ข้อใดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งหมายถึงมีการขายสินค้า/บริการ ตามทางการค้าเป็นปกติ ซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อกรมสรรพากร

 

มิเช่นนั้นก็จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นความผิดและอาจต้องถูกค่าปรับเพิ่มเติม

 

ใคร? ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีการจดทะเบียนสำหรับผู้มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจทางการค้าที่มีรายรับจากการขายสินค้า/บริการนั้น ๆ  โดยมียอดขายสินค้า/บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียน

  

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกินตามที่กล่าวมาข้างต้น

  

นอกจากนี้ยังมีผู้มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

            1. ผู้ประกอบกิจการที่มีแผนการดำเนินงานในอนาคต ที่มีแผนงานจากการดำเนินการซึ่งเป็นขั้นตอนของแผนการเตรียมการดำเนินกิจการ โดยทำให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่ต้องอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย เช่น การก่อสร้างโรงงานเพื่อเตรียมเปิดกิจการ การก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักรในโรงงานเพื่อการดำเนินการตามแผนของการผลิตนั้น ๆ เป็นต้น โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม

            2. ผู้ประกอบกิจการที่ได้ดำเนินกิจการอยู่นอกราชอาณาจักรหรือนอกประเทศไทย ดำเนินกิจการในต่างประเทศ แต่ได้มีการขาย/จำหน่าย สินค้า/บริการ ในประเทศไทย โดยมีตัวแทนอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการขายหรือจำหน่ายแทน ในกรณีนี้ตัวแทนผู้ดำเนินการจำหน่ายสินค้า/บริการแทนนั้น มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

  

ผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ยังคงมีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งหมายถึง กฎหมายมีการยกเว้นไม่ต้องมีหน้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่หากผู้ประกอบการนั้นต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ ได้แก่

            1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

            2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

            3.ผู้ประกอบกิจการให้บริการขนส่งโดยท่าอากาศยาน

            4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

            5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ผู้ประกอบการเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากต้องการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ได้ที่กรมสรรพากร

  

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536 ซึ่งจะต่างจากผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร แต่มีตัวแทนนำสินค้า/บริการเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย กรณีนี้จะเข้าเงื่อนไขต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร โดยผู้ประกอบกิจการประเภทนี้ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ตามที่อธิบดีมีประกาศกำหนดออกมาเมื่อมีเหตุอันสมควรตามสถานการณ์

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นอีกหนึ่งปัญหาภาษีที่มักจะมีคำถามที่ถามกันเข้ามาบ่อย ๆ  ไ่ม่ว่าจะจดทะเบียนอย่างไร แบบไหนต้องจดบ้าง รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปจนถึงการหน้าที่หลังจากการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วต้องทำอย่างไร บทความนี้รวบรวมทุกคำถามที่เจ้าของธุรกิจควรรู้มาอธิบายให้ฟังครับ

เลือกอ่านได้เลย!

  • ให้เราอ่านให้ฟัง 
    • 1. ภาษีมูลค่าเพิ่มจดเมื่อไหร่   
    • 2. รายได้ 1.8 ล้านบาทนี้ หมายถึงรายได้จากอะไรบ้าง 
    • 3. นับคนเดียว หรือนับสามีภรรยาด้วย กรณีร่วมด้วยช่วยกัน 
    • 4. บุคคลธรรมดาก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเหรอ
    • 5. มีรายได้ประจำ รายได้เสริม รวมกันไหม ต้องคิดยังไงกันแน่
    • 6. มีหลายสาขา นับรวมนับแยก
    • 7. จดที่ไหน
    • 8. จดแล้วต้องทำอะไรบ้าง
    • 9. ถ้าวันหนึ่งอยากออกจากระบบต้องทำยังไง 

ให้เราอ่านให้ฟัง 

 

 

หนึ่งในปัญหาภาษีของคนทำธุรกิจ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่มักเรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าและให้บริการในประเทศอย่างเราๆ ดังนั้นวันนี้ผมเลยตั้งใจเขียนสรุปปัญหาที่ถามกันเข้ามาบ่อยๆ จากทางแฟนเพจ TAXBugnoms และ บล็อกภาษีข้างถนน มาฝากกันครับ 

ทีนี้มาถึง 9 ข้อคำถามที่พบบ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มกันเลยดีกว่าครับ นั่นคือ 

 

1. ภาษีมูลค่าเพิ่มจดเมื่อไหร่   

 

ถ้าให้ตอบง่ายที่สุดคือ จดได้เมื่ออยากจดครับ ถ้ากิจการเราประกอบธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีความต้องการใช้ภาษีซื้อเพื่อมาหักจากยอดภาษีขาย การจดยิ่งไวยิ่งดีครับ แต่ถ้าไม่ได้รีบมาก เราจะถูกกฎหมายบังคับให้จดเมื่อมีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทในระหว่างปี ถ้าปีไหนถึงเกณฑ์นี้ แปลว่าเรามีภาระหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทันทีครับ 

 

2. รายได้ 1.8 ล้านบาทนี้ หมายถึงรายได้จากอะไรบ้าง 

 

หลักการของภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีรายได้ 2 ประเภทครับ นั่นคือ รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ รายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การนับยอด 1.8 ล้านบาท จะนับเมื่อมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมแล้วเกิน 1.8 ล้านบาท โดยไม่นับยอดของรายได้ที่ได้รับยกเว้นครับ

 

ยกตัวอย่างเช่น นายบักหนอมเป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้ปีละ 2 ล้านบาท (รายได้ที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) และมีรายได้จากการขายอาหารออนไลน์จำนวน 1 ล้านบาท (รายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) แบบนี้นายบักหนอมเลือกที่จะจดหรือไม่จดก็ได้ เพราะยังมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดครับ

 

3. นับคนเดียว หรือนับสามีภรรยาด้วย กรณีร่วมด้วยช่วยกัน 

 

การนับรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะนับรวมในรูปแบบของการประกอบการครับ คือ ถ้าการประกอบการนั้นเกิดร่วมกัน เช่น สามีภรรยาช่วยกันประกอบธุรกิจขายอาหารออนไลน์ แบบนี้จะนับรายได้ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันจากการประกอบกิจการนี้ว่าถึง 1.8 ล้านบาทไหม ถ้ายังไม่ถึงก็เลือกที่จะไม่จดได้ครับ 

 

ซึ่งในกรณีของสามีภรรยา รายได้ในส่วนนี้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังสามารถใช้สิทธิแยกยื่นหรือแบ่งรายได้กันได้ครับ เพราะเป็นภาษีคนละประเภทกัน

 

4. บุคคลธรรมดาก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเหรอ

 

หลายคนมักจะสับสนระหว่าง รูปแบบของธุรกิจ กับ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ครับ โดยรูปแบบธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ เช่น บุคคลธรรมดา เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ในกรณีของภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมองตามการประกอบการของผู้ประกอบการรายนั้นๆ โดยไม่ได้สนใจรูปแบบของธุรกิจ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดครับ 

 

5. มีรายได้ประจำ รายได้เสริม รวมกันไหม ต้องคิดยังไงกันแน่

 

ตรงนี้ใช้หลักการเดียวกันกับข้อ 2 ครับ นั่นคือ ถ้ารายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันแล้วถึง 1.8 ล้านบาท แบบนี้ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องครับ 

 

6. มีหลายสาขา นับรวมนับแยก

 

การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดูเป็นการประกอบการครับ ถ้าหลายสาขาที่ว่าเป็นชื่อของเราก็ถือว่าเป็นกิจการเดียวกัน ดังนั้นก็นับยอดรวมครับ แต่ถ้าแต่ละสาขามีคนรับผิดชอบหรือเจ้าของต่างกันไป อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับสาขาไหนจะยอดถึงเกณฑ์ที่ต้องจดครับ (สำคัญตรงนิยามคำว่า ผู้ประกอบการ ครับ)

 

7. จดที่ไหน

 

การจดทะเบียนทุกวันนี้สามารถทำได้ 2 ช่องทางครับ ติดต่อผ่านทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือ จดทะเบียนผ่านอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากรได้เลยครับ ที่หน้า บริการ VAT SBT ONLINE

 

โดยการไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์นั้นมีความผิดตามกฎหมายครับ หากถูกตรวจสอบพบนอกจากภาษีที่ต้องชำระแล้ว ผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยปรับ (มากที่สุดคือ 2 เท่าของภาษีที่ชำระ) และ เงินเพิ่ม (1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ) อีกด้วยครับ

 

8. จดแล้วต้องทำอะไรบ้าง

 

หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่หลักๆ ดังต่อไปนี้ครับ 

  1. จัดทำใบกำกับภาษี โดยออกทุกครั้งเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการและเกิดจุดความรับผิดทางด้านภาษี เช่น ขายสินค้า = ส่งมอบ หรือ บริการ = ชำระเงิน
  2. จัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และ รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ 
  3. นำยอดภาษีขาย (ที่เราออก) มาหักด้วยภาษีซื้อ (ที่จ่ายไป) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แบบ ภ.พ. 30 ในทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (อาจมีขยายเวลาบางกรณี)

 

ซึ่งในส่วนการทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้โปรแกรม FlowAccount ดาวน์โหลดรายงานทั้งสองนี้ออกมา เพื่อเป็นข้อมูลในการนำส่งแบบยื่นภาษีให้กับกรมสรรพากรได้ครับ

 

เริ่มต้นใช้งานฟรี

 

9. ถ้าวันหนึ่งอยากออกจากระบบต้องทำยังไง 

 

การออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะสามารถออกได้เมื่อมีรายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยสามารถไปจดทะเบียนขอออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ.08 คำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ หรือดาวน์โหลดไฟล์จากลิงค์นี้ได้ //download.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/request/PP08_140355.pdf

 

และทั้งหมดนี้คือ 9 ข้อที่เจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อที่เจ้าของธุรกิจทุกคนจะได้เข้าใจ และจดได้อย่างถูกต้องโดยไม่มีปัญหากับทางกรมสรรพากรครับ 

อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ การทำกิจการในประเทศไทย ได้แก่ 1 การขายสินค้าหรือการให้บริการทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ โดยผู้ประกอบการ 2 การนําเข้าสินค้า โดยผู้นำเข้า ต้อง จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้ของกิจการ ถือเป็นหน่วยภาษีเดียว แบ่งรายได้ ไม่ได้ น้อยกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

ข้อใดไม่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ี 2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น ( คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535 ฯ )

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดจากอะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้มูลค่าของสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) เป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าสินค้า/บริการ x อัตราภาษี = ค่าภาษี VAT. เช่น สินค้าตั้งราคาขาย ฿100 ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% จะคำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดังนี้ มูลค่าสินค้า/บริการ ฿100 x อัตราภาษี 7% = ค่าภาษี VAT ฿7.

ภาษีมูลค่าเพิ่มจ่ายตอนไหน

ยื่น ภ.พ. 30 เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว “เดือนแรกหลังการจด จะมีรายการซื้อขายหรือไม่ ก็ต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม” (ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ยื่นออนไลน์ ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนสรรพากรคิดค่าปรับรายเดือน)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ