ฮ.ศ เริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด

จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

การนับปีศักราชแบบสากล

1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

การนับศักราชแบบไทย

1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเทียบศักราช

การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณีหลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้ 

มีพี่น้องต่างศาสนิกบางท่านถามมาว่า ประเทศมุสลิมเขานับปีแบบไหนเช่นประเทศไทยนับเป็น พ.ศ. ขอตอบแบบนี้ครับ...  ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่า “ฮ.ศ.” คำว่า ฮิจเราะฮ์ หมายถึง “การอพยพ” คือ การอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้เสียชีวิต ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบ ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามคนที่สองต่อจากท่านอบูบักร์ ได้ปรึกษากันว่า อิสลามควรจะต้องมีการนับศักราชเพื่อใช้ในการกำหนดวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับคริสตศักราช แต่การเริ่มศักราชของอิสลามจะเริ่มเมื่อใดนั้น ได้มีบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามในเวลานั้นเสนอแนวทางในการกำหนดศักราชอิสลาม 4 แนวทางด้วยกัน คือ

1. เสนอให้ถือเอาปีเกิดของท่านนะบีมุฮัมมัด เป็นปีเริ่มต้นศักราช

2. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นปีเริ่มต้นศักราช

3. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ เป็นปีเริ่มต้นศักราช

4. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เสียชีวิต เป็นปีเริ่มต้น ศักราช

ข้อสรุปในที่ประชุมได้มีมติให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพจากนครมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ซึ่งเป็นปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ถูกชาวนครมักกะห์ที่เคารพบูชาเจว็ด และสิ่งงมงายต่างๆ มุ่งหวังจะเอาชีวิต และเมื่ออพยพสู่นครมะดีนะห์นั้น ชาวเมืองมะดีนะห์ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก และเป็นปีที่มีความสำคัญในการเริ่มแผ่ขยายการเผยแพร่ศาสนาอิสลามจนประสบกับความสำเร็จในเวลาต่อมา จึงเริ่มต้นนับศักราชของอิสลามตั้งแต่ปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมได้อพยพจากมักกะห์สู่มะดีนะห์ คือ ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปีฮิจเราะฮ์ศักราช ตามปฏิทินอิสลามนั้นถือตามทางจันทรคติ ซึ่งจะมีจำนวนวันในแต่ละเดือนแตกต่างกับปฏิทินสากล คือ แต่ละเดือนตามปฏิทินอิสลามจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น จะไม่มีเดือนที่มี 28 วัน และ 31 วัน เหมือนปฏิทินสากล ซึ่งถือตามทางสุริยคติ เมื่อครบ 1 ปี ตามปีปฏิทินอิสลามจำนวนวันในรอบ 1 ปี จะมีจำนวนวันน้อยกว่าจำนวนวันตามปีปฏิทินสากลประมาณ 10 วัน ดังนั้นวันขึ้นศักราชใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามก็จะร่นเร็วขึ้นประมาณปีละ 10 วัน ทุกปี การถือศีลอดหรือการถือบวชของพี่น้องมุสลิมซึ่งจะต้องถือบวชในเดือนรอมฎอน หรือเดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลามและการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งจะต้องกระทำในเดือนซุ้ลฮิจญะฮ์ หรือเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม เดือนที่พี่น้องมุสลิมถือบวชหรือถือศีลอดและทำพิธีฮัจญ์ จึงหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ซึ่งบางปีจะตรงกับฤดูหนาว บางปีตรงกับฤดูร้อน และบางปีก็ตรงกับฤดูฝน หมุนเวียนไปตลอดกาล ซึ่งเป็นฮิกมะฮ์จากเอกองค์อัลลอฮ์ อย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงโปรดประทานแก่พี่น้องมุสลิม

ที่มาและความสำคัญของศักราชอิสลาม หรือฮิจเราะฮ์ศักราชถือเอาการอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้ที่เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อ 1434 ปีที่ผ่านมา โดยอพยพย้ายจากการพำนักที่นครมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ซึ่งเดิมเรียกว่า “ยัษริบ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมะดีนะตุนนบี เรียกสั้นๆ ว่า “มะดีนะห์” ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นที่อยู่จากสถานที่ที่มีบรรยากาศแห่งการต่อต้านและทำลายล้างอิสลาม โดยชาวนครมักกะห์มาสู่บรรยากาศแห่งความเอื้ออารี ความมีภารดรภาพเดียวกันระหว่างชาวเมืองมะดีนะห์ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมด้วยความศรัทธาที่จะรับนับถือศาสนาอิสลาม กับชาวมักกะห์ผู้อพยพ

ทั้งนี้เนื่องจากการที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ใช้เวลาในการเทศนาเผยแผร่เชิญชวนชาวมักกะห์ให้ศรัทธาในคำสอนของอัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าที่แท้จริง เพื่อให้หันกลับมายึดมั่นศรัทธาและประพฤติปฏิบัติตามแนวทางอิสลาม ละทิ้งการเคารพบูชาเจว็ด (รูปปั้น รูปเคารพ รูปสักการะ) และสิ่งงมงายต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตัวเองและพวกพ้อง ซึ่งท่านได้รับการต่อต้านจากชาวมักกะห์อย่างรุนแรงมาก ถูกข่มเหงรังแกจากชาวมักกะห์ที่เคารพบูชาเจว็ดต่างๆ จนในที่สุดมีการปองร้ายหมายเอาชีวิตของท่านนะบีมุฮัมมัด เพราะชาวมักกะห์ที่เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเห็นว่า ศาสนาอิสลามกำลังจะแผ่ขยายมากขึ้นในมักกะห์ จึงพยายามจะทำร้ายถึงขั้นเอาชีวิตของท่านนะบีมุฮัมมัด ดังนั้นอัลลอฮ์ จึงฮิดายะห์ให้ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพบรรดามุสลิมไปยังเมืองยัษริบ หรือเมื่องมะดีนะห์ ตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะห์อั้ลอัมฟาลอายะห์ที่ 30 มีความหมายโดยสรุป ว่า “เมื่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่เนรคุณได้ว่างแผนเพื่อกักกันเจ้าไว้ หรือฆ่าเจ้า หรือขับไล่เจ้าเพื่อไม่ให้มีโอกาสเผยแพร่ศาสนาอิสลาม แต่อัลลอฮ์ ได้ทรงวางแผนที่ประเสริฐยิ่งกว่าแผนใดๆ ทั้งมวล” คือ ให้ท่านนะบีมูฮัมมัด อพยพไปมะดีนะห์ ซึ่งในการอพยพดังกล่าวนี้ ชาวมะดีนะห์ได้มีการติดต่อท่านนะบีมูฮัมมัด มาก่อนหน้าที่จะอพยพแล้ว และมีแนวโน้มว่าชาวเมืองมะดีนะห์จะเจ้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการอพยพสู่นครมะดีนะห์ ได้มีการช่วยเหลือกันระหว่างชาวเมืองมะดีนะห์ เรียกว่า “อันศ๊อร” (ผู้ช่วยเหลือ) กับผู้อพยพที่เรียกว่า “มูฮาญิรีน” ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้ใช้ชีวิตในเมืองมะดีนะห์ เพื่อเผยแผ่อิสลามเป็นเวลา 10 ปี สำหรับปีนี้เป็นปี ฮ.ศ 1434 ครับ

ม.ศ.เริ่มนับเมื่อใด

มหาศักราช (ม.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 622 พระเจ้ากนิษกะของอินเดียทรงตั้งขึ้น ใช้ในศิลาจารึกและเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยบ้าง แต่น้อยกว่าจุลศักราช

ฮิจเราะห์ศักราชเริ่มนับเมื่อพ.ศ.ใด

ฮิจเราะห์ (อ่านว่า ฮิด-จะ-เราะ) เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ. ฮิจเราะห์ศักราช หมายถึง ศักราชแห่งการอพยพ. ฮิจเราะห์ศักราชเป็นระบบบอกศักราชของชาวมุสลิม ปีฮิจเราะห์ศักราชเริ่มนับตั้งแต่ปีที่นบีมุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามอพยพลี้ภัยจากนครเมกกะหรือมักก๊ะห์ ไปสู่นครมะดีนะห์เป็นปีแรก ตรงกับปี พ.ศ. ๑๑๖๕. แต่ประกาศใช้ครั้ง ...

ม.ศ. นับยังไง

ปัจจุบันการแปลงมหาศักราชเป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักราช หากจะแปลงพุทธศักราชเป็นมหาศักราชก็ทำได้ด้วยการนำ 621 ลบกับปีพุทธศักราชนั้น จะได้ปีมหาศักราช

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ