่มากขึ้น ความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตลาดเสรีทำให้เกิดแนวคิดการต่อต้านชนชั้นและยกย่องเหล่าแรงงานขึ้นมา โดยมีบุคคลสำคัญสำหรับแนวคิดนี้ คือ Karl Marx

การล่าอาณานิคมนั้นเป็นผลจากการเติบโตและพัฒนาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นกัน เนื่องจากความต้องการในการเปิดตลาดการค้าและการค้นหาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งการหาทาสมาเพื่อเป็นแรงงานในการทำงาน โดยประเทศใต้อาณานิคมจะถูกครอบงำทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม ศาสนา เพื่อให้กลายเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่ง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกคือการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่นอกเหนือจากความสำเร็จทางด้านอุตสาหกรรม แต่ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมรวมถึงระบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลโดยมีรากฐานจากการปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ว่าดีหรือร้ายอย่างไร การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ได้ก่อร่างสร้างโครงให้กับโลกยุคปัจจุบันฝังรากลึกลงไปและแตกหน่อออกเป็นความก้าวหน้าต่างๆ มากมาย

อ้างอิง:

  • //www.mwit.ac.th/~daramas/In_Revarution.pdf
  • //www.sahistory.org.za/article/timeline-events-and-inventions-during-industrial-revolution
  • //webs.bcp.org/sites/vcleary/ModernWorldHistoryTextbook/IndustrialRevolution/IRbegins.html

การปฏิวัติอุตสาหกรรมให้ความสําคัญในเรื่องใดมากที่สุด

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือการที่รายได้และจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่างยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้สองร้อยปีหลังจาก ค.ศ. 1800 ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของโลกขยายตัวมากกว่าสิบ ...

การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีลักษณะสําคัญอย่างไร

การมาถึงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรีขึ้นทำให้การค้าขายคึกคักและเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคม 'ชนชั้นแรงงาน' ส่งผลต่อความแตกต่างระหว่างชนชั้นที่มากขึ้น ความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตลาดเสรีทำให้เกิดแนวคิดการต่อต้านชนชั้น ...

ข้อใดเป็นประดิษฐกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรม

เจมส์ วัตต์ ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine) ริชาร์ด อาร์คไรท์ ได้ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย (Water Frame) เจมส์ ฮากรีฟ ได้ประดิษฐ์เครื่องทอผ้าที่เรียกว่า “กี่กระตุก”

เพราะเหตุใดจึงมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1760 หรือ 258 ปีก่อน เป็นการปฏิวัติจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็น “เครื่องจักรไอน้ำ” ทำให้งานที่ต้องใช้แรงงานซ้ำ ๆ ถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรไอน้ำและใช้ถ่านหินเป็นพลังงานทางการผลิต ในยุคนี้มีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ “เครื่องทอผ้า” การทอผ้าจากที่เคยเป็นเรื่องยากใช้เวลาใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ